@article{นิรมิตสันติพงศ์_2020, title={การประเมินความรุนแรงของผู้ป่วยโดยใช้สัญญาณเตือนภาวะวิกฤตในเหตุการณ์ระบาดของโรคอาหารเป็นพิษ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ปี พ.ศ.2560}, volume={14}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bamrasjournal/article/view/242372}, abstractNote={<p>          โรคอาหารเป็นพิษเป็นโรคที่พบได้บ่อยในประเทศไทย จากเหตุการณ์การระบาดของโรคอาหารเป็นพิษในหลายพื้นที่ของจังหวัดเชียงใหม่ ผู้ป่วยบางรายมีอาการรุนแรงและมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต การประเมินระดับความรุนแรงของผู้ป่วยและให้การรักษาอย่างเหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญ การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความรุนแรงของผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษโดยใช้สัญญานเตือนภาวะวิกฤต (Nakornping Early Warning Signs score: NEWS score) ในเหตุการณ์ระบาดของโรคอาหารเป็นพิษในกลุ่มผู้มาร่วมงานของวัดแห่งหนึ่ง ในจังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 27-30 มีนาคม พ.ศ. 2560 จำนวน 80 ราย โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบรายงานการสอบสวนโรคและเวชระเบียนผู้ป่วย ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป อาการทางคลินิก และผลตรวจทางห้องปฏิบัติการของผู้ป่วยที่เข้าได้กับนิยามของโรคอาหารเป็นพิษ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบตัวแปรระหว่างกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง และกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง โดยใช้สถิติ Student’s t test, Mann-Whitney U test และ Chi–square test รวมทั้งวิเคราะห์ค่าความไว ความจำเพาะ ค่าการคาดหมายที่เป็นบวก ค่าการคาดหมายที่เป็นลบ และพื้นที่ใต้โค้ง ROC เพื่อหาความสามารถของ NEWS score ในการจำแนกผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงจากโรคอาหารเป็นพิษออกจากผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง</p> <p>          ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยที่เข้าได้กับนิยามของโรคอาหารเป็นพิษที่มีผลตรวจสัญญาณชีพและผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ จำนวนทั้งสิ้น 80 ราย มีตัวแปรที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p-value</em> < 0.05) ระหว่างกลุ่มผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษที่มีอาการรุนแรงกับกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง คือ อาการไข้ ความดันเลือดเฉลี่ย และค่าครีเอตินิน จากการศึกษาพบจุดตัด NEWS score ที่ ≥ 3 คะแนนขึ้นไป ให้ค่าความไว (Sensitivity) เท่ากับร้อยละ 100 ค่าความจำเพาะ (Specificity) เท่ากับร้อยละ 94.4 ค่าการคาดหมายที่เป็นบวก (Positive predictive value: PPV) เท่ากับร้อยละ 98.4 ค่าการคาดหมายที่เป็นลบ (Negative predictive value: NPV) เท่ากับร้อยละ 100 มีความถูกต้องของการทำนายร้อยละ 95.2 และค่าพื้นที่ใต้โค้ง ROC เท่ากับ 0.952 ดังนั้น NEWS score สามารถจำแนกผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงของโรคอาหารเป็นพิษได้ และควรใช้ประเมินผู้ป่วยในเหตุการณ์การระบาดของโรคอาหารเป็นพิษหรือกลุ่มโรคติดต่อทางอาหารและน้ำ</p>}, number={3}, journal={วารสารสถาบันบำราศนราดูร}, author={นิรมิตสันติพงศ์ อภิญญา}, year={2020}, month={ต.ค.}, pages={169–179} }