TY - JOUR AU - รัตนดิลก ณ ภูเก็ต, จุฑาพัฒน์ PY - 2019/12/11 Y2 - 2024/03/29 TI - การประเมินผลความครอบคลุมของการตรวจวัณโรคดื้อยาในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง JF - วารสารสถาบันบำราศนราดูร JA - วารสารสถาบันบำราศนราดูร VL - 13 IS - 3 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bamrasjournal/article/view/216615 SP - 172 - 181 AB - <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลความครอบคลุมของการตรวจวัณโรคดื้อยาในผู้ป่วยวัณโรคที่เคยรับการรักษาวัณโรคมาก่อน ซึ่งขึ้นทะเบียนระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 - 2562 โดยรวบรวมข้อมูลการตรวจวัณโรคดื้อยาจากโรงพยาบาลรัฐสังกัดกระทรวงสาธารณสุขจำนวน 78 แห่งใน 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่างจากโปรแกรมข้อมูลวัณโรคของประเทศ และเปรียบเทียบข้อมูลปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 กับการตรวจสอบข้อมูลช่วงนิเทศงาน</p><p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;จากการเปรียบเทียบรายจังหวัด 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสงขลา สตูล ตรัง พัทลุง ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส พบว่าจำนวนการส่งทดสอบความไวต่อยา (drug susceptibility test: DST) เปรียบเทียบกับจำนวนผู้ขึ้นทะเบียนรักษาในปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 เท่ากับร้อยละ 5.5, 5.3, 2.8, 0, 20.9, 9.1 และ 0 ตามลำดับ ส่วนจำนวนการมีผล DST เปรียบเทียบกับจำนวนผู้ขึ้นทะเบียนรักษาเท่ากับร้อยละ 5.5, 5.3, 0, 0, 14.0, 9.1 และ 0 ตามลำดับ ในขณะที่จำนวนการส่ง DST เปรียบเทียบกับจำนวนผู้ขึ้นทะเบียนรักษาในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 เท่ากับร้อยละ 66.7, 81.8, 87.5, 76.9, 96.8, 41.7 และ 95.8 ตามลำดับ ส่วนจำนวนการมีผล DST กับจำนวนผู้ขึ้นทะเบียนรักษาเท่ากับร้อยละ 57.5, 63.6, 87.5, 69.2, 80.6, 33.3 และ 83.3 ตามลำดับ สาเหตุส่วนใหญ่ของการไม่ส่ง DST เกิดจากความไม่รู้เกณฑ์การตรวจ DST ในขณะที่สาเหตุของการส่ง DST แต่ไม่มีผล DST เกิดจากปัญหาด้านจัดการเสมหะ และการสื่อสารระหว่างคลินิกวัณโรคกับห้องปฏิบัติการ ปัญหาการบันทึกข้อมูลในโปรแกรมข้อมูลวัณโรคของประเทศ ซึ่งทางผู้วิจัยสนับสนุนให้โรงพยาบาลของรัฐและเอกชนทำการบันทึกข้อมูลผ่านโปรแกรมและรายงานผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการวัณโรคควบคู่กันไป</p><p>&nbsp;</p> ER -