TY - JOUR AU - บุญประเสริฐ, วันเพ็ญ PY - 2019/04/30 Y2 - 2024/03/29 TI - อุบัติการณ์และผลกระทบของการเกิดปอดอักเสบในโรงพยาบาลในหอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลเชียงคำ JF - วารสารสถาบันบำราศนราดูร JA - วารสารสถาบันบำราศนราดูร VL - 13 IS - 1 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bamrasjournal/article/view/186403 SP - 35 - 43 AB - <div>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;ปอดอักเสบที่เกิดในโรงพยาบาล (Hospital Acquired Pneumonia; HAP) เป็นหนึ่งในปัญหาของการติดเชื้อในโรงพยาบาลที่พบได้บ่อยที่สุดและส่วนใหญ่พบในหอผู้ป่วยอายุรกรรมมากที่สุด การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุบัติการณ์และผลกระทบของการเกิดปอดอักเสบในโรงพยาบาล โดยมีรูปแบบการวิจัยเป็นการศึกษาย้อนหลัง (Retrospective study) ในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยการเกิดปอดอักเสบจากการติดเชื้อในโรงพยาบาลหลังจากเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลตั้งแต่ 48 ชั่วโมงเป็นต้นไปหรือมากกว่า ในผู้ป่วยที่ไม่ได้ใส่เครื่องช่วยหายใจ ณ หอผู้ป่วยอายุรกรรม 2 แห่ง คืออายุรกรรมชายและอายุรกรรมหญิง ในโรงพยาบาลเชียงคำ ตั้งแต่เดือน มกราคม-ธันวาคม 2560</div><div>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;ผลการศึกษา ในผู้ป่วยที่ศึกษารวม 6,213 ราย แบ่งเป็นเพศชาย 3,166 ราย เพศหญิง 3,047 ราย พบว่ามีผู้ป่วยเกิด HAP จำนวน 24 ราย พบในเพศชายมากที่สุดร้อยละ 58.3 อายุเฉลี่ย 69.5 ปี อุบัติการณ์การเกิด HAP โดยรวมเท่ากับ 0.8 ครั้ง ต่อจำนวนวันนอน 1,000 วัน (Patient-days) หรือเท่ากับ 3.9 ต่อ 1,000 ครั้ง ของการเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาล (Hospital admission) ส่วนใหญ่เกิด HAP ในระยะ late onset ร้อยละ 83.3 พบในผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวและโรคเรื้อรังหรือมีโรคร่วม ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมองร้อยละ 2.3 รองลงมาคือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังร้อยละ 1.6 โดยมีผลกระทบจากการเกิด HAP ได้แก่ จำนวนวันนอนในโรงพยาบาลนานเฉลี่ย 25.6 วัน อัตราการเสียชีวิตร้อยละ 12.5 ผลการเพาะเชื้อจากเสมหะพบเชื้อที่เป็นสาเหตุสูงสุด ได้แก่ Acinetobacter baumannii ร้อยละ 29.2 และ ร้อยละ 57.1 ของเชื้อดังกล่าว เป็นเชื้อดื้อยาหลายขนาน (MDR) ค่าใช้จ่ายในการรักษาด้วยยาต้านจุลชีพในผู้ป่วย HAPเฉลี่ยรายละ 6,024 บาท</div><div>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;ผลการศึกษาใช้เป็นฐานข้อมูลในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย โดยพัฒนาแนวทางปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยและป้องกันการเกิด HAP โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง และผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรัง นำไปสู่การพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติ กำหนดเป็นนโยบายในการพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยในการลดการเกิด HAPต่อไป</div> ER -