@article{ศรีสันติสุข_ลีวรรณนภาใส_2019, title={การศึกษาจุดตัดขนาดพื้นที่ผิวตัดขวาง เพื่อบ่งชี้ภาวะเส้นประสาทอัลนาร์โตในผู้ป่วยโรคเรื้อนด้วยเครื่องอัลตร้าซาวด์}, volume={13}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bamrasjournal/article/view/218833}, abstractNote={<p>          เส้นประสาทอัลนาร์เป็นเส้นประสาทส่วนปลายที่มักได้รับผลจากการดำเนินของโรคเรื้อน การประเมินขนาดเส้นประสาทด้วยการคลำพบว่า มีความแตกต่างของผลการประเมินแม้จะตรวจด้วยแพทย์ที่มีประสบการณ์  งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาจุดตัดขนาดพื้นที่ผิวตัดขวางที่ใช้บ่งชี้ภาวะเส้นประสาทอัลนาร์โตบริเวณเหนือข้อศอกผู้ป่วยโรคเรื้อนด้วยเครื่องอัลตร้าซาวด์ โดยศึกษาประชากรผู้ป่วยโรคเรื้อนที่มารักษาในสถาบันราชประชาสมาสัยเดือนเมษายน - ตุลาคม พ.ศ. 2562 และยินยอมเข้าร่วมโครงการ 27 ราย และประชากรปกติ 27 ราย แต่ละกลุ่มมีเพศหญิง 11 ราย และเพศชาย 16 ราย วัดพื้นที่ผิวตัดขวางเส้นประสาทอัลนาร์ 108 เส้น ด้วยเครื่องอัลตร้าซาวด์ที่ตำแหน่ง 1 เซนติเมตรเหนือต่อปุ่มมีเดียล อีพิคอนไดล์ ใช้สถิติ Shapiro-Wilk test ทดสอบการแจกแจงปกติของตัวแปร และใช้ Mann-Whitney U test เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของอายุ น้ำหนัก ส่วนสูง ดัชนีมวลกาย พื้นที่ผิวตัดขวางเส้นประสาทอัลนาร์ของทั้ง 2 กลุ่ม เนื่องจากข้อมูลไม่มีการแจกแจงแบบปกติ ใช้ Receiver Operating  Characteristic Curve (ROC curve) หาจุดตัดที่ใช้บ่งชี้ภาวะเส้นประสาทอัลนาร์โตในผู้ป่วยโรคเรื้อน เส้นประสาทอัลนาร์เป็นเส้นประสาทส่วนปลายที่มักได้รับผลจากการดำเนินของโรคเรื้อน การประเมินขนาดเส้นประสาทด้วยการคลำพบว่า มีความแตกต่างของผลการประเมินแม้จะตรวจด้วยแพทย์ที่มีประสบการณ์  งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาจุดตัดขนาดพื้นที่ผิวตัดขวางที่ใช้บ่งชี้ภาวะเส้นประสาทอัลนาร์โตบริเวณเหนือข้อศอกผู้ป่วยโรคเรื้อนด้วยเครื่องอัลตร้าซาวด์ โดยศึกษาประชากรผู้ป่วยโรคเรื้อนที่มารักษาในสถาบันราชประชาสมาสัยเดือนเมษายน - ตุลาคม พ.ศ. 2562 และยินยอมเข้าร่วมโครงการ 27 ราย และประชากรปกติ 27 ราย แต่ละกลุ่มมีเพศหญิง 11 ราย และเพศชาย 16 ราย วัดพื้นที่ผิวตัดขวางเส้นประสาทอัลนาร์ 108 เส้น ด้วยเครื่องอัลตร้าซาวด์ที่ตำแหน่ง 1 เซนติเมตรเหนือต่อปุ่มมีเดียล อีพิคอนไดล์ ใช้สถิติ Shapiro-Wilk test ทดสอบการแจกแจงปกติของตัวแปร และใช้ Mann-Whitney U test เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของอายุ น้ำหนัก ส่วนสูง ดัชนีมวลกาย พื้นที่ผิวตัดขวางเส้นประสาทอัลนาร์ของทั้ง 2 กลุ่ม เนื่องจากข้อมูลไม่มีการแจกแจงแบบปกติ ใช้ Receiver Operating  Characteristic Curve (ROC curve) หาจุดตัดที่ใช้บ่งชี้ภาวะเส้นประสาทอัลนาร์โตในผู้ป่วยโรคเรื้อน </p> <p>          ผลการศึกษาพบว่าค่าเฉลี่ยอายุ น้ำหนัก ส่วนสูง ดัชนีมวลกายไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value > 0.05) เนื่องจากเป็นการเลือกกลุ่มประชากรปกติแบบเจาะจงที่มีค่าเฉลี่ยอายุ น้ำหนัก ส่วนสูง ดัชนีมวลกายไม่ต่างจากกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อน แต่ค่าเฉลี่ยพื้นที่ผิวตัดขวางของกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อน (8.8 ± 2.6 ตารางมิลลิเมตร) โตกว่ากลุ่มประชากรปกติ (5.7 ± 1.2 ตารางมิลลิเมตร) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value < 0.001 และจุดตัดขนาดพื้นที่ผิวตัดขวางที่ใช้บ่งชี้ภาวะเส้นประสาทอัลนาร์โตในผู้ป่วยโรคเรื้อนของสถาบันราชประชาสมาสัยคือ ≥ 6.75 ตารางมิลลิเมตร โดยมีความไวร้อยละ 81, ความจำเพาะร้อยละ 85 สรุปได้ว่า เครื่องอัลตร้าซาวด์สามารถใช้บ่งชี้ภาวะเส้นประสาทอัลนาร์โต จึงมีข้อเสนอแนะให้นำเครื่องอัลตร้าซาวด์ไปใช้ในผู้ป่วยที่สงสัยโรคเรื้อนและอาจมีเส้นประสาทอัลนาร์โตของสถาบันราชประชาสมาสัยได้  เพื่อประกอบการวินิจฉัยตามเกณฑ์อาการแสดงสำคัญ</p>}, number={3}, journal={วารสารสถาบันบำราศนราดูร}, author={ศรีสันติสุข สมสิทธิ์ and ลีวรรณนภาใส บรรเจิด}, year={2019}, month={ธ.ค.}, pages={161–171} }