มหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร https://he01.tci-thaijo.org/index.php/MNSTMedJ <p>มหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ISSN: 3027-608X (Online) มีนโยบายรับตีพิมพ์<wbr />บทความภาษไทยที่เกี่ยวข้องกั<wbr />บการแพทย์และสาธารณสุข ทั้งในรูปแบบนิพนธ์ต้นฉบับ รายงานผู้ป่วย บทความฟื้นฟูวิชาการ บทความพิเศษหรือบทปกิณกะ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล เภสัชกรหรือบุคลากรทางสาธารณสุ<wbr />ขอื่นๆ ทั้งจากภายในและภายนอกหน่วยงาน โดยมีกำหนดออก 2 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 กรกฎาคม - ธันวาคม และ ฉบับที่ 2 มกราคม-มิถุนายน</p> Maharaj Nakhon Si Thammarat Hospital th-TH มหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร 3027-608X <p><em><span style="font-weight: 400;">เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ</span></em></p> <p><em><span style="font-weight: 400;">บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ก่อนเท่านั้น</span></em></p> <p>&nbsp;</p> ศึกษาความสัมพันธ์ของเครื่องตรวจโลหิตอัตโนมัติ ที่ใช้ในการตรวจวิเคราะห์ Infectious Marker (HBsAg, Anti-HCV, HIV Ag/Ab และ Syphilis Ab) ของภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช https://he01.tci-thaijo.org/index.php/MNSTMedJ/article/view/267976 <p><strong>บทนำ</strong><strong> : </strong>ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติกำหนดนโยบายระดับชาติ ถึงมาตรฐานในการตรวจคัดกรองเลือดที่ได้รับบริจาค ด้วยวิธีทางซีโรโลยี (Serology) ที่มีความไว และความจำเพาะสูง และลดความเสี่ยงที่เหลืออยู่ของโรคติดเชื้อในเลือดโดยการตรวจด้วยวิธีชีววิทยาระดับโมเลกุล (NAT)</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong> : </strong>ประเมินหาความสัมพันธ์และความสอดคล้องของเครื่องตรวจวิเคราะห์โลหิตอัตโนมัติ ทั้ง 3 ชนิด ในการตรวจวิเคราะห์ HBsAg, Anti-HCV, HIV Ag/Ab และ Syphilis Ab ตัวอย่างรายเดียวกัน จะต้องได้ผลการตรวจที่มีความสัมพันธ์และสอดคล้องกัน</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการศึกษา</strong><strong> : </strong>นำตัวอย่างที่ตรวจ HBsAg, Anti-HCV, HIV Ag/Ab และ Syphilis Ab ที่ให้ผล Reactive อย่างละ 10 ตัวอย่าง และให้ผล Negative 10 ตัวอย่าง รวมทั้งหมด 50 ตัวอย่าง มาตรวจด้วยเครื่องตรวจวิเคราะห์โลหิตอัตโนมัติทั้ง 3 เครื่อง นำผลมาวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) และ Cohen Kappa</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong><strong> : </strong>ผลการวิจัยพบว่าค่า r ในการเปรียบเทียบเครื่องตรวจวิเคราะห์เครื่องที่ 1 และ 2 ,เครื่องที่ 1และ 3, เครื่องที่ 2 และ 3 ในการตรวจ HBsAg เท่ากับ 0.99955, 0.99980 และ 0.99960 การตรวจ Anti-HCV เท่ากับ 0.99785, 0.99905 และ 0.99925 การตรวจ HIV Ag/Ab เท่ากับ 0.99975, 0.99985 และ 0.99970 การตรวจ Syphilis Ab เท่ากับ 0.99995, 0.99930, 0.99940 ตามลำดับ เมื่อนำข้อมูลมาคำนวณหาค่า K โดยใช้สถิติ Kappa พบว่าค่า K การตรวจทุกการทดสอบทั้ง 3 เครื่อง มีความสอดคล้องกันเท่ากับ 1</p> <p><strong>สรุป </strong><strong>: </strong>เครื่องตรวจวิเคราะห์โลหิตอัตโนมัติทั้ง 3 เครื่อง สามารถวิเคราะห์ค่าการตรวจ HBsAg, Anti-HCV, HIV Ag/Ab และ Syphilis Ab ให้ผลการตรวจที่มีความสัมพันธ์และสอดคล้องกันเป็นมาตรฐานเดียวกันทั้ง 3 เครื่อง</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong> : </strong>ตรวจคุณภาพโลหิต เครื่องตรวจวิเคราะห์โลหิตอัตโนมัติ</p> อมรรัตน์ เรืองทอง ขวัญตา เครือจันทร์ ปาริชาต เดชพิชัย ชฎาพร จุติชอบ Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-27 2023-12-27 7 2 1 9 การประเมินชุดตรวจ HIVAg/Ab, HBsAg, Anti-HCV และ Syphilis ด้วยเครื่องตรวจโลหิตอัตโนมัติ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/MNSTMedJ/article/view/267979 <p><strong>บทนำ</strong><strong> :</strong> โลหิตทุกยูนิตต้องผ่านการตรวจคัดกรองเชื้อโรคที่ติดต่อทางการให้เลือด ภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราชดำเนินนโยบายตามศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติและองค์การอนามัยโลก เพื่อให้โลหิตปลอดภัยสูงสุดต่อผู้รับ</p> <p><strong>วัตถุประสงค์ </strong>: เพื่อทำการประเมินชุดตรวจ HIV Ag/Ab, HBsAg, Anti-HCV และ Syphilis ด้วยเครื่องตรวจโลหิตอัตโนมัติทั้ง 2 เครื่อง ก่อนนำมาใช้ในการตรวจคัดกรองคุณภาพโลหิตของภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการศึกษา</strong><strong> :</strong> ใช้ตัวอย่างที่ทราบผลการตรวจจากศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ตรวจตามโปรโตคอลของเครื่องตรวจโลหิตอัตโนมัติ ด้วยชุดตรวจ HIVAg/Ab ,HBsAg, Anti-HCV และ Syphilis เพื่อประเมินหาความไว (Sensitivity) ความจำเพาะ (Specificity) และความแม่นยำ (Precision) โดยใช้ร้อยละค่าสัมประสิทธิ์ของการแปรปรวน (CV) เปรียบเทียบกับเกณฑ์ข้อกำหนดของการทดสอบ</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong><strong> :</strong> ผลการประเมินชุดตรวจ HIVAg/Ab ,HBsAg, Anti-HCV และ Syphilis ได้ความไว (Sensitivity) และความจำเพาะ (Specificity) ร้อยละ100 ทั้งสองเครื่อง ได้ค่าความแม่นยำ (Precision) โดยใช้ร้อยละค่าสัมประสิทธิ์ของการแปรปรวน (CV) ของเครื่องที่ 1 With in run เท่ากับร้อยละ 1.8,1.7,1.8,1.9 &nbsp;Between&nbsp; run เท่ากับร้อยละ 2.1,1.0,2.8,2.3 และ เครื่องที่ 2 With in run&nbsp; เท่ากับร้อยละ 2.1,1.4,2.9,1.8 &nbsp;Between&nbsp; run เท่ากับร้อยละ 3.0,2.0,3.2, 2.1 ตามลำดับ</p> <p><strong>สรุป</strong> : ผลการทดสอบผ่านเกณฑ์ข้อกำหนด สามารถนำชุดทดสอบมาใช้ในการตรวจคัดกรองโลหิตบริจาคของภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราชเพื่อความปลอดภัยสูงสุดต่อผู้ป่วย</p> ขวัญตา เครือจันทร์ อมรรัตน์ เรืองทอง ปาริชาต เดชพิชัย ชฎาพร จุติชอบ Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-27 2023-12-27 7 2 10 16 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการงดการผ่าตัดของผู้ป่วยที่ใช้บริการวิสัญญีกรณีไม่เร่งด่วน โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต https://he01.tci-thaijo.org/index.php/MNSTMedJ/article/view/267981 <p><strong>บทนำ</strong> : การเลื่อนผ่าตัดเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในห้องผ่าตัด ส่งผลต่อการบริหารจัดการเวลาในห้องผ่าตัด&nbsp;&nbsp;&nbsp; ทำให้เกิดความล่าช้าในการรักษา รวมถึงเป็นตัวชี้วัดถึงประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรห้องผ่าตัด และคุณภาพการบริการของโรงพยาบาล การทราบถึงอุบัติการณ์ สาเหตุ และปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลื่อนผ่าตัด ทำเกิดการวางแผนในการดูแลรักษาผู้ป่วยที่ดี ลดโอกาสการเลื่อนผ่าตัดให้น้อยลง เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ ในการใช้ห้องผ่าตัด ลดอุบัติการณ์การรักษาผู้ป่วยล่าช้า ส่งผลให้ผลการรักษาผู้ป่วยดีขึ้นตามมา</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong> :&nbsp; ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการงดผ่าตัดของผู้ป่วยที่ใช้บริการวิสัญญีกรณีไม่เร่งด่วน โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการศึกษา</strong> : การศึกษาแบบ retrospective case control study เก็บข้อมูลของผู้ป่วยที่มาผ่าตัดโดยใช้บริการทางวิสัญญีในกรณีไม่เร่งด่วนที่ถูกงดผ่าตัดทุกรายตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 ถึง วันที่ 31 ธันวาคม 2564 โดยข้อมูลที่บันทึกได้แก่ ข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วย ได้แก่ อายุ เพศ ASA physical status ช่วงเวลาที่ทำการผ่าตัด แผนกที่ผ่าตัด วิธีการให้การระงับความรู้สึก และสาเหตุของการงดผ่าตัด อัตราส่วนที่ใช้ระหว่าง case : control คือ 1:1 และใช้ multivariate logistic regression analysis ในการหาปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการงดผ่าตัด</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong> : อุบัติการณ์การงดผ่าตัดโดยใช้บริการวิสัญญีกรณีไม่เร่งด่วน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 ถึง วันที่ 31 ธันวาคม 2564 เท่ากับร้อยละ1.84 เมื่อทำการวิเคราะห์โดยวิธี multivariate logistic regression analysis พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการงดผ่าตัด ได้แก่ เพศชาย (Adjusted Odds ratio, AOR 1.96, 95%CI 1.33-2.85) อายุ &nbsp;≥ 65 ปี (AOR 2.20, 95%CI 1.41-3.44) วิธีการระงับความรู้สึกแบบ general anesthesia (AOR 1.68, 95%CI 1.11-2.54) และการผ่าตัดในช่วงเวลาราชการ(AOR 3.32, 95%CI 2.04-5.56)</p> <p><strong>สรุป</strong> : การทราบถึงปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเลื่อนผ่าตัดอาจช่วยลดอุบัติการณ์การเลื่อนผ่าตัด ส่งผลให้เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ห้องผ่าตัด ลดการอุบัติการณ์การรักษาผู้ป่วยล่าช้า ส่งผลให้ผลการรักษาของผู้ป่วยดีขึ้นตามมา และยังเป็นการเพิ่มคุณภาพการบริการของโรงพยาบาล</p> สุชาวดี ธาดากุลธรรม Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-27 2023-12-27 7 2 17 30 การประเมินผลโครงการแสงนำใจไทยทั้งชาติ เดิน วิ่ง ปั่น ป้องกันอัมพาต เฉลิมพระเกียรติ เขตสุขภาพที่ 5 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/MNSTMedJ/article/view/267982 <p><strong>บทนำ</strong>: โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) มีแนวโน้มอุบัติการณ์ทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผลจากการป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองทำให้ผู้ป่วยมีการเปลี่ยนบทบาทของตนเองเป็นผู้พึ่งพิง ไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองได้ เป็นภาระต่อครอบครัวก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตามมา เขตสุขภาพที่ 5 มีอุบัติการณ์ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) อยู่ในอันดับ 3 จาก 13 เขตสุขภาพ จึงได้จัดโครงการแสงนำใจไทยทั้งชาติ เดิน วิ่ง ปั่น ป้องกันอัมพาตขึ้น และประเมินผลโครงการโดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในกระบวนการปรับปรุงการดำเนินงาน</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong>: ประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบาย โครงการแสงนำใจไทยทั้งชาติเดิน วิ่ง ปั่น ป้องกันอัมพาต เฉลิมพระเกียรติ&nbsp; เขตสุขภาพที่ 5</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการศึกษา </strong><strong>: </strong>เป็นการวิจัยเชิงประเมินผล (evaluation research design) ศึกษาใน 1) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในบริบทของคณะกรรมการอำนวยการ ภายในกระทรวงสาธารณสุขและผู้รับผิดชอบงานโรคหลอดเลือดสมองในทุกจังหวัด ของเขตสุขภาพที่ 5 จำนวน&nbsp; 155 คน และ 2) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในบริบทของคณะกรรมการอำนวยการ ภายนอกกระทรวงสาธารณสุขในทุกจังหวัด ของเขตสุขภาพที่ 5 จำนวน 154 คน รวมทั้งสิ้น 309 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong>: ประเมินผลโครงการโดยใช้รูปแบบซิปป์ พบว่า ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการดำเนินงาน และด้านผลผลิต อยู่ในระดับสูง</p> <p><strong>สรุป</strong>: &nbsp;โครงการแสงนำใจไทยทั้งชาติ เดิน วิ่ง ปั่น ป้องกันอัมพาต เฉลิมพระเกียรติ&nbsp; เขตสุขภาพที่ 5&nbsp; เป็นโครงการที่มีประสิทธิภาพ และเกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติภายใต้โครงการแสงนำใจ ไทยทั้งชาติ เดิน วิ่ง ปั่น ป้องกันอัมพาต เฉลิมพระเกียรติ เขตสุขภาพที่ 5</p> ทณาศักดิ์ ปั้นทรัพย์ กมลวรรณ สุวรรณ Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-27 2023-12-27 7 2 31 41 ผลของโปรแกรมการควบคุมและป้องกันภาวะโลหิตจางต่อพฤติกรรมสุขภาพและ ภาวะโลหิตจางในหญิงวัยเจริญพันธุ์ของสถานประกอบการแห่งหนึ่งในอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช https://he01.tci-thaijo.org/index.php/MNSTMedJ/article/view/267983 <p><strong>บทนำ </strong><strong>:</strong> ภาวะโลหิตจางเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญ เนื่องจากมีผลต่อทั้งสุขภาพและประสิทธิภาพการทำงาน&nbsp; แต่ยังขาดความครอบคลุมของนโยบายในการดูแลกลุ่มหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในสถานประกอบการ&nbsp; โดยสถานประกอบการแห่งนี้พบความชุกของภาวะโลหิตจางในหญิงวัยเจริญพันธุ์ (อายุ 20-45 ปี) อยู่ที่ร้อยละ 23 ซึ่งใกล้เคียงกับความชุกในระดับโลก</p> <p><strong>วัตถุประสงค์ : </strong>เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการควบคุมและป้องกันภาวะโลหิตจางต่อพฤติกรรมสุขภาพและภาวะโลหิตจางของหญิงวัยเจริญพันธุ์ในสถานประกอบการแห่งหนึ่งในอำเภอทุ่งสง</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการศึกษา :</strong>&nbsp;การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบหนึ่งกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง&nbsp; กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานหญิงวัยเจริญพันธุ์ (อายุ 20-45 ปี) จำนวน 61 ราย&nbsp;เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) ศึกษาเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ (25 เมษายน – 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2566) โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสร้างขึ้นจากทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ร่วมกับ แรงสนับสนุนทางสังคม เจาะเลือดเพื่อจำแนกกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มปกติ(ได้รับยาเสริมธาตุเหล็กสัปดาห์ละ 1 ครั้ง) และกลุ่มที่มีภาวะโลหิตจาง(ได้รับยาเสริมธาตุเหล็กทุกวัน)&nbsp; ทั้งสองกลุ่มได้รับเอกสารแผ่นพับให้ความรู้ อบรมเพื่อปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ได้รับยาโฟลิก สัปดาห์ละ 1 ครั้งและได้รับยาถ่ายพยาธิ 1 ครั้ง จากนั้นติดตามผลที่ 12 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับความรู้ทั่วไป ทัศนคติ และแบบประเมินตนเองในเรื่องพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ซึ่งตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา (CVI) เท่ากับ 1&nbsp; ค่าดัชนีความสอดคล้องของเครื่องมือ(Reliability) เท่ากับ 0.787, 0.821 และ 0.761 ตามลำดับ ประเมินภาวะโลหิตจางด้วยค่าฮีโมโกลบิน และฮีมาโตคริต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (ร้อยละ, ค่าเฉลี่ย ,ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) เปรียบเทียบความแตกต่างก่อนและหลังทดลองด้วย Paired t-test และเปรียบเทียบความแตกต่างของความชุกภาวะโลหิตจางก่อนและหลังการทดลองด้วยสถิติ Mc Nemar test กำหนดนัยสำคัญที่ระดับ 0.05</p> <p><strong>ผลการศึกษา :</strong>&nbsp;หลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมสุขภาพ ค่าฮีโมโกลบิน และฮีมาโตคริต เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05) ส่วนความชุกของภาวะโลหิตจางหลังการทดลองลดลงกว่าก่อนทดลองร้อยละ 16.4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05)</p> <p><strong>สรุป :</strong><strong>&nbsp;</strong>สามารถนำโปรแกรมนี้มาใช้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและยาเสริมธาตุเหล็ก เพื่อลดภาวะโลหิตจางในกลุ่มหญิงวัยเจริญพันธุ์ได้</p> พัทธ์ธิดา จินตนปัญญา Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-27 2023-12-27 7 2 42 54 ผลของการใช้นวัตกรรมวงล้อพิชิตเค็ม ต่อระดับความรู้ ระดับความเค็มในอาหาร และระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง https://he01.tci-thaijo.org/index.php/MNSTMedJ/article/view/267984 <p><strong>บทนำ </strong><strong>: </strong>โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคเรื้อรังไม่ติดต่อ (NCDs) เป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้ประชากรโลกเสียชีวิตก่อนวัยอันควร</p> <p><strong>วัตถุประสงค์ </strong><strong>: </strong>เพื่อศึกษาผลของนวัตกรรมวงล้อพิชิตเค็มต่อระดับความรู้ ระดับความเค็มในอาหาร และระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการศึกษา </strong><strong>: </strong>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ศึกษาแบบวัดผลก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มารับบริการที่คลินิกโรคเรื้อรัง รพ.สต. บ้านไม้หลา จำนวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย นวัตกรรมวงล้อพิชิตเค็ม ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นตามแผนยุทธศาสตร์ลดการบริโภคเกลือและโซเดี่ยมในประเทศไทย นำไปทดลองใช้กับครัวเรือนของกลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และแบบสอบถามประเมินความรู้การบริโภคอาหารเค็ม และพฤติกรรมการบริโภคเกลือโซเดียม รวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนพฤษภาคม 2566 ถึงเดือน กรกฎาคม 2566 วิเคราะห์เปรียบเทียบระดับความความรู้เฉลี่ยก่อน-หลังการใช้นวัตกรรม ด้วยสถิติ Wilcoxon Signed Ranks test วิเคราะห์เปรียบเทียบระดับความเค็มเฉลี่ยในอาหารที่บริโภค และระดับความดันโลหิต ก่อน-หลังใช้นวัตกรรมทันที และหลังใช้นวัตกรรม 1 เดือน ด้วยสถิติ The Friedman Test</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong><strong> : </strong>หลังใช้นวัตกรรมระดับคะแนนเฉลี่ยความรู้การบริโภคอาหารเค็มของกลุ่มตัวอย่างสูงกว่าก่อนใช้&nbsp;&nbsp;&nbsp; นวัตกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05) ค่าเฉลี่ยระดับความเค็มในอาหารที่บริโภค หลังใช้นวัตกรรมทันที และหลังใช้ 1 เดือนต่ำกว่าก่อนใช้นวัตกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05) และค่าเฉลี่ยระดับความดันโลหิตหลังใช้&nbsp;&nbsp;&nbsp; นวัตกรรมทันที และหลังใช้ 1 เดือนต่ำกว่าก่อนใช้นวัตกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05)</p> <p><strong>สรุป </strong><strong>: </strong>นวัตกรรมวงล้อพิชิตเค็มที่จัดทำขึ้นมีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้กับกลุ่มตัวอย่างต่อไปได้ เนื่องจากทำให้กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เรื่องการบริโภคอาหารเค็ม มีการรับประทานอาหารเค็มในปริมาณที่เหมาะสม มีส่วนช่วยลดระดับความดันโลหิตให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมได้</p> กฤติยา พิพัฒน์ผล Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-27 2023-12-27 7 2 55 67 ความต้องการด้านการสนับสนุนการจัดการตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชุมชนท่าสาป จังหวัดยะลา https://he01.tci-thaijo.org/index.php/MNSTMedJ/article/view/267986 <p><strong>บทนำ</strong> <strong>:</strong> การได้รับการสนับสนุนในการจัดการตนเองที่ครอบคลุมในทุกด้านทั้งด้านอาหาร ออกกำลังกาย การได้รับยา และการจัดการความเครียดตามความต้องการของผู้ป่วยเบาหวานซึ่งมีความแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล นำไปสู่การทำความเข้าใจ และการได้รับการสนับสนุนพร้อมทั้งการตอบสนองความต้องการอย่างชัดเจนและทั่วถึง สามารถช่วยส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนสำหรับผู้ป่วยเบาหวานได้</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong> : เพื่อศึกษาความต้องการด้านการสนับสนุนการจัดการตนเอง และการได้รับการสนับสนุนตามความเป็นจริง และเปรียบเทียบความต้องการด้านการสนับสนุนการจัดการตนเอง กับการได้รับการสนับสนุนตามความเป็นจริงเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชุมชนท่าสาป จังหวัดยะลา</p> <p><strong>วัสดุและวิธี</strong><strong>การศึกษา</strong> : การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในชุมชนท่าสาป อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานและมาร่วมกิจกรรมบริการวิชาการกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แบบสอบถามความต้องการด้านการสนับสนุนการจัดการตนเอง และแบบสอบถามการได้รับการสนับสนุนตามความเป็นจริง โดยใช้สถิติ Paired sample t-test</p> <p><strong>ผลการศึกษา </strong><strong>:</strong> พบว่า ความต้องการด้านการสนับสนุนการจัดการตนเองโดยรวม อยู่ในระดับสูง ค่าเฉลี่ย 3.32 (SD= .48) การได้รับการสนับสนุนตามความเป็นจริงโดยรวม อยู่ในระดับสูง ค่าเฉลี่ย 2.96 (SD= .40) เปรียบเทียบพบว่าความต้องการด้านการสนับสนุนการจัดการตนเอง มากกว่าการได้รับการสนับสนุนตามความเป็นจริง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (t = 6.56)</p> <p><strong>สรุป </strong>: ความต้องการการสนับสนุนการจัดการตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชุมชนท่าสาป จังหวัดยะลา คือความต้องการด้านการได้รับยา ด้านการบริโภคอาหาร ด้านการออกกำลังกายและด้านการจัดการกับความเครียด ตามลำดับ ดังนั้นจึงควรมีการสนับสนุนระบบการดำเนินงานให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างทั่วถึงในทุกด้าน โดยเฉพาะด้านการออกกำลังกาย ที่ผู้ป่วยยังได้รับการสนับสนุนในระดับน้อยโดยการออกแบบการสนับสนุนให้สอดคล้องตามบริบทของพื้นที่ และตอบสนองความต้องการของชุมชน เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยสามารถจัดการตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ และลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานในชุมชนท่าสาปต่อไป</p> พิชญ์ชญานิษฐ์ เรืองเริงกุลฤทธิ์ สาธิมาน มากชูชิต นูรซาฮีดา เจ๊ะมามะ กมลวรรณ สุวรรณ บูคอรี มะมิง ยูนัยดะ กะดะแซ Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-27 2023-12-27 7 2 68 82 ความรอบรู้ด้านสุขภาพกับการป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าของประชาชน จังหวัดนครศรีธรรมราช https://he01.tci-thaijo.org/index.php/MNSTMedJ/article/view/267989 <p><strong>บทนำ</strong> : ประเทศไทยมีนโยบายการเร่งรัดให้กำจัดโรคพิษสุนัขบ้าหมดไปตามเป้าหมายของโครงการสัตว์ปลอดโรคคนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า จังหวัดนครศรีธรรมราช ปี พ.ศ. 2548-2565 พบผู้เสียชีวิต 8 ราย การสอบสวนพบว่ารับเชื้อจากสุนัข ไม่ได้รับวัคซีนหลังถูกสุนัขกัด และไม่ได้ล้างแผล สะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่พึงประสงค์ในการป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าของประชาชน</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong> : เพื่อสำรวจความรอบรู้ด้านสุขภาพการป้องกันควบคุมโรคและพฤติกรรมการป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าของประชาชน จังหวัดนครศรีธรรมราช และหาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับการป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการศึกษา</strong> : การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional study) เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพกับการป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า ในอำเภอที่พบโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ ตั้งแต่เดือน มกราคม – มิถุนายน 2566 จำนวน 344 คน โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) วิเคราะห์ข้อมูลแจกแจงความถี่ ร้อยละ และทดสอบความสัมพันธ์โดยสัมประสิทธิสหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson's Correlation Coefficient)</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong> : ความรอบรู้ในการป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้ากับพฤติกรรมในการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าอยู่กลุ่มปานกลาง และมีความสัมพันธ์ย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> <p><strong>สรุป</strong> : ความรอบรู้ด้านสุขภาพมีความเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมสุขภาพ คนที่มีความรู้รอบด้านสุขภาพที่ต่างกันจะมีพฤติกรรมสุขภาพที่ต่างกัน</p> สาโรจน์ ธีระกุล Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-27 2023-12-27 7 2 83 101 ผลของโปรแกรมการอบรมพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยประจำหน่วยงานต่อความรู้ และทักษะการจัดการความเสี่ยงต่อสุขภาพของบุคลากรโรงพยาบาลทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช https://he01.tci-thaijo.org/index.php/MNSTMedJ/article/view/267990 <p><strong>บทนำ</strong><strong> :</strong> การเดินสำรวจสิ่งคุกคามจากการทำงานของบุคลากรโรงพยาบาลทุ่งสง ปีงบประมาณ 2565 พบว่า สิ่งคุกคามสุขภาพของบุคลากรที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของบุคลากรมากเป็นอันดับแรก คือด้านแสงสว่าง อันดับสองคือ ด้านการยศาสตร์ และอันดับสามคือ ด้านเสียง ผู้วิจัยเล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาและสิ่งคุกคามสุขภาพของบุคลากร โดยที่ผ่านมาโรงพยาบาลทุ่งสงยังไม่มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยประจำหน่วยงาน จึงได้ทำการศึกษาและพัฒนาโปรแกรมการอบรมพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยประจำหน่วยงานเพื่อให้ได้รับความรู้และทักษะเกี่ยวกับการจัดการความเสี่ยงของสิ่งคุกคามต่อสุขภาพ สามารถประเมินความเสี่ยงของสิ่งคุกคามทางสุขภาพในหน่วยงานได้เบื้องต้น</p> <p><strong>วัตถุประสงค์ </strong>: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการอบรมพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยประจำหน่วยงานต่อความรู้และทักษะการประเมินและการจัดการความเสี่ยงของสิ่งคุกคามต่อสุขภาพของบุคคลากรโรงพยาบาลทุ่งสง</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการศึกษา</strong> : การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรโรงพยาบาลทุ่งสง ทุกคนที่เข้าอบรมพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยประจำหน่วยงานและสามารถเข้าร่วมกิจกรรมตามโปรแกรมได้ครบทุกขั้นตอน จำนวน 42 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับการระบุสิ่งคุกคามสุขภาพและการป้องกัน และแบบสอบถามการประเมินและการจัดการความเสี่ยงของสิ่งคุกคามต่อสุขภาพ ซึ่งตรวจสอบโดยผู้ทรงวุฒิ 3 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา (CVI) เท่ากับ 1&nbsp; ค่าดัชนีความสอดคล้องของเครื่องมือ (Reliability) เท่ากับ 0.76&nbsp; วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS ใช้สถิติเชิงพรรณนา (ร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) และสถิติอนุมาน ได้แก่ Dependent or Paired samples t-test กำหนดนัยสำคัญที่ระดับ 0.05</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong> : การอบรมพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยประจำหน่วยงานของบุคลากรโรงพยาบาลทุ่งสง&nbsp; กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับการระบุสิ่งคุกคามสุขภาพและการป้องกันเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.01) และทักษะการประเมินและการจัดการความเสี่ยงของสิ่งคุกคามต่อสุขภาพเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.01)</p> <p><strong>สรุป </strong><strong>:</strong> สามารถนำโปรแกรมนี้มาปรับใช้ในการอบรมพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยประจำหน่วยงานของบุคคลากรในโรงพยาบาลได้ เนื่องจากทำให้กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับเกี่ยวกับการระบุสิ่งคุกคามสุขภาพและการป้องกัน และมีทักษะการประเมินและการจัดการความเสี่ยงของสิ่งคุกคามต่อสุขภาพเพิ่มขึ้น</p> ศุภสิตางค์ ศิริพัฒน์ Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-27 2023-12-27 7 2 102 116 ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในผู้ป่วยโรคเบาหวานและการเกิดอุบัติเหตุจราจร https://he01.tci-thaijo.org/index.php/MNSTMedJ/article/view/267991 <p><strong>บทนำ</strong><strong> :</strong> อุบัติเหตุจราจรเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตของคนไทย จากการทบทวนวรรณกรรม พบว่าสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุจราจรส่วนใหญ่มาจากผู้ขับขี่ โดยความไม่พร้อมของสุขภาพร่างกายของผู้ขับขี่เป็นสาเหตุหลักที่สำคัญของปัจจัยภายในตัวผู้ขับขี่เอง &nbsp;โดยเฉพาะโรคเบาหวานที่สัมพันธ์กับการเกิดอุบัติเหตุจราจรที่เพิ่มขึ้น 1.2-1.6 เท่าของคนที่ไม่เป็นโรค และภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยที่สุดในผู้ป่วยเบาหวาน โดยการมีประวัติน้ำตาลในเลือดต่ำอย่างรุนแรง ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุจราจรเพิ่มขึ้นถึง 4 เท่าของคนปกติ</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong> :</strong> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในผู้ป่วยโรคเบาหวานกับการเกิดอุบัติเหตุจราจร เพื่อนำไปต่อยอดจัดทำแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมในอนาคต</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการศึกษา</strong><strong> :</strong> วิธีการศึกษาเป็นแบบ Retrospective cohort มีการเก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนของผู้ป่วยเบาหวานในโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2564 ถึงเดือนพฤษภาคม 2565 แบ่งเป็นกลุ่มที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ และกลุ่มที่ไม่เคยมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ จากนั้นจึงเปรียบเทียบความสัมพันธ์ต่อการเกิดอุบัติเหตุจราจรของทั้ง 2 กลุ่ม โดยใช้สถิติ Chi square ในการวิเคราะห์ข้อมูล</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong> : ในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 140 คน เป็นชาย 89 คน และหญิง 51 คน อายุและดัชนีมวลกายเฉลี่ย 44.83 ปี และ 24.26 กก./ม.<sup>2</sup> โดยไม่รวมผู้ใช้ยาอินซูลินแบบฉีดและผู้ที่มีโรคประจำตัวอื่น ผลการศึกษาวิจัยพบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เคยมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำมีความสัมพันธ์ต่อการเกิดอุบัติเหตุจราจรมากกว่าผู้ที่ไม่เคยมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ อย่างมีนัยสำคัญ (RR = 1.36, 95% CI = 1.06 – 1.74, P-value = 0.01)</p> <p><strong>สรุป</strong><strong> :</strong> ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในผู้ป่วยเบาหวานทำให้เกิดความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุจราจร และมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุจราจรมากขึ้น ดังนั้นจึงควรมีการคัดกรองประวัติภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในผู้ป่วยโรคเบาหวานและให้คำแนะนำก่อนมีการขับขี่ยานพาหนะอย่างสม่ำเสมอ</p> พณัญญา เชื้อดำรง Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-27 2023-12-27 7 2 117 126 อุบัติการณ์ของโรคทางจิตเวช และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ระหว่างช่วงที่มีสถานการณ์โควิด-19 และไม่มีสถานการณ์โควิด -19 ในโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต https://he01.tci-thaijo.org/index.php/MNSTMedJ/article/view/267993 <p><strong>บทนำ</strong><strong> : </strong>ในช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 พบว่าอุบัติการณ์ประชากรที่มีปัญหาเกี่ยวข้องกับโรคทางจิตเวชมีแนวโน้มสูงขึ้นมากกว่าจำนวนผู้ติดเชื้อ จึงได้ทำการศึกษาโดยมี</p> <p><strong>วัตถุประสงค์ </strong><strong>:</strong> 1) เพื่อเปรียบเทียบอุบัติการณ์ของผู้ป่วยโรคทางจิตเวชที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ในช่วงที่มีและไม่มีสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 และ 2) เพื่อหาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคทางจิตเวชของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ในช่วงที่มีและไม่มีสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19&nbsp;</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการศึกษา </strong><strong>: </strong>เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง (Retrospective cohort study) โดยเก็บข้อมูลอุบัติการณ์ของผู้ป่วยโรคจิตเวชใน 4 กลุ่มโรคทางจิตเวช คือ โรคอารมณ์ผิดปกติ (Mood disorders) โรควิตกกังวล (Anxiety disorders) โรคการใช้สารเสพติด (Substance use disorders) โรคจิต (Psychotic disorders) เข้ารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ในช่วงระยะเวลาที่มีสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 (ปีพ.ศ. 2563 – 2564) เปรียบเทียบกับผู้ป่วยโรคจิตเวชในช่วงไม่มีสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 (ปีพ.ศ. 2561-&nbsp; 2562) จำนวน 2,877 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการทบทวน&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; เวชระเบียนของผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติ &nbsp;&nbsp;Chi-square test เปรียบเทียบข้อมูลที่ค่า p-value &lt;0.05</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong> อุบัติการณ์โรคทางจิตเวชโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ระหว่างช่วงที่มีสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด -19 และไม่มีสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด -19 พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ &lt; 0.001 โดยช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 จำนวนผู้ป่วยโรคอารมณ์ผิดปกติ (Mood disorders) และการใช้สารเสพติด (Substance use disorders) เพิ่มขึ้น ส่วนปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคทางจิตเวชของกลุ่มตัวอย่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value &lt;0.05) ได้แก่ ด้านสถานภาพสมรส ด้านที่อยู่อาศัย และ อาชีพอิสระ</p> <p><strong>สรุป </strong>กลุ่มโรคอารมณ์ผิดปกติ (Mood disorders) และโรคการใช้สารเสพติด (Substance use disorders) เป็นกลุ่มโรคที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิด -19 รวมไปถึงปัจจัยเกี่ยวข้องที่ส่งเสริมให้ตัวโรคเป็นมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ สถานภาพสมรส อาชีพอิสระ ผู้ป่วยที่อาศัยในเขตเมือง อย่างไรก็ตามควรมีการศึกษาที่ใหญ่และมีปริมาณผู้ป่วยมากขึ้นสำหรับงานวิจัยในอนาคตเพื่อความแม่นยำที่มากขึ้น</p> ธงไท เธียรสุคนธ์ Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-27 2023-12-27 7 2 127 138 การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่มารับบริการห้องฉุกเฉิน https://he01.tci-thaijo.org/index.php/MNSTMedJ/article/view/267996 <p><strong>บทนำ</strong> <strong>: </strong>โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นปัญหาสำคัญของสาธารณสุขโลกและไทย โรงพยาบาลหาดใหญ่เป็นโรงพยาบาลระดับตติยภูมิที่มีศูนย์โรคหัวใจ มีการนำระบบแม่ข่ายสั่งการทางไกลรถพยาบาลเข้ามาใช้เพื่อให้การพยาบาลผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในระยะก่อนถึงโรงพยาบาล มีการพัฒนาช่องทางด่วนในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในโรงพยาบาลของห้องฉุกเฉินตั้งแต่จุดคัดกรอง การพยาบาลในห้องฉุกเฉิน และการจำหน่ายจากห้องฉุกเฉิน เพื่อลดภาวะแทรกซ้อน ลดอัตราการเสียชีวิต เพื่อให้สอดคล้องตามยุทธศาสตร์ด้านบริการเป็นเลิศ และ hospital goal ในการลดความแออัดและลดวันนอนโรงพยาบาล</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong> <strong>: </strong>พัฒนารูปแบบการพยาบาลและศึกษาผลลัพธ์ของรูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่มารับบริการห้องฉุกเฉิน</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการศึกษา</strong> <strong>: </strong>เป็นการวิจัยและพัฒนา ศึกษาในกลุ่มพยาบาลห้องฉุกเฉิน จำนวน 36 ราย และผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันจำนวน 70 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย สถิติ paired t-test และ independent t-test.</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong> <strong>: </strong>รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่มารับบริการห้องฉุกเฉินมีความเป็นได้ในระดับดีมาก (M=26.69, SD=2.05) พึงพอใจในระดับดีมาก (M=30.94, SD=2.42) พยาบาลมีคะแนนความรู้ในการดูแลผู้ป่วยก่อนและหลังการนำรูปแบบการพยาบาลไปใช้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p=</em>.000) ผลลัพธ์ด้านคลินิก ทำคลื่นไฟฟ้าหัวใจภายใน 10 นาทีเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 82.79 เป็นร้อยละ 100 ได้รับยาละลายลิ่มเลือดภายใน 30 นาทีเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 42.86 เป็นร้อยละ 57.14 ได้รับการทำ PPCI ภายในเวลา 60 นาทีเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0 เป็นร้อยละ 100 ไม่พบอัตราการคัดกรองผิดพลาดและอัตราอาการทรุดระหว่างการเคลื่อนย้ายไปยังแผนกอื่น</p> <p><strong>สรุป </strong><strong>: </strong>รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่มารับบริการห้องฉุกเฉินเป็นการพัฒนารูปแบบที่มีประสิทธิภาพและเกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้ป่วยและองค์กร</p> พัชรี พร้อมมูล จินตนา ดำเกลี้ยง มยุรี เมฆทัศน์ Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-27 2023-12-27 7 2 139 161