TY - JOUR AU - เทียนทอง, วราภรณ์ AU - บินโฮเซ็น, วารินทร์ AU - ภักดีวงศ์, น้ำอ้อย AU - มโนสุทธิ, วีรวัฒน์ PY - 2020/03/03 Y2 - 2024/03/29 TI - ผลของการใช้เทคนิคการดูดเสมหะด้วยระบบปิดต่อการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ และความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดแดงในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ JF - วารสารสถาบันบำราศนราดูร JA - วารสารสถาบันบำราศนราดูร VL - 2 IS - 1 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bamrasjournal/article/view/240160 SP - AB - <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;ปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นสาเหตุสำคัญของอัตราการเจ็บป่วย และอัตราการตายในผู้ป่วยปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นสาเหตุสำคัญของอัตราการเจ็บป่วย และอัตราการตายในผู้ป่วยวิกฤตเป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญอย่างหนึ่งในผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลในหออภิบาล และผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาผลของการใช้เทคนิคการดูดเสมหะด้วยระบบปิดต่อการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ และความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดแดงในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental Research) เก็บข้อมูลนาน 14 เดือน เป็นผู้ป่วย</p><p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental Research) เก็บข้อมูลนาน 14 เดือน เป็นผู้ป่วยศัลยกรรมและอายุรกรรมอายุไม่ต่ำกว่า 13 ปี ใช้เครื่องช่วยหายใจนานมากกว่า 48 ชั่วโมง ในหออภิบาลผู้ป่วยหนัก สถาบันบำราศนราดูร ระหว่างเดือน ธันวาคม 2548-กุมภาพันธ์ 2550 แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ด้วยวิธีการสุ่มอย่างเป็นระบบ คือ กลุ่มทดลองเป็นกลุ่มที่ได้รับการดูดเสมหะด้วยระบบปิด กลุ่มควบคุมเป็นกลุ่มที่ได้รับการดูดเสมหะด้วยระบบเปิด ประเมินการเกิดปอดอักเสบจากแนวทางการวินิจฉัยการติดเชื้อ เกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ และตรวจวัดค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดแดงก่อนและหลังการดูดเสมหะ 1, 5 และ 10 นาที ตามลำดับ เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย 1. เครื่องมือในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ แนวทางการดูดเสมหะระบบปิดและระบบเปิด 2. เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกเวลาที่กลุ่มตัวอย่างเข้าร่วมวิจัยแบบบันทึกการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ และแบบบันทึกค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดแดง วิเคราะห์ความแตกต่างของอัตราการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ ระหว่างการดูดเสมหะระบบปิด และระบบเปิดด้วยสถิติ Chi-Square test และความแตกต่างของค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดแดงก่อนและหลังการดูดเสมหะ 1, 5 และ 10 นาทีด้วยสถิติ Mann - Whitney U test</p><p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มควบคุมจำนวน 28 ราย เกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหาย 11 ราย ในขณะที่กลุ่มทดลองจำนวน 28 ราย เกิด 9 ราย (p-value = 0.51) และค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดแดงในกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างจากกลุ่มทดลองหลังการดูดเสมหะ 1, 5 และ 10 นาที แต่อย่างไรก็ตามการดูดเสมหะระบบปิดมีแนวโน้มในการสูญเสียออกซิเจนในเลือดแดงน้อยกว่าระบบเปิด การดูดเสมหะระบบปิดไม่สามารถลดการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจเมื่อเปรียบเทียบกับการดูดเสมหะระบบเปิด แต่การดูดเสมหะระบบปิดสามารถใช้เป็นทางเลือกในการดูแลผู้ป่วยที่มีโอกาสแพร่กระจายเชื้อทางเดินหายใจที่เป็นอันตราย เช่น โรคซาร์ส ไข้หวัดนกวัณโรคที่ดื้อต่อยา เป็นต้น เพื่อลดความเสี่ยงของบุคลากรที่ต้องดูแลผู้ป่วยเป็นอีกทางเลือกในการดูดเสมหะ และควรทำวิจัยซ้ำโดยเพิ่มขนาดของกลุ่มตัวอย่างเพื่อประเมินความคุ้มค่าของค่าใช้จ่ายจากการดูดเสมหะด้วยระบบปิด</p> ER -