@article{เทียนทอง_บุรภัทรวงศ์_มโนสุทธิ_2019, title={การพัฒนาเทคนิคการดูดเสมหะด้วยระบบปิดในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ: สถาบันบำราศนราดูร}, volume={6}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bamrasjournal/article/view/215313}, abstractNote={<p>          การเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นปัญหาการติดเชื้อในโรงพยาบาลที่สำคัญส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยในหลายด้านทำให้มีการค้นหาวิธีการปฏิบัติเพื่อลดอัตราการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องหายใจ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของการใช้เทคนิคการดูดเสมหะด้วยระบบปิดต่อการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ การศึกษาครั้งนี้ทำการเก็บข้อมูลในหออภิบาลผู้ป่วยหนักสถาบันบำราศนราดูรตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2551 - ตุลาคม 2552 เป็นผู้ป่วยอายุรกรรมและศัลยกรรมที่มีอายุตั้งแต่ 13 ปีขึ้นไป และมีการใช้เครื่องช่วยหายใจนานมากกว่า 48 ชั่วโมง โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างเป็นระบบแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มทดลองเป็นกลุ่มที่ได้รับการพัฒนาเทคนิคการดูดเสมหะด้วยระบบปิด กลุ่มควบคุมเป็นกลุ่มที่ได้รับการดูดเสมหะด้วยระบบเปิดซึ่งเป็นวิธีมาตรฐานเดิมที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยใช้เกณฑ์การวินิจฉัยการติดเชื้อเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจของหน่วยงานป้องกันโรคติดต่อในสหรัฐอเมริกา (Centers for Disease Control and Prevention; CDC) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1. เครื่องมือในการดำเนินการวิจัย 2. เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล 3. เครื่องมือตรวจวัดและประเมินทางห้องปฏิบัติการต่างๆ โดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแตกต่างของอัตราการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจระหว่างการดูดเสมหะระบบปิดและระบบเปิดด้วยสถิติ Chi-Square test จากการวิจัยพบว่า กลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูเสมหะระบบเปิด 49 คน เกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ 17 คน ส่วนกลุ่มทดลองที่ได้รับการดูดเสมหะระบบปิด 48 คน เกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ 12 คน ซึ่งไม่แตกต่างทางสถิติ (<em>p</em> = 0.30)</p> <p>          อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่า การวิจัยครั้งนี้ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติของการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจระหว่างกลุ่มที่ใช้เทคนิคการดูดเสมหะด้วยระบบปิดและกลุ่มที่ใช้การดูดเสมหะด้วยระบบเปิดแต่จากการเก็บข้อมูลทำให้ทราบว่า เทคนิคการดูดเสมหะระบบปิดสามารถช่วยป้องกันในเรื่องการฟุ้งกระจายเชื้อโรคในทางเดินหายใจได้ ขณะทำการดูดเสมหะลดจำนวนบุคลากรที่ใช้ในการดูดเสมหะ ส่งผลให้จำนวนขยะติดเชื้อที่เกิดจากการดูดเสมหะลดลง จึงสามารถใช้เทคนิคนี้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการดูแลผู้ป่วยที่มีการแพร่กระจายเชื้อทางอากาศ (Air borne Transmission) และโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่อันตรายเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อแก่ผู้ป่วย บุคลากร และสิ่งแวดล้อมได้ อีกทั้งยังสามารถใช้เป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ในการพัฒนาการปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยโรคติดต่ออันตราย ซึ่งเป็นภารกิจหลักของสถาบันบำราศนราดูร</p>}, number={1}, journal={วารสารสถาบันบำราศนราดูร}, author={เทียนทอง วราภรณ์ and บุรภัทรวงศ์ สุนันทา and มโนสุทธิ วีรวัฒน์}, year={2019}, month={ก.ย.}, pages={1–16} }