TY - JOUR AU - ชาติชำนิ, มนพร AU - กันอุไร, ทองเปลว PY - 2019/09/09 Y2 - 2024/03/29 TI - ผลของการใช้แนวปฏิบัติการหย่าเครื่องช่วยหายใจต่อความสำเร็จของการหย่าเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยที่ใส่ท่อหลอดลมคอ JF - วารสารสถาบันบำราศนราดูร JA - วารสารสถาบันบำราศนราดูร VL - 5 IS - 1 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bamrasjournal/article/view/215311 SP - 1 - 14 AB - <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเปรียบเทียบ (Comparative study) ชนิด Retrospective and Prospective Uncontrolled before and after Intervention Study มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้แนวปฏิบัติการหย่าเครื่องช่วยหายใจต่อความสำเร็จของการหย่าเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยที่ใส่ท่อหลอดลมคอ กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดจำนวน 364 ราย ประกอบด้วยกลุ่มก่อนการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล จำนวน 178 ราย และกลุ่มที่ใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล จำนวน 186 ราย โดยกลุ่มก่อนการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติเดิม<br>ของโรงพยาบาล ในขณะที่กลุ่มที่ใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติการพยาบาลที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากหลักฐานเชิงประจักษ์ โดยผู้วิจัยและผู้ช่วยวิจัยให้การดูแลผู้ป่วยให้เป็นไปตามแนวปฏิบัติการหย่าเครื่องช่วยหายใจ เมื่อทดสอบอัตราความสำเร็จในการหย่าเครื่องช่วยหายใจระหว่างกลุ่มก่อนใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล และกลุ่มที่ใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้สถิติ Chi-Square พบว่าอัตราความสำเร็จในการหย่าเครื่องช่วยหายใจในกลุ่มก่อนและหลังใช้แนวปฏิบัติในการหย่าเครื่องช่วยหายใจที่สร้างขึ้นจากหลักฐานเชิงประจักษ์ไม่แตกต่างกัน (<em>x<sup>2</sup></em> = 0.101, <em>p-value</em> = 0.751)</p><p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า แนวปฏิบัติการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นจากหลักฐานเชิงประจักษ์มีผลทำให้อัตราความสำเร็จในการหย่าเครื่องช่วยหายใจมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามในทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบไม่แตกต่างกันแต่เมื่อเปรียบเทียบจำนวนและเปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยที่มีอัตราความสำเร็จในการหย่าเครื่องช่วยหายใจของกลุ่มที่ได้รับการดูแลด้วยแนวปฏิบัติการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นจากหลักฐานเชิงประจักษ์เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยที่ใส่ท่อหลอดลมคอ และในการนำแนวปฏิบัติการพยาบาลนี้ไปใช้ควรมีการให้ความรู้แก่บุคคลากรผู้ใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลก่อนนำแนวปฏิบัติการพยาบาลไปใช้ ข้อเสนอแนะในการวิจัยต่อไป คือ ควรมีการวิจัยในกลุ่มตัวอย่างที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น เช่น ผู้ป่วยอายุรกรรม ผู้ป่วยศัลยกรรม เป็นต้น เพื่อให้ได้แนวปฏิบัติที่เฉพาะเจาะจงสำหรับกลุ่มผู้ป่วยเพิ่มขึ้น</p> ER -