วารสารการแพทย์แผนจีนในประเทศไทย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJTCM <p>ด้วยคลินิกการประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว มีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะทำวารสารการแพทย์แผนจีน โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนาวิชาการทางการแพทย์แผนจีน ให้แพทย์แผนจีนและผู้ที่เกี่ยวข้องได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ เพิ่มพูนความรู้ เผยแพร่บทความวิชาการ เพื่อจะได้พัฒนายกระดับวารสารการแพทย์แผนจีนในประเทศไทยให้ได้มาตรฐานสากล ได้รับความร่วมมือกับเครือข่ายหน่วยงานในประเทศไทยและประเทศจีนสนับสนุนให้เกิดการจัดทำวารสารการแพทย์แผนจีนในประเทศไทยนี้ขึ้น</p> 华侨中医院 th-TH วารสารการแพทย์แผนจีนในประเทศไทย 2822-0145 ความก้าวหน้าด้านการวิจัยในการรักษาอาการนอนไม่หลับในสตรีวัยหมดประจำเดือนด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJTCM/article/view/267510 <p>โรคนอนไม่หลับในวัยหมดประจำเดือน เป็นโรคที่พบบ่อยโรคหนึ่งในสตรีวัยกลางคน และวัยสูงอายุ ซึ่งโรคนี้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของร่างกาย จิตใจ และคุณภาพชีวิต ทั้งยังทำให้ภูมิต้านทานลดลง และกระทบต่อการทำงานของสมองใหญ่ (cerebrum) รวมถึงทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ เป็นต้น โดยการรักษาโรคนี้ในทางการแพทย์แผนจีน มีหลากหลายวิธี ทั้งยาสมุนไพรจีนแบบน้ำ ยาสมุนไพรจีนแบบสำเร็จรูป การฝังเข็ม การรมยา การนวด และการแช่ยาสมุนไพร เป็นต้น อีกทั้งในข้อดีของการรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน นอกจากจะเกิดผลข้างเคียงน้อย ยังได้ผลการรักษาที่ดีมาก บทความนี้ได้รวบรวมและสรุปวิธีการรักษาโรคนอนไม่หลับในสตรีวัยหมดประจำเดือนด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน โดยผ่านการทบทวนงานวิจัยใหม่ในหลายปีที่ผ่านมา เพื่อไว้ใช้สำหรับเป็นข้อมูลอ้างอิงในการรักษาโรคนอนไม่หลับในสตรีวัยหมดประจำเดือน</p> สินี ตัณฑสถิตยานนท์ หวัง ซวี่ Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์แผนจีนในประเทศไทย 2024-06-30 2024-06-30 3 1 70 77 ความคืบหน้าการวิจัยในการรักษาข้อเข่าอักเสบที่เกิดจากกระดูกข้อเข่าเสื่อมด้วยวิธีการฝังเข็ม https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJTCM/article/view/269267 <p>โรคข้อเข่าเสื่อม (knee osteoarthritis, KOA) โดยเฉพาะการเสื่อมของกระดูกเข่าทำให้เกิดการอักเสบ พบได้บ่อยในวัยกลางคนและผู้สูงอายุ มีอาการทางคลินิกหลัก คืออาการปวดเรื้อรังจากการเคลื่อนไหว ปวดตอนกลางคืนหรือตอนเช้า การยืดงอได้อย่างจำกัด ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ทางการแพทย์แผนตะวันตกจะเน้นรักษาด้วยยา การผ่าตัดส่องกล้อง การฉีด sodium hyaluronate ในโพรงข้อต่อเข่าเป็นหลัก ส่วนทางการแพทย์แผนจีนมีวิธีการรักษาที่หลากหลาย แต่ที่นิยมใช้มากที่สุดคือการฝังเข็มควบคู่กับวิธีการอื่นๆ โดยมีหลักฐานงานวิจัยมากมายที่สนับสนุนว่าการฝังเข็มมีประโยชน์ในการรักษาโรคข้อเข่าอักเสบที่เกิดจากกระดูกข้อเข่าเสื่อม การฝังเข็มจึงอาจเป็นทางเลือกในผู้ป่วยรายที่ปฏิเสธการผ่าตัดและการทานยา คณะผู้จัดทำจึงสนใจทำการค้นคว้าวิจัยและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาโรคข้อเข่าอักเสบที่เกิดจากกระดูกข้อเข่าเสื่อมโดยใช้การฝังเข็มควบคู่กับการรักษาด้วยวิธีต่างๆ ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน เช่น การฝังเข็มเพียงอย่างเดียว แต่ใช้หลักการของจุดสะท้อน (阳性反应) การฝังเข็มกระตุ้นไฟฟ้า การฝังเข็มอุ่น การฝังเข็มอุ่นร่วมกับการกระตุ้นไฟฟ้า การฝังเข็มร่วมกับการทุยหนา การฝังเข็มร่วมกับการอบยาจีน การฝังเข็มลนไฟ และการฝังเข็มร่วมกับวิธีการรักษาอื่นๆ</p> วรนิพิฎ วิชพันธุ์ พิมวลี บุญเชิด อัจฉราภรณ์ สุริเมือง Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์แผนจีนในประเทศไทย 2024-06-30 2024-06-30 3 1 78 86 การศึกษาวิจัยกลไกของกายบริหารชี่กงด้วยวิธี “ปาต้วนจิ่น” เพื่อชะลอความชรา https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJTCM/article/view/269662 <p>ปาต้วนจิ่นเป็นศิลปะเต๋าอิ่นของจีนสมัยโบราณรูปแบบหนึ่ง การฝึกฝนปาต้วนจิ่นเป็นการส่งเสริมสุขภาพที่ได้ผลดี ซึ่งสามารถปรับชี่และเลือดในร่างกาย เติมสารจิงและไขกระดูก เสริมสร้างสุขภาพร่างกายและชะลอความแก่ชราได้ จากการศึกษาวิจัยส่วนใหญ่แสดงให้เห็นว่าการฝึกฝนปาต้วนจิ่นสามารถลดอัตราการเกิดโรคที่มีความเกี่ยวข้องกับความชราได้ เช่น โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ ภาวะกระดูกพรุน โรคทางระบบต่อมไร้ท่อและความผิดปกติของระบบเมตาบอลิซึม เป็นต้น โดยปรับการทำงานของหลอดเลือดภายในร่างกายผ่านทางกลไกการสื่อสัญญาณระดับเซลล์ เช่น ไนตริกออกไซด์ บทความนี้เป็นการทบทวนการศึกษาวิจัยกลไกของการชะลอความชราด้วยปาต้วนจิ่นในปีที่ผ่านมา เพื่อเป็นแนวทางในการรักษาโรคที่มีความเกี่ยวข้องกับความชราต่อไป</p> หลิว กั๋วอี เซี่ย อันน่า ไต้ เวยเวย Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์แผนจีนในประเทศไทย 2024-06-30 2024-06-30 3 1 87 95 ความก้าวหน้าด้านงานวิจัยทางคลินิกในการรักษาอาการนอนไม่หลับในสตรีวัยใกล้หมดประจำเดือนด้วยการฝังเข็ม https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJTCM/article/view/270622 <p>อาการนอนไม่หลับเป็นอาการที่พบได้บ่อยในสตรีวัยใกล้หมดประจำเดือน ช่วงอายุระหว่าง 45-55 ปี ซึ่งหากมีอาการนอนไม่หลับเป็นระยะเวลานานอาจส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจ การทำงานและคุณภาพชีวิต โดยบทความนี้เป็นการวิเคราะห์ความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุ กลไกการเกิดโรค และแนวทางการรักษาตามศาสตร์แพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์แผนจีน รวมทั้งรวบรวมบทความที่รายงานเกี่ยวกับความก้าวหน้าด้านงานวิจัยทางคลินิกในการรักษาอาการนอนไม่หลับในสตรีวัยใกล้หมดประจำเดือนด้วยการฝังเข็มช่วง 10 ปีที่ผ่านมา โดยศึกษาจากฐานข้อมูล PubMed และ CNKI เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงวิธีการรักษาเพื่อให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น</p> ฐิตินันต์ ศรีเดช เป้า ชุนหลิง Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์แผนจีนในประเทศไทย 2024-06-30 2024-06-30 3 1 96 104 ความก้าวหน้าทางคลินิกในการรักษาโรคต่อมลูกหมากโตด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJTCM/article/view/270619 <p>โรคต่อมลูกหมากโต เป็นโรคเรื้อรังที่ค่อยๆ พัฒนาเปลี่ยนแปลงไป พบบ่อยในเพศชายวัยกลางคนและวัยสูงอายุ อาการของโรคต่อมลูกหมากโตจะเป็นมากขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น อัตราการเกิดโรคก็เพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน โรคต่อมลูกหมากโตส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินปัสสาวะค่อนข้างมาก หากเป็นมากจะกระทบการทำงานของไต และส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงคุณภาพการนอนหลับและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยชายวัยกลางคนและผู้สูงวัย ปัจจุบันการรักษาโรคต่อมลูกหมากของแผนปัจจุบันทั่วไปจะทำการผ่าตัด และใช้ยารักษา โดยจะใช้วิธีผ่าตัดรักษาเป็นการรักษาขั้นแรก แต่การผ่าตัดมีความเสี่ยงสูง มีข้อห้ามผ่าตัดในผู้ป่วยหลายกลุ่ม มีอาการข้างเคียงหลังผ่าตัด และอาจทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ต่างๆ ได้ การใช้ยารักษาก็มีผลข้างเคียงบางประการเช่นกัน ศาสตร์การ-แพทย์แผนจีน เช่น การฝังเข็ม และการรมยา เป็นวิธีที่นิยมใช้กันมากขึ้นในการรักษาโรคต่อมลูกหมากโต และมีการรายงานผลการวิจัยทางคลินิกจำนวนมากถึงประสิทธิผลการรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีนได้ผลดี ไม่เจ็บปวดทรมาน ค่าใช้จ่ายต่ำ อาการไม่พึงประสงค์มีเพียงเล็กน้อย สามารถที่จะแก้ปัญหาทางเดินปัสสาวะส่วนปลายได้ ดังนั้น ผู้ป่วยจึงมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ผู้ป่วยสะดวกสบายขึ้น ผู้ป่วยยอมรับการรักษาได้มากขึ้น ซึ่งสามารถทำได้ง่าย สะดวก ได้ผล และราคาไม่แพง</p> สวี ยวี่ซิน หนิว หงเยว่ Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์แผนจีนในประเทศไทย 2024-06-30 2024-06-30 3 1 105 113 การศึกษาภาพรวมของการใช้แคปซูลยาสมุนไพรซานชีในทางคลินิก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJTCM/article/view/270919 <p>แคปซูลยาสมุนไพรซานซี เป็นยาสมุนไพรจีนที่ใช้กันทั่วไปในทางคลินิก และสามารถใช้ร่วมกันตัวยาอื่นๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิผลการรักษาได้ตามความต้องการในทางคลินิก ปัจจุบันมีการใช้อย่างแพร่หลายในการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคกระดูกและข้อ และโรคที่เกี่ยวกับระบบเลือด นอกจากนี้ยังสามารถใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคตับ และโรคเรื้อรังอื่นๆ ได้อีกด้วย ในบทความนี้เป็นการทบทวนวรรณกรรม โดยเป็นการศึกษาภาพรวมการใช้แคปซูลยาสมุนไพรซานซีทั้งแบบยาเดี่ยวและการจับคู่ยาและศึกษาการประยุกต์ใช้ยาในทางโรค เพื่อเป็นข้อมูลการใช้ยาในการรักษาทางคลินิก</p> ซือ หงเยี่ยน สุวิมล ผลชารี Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์แผนจีนในประเทศไทย 2024-06-30 2024-06-30 3 1 114 120 การประยุกต์ใช้เทคนิครมยาแบบเร่อหมิ่นในการรักษาโรคกระดูกต้นคอเสื่อม https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJTCM/article/view/271003 <p>โรคกระดูกต้นคอเสื่อมเป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมที่พบได้บ่อยในสังคมยุคปัจจุบัน การรักษาโรคกระดูกต้นคอเสื่อมทั้งทางการแพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์แผนจีนมีประสิทธิผลที่น่าพอใจ ส่วนเทคนิครมยาแบบเร่อหมิ่นเป็นวิธีที่มีประสิทธิผลในการรักษาดี สะดวก ไม่เจ็บ และเป็นที่นิยมใช้ในทางคลินิก เทคนิคการรมยาแบบเร่อหมิ่นเป็นการเลือกใช้จุดรมยาที่ตอบสนองดี เมื่อได้รับความอุ่นจากอ้ายเถียว จะช่วยปรับการหมุนเวียนของเส้นลมปราณ อบอุ่นเส้นลมปราณกระจายความเย็น กระตุ้นการไหลเวียนเลือดสลายเลือดคั่ง บรรเทาอาการเจ็บปวดบริเวณคอบ่าไหล่ ลดอาการบวมน้ำ ทำให้ชี่และเลือดที่ติดขัดหมุนเวียนสะดวก ชะลอการเกิดอาการที่จะตามมา บทความนี้รวบรวมวรรณกรรมในช่วงปีที่ผ่านมา วิเคราะห์การนำเทคนิครมยาแบบเร่อหมิ่นไปประยุกต์ใช้ในการรักษาโรคกระดูกต้นคอเสื่อม เพื่อเป็นข้อมูลอ้างอิงเป็นประโยชน์ในทางคลินิกต่อไป</p> จู จิ้งเหวิน ถ่ง ป๋ออิน จิ้ง หย่วน ฮุ่ย เชี้ยนเชี้ยน โหยว ซื่อจิ้ง Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์แผนจีนในประเทศไทย 2024-06-30 2024-06-30 3 1 121 127 การรักษาอาการปวดศีรษะด้วยการฝังเข็ม https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJTCM/article/view/271052 <p>อาการปวดศีรษะเป็นอาการหนึ่งที่พบมากและบ่อยกับคนไทย เกิดขึ้นกับทุกเพศ ทุกวัย หากเกิดขึ้น แล้วไม่ได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องและรักษาอย่างทันเวลา อาจส่งผลร้ายแรงและเรื้อรังต่อสุขภาพกาย สุขภาพใจ และต่อการดำเนินชีวิตประจำวันได้ อาการปวดศีรษะทางการแพทย์แผนปัจจุบันที่พบบ่อยที่สุดมี 3 ประเภท ได้แก่ ปวดศีรษะจากความเครียด ปวดศีรษะจากการบาดเจ็บทางสรีระของกระดูกต้นคอ และปวดศีรษะไมเกรน อาการปวดในแต่ละประเภทจะแตกต่างกัน ซึ่งมีหลายสาเหตุปัจจัย จากการศึกษาได้สรุปรวมการรักษาอาการปวดศีรษะ ทั้ง 3 ประเภท ด้วยศาสตร์การฝังเข็ม โดยใช้ข้อมูลวิจัยจากฐานข้อมูล CNKI, PubMed และฐานข้อมูลออนไลน์อื่นๆ ในระยะเวลาไม่เกิน 10 ปี และพบว่าการรักษาด้วยการฝังเข็มและหลักการลงเข็มต่างๆ ตามศาสตร์การแพทย์แผนจีนสามารถรักษาอาการปวดศีรษะทางคลินิกทั้ง 3 ประเภท ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกหนึ่งที่ช่วยรักษาอาการปวดของผู้ป่วยได้</p> จารุพรรณ โพธิ์สัตย์ รัล ศฤงคารินทร์ Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์แผนจีนในประเทศไทย 2024-06-30 2024-06-30 3 1 128 135 การทำนายจำนวนครั้งการให้บริการทางการแพทย์แผนจีนแก่ผู้ป่วยนอกสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJTCM/article/view/267739 <p>การให้บริการตรวจรักษาด้วยการแพทย์แผนจีนในระบบบริการสุขภาพของประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 กระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำสถิติการวินิจฉัยโรคแพทย์แผนจีนตั้งแต่ปีงบประมาณ 2556 การคาดการณ์การใช้บริการเป็นบทบาทสำคัญในการวางแผนการให้บริการการแพทย์แผนจีน การทำนายด้วยอนุกรมเวลาเป็นศาสตร์และศิลป์ที่ยอมรับ เนื่องจากมีข้อมูลจำนวนน้อยไม่เกิน 10 ปี การทำนายด้วยทฤษฎีระบบเกรย์สามารถสร้างแบบจำลองการทำนายที่มีจำนวนน้อยได้ จากการนำข้อมูลจำนวนครั้งการให้บริการทางการแพทย์แผนจีนแก่ผู้ป่วยนอกของกระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2562 ถึง 2566 ทำนายจำนวนครั้งการให้บริการในปีงบประมาณ 2567 โดยจำแนกออกเป็น รายไตรมาส 4 ไตรมาส และโดยรวม ผลปรากฏว่า แบบจำลอง GM (1,1) expanded with periodic correction (EPC) มีความคลาดเคลื่อนการทำนาย ปี 2562 ถึง 2566 โดยเฉลี่ยอยู่เกณฑ์มีความแม่นยำสูงคือ โดยรวมและไตรมาสที่ 3 ใช้พยากรณ์ได้ดี คือ ไตรมาส 1 และ 2 และมีเหตุผลพอที่จะใช้พยากรณ์ คือ ไตรมาส 4</p> วัฒนา ชยธวัช ภาสกิจ วัณนาวิบูล Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์แผนจีนในประเทศไทย 2024-06-30 2024-06-30 3 1 23 31 การศึกษาการระบุลักษณะของตัวยางูลาย (งูสามเหลี่ยม) ที่ได้มาตรฐานกับตัวยาปลอม https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJTCM/article/view/269454 <p>จากการวิจัยเชิงหลักฐานจากการทบทวนวรรณกรรม พบว่า ตัวยางูลาย (งูสามเหลี่ยม หรือ <em>Bungarus multicinctus</em>) มีประวัติการบันทึกมาก่อนยุคสาธารณรัฐจีน (พ.ศ. 2479) ซึ่งมีความแตกต่างจากเอกสารที่มีการบันทึกในสมัยโบราณ ซึ่งระบุว่าเป็นงูร้อยก้าว (<em>Agkistrodon acutus</em>) และแหล่งที่มาก็ยังแตกต่างกันอีกด้วย บทความนี้ได้สรุปประเด็นความสำคัญของการตรวจสอบตัวอย่างของแท้และตัวอย่างของปลอม โดยพิสูจน์จากประสบการณ์ และวิธีการปนปลอมที่พบบ่อย โดยใช้วิธีการตรวจสอบความแตกต่างของลักษณะเฉพาะระหว่างตัวยาแท้ที่ได้มาตรฐาน กับตัวยาผิดมาตรฐานและตัวยาปลอม ได้แก่ ลักษณะภายนอก และการตรวจสอบภายใต้กล้องจุลทรรศน์ จากวิธีดังกล่าวสามารถนำมาใช้ตรวจสอบความแตกต่างระหว่าง <em>Bungarus multicinctus</em> (ตัวยาแท้ที่ได้มาตรฐาน) และ <em>Dinodon rufozonatum</em> ซึ่งเป็นตัวยาปลอมที่พบบ่อย</p> หลัว เซียว เซี่ย หลงเจียง คัง ไซว่ ไต้ ฉี เหลย เหล่ย เจิง เจิน ลู่ เหมยกุย หลี่ จี๋ Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์แผนจีนในประเทศไทย 2024-06-30 2024-06-30 3 1 32 40 การวิจัยแบบสำรวจกลุ่มอาการตามศาสตร์การแพทย์แผนจีนของผู้ป่วยโรคหลอดลมโป่งพอง 26O ราย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJTCM/article/view/269453 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การกระจายตัวของลักษณะเด่นของโรค ตำแหน่งของโรค และกลุ่มอาการของผู้ป่วยโรคหลอดลมโป่งพองตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน จากการรวบรวมข้อมูลกลุ่มอาการ ลักษณะเด่นของโรค ตำแหน่งของโรค และข้อมูลทางคลินิกของผู้ป่วยโรคหลอดลมโป่งพองทั้งคลินิกผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน ของโรงพยาบาลหลงหัว สังกัดมหาวิทยาลัยการแพทย์-แผนจีนเซี่ยงไฮ้จำนวน 260 ราย ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2020 ถึงมกราคม 2022 เพื่อวิเคราะห์การกระจายตัวของกลุ่มอาการ ลักษณะเด่นของโรค ตำแหน่งของโรค และกลุ่มอาการในแต่ละระยะของโรค ซึ่งในปีที่ผ่านมานี้ความถี่การเกิดโรคมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ดัชนีมวลกาย (BMI) และความแตกต่างกันของจุลินทรีย์ประจำถิ่น ผลสรุปของกลุ่มตัวอย่างวิจัยออกมาอย่างชัดเจนว่าตำแหน่งของโรคหลักอยู่ที่อวัยวะปอดจำนวน 257 ราย (ร้อยละ 98.85) รองลงมา คืออวัยวะไต (ร้อยละ 16.54) หัวใจ (ร้อยละ 7.69) ม้าม (ร้อยละ 7.31) และตับ (ร้อยละ 7.31) ลักษณะเด่นของโรคพบอัตราการเกิดโรคจากเสมหะสูงที่สุด 152 ราย (ร้อยละ 58.46) รองลงมาคือ อินพร่อง (ร้อยละ 45.77%) ชี่พร่อง (ร้อยละ 41.15) และไฟ (ร้อยละ 22.69) ในการจัดกลุ่มลักษณะเด่นของโรคและตำแหน่งของโรค พบปอดมักมีอาการร่วมกับชี่พร่องเป็นส่วนใหญ่โดยมีทั้งหมด 39 ราย (คิดเป็นร้อยละ 15.00) ในการกระจายตัวของกลุ่มอาการ พบว่า กลุ่มแกร่ง 90 ราย (คิดเป็นร้อยละ 34.62) กลุ่มอาการพร่อง 100 ราย (คิดเป็นร้อยละ 38.46) และกลุ่มอาการแกร่งพร่องผสมกัน 79 ราย (คิดเป็นร้อยละ 30.38) ในการจัดกลุ่มลักษณะเด่นของโรคและตำแหน่งของโรคกับกลุ่มอาการของโรค พบว่า จากกลุ่มตัวอย่าง 260 รายที่เป็นกลุ่มแกร่ง 90 ราย (คิดเป็นร้อยละ 34.62) กลุ่มอาการพร่อง 100 ราย (คิดเป็นร้อยละ 38.46) และกลุ่มอาการแกร่งพร่องผสมกัน 70 ราย (คิดเป็นร้อยละ 26.92) จะมีกลุ่มอาการที่พบมากที่สุด คือ กลุ่มอาการเสมหะร้อนอุดกั้นสะสมในปอด 53 ราย (คิดเป็นร้อยละ 20.38) รองลงมาเป็นกลุ่มอาการชี่ปอดพร่อง 34 ราย (คิดเป็นร้อยละ 13.08) และกลุ่มอาการชี่และอินปอดพร่อง 32 ราย (คิดเป็นร้อยละ 12.31) ผลการวิเคราะห์พบว่าลักษณะเด่นของโรค ตำแหน่งของโรคของผู้ป่วยโรคหลอดลมโป่งพอง มีการกระจายตัวค่อนข้างกว้าง กลุ่มอาการของโรคมีความซับซ้อนแกร่งพร่องผสมกัน อีกทั้งยังมีลักษณะพิเศษทางคลินิกที่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ป่วยที่มีกลุ่มอาการต่างกัน</p> จาง เจิ้งอี้ ฟ๋าน หย่าซิน ป๋อ ผิง ซู เปิน จาง เส่าเอี๋ยน อู๋ ติ้งจง เจิ้ง เผ๋ยหย่ง หลู่ เจิ้นฮุย ชิว เหล่ย Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์แผนจีนในประเทศไทย 2024-06-30 2024-06-30 3 1 41 53 การวิเคราะห์ช่องทางการค้นหาข้อมูลงานวิจัยของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาสาขาการแพทย์แผนจีน https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJTCM/article/view/269659 <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการค้นหาข้อมูลงานวิจัยของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาการแพทย์แผนจีน เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงการสอนการวิจัยในห้องปฏิบัติการ ทำการศึกษาโดยการจัดส่งแบบสอบถามอิเล็กทรอนิกส์ไปยังนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาสาขาการแพทย์แผนจีนจำนวน 421 คน ที่เข้าศึกษาในช่วงเดือนกันยายน 2559 ถึงเดือนกันยายน 2566 ผลการศึกษาได้รับแบบสอบถามที่สมบูรณ์ 164 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในแบบสอบถามโดยใช้วิธีการทางสถิติความถี่ (ร้อยละ) [n (%)] ผลลัพธ์นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาการแพทย์แผนจีน ส่วนใหญ่ดาวน์โหลดข้อมูลผ่าน Sci-Hub (ร้อยละ 65.24) และใช้ PubMed (ร้อยละ 93.29) ในการสืบค้นข้อมูล โดยอ่านเอกสารบนคอมพิวเตอร์เป็นหลัก (ร้อยละ 96.95) และเน้นการอ่านเอกสารที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ (ร้อยละ 98.78) เว็บไซต์ฐานข้อมูลประเภทการวิจัยที่นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาการแพทย์แผนจีนให้ความสนใจมากที่สุดคือ Jie-Luo-Xuan, Ding-Xiang Series, Sheng-Wu-Xue-Ba, Shi-Yan-Wan-Shi-Wu, BioArt และ Xiao-Zhang-Liao-Ke-Yan จากผลการสำรวจแสดงให้เห็นว่า ควรจะมีการสอนการวิจัยในห้องปฏิบัติการให้แก่นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาการแพทย์แผนจีน ควรเน้นการปลูกฝังให้นักศึกษามีความเชี่ยวชาญในการใช้เครื่องมือค้นหาและเครื่องมือในการอ่านบทความทางเว็บไซต์ที่ใช้อย่างแพร่หลายในการทำวิจัยในปัจจุบัน เน้นการวิเคราะห์การออกแบบงานวิจัยและวิธีการวิจัยในสาขาการวิจัยที่เกี่ยวข้อง</p> หวัง ลี่โป จาง เจี๋ย หวัง เฉิงหลง อู๋ หงจิ้น ไต้ เวยเวย Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์แผนจีนในประเทศไทย 2024-06-30 2024-06-30 3 1 54 61 การวิเคราะห์อัตราค่าบริการการครอบกระปุกในหน่วยบริการสังกัดกระทรวงสาธารณสุข https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJTCM/article/view/271087 <p style="font-weight: 400;">การครอบกระปุกเป็นหนึ่งในหัตถการของแพทย์แผนจีน ซึ่งตามรายงานหัตถการด้านการแพทย์แผนจีนมีผู้เข้ารับบริการในหน่วยบริการสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2566 จำนวน 104,517 ราย แต่ยังไม่มีการศึกษาอัตราค่าบริการการครอบกระปุกอย่างเป็นระบบ โดยการวิเคราะห์อัตราค่าบริการการครอบกระปุกในหน่วยบริการสังกัดกระทรวงสาธารณสุขครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา และจากการศึกษาพบว่าต้นทุนค่าแรง เท่ากับ 191.20 บาท/ครั้งต้นทุนค่าวัสดุ เท่ากับ 48.23 บาท/ครั้ง ต้นทุนค่าครุภัณฑ์ สิ่งก่อสร้าง เท่ากับ 18.98 บาท/ครั้ง ต้นทุนทางตรง เท่ากับ 258.41 บาท/ครั้ง ต้นทุนทางอ้อม เท่ากับ 51.68 บาท/ครั้ง ต้นทุนรวม เท่ากับ 310.09 บาท/ครั้ง ต้นทุนการพัฒนา เท่ากับ 77.52 บาท/ครั้ง และราคาหรืออัตราค่าบริการ เท่ากับ 387.61 บาท/ครั้ง ซึ่งปัจจุบันตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อัตราค่าบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2562การครอบกระปุกมีอัตราค่าบริการ 200 บาท/ครั้ง ทั้งนี้อัตราค่าบริการการครอบกระปุกที่วิเคราะห์ได้ มีอัตราสูงกว่าถึง 187.61 บาท/ครั้ง หรือคิดเป็นร้อยละ 93.81 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอัตราค่าบริการการประปุกตามประกาศฯ ไม่สอดคล้องกับอัตราที่วิเคราะห์ได้ จึงอาจส่งผลต่อการบริหารจัดการด้านการเงินของหน่วยบริการดังนั้นจึงควรมีการพิจารณาปรับปรุงอัตราค่าบริการการครอบกระปุกของหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข</p> วรชัย คงแสงไชย Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์แผนจีนในประเทศไทย 2024-06-30 2024-06-30 3 1 62 69 หลักสำคัญในการดำรงชีวิตตามวิถีธรรมชาติตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJTCM/article/view/271925 ชลิดา สิทธิชัยวิจิตร Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์แผนจีนในประเทศไทย 2024-06-30 2024-06-30 3 1 136 142 นาฬิกาชีวภาพทั้ง 12 ชั่วยามของมนุษย์ตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJTCM/article/view/272075 อรกช มหาดิลกรัตน์ Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์แผนจีนในประเทศไทย 2024-06-30 2024-06-30 3 1 143 148 กรณีศึกษาโรคกระดูกสันหลังส่วนคอเสื่อมที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของข้อต่อบริเวณกระดูกต้นคอ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJTCM/article/view/270916 <p>การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน ทำให้โรคกระดูกสันหลังส่วนคอกลายเป็นหนึ่งในโรคที่พบบ่อยที่สุดในชีวิตของคนยุคใหม่ ความผิดปกติของข้อต่อบริเวณกระดูกต้นคอมีความเกี่ยวข้องกับโรคกระดูกสันหลังส่วนคอเสื่อม ชนิดกดทับรากประสาท และชนิดกดทับหลอดเลือดที่มาเลี้ยงไขสันหลัง ซึ่งส่งผลให้โรคกระดูกสันหลังส่วนคอพัฒนารุนแรงขึ้นได้ แต่ความสัมพันธ์ของทั้งสองโรคนี้ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังพบความผิดปกติของข้อต่อบริเวณกระดูกต้นคอมีความเกี่ยวข้องกับโรคกระดูกสันหลังส่วนคอเสื่อมชนิดระบบประสาทซิมพาเทติกด้วย บทความนี้แสดงถึงความสำคัญทางคลินิกของโรคกระดูกสันหลังส่วนคอเสื่อมที่มีความเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของข้อต่อบริเวณกระดูกต้นคอ และนำเสนอกรณีศึกษา หากพบความผิดปกติของข้อต่อบริเวณกระดูกต้นคอตั้งแต่ระยะเริ่มแรก จะสามารถป้องกันและควบคุมการพัฒนาของโรคกระดูกสันหลังส่วนคอเสื่อมนี้ได้ หวังว่าบทความนี้จะมีคุณค่าต่อการวินิจฉัยและรักษา และสามารถใช้เป็นการอ้างอิงข้อมูลและศึกษาต่อในอนาคตต่อไป</p> หยวน ไห่กวง หลี่ ฮั่นเฉิง Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์แผนจีนในประเทศไทย 2024-06-30 2024-06-30 3 1 7 14 สุนทรียทักษะของผู้นำทางการพยาบาลด้านการแพทย์แผนจีนในยุคแห่งการพลิกผัน https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJTCM/article/view/271041 <p>จากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและคาดไม่ถึง หรือที่เรียกว่า “ความพลิกผัน” ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ไปทั่วโลก ประชาชนเริ่มหาทางเลือกในการป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสุขภาพร่างกาย ศาสตร์การแพทย์แผนจีนถือเป็นทางเลือกหนึ่งในระบบบริการสุขภาพ ที่ได้รับความนิยมแพร่หลายในหลายๆ ประเทศ รวมถึงประเทศไทย เช่น การฝังเข็ม การนวดทุยหนา การรักษาด้วยยาจีน เป็นต้น และเพื่อให้คลินิกการแพทย์แผนจีนเกิดการพัฒนามาตรฐานด้านการพยาบาลทางการแพทย์แผนจีนและการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ผู้นำทางการพยาบาลจึงต้องมีการพัฒนาทั้งด้านความรู้ ความสามารถและทักษะด้านต่างๆ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงให้ทันกับยุคแห่งการพลิกผัน เนื่องจากผู้นำทางการพยาบาลเป็นหนึ่งในผู้กำหนดทิศทางขององค์กร โดยการจะนำองค์กรให้ประสบความสำเร็จได้นั้น ผู้นำต้องอาศัยหลายปัจจัยที่เป็นลักษณะเฉพาะส่วนบุคคล และอีกหนึ่งปัจจัยที่มีความสำคัญ ได้แก่ “สุนทรียทักษะผู้นำ” เป็นความสามารถทางด้านเทคนิคที่ใช้ในการปฏิบัติงาน ความฉลาดทางอารมณ์หรือเชาว์อารมณ์ รวมถึงทักษะทางสังคม ทักษะมนุษยสัมพันธ์ เป็นความสามารถและทักษะของผู้บริหารในการส่งเสริม กระตุ้นให้คนอื่นให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงาน เกิดการเรียนรู้และมีการพัฒนาร่วมกันอย่างต่อเนื่องเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายองค์กร</p> เจนจิรา รังษา ญาณิศา สุทธิบูรณ์ พรรณรัตน์ นพคุณ ภารดี บัวแดง รัตน์สุดา สุยะปุก เพ็ญพักตร์ อุทิศ Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์แผนจีนในประเทศไทย 2024-06-30 2024-06-30 3 1 15 22 บทบรรณาธิการ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJTCM/article/view/271949 วิชัย โชควิวัฒน Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์แผนจีนในประเทศไทย 2024-06-30 2024-06-30 3 1 1 6