TY - JOUR AU - ถาวรวัน, อัญชนา AU - ก้องสนั่น, ปวีณา AU - ไชยศักดา, สว่าง AU - เอี่ยมโภคลาภ, บุญช่วย PY - 2019/09/06 Y2 - 2024/03/29 TI - อุบัติการณ์ของเชื้อแบคทีเรียที่สร้างเอนไซม์ AmpC ß-lactamase ในสถาบันบำราศนราดูร ระหว่างเดือนกรกฎาคม-กันยายน พ.ศ. 2550 JF - วารสารสถาบันบำราศนราดูร JA - วารสารสถาบันบำราศนราดูร VL - 2 IS - 1 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bamrasjournal/article/view/215050 SP - 1 - 6 AB - <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;ด้วยกลไกการดื้อยาของแบคทีเรียที่สามารถสร้างเอนไซม์ AmpC ß-lactamase ซึ่งคล้ายคลึงกับฤทธิ์ของเอนไซม์ ESBLs (extended-spectrum ß-lactamases) ทำให้เชื้อดื้อต่อยากลุ่มเพนนิซิลิน, cephalosprorin และ monobactam แต่เอนไซม์ AmpC ß-lactamase สามารถทำลายฤทธิ์ของยากลุ่ม cephamycin ได้และไม่ถูกยับยั้งด้วยยากลุ่มยับยั้งเอนไซม์ ß-lactamase จึงทำให้เชื้อดื้อยาหลายขนาน เป็นผลให้ยาที่ใช้ในการรักษามีไม่มากนัก ทั้ง Klebsiella pneumoniae และ Escherichia coli ที่เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในโรงพยาบาลก็สามารถสร้างเอนไซม์นี้ได้แม้จะมีรายงานการพบการดื้อยาโดยกลไกการสร้างเอนไซม์ AmpC ß-lactamase ตั้งแต่คริสตศักราช 1980 แต่บุคลากรที่เกี่ยวข้องทางด้านโรคติดเชื้อก็ยังไม่คำนึงถึงความสำคัญของปัญหานี้ด้วยวิธีการทดสอบยังยุ่งยาก ไม่สะดวก ต้องการสารเคมีพิเศษที่หาไม่ได้ในงานประจำ รวมถึงยังมีความไว และความจำเพาะที่ต่ำ ห้องปฏิบัติการส่วนใหญ่จึงยังไม่มีการหากลไกการดื้อยาของเอนไซม์นี้อีกทั้งไม่มีวิธีมาตรฐานที่ Clinical and Laboratory Standards Institute (CLSI) แนะนำ ความสำคัญที่ต้องตรวจหาเอนไซม์ AmpC ß-lactamase คือเชื้อกลุ่มแกรมลบ เช่น E. coli, Klebsiella spp., Proteus mirabilis, และ Salmonella spp. ที่สามารถสร้างเอนไซม์นี้ได้ ให้ผลไวปลอมในหลอดทดลองกับยากลุ่ม cephalosporins จากผลไวต่อยาปลอม ทำให้การรักษาผู้ป่วยไม่ได้ผลอาจทำให้เสียชีวิตด้วย ในการศึกษาอุบัติการณ์ของเชื้อแกรมลบที่สร้างเอนไซม์ AmpC ß-lactamase ในสถาบันบำราศนราดูร ผู้วิจัยได้เลือกใช้วิธี AmpC Disk test ซึ่งเป็นวิธีที่ค่อนข้างง่าย ศึกษาจากเชื้อแกรมลบที่แยกได้จากผู้ป่วยระหว่าง เดือนกรกฎาคม ถึง กันยายน 2550 จากเชื้อแบคทีเรียหลายสายพันธุ์จากผู้ป่วยไม่ซ้ำรายจำนวน 117 สายพันธุ์ พบเชื้อสามารถสร้าง AmpC ß-lactamase จำนวน 18 สายพันธุ์คิดเป็นร้อยละ 15.8 นำเชื้อที่สร้างเอนไซม์ได้มาจำแนกตามสิ่งส่งตรวจพบว่า 7 สายพันธุ์แยกได้จากเสมหะทั้งหมด 40 ตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ 17.5 จากหนองทั้งหมด 26 ตัวอย่างพบ 4 สายพันธุ์คิดเป็นร้อยละ 15.4 จากปัสสาวะทั้งหมด 41 ตัวอย่างพบ 7 สายพันธุ์คิดเป็นร้อยละ 14.6 จากเลือดทั้งหมด 7 ตัวอย่างพบ 1 สายพันธุ์คิดเป็นร้อยละ 14.3 แม้ปัจจุบันยังไม่มีวิธีมาตรฐานที่ง่าย และให้ผลที่น่าเชื่อถือที่สุด แต่การทำ AmpC Disk test เพื่อเป็นรายงานเบื้องต้นให้แพทย์ได้ใช้ประกอบการวางแผนการรักษาคนไข้เพื่อลดอัตราการตายก็น่าจะประยุกต์ใช้ได้ในงานประจำวัน เพื่อเป็นประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ป่วย</p> ER -