https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJTCM/issue/feed วารสารการแพทย์แผนจีนในประเทศไทย 2023-12-30T00:00:00+07:00 นายแพทย์วิวัฒน์ โรจนพิทยากร [email protected] Open Journal Systems <p>ด้วยคลินิกการประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว มีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะทำวารสารการแพทย์แผนจีน โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนาวิชาการทางการแพทย์แผนจีน ให้แพทย์แผนจีนและผู้ที่เกี่ยวข้องได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ เพิ่มพูนความรู้ เผยแพร่บทความวิชาการ เพื่อจะได้พัฒนายกระดับวารสารการแพทย์แผนจีนในประเทศไทยให้ได้มาตรฐานสากล ได้รับความร่วมมือกับเครือข่ายหน่วยงานในประเทศไทยและประเทศจีนสนับสนุนให้เกิดการจัดทำวารสารการแพทย์แผนจีนในประเทศไทยนี้ขึ้น</p> https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJTCM/article/view/265117 การประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสในการพัฒนาสูตรชาสมุนไพรดอกสายน้ำผึ้งและดอกกุหลาบที่เหมาะสมด้วยวิธีทดสอบแบบปัจจัยเดี่ยวและการทดสอบ orthogonal 2023-08-17T17:45:44+07:00 เหยา อวี่ซิน [email protected] กัว อี้หลิง [email protected] จ้าว ซิงเถา [email protected] หลี่ หยุนเสีย [email protected] เผิง เฉิง [email protected] <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสูตรชาสมุนไพรใหม่ที่มีความเหมาะสม วัตถุดิบที่ใช้คือ ดอกสายน้ำผึ้ง (Lonicera japonica Thunb.) และดอกกุหลาบ (Rosa rugosa Thunb.) ร่วมกับน้ำตาลทรายขาวและกรดซิตริกโดยอิงจากคะแนนทางประสาทสัมผัส และกำหนดสูตรที่เหมาะสมสำหรับชาสมุนไพรโดยวิธีการทดสอบปัจจัยเดี่ยวและการทดสอบ orthogonal ผลการศึกษาพบว่า ดอกสายน้ำผึ้งเข้มข้น 7.5% ดอกกุหลาบเข้มข้น 2.5% น้ำตาลทรายขาว 14% และกรดซิตริก 0.08% เป็นสูตรที่มีความเหมาะสมมากที่สุด ซึ่งชาสูตรนี้มีสีสันสดใส รสชาติหวานอมเปรี้ยวกลมกล่อม และมีกลิ่นหอมสดชื่นจากดอกสายน้ำผึ้งและดอกกุหลาบ นอกจากจะมีรสชาติที่โดดเด่นแล้ว ยังดีต่อสุขภาพและมีคุณค่าทางโภชนาการอีกด้วย การพัฒนาชาสูตรนี้ยังเป็นแนวทางในการพัฒนาและใช้ประโยชน์จากสายน้ำผึ้งและดอกกุหลาบอีกด้วย</p> 2023-12-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารการแพทย์แผนจีนในประเทศไทย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJTCM/article/view/265360 การศึกษาประสิทธิผลของยาผงซานฮวาเจียกู่ในการส่งเสริมการสมานกระดูกหักในหนูทดลอง 2023-08-15T14:40:54+07:00 หวาง เทียนฉี [email protected] จาง เจียฮุ้ย [email protected] หนิง รั่วหนาน [email protected] สวี สิ่ง [email protected] โหว หยิง [email protected] เสี้ยว หม่าน [email protected] โอว หยาง [email protected] <p>บทความนี้เป็นการสำรวจการทำงานของยาผงซานฮวาเจียกู่ (三花接骨散) ในการส่งเสริมการสมานกระดูกต้นขาหักของหนูทดลองเป็นหลัก ในการทดลองได้กำหนดแบบจำลองหนูที่มีกระดูกต้นขากลางหักแบบปิด ทั้งหมด 40 ตัว โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 10 ตัว โดยใช้ตัวทำละลายที่แตกต่างกัน ดังนี้ กลุ่มควบคุม ใช้ normal saline กลุ่ม SH -5 ใช้ผงซานฮวาเจียกู่ที่มีความเข้มข้นต่ำ 5 กรัม/กก./วัน กลุ่ม SH-10 ใช้ผงซานฮวาเจียกู่ที่มีความเข้มข้นสูง 10 ก./กก./วัน และกลุ่ม TLP ใช้ยา Teriparatide 40 ไมโครกรัม/กก./วัน ผลการตรวจ Micro-CT แสดงให้เห็นว่า ผงซานฮวาเจียกู่ มีผลต่อการส่งเสริมในการซ่อมแซมกระดูกหักในระยะเริ่มต้น หลังจากผ่านไป 2 สัปดาห์ ปริมาตรกระดูกสัมพัทธ์ (BV/TV) ปริมาณ trabecular number (Tb.N) และความหนาแน่นของกระดูก (BMD) ของกลุ่ม SH-5 เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (p&lt;0.05) ภาพเอ็กซ์เรย์และผลการย้อมสี Hematoxylin-Eosin แสดงให้เห็นว่าผงซานฮวาเจียกู่ สามารถส่งเสริมการสร้างกระดูกใหม่และการสร้าง callus ได้ โดยสรุป ผงซานฮวาเจียกู่สามารถส่งเสริมการสมานกระดูกหักในหนูทดลองได้</p> 2023-12-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารการแพทย์แผนจีนในประเทศไทย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJTCM/article/view/265856 การศึกษากฎเกณฑ์ของยาที่ใช้บ่อยในการรักษาภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีนโดยการวิเคราะห์เหมืองข้อมูล 2023-10-18T15:33:26+07:00 เลา เหมยอิ๋ง [email protected] ถัน เหวินเทียน [email protected] ถัง ซินเวย์ [email protected] ลิม กูนมัน [email protected] <p>การศึกษาครั้งนี้เป็นการสำรวจชุดข้อมูลวรรณกรรมในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาที่เกี่ยวกับการรักษาภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา (DR) เพื่อหาความถี่และความสัมพันธ์ของสมุนไพรจีนที่ใช้บ่อยในการรักษา โดยใช้คำสำคัญที่เกี่ยวข้องกับภาวะเบาหวานขึ้นจอตา ยาสมุนไพรจีน ศาสตร์การแพทย์แผนจีน และโรคตาจากเบาหวาน ใน the Chinese National Knowledge Infrastructure (CNKI), PubMed, ScienceDirect และ ฐานข้อมูล Springer Link เอกสารที่ตรงตามเกณฑ์การคัดเลือกเข้าจะถูกป้อนลงใน Microsoft Excel และ IBM SPSS Modeler Subscription สำหรับการวิเคราะห์ความถี่และการวิเคราะห์กฎการเชื่อมโยง ซึ่งเข้าเกณฑ์จำนวน 25 บทความ มีการใช้ยาจีนทั้งหมด 102 ชนิด พบว่ายาสมุนไพรจีนที่ใช้บ่อยที่สุดในการรักษา DR ได้แก่ ตี้หวง (地黄), หวงฉี (黄芪) และ ตังกุย (当归) และคู่ยาสมุนไพรจีนที่ใช้ร่วมกันที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ หวงฉี (黄芪) และตี้หวง (地黄), ตี้หวง (地黄) และตังกุย (当归), หวงฉี (黄芪) และชวนซยง (川芎) ยาจีนที่ใช้บ่อยมักมีสรรพคุณในการช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น บำรุงชี่ และเสริมอิน จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า DR โดยทั่วไปมีกลไกทางพยาธิวิทยาพื้นฐานของ "ชี่และอินพร่อง ทำให้เลือดคั่ง อุดกั้นเส้นลมปราณ" ดังนั้นหลักการรักษาของ DR ควรเน้นไปที่การบำรุงชี่และอิน ขจัดเลือดคั่ง และบำรุงดวงตา</p> 2023-12-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารการแพทย์แผนจีนในประเทศไทย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJTCM/article/view/261844 สรรพคุณต้านการอักเสบและต้านมะเร็งทางเภสัชวิทยาของหญ้าฝรั่น 2023-05-02T17:58:52+07:00 พีระพงศ์ เลิศนิมิตพันธ์ [email protected] <p>西红花 หรือ หญ้าฝรั่น (Crocus Sativus L.) มักถูกนำไปใช้ในการผสมอาหาร ถนอมอาหาร และเป็นยา ในทางการแพทย์แผนจีน หญ้าฝรั่นมีรส หวาน สุขุม เข้าเส้นลมปราณ หัวใจ ตับ มีฤทธิ์ในการกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด สลายเลือดคั่ง คลายเครียดสงบจิตใจ ระบายความร้อนในเลือด ขับพิษ มีการบันทึกวิธีใช้งานของหญ้าฝรั่นมาอย่างยาวนาน โดยในเอเชียตะวันออกและยุโรปตะวันออกมีการใช้ในการประกอบอาหาร การย้อมผ้า และเป็นยาสมุนไพร โดยมีสารประกอบออกฤทธิ์ที่สำคัญ เช่น safranal, crocin, picrocrocin และ crocetin เป็นต้น สารเหล่านี้มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ ต้านมะเร็ง เป็นต้น ในบทความนี้จะรวบรวมสารออกฤทธิ์และกลไกการออกฤทธิ์สำคัญต่างๆ ที่เกี่ยวกับการต้านการอักเสบและต้านมะเร็งในหญ้าฝรั่น</p> 2023-12-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารการแพทย์แผนจีนในประเทศไทย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJTCM/article/view/263884 เทคโนโลยีการตรวจพิสูจน์ทาง DNA: เครื่องมืออันทรงประสิทธิภาพในการควบคุมคุณภาพของยาสมุนไพรจีน 2023-05-26T18:07:20+07:00 เฉิน หรง [email protected] ถัง จั๋ว [email protected] เติ้ง ยวิน [email protected] <p>เทคโนโลยีการตรวจพิสูจน์เอกลักษณ์ทางดีเอ็นเอ ได้ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในด้านการตรวจวินิจฉัยทางคลินิกในโรคที่มีสาเหตุมาจากเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคและโรคที่มาจากพันธุกรรม ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาเทคโนโลยีดังกล่าวก็ได้ถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมยาสมุนไพรจีนโดยช่วยในเรื่องการพิสูจน์ความแท้ของตัวยาสมุนไพรจีนพร้อมใช้หรือวัตถุดิบในยาสำเร็จรูปแผนจีน บทความนี้นำเสนอภาพรวมของประวัติความเป็นมาของการพัฒนาวิธีการทดสอบเอกลักษณ์ทางสารพันธุกรรมดีเอ็นเอยาสมุนไพรจีน รวมถึงการสำรวจติดตามของทีมนักวิจัยในการพิสูจน์ความแท้ของตัวยาสมุนไพรจีนพร้อมใช้และวัตถุดิบที่ใช้ในยาสำเร็จรูปแผนจีน การวิเคราะห์เชิงปริมาณของยาสมุนไพรจีนโดยผ่านวิธีการหาปริมาณด้านดีเอ็นเอ และการวิจัยเพิ่มประสิทธิภาพด้านการตรวจพิสูจน์เอกลักษณ์ทางดีเอ็นเอของยาสมุนไพรจีน ทางคณะวิจัยหวังว่าจะมีการสื่อสารติดต่อและร่วมกันทำงานกับสถาบันหรือหน่วยงานอื่นๆ มากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นส่วนหนึ่งที่ก่อให้เกิดการควบคุมคุณภาพของยาสมุนไพรจีนต่อไป</p> 2023-12-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารการแพทย์แผนจีนในประเทศไทย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJTCM/article/view/264866 ความคืบหน้าของการวิจัยเกี่ยวกับการรักษาผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีนและการแพทย์แผนตะวันตก 2023-09-14T15:07:07+07:00 หลี่ เซิงกว่าง [email protected] จาง เถิง [email protected] <p>โรคความดันโลหิตสูงที่เกิดขึ้นในผู้สูงอายุเป็นโรคเรื้อรังที่พบได้บ่อยในทางคลินิก มีอัตราการเกิดโรคสูงและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี มีความเสี่ยงสำคัญในการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ภาวะหัวใจล้มเหลว และเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตอันดับหนึ่งที่เกิดจากโรคหัวใจและหลอดเลือด การวิจัยเกี่ยวกับการป้องกันและรักษาโรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุได้กลายเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจในโรคที่เกิดในผู้สูงอายุในปัจจุบัน แม้ว่าการรักษาด้วยการแพทย์แผนตะวันตกจะมีประสิทธิผลในระดับหนึ่ง แต่ก็ยังมีข้อจำกัดบางอย่าง การรักษาด้วยการแพทย์ผสมผสานระหว่างศาสตร์การแพทย์แผนจีนและการแพทย์แผนตะวันตกมีข้อดีที่เด่นชัดในการช่วยบรรเทาอาการ ลดอาการข้างเคียง และควบคุมความดันโลหิตในระยะยาวในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงได้ บทความนี้ได้ใช้การวิเคราะห์อย่างเป็นระบบของงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและรักษาโรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุที่รักษาด้วยการแพทย์ผสมผสานระหว่างการแพทย์แผนจีนและแพทย์แผนตะวันตก เพื่อให้เป็นแนวทางที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันและรักษาโรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุ</p> 2023-12-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารการแพทย์แผนจีนในประเทศไทย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJTCM/article/view/264868 ความก้าวหน้าการวิจัยกลไกการออกฤทธิ์ของสารโพลีฟีนอลในการป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุน 2023-07-17T17:40:22+07:00 เซี่ย อันน่า [email protected] จางซุน เจิ้งหยวน [email protected] ไต้ เวยเวย [email protected] <p>โรคกระดูกพรุนเป็นโรคกระดูกเรื้อรังที่พบบ่อย มีลักษณะกระดูกเปราะบางและมีความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหักเพิ่มขึ้น หากอาการรุนแรงจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ดังนั้นการค้นหาวิธีการป้องกันและรักษาที่มีประสิทธิผลจึงเป็นสิ่งสำคัญ สารโพลีฟีนอลเป็นกลุ่มของสารประกอบออกฤทธิ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติซึ่งมีอยู่ทั่วไปในพืช และมีฤทธิ์ทางสรีรวิทยาหลายอย่าง รวมถึงการต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบ มีงานวิจัยมากมายแสดงให้เห็นว่า สารโพลีฟีนอลสามารถควบคุมเมตาบอลิซึมของกระดูกผ่านกลไกต่างๆ เช่น การต้านอนุมูลอิสระ การต้านการอักเสบ การส่งเสริมการสร้างกระดูก และยับยั้งการสลายของกระดูก โพลีฟีนอลมีข้อดีหลายประการและเป็นสารที่ได้จากธรรมชาติ ปลอดสารพิษ เมื่อเปรียบเทียบกับยาที่ใช้กันทั่วไป จึงเป็นสารที่มีศักยภาพในการป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุน บทความนี้เป็นการทบทวนงานวิจัยเกี่ยวกับกลไกการออกฤทธิ์ของสารโพลีฟีนอลในการป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุนในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นพื้นฐานทางทฤษฎีและแนวคิดใหม่ๆ ในการพัฒนาสารโพลีฟีนอลให้เป็นยาที่มีศักยภาพในการป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุน</p> 2023-12-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารการแพทย์แผนจีนในประเทศไทย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJTCM/article/view/264865 ความคืบหน้าการวิจัยในการรักษาภาวะหลอดเลือดแดงแข็งโดยการควบคุมการอักเสบตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน 2023-09-14T15:38:58+07:00 หวัง เจียโหรว [email protected] เฝิง เซียวเถิง [email protected] ตู้ หมิ่น [email protected] หลี่ ซือจิ่น [email protected] ฉาง ซินตี๋ [email protected] หลิว ผิง [email protected] <p>ภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง (AS) เป็นภาวะหลอดเลือดอักเสบเรื้อรังที่มีสาเหตุมาจากหลายปัจจัยร่วมกัน เกิดจากเซลล์เนื้อเยื่อบุโพรงเส้นเลือดด้านในเสียหาย มีการสะสมของไขมัน และการอักเสบของเซลล์ จนนำไปสู่การก่อตัวของ atherosclerotic plaque และลิ่มเลือดทำให้หลอดเลือดแข็งตัว กระบวนการนี้สอดคล้องกับความเข้าใจของภาวะหลอดเลือดแดงแข็งในทางการแพทย์-แผนจีน ตามทฤษฎีการแพทย์แผนจีน โรคหลอดเลือดจัดอยู่ในประเภทของ “ม่ายปี้ (脉痹)” หรือ “หลอดเลือดตีบตัน” กลไกการเกิดโรคมีสาเหตุหลักจาก “เสมหะ (痰)” “ภาวะเลือดอุดกั้น (瘀)” และ “ภาวะพร่อง (虚)” หากร่างกายอ่อนแอจะไม่สามารถขนส่งน้ำและความชื้นได้ เมื่อเวลาผ่านไป น้ำและความชื้นจะสะสมก่อตัวเป็นเสมหะ (การสะสมและการแทรกซึมของไขมันและเซลล์อักเสบจัดเป็น ปัจจัยก่อโรคที่มีรูปร่าง) ซึ่งทั้งหมดนี้จะรวมกันเรียกว่า “เสมหะขุ่น (痰浊)” หมายถึงการก่อตัวของคราบพลัค “เสมหะขุ่น” เป็นปัจจัยก่อโรคที่มีรูปร่าง จะอุดกั้นหลอดเลือด ส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดไม่ดี ทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือด เกิดเป็น “หลอดเลือดตีบตัน” เมื่อเปรียบเทียบกับการรักษาแบบ invasive และการรักษาด้วยยากลุ่ม statin ยาสมุนไพรจีนมีจุดเด่นด้านความปลอดภัย มีประสิทธิผลในการรักษา มีสรรพคุณหลายทิศทางและเป้าหมาย สามารถยับยั้งการตอบสนองต่อการอักเสบได้อย่างมีประสิทธิภาพ และลดการก่อตัวของ atherosclerotic plaque ดังนั้นจึงคาดหวังว่าการใช้ฤทธิ์ต้านการอักเสบในทางการแพทย์แผนจีนให้เกิดประโยชน์ จะเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญในการรักษาภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง บทความนี้ทบทวนความก้าวหน้าของการแพทย์แผนจีนในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาในการรักษาและควบคุมการพัฒนาการอักเสบจากภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง เพื่อเป็นแนวทางในการค้นหาวิธีใหม่ที่มีประสิทธิผลในการป้องกันและรักษาภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง</p> 2023-12-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารการแพทย์แผนจีนในประเทศไทย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJTCM/article/view/264867 ความก้าวหน้าในการวิจัยการรักษามะเร็งรังไข่ด้วยวิธีการควบคุม JAK/STAT3 signaling pathway 2023-09-14T15:44:06+07:00 จาง เจี๋ย [email protected] ฉี ชง [email protected] ไต้ เวยเวย [email protected] อู๋ หงจิ้น [email protected] หวัง ลี่โป [email protected] หวัง เฉิงหลง [email protected] <p>JAK-STAT (Janus kinases &amp; signal transducer and activator of transcription proteins) มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับกระบวนการทางพยาธิสรีรวิทยาหลายอย่างของโรคมะเร็งรังไข่ การรักษาโรคมะเร็งด้วยแพทย์แผนจีนกลายเป็นจุดสนใจอย่างมาก จากการดูแลโดยการรักษาก่อนเกิดโรค และส่วนประกอบ เป้าหมาย และเส้นทางต่างๆ บทความนี้เป็นการทบทวนถึงความสัมพันธ์ระหว่าง JAK/STAT3 signaling pathway กับมะเร็งรังไข่ และการใช้ยาจีนในการควบคุมมะเร็งรังไข่ เพื่อให้เกิดแนวคิดใหม่ในการวิจัยและพัฒนายารักษาต่อไป</p> 2023-12-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารการแพทย์แผนจีนในประเทศไทย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJTCM/article/view/266046 การศึกษาทางคลินิกเกี่ยวกับการฝังเข็มที่ sphenopalatine ganglion ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา 2023-09-18T12:57:39+07:00 ณิชากร ธรรมสัจการ [email protected] หนิว หงเยว่ [email protected] <p>การฝังเข็มที่ปมประสาทสฟีโนพาลาไทน์ หรือ sphenopalatine ganglion มีจุดเด่นคือใช้จุดฝังเข็มน้อย และให้ผลการรักษาที่ดี สามารถใช้ในการรักษาโรคต่างๆ รวมถึงโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ได้อย่างครอบคลุม sphenopalatine ganglion มีตำแหน่งทางกายวิภาค อยู่บริเวณแขนงประสาทเส้นที่ 2 ของเส้นประสาท trigeminal nerve การฝังเข็มบริเวณเส้นประสาท sympathetic nerve มีสรรพคุณทำให้หลอดเลือดหดตัว จึงสามารถชะลอการไหลเวียนของเลือดบริเวณโดยรอบ และลดการคัดหลั่งของสารจากต่อมเยื่อเมือกบริเวณจมูกได้ ศาสตราจารย์ Li Xinwu ได้ค้นพบจุดฝังเข็มจุดนี้ และได้นำไปใช้ทางคลินิกโดยตั้งชื่อว่า "จุดซินหวู่" (Xinwu point) จากการศึกษาการทดลองทางคลินิกเกี่ยวกับการฝังเข็มบริเวณ sphenopalatine ganglion ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ได้ทำการสรุปจำแนกวิธีการรักษาที่หลากหลาย อาทิเช่น วิธีการฝังเข็มจุดเดียว ฝังเข็มร่วมกับจุดอื่นๆ บนร่างกาย การร้อยไหม และตัวเลือกการรักษาอื่นๆ ซึ่งให้ผลการรักษาทางคลินิกที่ดีอย่างชัดเจนทั้งผลในระยะสั้นและผลในระยะยาว สะท้อนให้เห็นถึงความเรียบง่ายและประหยัดของวิธีการฝังเข็มจุดเดียว วิเคราะห์ข้อดีและข้อเสียของการศึกษาทางคลินิกเหล่านี้เพื่อใช้อ้างอิง ขยายขอบเขตโรคที่เหมาะสมกับการประยุกต์ใช้ และเพื่อสนับสนุนการวิจัยขั้นพื้นฐานอื่นๆในอนาคต</p> 2023-12-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารการแพทย์แผนจีนในประเทศไทย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJTCM/article/view/266288 ความก้าวหน้าด้านงานวิจัยทางคลินิกในการรักษาโรคต่อมลูกหมากอักเสบเรื้อรังด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน 2023-09-29T13:59:58+07:00 ธนกร ชาญนุวงค์ [email protected] <p>ต่อมลูกหมากอักเสบเรื้อรังหรือกลุ่มอาการปวดอุ้งเชิงกรานเรื้อรังเป็นโรคในระบบทางเดินปัสสาวะที่พบบ่อยในเพศชาย วัยรุ่นถึงวัยกลางคนเนื่องจากเกิดโรคได้ง่าย การรักษายาวนานไม่หายขาด มีผลกระทบรุนแรงต่อสภาพจิตใจและคุณภาพชีวิต ในบทความนี้เป็นการทบทวนวรรณกรรม โดยผู้เขียนได้วิเคราะห์ความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุ การเกิดโรค การรักษาภายใน การรักษาภายนอก การฝังเข็ม และด้านอื่นๆ ของการแพทย์แผนจีน รวมทั้งสรุปความคืบหน้าการวิจัยทางคลินิกในรักษาต่อมลูกหมากอักเสบเรื้อรังด้วยศาสตร์แพทย์แผนจีนในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เพื่อนำมาปรับปรุงยกระดับการวิจัยและประสิทธิภาพของการรักษาทางคลินิก</p> 2023-12-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารการแพทย์แผนจีนในประเทศไทย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJTCM/article/view/266768 ความสัมพันธ์ของทฤษฎีจิงจินและทฤษฎีกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืดมาใช้ในการวินิจฉัยและรักษาโรคเกี่ยวกับอาการปวด 2023-10-24T16:12:37+07:00 หลิน ยู่วเซิง [email protected] อรกช มหาดิลกรัตน์ [email protected] <p>ทฤษฎีจิงจิน เป็นแนวคิดบนพื้นฐานทฤษฎีการแพทย์แผนจีน มีการเชื่อมโยงระบบกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นที่เชื่อมโยงกับเส้นลมปราณทั้งสิบสอง ส่วนทฤษฎีกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด เป็นแนวคิดของการแพทย์สมัยใหม่ ซึ่งพัฒนามาจากพื้นฐานของกายวิภาคศาสตร์ จากมุมมองและสถานะการศึกษาวิจัยของทฤษฎีกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืดนี้ มองว่าเป็นโครงสร้างของร่างกายคนเราที่ดึงยึดส่วนต่างๆ ทั้งกระดูก กล้ามเนื้อมัดเล็ก เส้นเอ็น เนื้อเยื่อพังผืด เป็นต้น ประกอบเข้าด้วยกัน โดยแต่ละส่วนมีการเชื่อมโยงกันเป็นแบบเครือข่ายลูกโซ่ เพื่อรักษาโครงสร้างของร่างกายและความมั่นคงในการทำงาน การเคลื่อนไหวของร่างกายให้เป็นไปอย่างปกติ อาการปวดถูกจัดเป็นสัญญาณชีพที่ห้าที่สำคัญของร่างกาย ซึ่งเป็นอาการแสดงที่สำคัญของร่างกายที่บ่งบอกถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นในร่างกายของคนเรา และมักจะเป็นปัญหาที่สร้างความรำคาญใจที่สุดปัญหาหนึ่ง มีผู้ป่วยมากมายที่ยังเผชิญกับความปวดทั้งเฉียบพลันและเรื้อรัง และความปวดที่รักษาไม่หายไม่สามารถบรรเทาได้ ในบทความนี้จะให้แนวคิดและแนวทางในการรักษาใหม่ๆ ในการรักษาอาการปวดโดยอาศัยทฤษฎีจิงจินและทฤษฎีกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด</p> 2023-12-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารการแพทย์แผนจีนในประเทศไทย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJTCM/article/view/267176 ความก้าวหน้าด้านการศึกษาถึงความสัมพันธ์ของอินผิงหยางมี่และสารต้านอนุมูลอิสระภายในร่างกายที่นำมาประยุกต์ใช้ในการนวดทุยหนา 2023-11-16T17:07:23+07:00 หลี่ ฮั่นเฉิง [email protected] หลิว หย่งปัว [email protected] เฉิน หลิงซวง [email protected] ธิดารัตน์ องค์ศรีตระกูล [email protected] ธีรา อารีย์ [email protected] หลี่ จงหมิน [email protected] <p>อินผิงหยางมี่เป็นความสมดุลของอินหยางแบบพลวัต ซึ่งเป็นพื้นฐานร่างกายของสารสำคัญต่างๆ ในร่างกายของมนุษย์ในสภาวะร่างกายจิตใจที่เป็นปกติ มีการกล่าวถึงครั้งแรกในคัมภีร์หวงตี้เน่ยจิง ว่า “หากอินชี่สงบ หยางถูกกักเก็บอย่างสมดุลกัน ร่างกายจิตใจก็จะเป็นปกติ หากอินหยางแยกจากกัน ร่างกายจิตใจก็จะดับสูญ” สุขภาพร่างกายของคนเราขึ้นอยู่กับสมดุลของอินและหยาง ถ้าอินหยาง ชี่ เลือด และอวัยวะต่างๆ ทำงานผิดปกติ โรคต่างๆ ก็จะเกิดขึ้น ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาให้ความสำคัญกับการวิจัยทางชีวโมเลกุลเกี่ยวกับสารอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้น มีผลต่อสุขภาพของร่างกายมากขึ้น การนวดด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีนก็เริ่มมีการวิจัยมากขึ้นถึงสารอนุมูลอิสระ พบว่าการนวดจะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของชี่และเลือด สามารถแก้ไขปรับปรุงสภาวะขาดเลือดและขาดออกซิเจนของเนื้อเยื่อได้ และการสามารถแก้ไขอนุมูลอิสระที่แปรปรวนผิดปกติได้ เป็นต้น ซึ่งในบทความนี้กล่าวถึงความสัมพันธ์ของอินหยางตามทฤษฎีของศาสตร์การแพทย์แผนจีนและสารต้านอนุมูลอิสระภายในร่างกาย การรวบรวมความก้าวหน้าด้านการวิจัย เพื่อเป็นประโยชน์ในการนำแนวคิดไปประยุกต์ใช้ในการรักษาต่อไป</p> 2023-12-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารการแพทย์แผนจีนในประเทศไทย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJTCM/article/view/267193 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของโรคระดับเลือด และระดับน้ำ ในคัมภีร์จินคุ่ยเอี้ยวเลี่ยต่อโรคกลุ่มอาการถุงน้ำรังไข่หลายใบ 2023-11-23T11:58:56+07:00 เชน ปรีชา​วณิช​วงศ์​ [email protected] <p>คัมภีร์จินคุ่ยเอี้ยวเลี่ยเป็นคัมภีร์สำคัญยิ่งในวงการแพทย์แผนจีนด้านนรีเวช ได้บันทึกรวบรวมความรู้และประสบการณ์ในการรักษาโรคทางนรีเวชมาอย่างยาวนาน แบ่งแยกประเภทของโรคและแนวทางการรักษาอย่างละเอียด เปรียบเสมือนรากฐานสำคัญในการพัฒนาการแพทย์แผนจีนด้านนรีเวช แม้จะผ่านกาลเวลามาหลายพันปี คัมภีร์จินคุ่ยเอี้ยวเลี่ยก็ยังทรงคุณค่าต่อการศึกษาและนำไปประยุกต์ใช้ บทความนี้ได้วิเคราะห์เรื่องโรคระดับเลือด และระดับน้ำ ที่ถูกบันทึกในคัมภีร์ รวมไปถึงความสัมพันธ์กับการเกิดโรคและแนวทางการรักษาโรคกลุ่มอาการถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome, PCOS) จากการวิเคราะห์พบว่า คัมภีร์จินคุ่ยเอี้ยวเลี่ยไม่เพียงแต่สามารถกล่าวถึงกลไกการเกิดโรค PCOS ได้อย่างชัดเจน ทั้งยังระบุแนวทางการรักษาไว้อย่างครบถ้วน โดยมีงานวิจัยใหม่สนับสนุนหลักการนี้ ด้วยแนวทางการรักษานี้จะเกิดประโยชน์ต่อการปรับรอบประจำเดือน ลดภาวะดื้อต่ออินซูลิน สามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางการรักษาโรค PCOS ในปัจจุบันต่อไป</p> 2023-12-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารการแพทย์แผนจีนในประเทศไทย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJTCM/article/view/265850 การศึกษาเกี่ยวกับการรักษาโรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในประเทศมาเลเซียด้วยตำรับจิงฟาง 2023-09-07T15:35:09+07:00 ถัน เหวินเถียน [email protected] ชาน หยวนจิ้น [email protected] โลว์ ซุนยี่ [email protected] หวง หยินจุย [email protected] หลี่ ไคจวีน [email protected] ซู ลี่สือ [email protected] หม่า จือหลิน [email protected] ซุน จินเฉิง [email protected] เปียน ซงจิง [email protected] <p>การศึกษาตำรับยาจิงฟางของอาจารย์เปี้ยน ซงจิงในการรักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19 ในมาเลเซียที่ได้ผลดีอย่างเป็นระบบ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ตำรับยาและลักษณะเฉพาะของตำรับยาในแต่ละกลุ่มอาการ ซึ่งตำรับยาจิงฟางของอาจารย์เปี้ยน ซงจิงที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19 ในประเทศมาเลเซีย มีประสิทธิผลในการรักษาดี จากการวิเคราะห์ทางสถิติ แสดงให้เห็นว่า ตำแหน่งของโรคโควิด-19 อยู่ในเส้นลมปราณหยางทั้งสาม โดยจะอยู่ที่เส้นลมปราณเส้าหยางเป็นหลัก กลไกการเกิดโรค เกิดจากปัจจัยก่อโรคจากภายนอกเข้าสู่เส้นลมปราณเส้าหยาง การไหลเวียนของชี่ติดขัด หรือความร้อนเข้าสู่ภายใน จะเกิดเป็น เจี๋ยซยง ทำให้รู้สึกแน่นหน้าอก หากติดขัดที่เส้นลมปราณหยางหมิงจะเกิดเป็น ฝูสือ นอกจากนี้หากรวมกับความชื้น ส่งผลให้มีเสมหะขุ่นก่อตัวอยู่ภายใน รักษาได้ยาก เป็นกลุ่มอาการตำรับยาไฉหูทัง หากโรคอยู่ที่เส้นลมปราณไท่หยาง อาการหลักคือ มีไข้ เจ็บคอ และไอ จัดเป็นกลุ่มอาการตำรับหมาซิ่งสือกันทัง หากไข้สูงไม่ทุเลาลง แสดงว่าเป็นโรคของเส้นลมปราณหยางทั้งสาม หากอาการร้อนเพิ่มสูงขึ้น จัดเป็นกลุ่มอาการตำรับยาไป๋หู่ทัง โดยกลุ่มอาการของตำรับไฉหูเสี้ยนซยงทัง เป็นกลุ่มอาการที่พบบ่อยที่สุด รองลงมาคือหมาซิ่งสือกันทัง สมุนไพรที่มีการใช้มากที่สุดคือ ไฉหู รองลงมาคือ สือเกา บทความนี้อาศัยแนวคิดของตำรับยาจิงฟางในการวิเคราะห์การจำแนกกลุ่มอาการและการรักษาโรคของเส้นลมปราณทั้ง 6 ที่พบในผู้ป่วยโรคโควิด-19 นอกจากนี้ยังได้แสดงตัวอย่างเคสไว้เพื่อใช้ในการอ้างอิงแนวทางการรักษาต่อไป</p> 2023-12-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารการแพทย์แผนจีนในประเทศไทย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJTCM/article/view/267724 บทบรรณาธิการ 2023-12-15T09:09:39+07:00 สมชาย จิรพินิจวงศ์ [email protected] 2023-12-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารการแพทย์แผนจีนในประเทศไทย