The Effects of Improving Clinical Supervision Process Program by Coaching for Head Nurse in Phrae Hospital

Authors

  • Pratumtip Dokkaew
  • Laddawan Daengthern

Keywords:

Improving Clinical Supervision Program, Process of Clinical Supervision, Head Nurse

Abstract

การวิจัยกึ่งทดลองแบบหนึ่งกลุ่มวัดก่อน-หลังนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพัฒนา กระบวนการนิเทศทางคลินิก ด้วยวิธีการสอนงานสำหรับหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลแพร่ ศึกษาความรู้ ทักษะ และทัศนคติเกี่ยวกับกระบวนการนิเทศทางคลินิกของหัวหน้าหอผู้ป่วยก่อนและหลังการใช้โปรแกรม กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเจาะจง มีจำนวน 30 คน การพัฒนาขั้นตอนกระบวนการนิเทศทางคลินิก ด้วยวิธีการสอนงานตามแนวคิด GROW Model คือ เริ่มด้วยขั้นตอนการทำความเข้าใจประเด็น ขั้นตอน เป้าหมายอยากจะเห็นผลอะไร ขั้นตอนข้อเท็จจริงกำลังเกิดอะไรอยู่ ขั้นตอนมีทางเลือกอะไรที่เป็นไปได้ และสรุปแล้วตัดสินใจจะทำอะไรในการพัฒนากระบวนการนิเทศทางคลินิก เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความรู้ ทักษะและทัศนคติต่อกระบวนการนิเทศทางคลินิกสำหรับหัวหน้าหอผู้ป่วย ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรง และความเที่ยงของแบบสอบถาม โดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค ได้ค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยง ของแบบสอบถาม เท่ากับ .75 และ .77 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมุติฐานโดยใช้สถิติทดสอบ Paired t-test ผลการวิจัยพบว่าค่าคะแนนเฉลี่ย ความรู้ ทักษะ และทัศนคติ เกี่ยวกับกระบวนการนิเทศทางคลินิก ของหัวหน้าหอผู้ป่วย หลังการได้รับโปรแกรมการพัฒนากระบวนการนิเทศทางคลินิกด้วยวิธีการสอนงาน สูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

References

กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลแพร่. (2556). คู่มือ
การนิเทศทางการพยาบาล. แพร่. โรงพยาบาลแพร่
กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลแพร่. (2558). คู่มือบริหาร
การพยาบาล. แพร่. โรงพยาบาลแพร่
กาญจนา พุทธรักษา. (2553). ผลของโปรแกรมการ
จัดการความรู้ต่อสมรรถนะของทีมสหวิชาชีพ
ด้านการบันทึกเวชระเบียนผู้ป่วยใน โรงพยาบาล
มวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี. ปริญญามหาบัณฑิต,
มหาสารคาม.
จุฬารัตน์ ห้าวหาญและ อรชร อินทองปาน. (2015).
การวิจัยและพัฒนารูปแบบการโค้ชเพื่อพัฒนา
ความสามารถในการปฏิบัติงานด้านการบริการ
สุขภาพ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข,
26(1), 167-177.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2543). กระบวนการสื่อสารการเรียน
การสอน ในเอกสารการสอน ชุดวิชาเทคโนโลยี
และสื่อสารการศึกษา. นนทบุรี: มหาวิทยาลัย
สุโขทัยธรรมาธิราช.
ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี. (2552). แนวคิดการสอนงานสำหรับ
ผู้บริหาร. วารสารนักบริหาร, 29(3),40-46.
นิตยา ศรีญาณลักษณ์. (2552). การบริหารการพยาบาล.
พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพ :บริษัทธนาเพลส จำกัด.
บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2553). ระเบียบวิธีการวิจัยทาง
พยาบาลศตร์. กรุงเทพมหานคร : ยูแอนด์ไอ
อินเตอร์มีเดีย จำกัด.
บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. ( 2555). การพัฒนาและตรวจ
สอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย: คุณสมบัติการวัด
เชิงจิตวิทยา. กรุงเทพ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร. (2554). การสอนงานเพื่อพัฒนา
ผลงาน (Coaching for Performance). สืบค้นเมื่อ
9 กรกฎาคม 2560. ค้นจาก http://prakal.
wordpress.com/2014/02/26/grow
ประนอม โอทกานนท์. (2538). การนิเทศงานการพยาบาล
ในเอกสารการสอนชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพ
การพยาบาล หน่วยที่13. พิมพ์ครั้งที่ 7 กรุงเทพ
มหานคร: โรงพิมพ์อรุณการพิมพ์.
พวงรัตน์ บุญญานุรักษ์. (2539). คู่มือการนิเทศ การฝึก
ประสบการณ์วิชาชีพการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 1.
ชลบุรี: ศรีศิลปะการพิมพ์.
พูลสุข หิงคานนท์. (2550). แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนา
ศักยภาพระบบบริการพยาบาล ในประมวลสาระ
ชุดวิชาการพัฒนาศักยภาพระบบบริการพยาบาล
หน่วยที่ 1 (หน้า21-25) .นนทบุรี: มหาวิทยาลัย
สุโขทัยธรรมาธิราช
ยุวดี เกตสัมพันธ์ (ผู้บรรยาย). (15-16 มิถุนายน
2559). สมรรถนะผู้นำทางการพยาบาล Clinical
Supervision รุ่นที่ 1 กรุงเทพมหานคร : โรงแรม
แกรนด์ ทาวเวอร์อินน์ พระราม 6.
ยุวดี เกตสัมพันธ์ และสมใจ พุทธาพิทักษ์ผล. (2550).
การสอนงานทางการพยาบาล. ในชุดฝึกอบรม
การอบรมเข้มเสริมประสบการณ์มหาบัณฑิต
พยาบาลศาสตร์. (หน้า 6-1-6-17). นนทบุรี :
โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วารี วณิชย์ปัญจพล และสุพิศ กิตติรัชดา. (2551).
การบริหารการพยาบาลสู่คุณภาพ การนิเทศ
การพยาบาล. กรุงเทพมหานคร: สามเจริญ
พาณิชย์. สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพ
โรงพยาบาล. (2546). เอกสารประกอบการ
ประชุมเชิงปฏิบัติการ HA301. กรกฏาคม 2546.
(เอกสารอัดสำเนา).
สภาการพยาบาล. (2556). สมรรถนะผู้บริหารการ
พยาบาล. นนทบุรี: สภาการพยาบาล กระทรวง
สาธารณสุข. กรุงเทพมหานคร : บริษัทจุดทอง จำกัด.
สุพานี สฤษฎ์วานิช. (2552). พฤติกรรมองค์การ
สมัยใหม่ : แนวคิดและทฤษฎี. (พิมพ์ครั้งที่ 2).
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
หรรษา เทียนทอง และพุทธชาด สมณา. (2559). Enjoy
quality eyery moment in global and national
health: ถอดบทเรียนการประชุมวิชาการ 17th
HA National Forum สถาบันรับรองคุณภาพ
สถานพยาบาล (องค์การมหาชน). 9 มีนาคม 2559 :
ศูนย์การประชุมอิมแพคฟอรัม เมืองทองธานี.
อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล. (2557). ความผูกพันเพื่อคุณภาพ
(Engagement for Quality)ใน HA Update.
เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ HA National
Forum ครั้งที่15. นนทบุรี : บริษัท หนังสือวันดี จำกัด.
อมร สุวรรณนิมิต (2553). การบริหารการพยาบาล.
พิมพ์ครั้งที่1. มหาสารคาม: หจก.อภิชาติ
การพิมพ์.
Leonard, E.C. (2013). Supervision:Concepts and
Practices of Management.(12thEd). Canada
Sullivan, E.J. & Decker, P.J. (2009). Effective
leadership and management in nursing. (7th Ed).
Pearson Education International.
Cutcliffe, J.R. & Butterworth, T. & Proctor, B. (2001).
Clinical supervision. New York: Midlands Book
Typesetting Company.
Marquis, B.L. & HustonC.J. (2009). Leadership,roles
and management functions in nursing:Thery
and application. (6th Ed). China. Wolters Kluner
Health
Hicks, R.F. (2014). Coaching as a Leadership Style.
New York : Routledge Taaylor & Francis Group.

Downloads

Published

2019-02-18

How to Cite

Dokkaew, P., & Daengthern, L. (2019). The Effects of Improving Clinical Supervision Process Program by Coaching for Head Nurse in Phrae Hospital. NU Journal of Nursing and Health Sciences, 12(3), 60–70. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/NurseNu/article/view/173060