TY - JOUR AU - อัศวพิพิธ, เจริญสุข AU - อิสสอาด, ศวิตา AU - สมัดชัย, ศรีสุดา PY - 2019/10/28 Y2 - 2024/03/28 TI - การศึกษาสถานการณ์การใช้กระบวนการพยาบาลเพื่อคัดกรองเด็กที่ติดเชื้อเอชไอวีในบริการฉีดวัคซีนคลินิกยาต้านไวรัส กุมารเวชกรรม สถาบันบำราศนราดูร JF - วารสารสถาบันบำราศนราดูร JA - วารสารสถาบันบำราศนราดูร VL - 13 IS - 3 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bamrasjournal/article/view/203767 SP - 137 - 148 AB - <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบย้อนหลัง (Retrospective Cohort Study) เพื่อวิเคราะห์บันทึกทางการพยาบาลจากเวชระเบียนผู้ป่วยนอกเด็กที่ติดเชื้อเอชไอวี อายุ 1-18 ปี จำนวน 100 คน มารับบริการระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม 2558 ในการให้บริการฉีดวัคซีน คลินิกยาต้านไวรัส กุมารเวชกรรม สถาบันบำราศนราดูร เครื่องมือวิจัยมี 2 ชุดคือ แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปและแบบประเมินคุณภาพกระบวนการพยาบาลงานบริการผู้ป่วยนอก เก็บบันทึกข้อมูล 1-30 ธันวาคม 2560 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p><p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงร้อยละ 51 อายุเฉลี่ย 15 ปี ระดับเม็ดเลือดขาวชนิด CD4 มากกว่า 24 เปอร์เซ็นต์ คิดเป็นร้อยละ 69 ปริมาณเชื้อเอชไอวีในเลือดที่น้อยกว่า 20 copies/ml ร้อยละ 78 ส่วนใหญ่รับประทานยาต้านไว้รัสสูตรดื้อยาเป็นสูตรดื้อยาร้อยละ 52 การได้รับวัคซีนในระบบ EPI ครบร้อยละ 30 และอัตราการได้รับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ร้อยละ 95 จากการศึกษาพบว่า การใช้กระบวนการพยาบาลเพื่อคัดกรองเด็กที่ติดเชื้อเอชไอวีในบริการฉีดวัคซีนคลินิกยาต้านไวรัส ในภาพรวมอยู่ในระดับสูง (X = 4.06, SD = 0.619) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการประเมินผลการพยาบาลอยู่ในระดับสูงมาก (X = 4.96, SD = 0.227) รองลงมา คือ ด้านการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลอยู่ในระดับสูง ( X = 4.27, SD = 1.235) และด้านการประเมินปัญหาและความต้องการของผู้ป่วยอยู่ในระดับสูง (X = 3.84, SD = 1.015) ตามลำดับ ส่วนด้านการวางแผนการพยาบาลที่สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการอยู่ในระดับปานกลาง (X = 3.49, SD = 1.034)</p><p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาการบันทึกทางการพยาบาลโดยเฉพาะด้านการวางแผนการพยาบาลที่สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการที่อยู่ในระดับปานกลาง โดยระบุระดับความเจ็บป่วยตามที่หน่วยงานกำหนด สามารถนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาบุคลากรในด้านการบันทึกการพยาบาล และจัดระบบการตรวจสอบประเมินผลการบันทึกทางการพยาบาลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นต่อไป</p><p>&nbsp;</p> ER -