https://he01.tci-thaijo.org/index.php/MNSTMedJ/issue/feed
มหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร
2024-06-29T19:01:02+07:00
พีระพัชร ไทยสยาม
NSTMJ@hotmail.com
Open Journal Systems
<p>มหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ISSN: 3027-608X (Online) มีนโยบายรับตีพิมพ์<wbr />บทความภาษไทยที่เกี่ยวข้องกั<wbr />บการแพทย์และสาธารณสุข ทั้งในรูปแบบนิพนธ์ต้นฉบับ รายงานผู้ป่วย บทความฟื้นฟูวิชาการ บทความพิเศษหรือบทปกิณกะ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล เภสัชกรหรือบุคลากรทางสาธารณสุ<wbr />ขอื่นๆ ทั้งจากภายในและภายนอกหน่วยงาน โดยมีกำหนดออก 2 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 กรกฎาคม - ธันวาคม และ ฉบับที่ 2 มกราคม-มิถุนายน</p>
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/MNSTMedJ/article/view/272115
การพัฒนาระบบบริการผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงจากโรงพยาบาลสู่ระดับปฐมภูมิ
2024-06-26T17:04:59+07:00
ชมนาด โนนคู่เขตโขง
librarymnst@hotmail.com
<p><strong>บทนำ </strong><strong>:</strong> จากปี 2557 ถึงปี 2559 โรงพยาบาลโชคชัยมีผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 และร้อยละ 2.4 ซึ่งสูงกว่าอัตราป่วยของประเทศ สัดส่วนบุคลากรต่อผู้ป่วยไม่เพียงพอที่จะดูแลได้อย่างครอบคลุม ส่งผลให้ผู้ป่วยบางส่วนขาดนัด ควบคุมโรคไม่ดี เกิดภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น</p> <p><strong>วัตถุประสงค์ </strong><strong>:</strong> 1. เพื่อจัดระบบบริการปฐมภูมิให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพ และเข้าถึงบริการคุณภาพ ตามนโยบายการพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิ 2. เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง 3. เพื่อเพิ่มคุณภาพการให้บริการ ลดการขาดนัด และลดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วย</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการศึกษา </strong><strong>:</strong> การวิจัยนำนโยบายสู่การปฏิบัติโดยใช้ The Intervention Mapping Method 6 ขั้นตอนของ Riphagen-Dalhuisen วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา </p> <p><strong>ผ</strong><strong>ลการศึกษา</strong><strong> :</strong> มีระบบบริการผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ 12 แห่ง สร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลผู้ป่วย ส่งผลให้การเข้าถึงบริการที่ PCU เพิ่มขึ้นร้อยละ 15 ผู้ป่วยขาดนัดลดลงร้อยละ 4.5 ผู้ป่วยมี HbA1C≤7 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 ผู้ป่วยที่ควบคุมความดันโลหิตได้ดีเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 ภาวะแทรกซ้อนต่อไต หลอดเลือดสมองและหัวใจลดลง ร้อยละ 2.48, 0.60 และ 0.38 ตามลำดับ อสม. ผู้ป่วย แพทย์และเจ้าหน้าที่มีความพึงพอใจต่อระบบบริการที่พัฒนาขึ้น</p> <p><strong>สรุป</strong><strong> : </strong>ระบบบริการปฐมภูมิที่พัฒนาขึ้น สามารถเพิ่มการเข้าถึงบริการของผู้ป่วย ลดการขาดนัด เกิดผลลัพธ์ที่ดีในการควบคุมโรค ลดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานและความดันโลหิต</p>
2024-06-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/MNSTMedJ/article/view/272116
ผลของกาวยึดฟันเทียมต่อประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวของผู้ป่วยใส่ฟันเทียมทั้งปาก โรงพยาบาลทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
2024-06-26T17:11:02+07:00
กมลทิพย์ อนันตวรางกูล
librarymnst@hotmail.com
<p><strong>บทนำ</strong> : ปัญหาหลักที่พบได้บ่อยในผู้ที่ใส่ฟันเทียมทั้งปากคือฟันเทียมหลวม ปัญหาดังกล่าวส่งผลต่อประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวอาหารและคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong> : เพื่อศึกษาผลของกาวยึดฟันเทียมต่อประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวของผู้ป่วยที่ใส่ฟันเทียมทั้งปาก โรงพยาบาลทุ่งสง</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการศึกษา</strong> : การวิจัยครั้งนี้เป็นการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมวัดผลก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่ใส่ฟันเทียมทั้งปากจากโรงพยาบาลทุ่งสง จำนวน 80 ราย โดยการสุ่มอย่างง่าย กลุ่มควบคุมไม่ได้ใช้กาวยึดฟันเทียม ส่วนกลุ่มทดลองได้รับคำแนะนำวิธีการใช้กาวยึดฟันเทียมใช้ต่อเนื่องเป็นเวลา 1 เดือน และติดตามการใช้งานทางโทรศัพท์ 1 ครั้ง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถามลักษณะทั่วไป แบบตรวจคุณภาพเนื้อเยื่อรองรับและคุณภาพของฟันเทียมทั้งปาก แบบสอบถามการบริโภคอาหารและความพึงพอใจหลังใช้กาวยึดฟันเทียม ซึ่งตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ได้ค่าดัชนีตรงตามเนื้อหา (Content Validity Index) เท่ากับ 1 ค่าดัชนีความสอดคล้องของเครื่องมือ (Reliability) เท่ากับ 0.821 การประเมินประสิทธิภาพการบดเคี้ยวอาหารโดยวิธีสอบถามระดับความยากง่ายในการเคี้ยวอาหารหลากหลายชนิด วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบคุณลักษณะของกลุ่มตัวอย่างระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยใช้สถิติ Chi-square statistics, Fisher ’exact test, Mann-Whitney U test และ Independent t-test เปรียบเทียบคะแนนประสิทธิภาพการบดเคี้ยวอาหารภายในกลุ่มด้วย Pair t-test และระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วยสถิติ Independent t -test กำหนดนัยสำคัญที่ระดับ 0.05</p> <p><strong>ผลการศึกษา </strong>: ก่อนการทดลองพบว่าคะแนนประสิทธิภาพการบดเคี้ยวอาหารในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกัน แต่ภายหลังการทดลองใช้กาวยึดฟันเทียมพบว่ากลุ่มทดลองร้อยละประสิทธิภาพการบดเคี้ยวเพิ่มขึ้นกว่าก่อนทดลอง และสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ไม่ได้ใช้กาวยึดฟันเทียม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p> <p><strong>สรุป </strong>: สามารถแนะนำผู้สูงอายุที่ใส่ฟันเทียมทั้งปากแล้วมีปัญหาฟันเทียมหลวมให้ใช้กาวยึดฟันเทียมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเคี้ยวอาหารให้ดีขึ้น แต่ต้องได้รับการตรวจเนื้อเยื่อรองรับฟันเทียมและคุณภาพฟันเทียมของผู้ป่วยว่ามีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้และไม่ชำรุด</p>
2024-06-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/MNSTMedJ/article/view/272117
การศึกษาเปรียบเทียบความแม่นยำของ Clinical Appendicitis Score ในการวินิจฉัยโรคไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันในเด็ก ในโรงพยาบาลตรัง
2024-06-26T17:20:09+07:00
ประภัสสร สีนา
librarymnst@hotmail.com
<p><strong>บทนำ</strong> : ไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน (Acute appendicitis) เป็นภาวะฉุกเฉินของช่องท้องที่พบบ่อยในเด็ก ซึ่งจำเป็นต้องรับการรักษาอย่างเร่งด่วน หากวินิจฉัยได้เร็วจะช่วยลดการเกิดภาวะทุพพลภาพหรือเสียชีวิตลดลง และลดอัตราการผ่าตัดที่ไม่จำเป็น (negative appendectomy) โดยเฉพาะในผู้ป่วยเด็กซึ่งการวินิจฉัยทำได้ยากในระยะแรก</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong> : เพื่อศึกษาความแม่นยำของ Lintula score, RIPASA score, Alvarado score, Pediatric Appendicitis score (PAS) ในการวินิจฉัยโรคไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันในเด็ก</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการศึกษา </strong><strong>:</strong> การศึกษาเพื่อการวินิจฉัย (Diagnostic test) เก็บข้อมูลย้อนหลัง ในผู้ป่วยอายุ 2-15 ปีที่เข้ารับการรักษาด้วยอาการปวดท้องและสงสัยไส้ติ่งอักเสบ ในโรงพยาบาลตรัง ตั้งแต่ 16 กรกฎาคม 2563 - 31 กรกฎาคม 2566 จำนวน 418 ราย เปรียบเทียบความแม่นยำของแต่ละระบบคะแนน โดยอ้างอิงความแม่นยำตาม AUROC ใช้ STATA ในการวิเคราะห์ความแม่นยำของระบบคะแนนแต่ละระบบ</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong> <strong>:</strong> ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันจากผลชิ้นเนื้อ 252 ราย ในผู้ป่วยที่ผ่าตัดไส้ติ่งทั้งหมด 286 ราย (ร้อยละ 88.11) ความไวของ RIPASA≥7.5 คะแนน, Lintula≥21คะแนน, Alvarado≥ 7คะแนน, PAS≥ 7 คะแนน เท่ากับ 95.63%, 41.27%, 81.75%, 75.79% ตามลำดับ ความจำเพาะ เท่ากับ 40.61%, 93.33%, 64.85%, 77.58% ตามลำดับ การเปรียบเทียบระหว่างพื้นที่ใต้เส้นโค้ง ROC (AUC) เท่ากับ 0.86, 0.85, 0.81, 0.84 ตามลำดับ เมื่อหาค่าจุดตัดคะแนนการวินิจฉัยโรคไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันในเด็กที่เหมาะสมกับกลุ่มประชากรในงานวิจัยนี้ ความไว , ความจำเพาะ ของ RIPASA≥9.75 คะแนน, Lintula≥13.5 คะแนน มีมากขึ้น ส่วน Alvarado≥ 6.5 คะแนน, PAS≥ 6.5 คะแนน ไม่แตกต่างกัน พื้นที่ใต้เส้นโค้ง ROC (AUC) เท่ากับ 0.80 ของ RIPASA ซึ่งยังคงมีค่าความแม่นยำสูงสุดของทั้ง 4 ระบบเมื่อหาจุดตัดใหม่</p> <p><strong>สรุป</strong> : ระบบการให้คะแนนของ RIPASA มีอัตราความแม่นยำสูงสุดในการวินิจฉัยไส้ติ่งอักเสบในเด็กจากระบบการให้คะแนนที่มีอยู่ทั้งหมด สามารถใช้เป็นระบบการให้คะแนนทางเลือกสำหรับการวินิจฉัยเบื้องต้นและวางแผนการรักษาผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบในเด็กได้</p>
2024-06-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/MNSTMedJ/article/view/272118
การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน ที่เข้ารับการรักษาในห้องฉุกเฉิน
2024-06-26T17:26:30+07:00
มยุรี เมฆทัศน์
librarymnst@hotmail.com
พัชรี พร้อมมูล
librarymnst@hotmail.com
จินตนา ดำเกลี้ยง
librarymnst@hotmail.com
<p><strong>บทนำ </strong><strong>: </strong>โรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน เป็นสาเหตุการตาย และการพิการเป็นอันดับต้นของโลก และอุบัติการณ์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี โรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันเป็นระยะวิกฤตที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยงแต่เนื้อสมองยังไม่ตาย ถ้าทำให้เลือดไหลเวียนได้ทันเวลาและในระดับที่เพียงพอจะทำให้เนื้อสมองบริเวณนั้นฟื้นตัวได้เร็วส่งผลให้ผู้ป่วยกลับมาเป็นปกติได้ พยาบาลห้องฉุกเฉินมีบทบาทสำคัญในการดูแลผู้ป่วยในระยะนี้ การให้การพยาบาลอย่างถูกต้อง รวดเร็ว ตามมาตรฐาน สามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ส่งผลให้ผู้ป่วยปลอดภัย ลดอัตราการพิการและเสียชีวิตลงได้</p> <p><strong>วัตถุประสงค์ </strong><strong>: </strong>พัฒนารูปแบบการพยาบาลและศึกษาผลลัพธ์ของรูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันที่เข้ารับการรักษาในห้องฉุกเฉิน</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการศึกษา</strong><strong> : </strong>เป็นการวิจัยและพัฒนา ศึกษาในกลุ่มพยาบาลห้องฉุกเฉิน จำนวน 36 ราย และผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันจำนวน 55 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย และสถิติ paired t-test</p> <p><strong>ผลการศึกษา </strong><strong>: </strong>รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันที่เข้ารับการรักษาในห้องฉุกเฉินประกอบด้วยแนวปฏิบัติในการคัดกรอง แนวปฏิบัติในการพยาบาลผู้ป่วยในห้องฉุกเฉิน แนวปฏิบัติการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยภาวะวิกฤติฉุกเฉินในโรงพยาบาล และชุดความรู้ในการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน มีความเป็นได้ในระดับดีมาก (M=4.43, S.D.=0.54) พึงพอใจในระดับดีมาก (M=4.44, S.D.=0.58) พยาบาลมีคะแนนความรู้ในการดูแลผู้ป่วยก่อนและหลังการนำรูปแบบการพยาบาลไปใช้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p=</em>.000) ผลลัพธ์ด้านคลินิก อัตรา Door to Physician time ภายใน 10 นาที เพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 91.64 เป็นร้อยละ 97 2) อัตรา Door to CT initial time น้อยกว่า 25 นาที เพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 76 เป็นร้อยละ 84 3) อัตรา Door to needle time น้อยกว่า 60 นาที และอัตรา Door to puncture time of thrombectomy น้อยกว่า 90 นาทีเท่าเดิมคือร้อยละ 100 ไม่พบอัตราการคัดกรองผิดพลาดและอัตราอาการทรุดระหว่างการเคลื่อนย้ายไปยังแผนกอื่น</p> <p><strong>สรุป</strong><strong> : </strong>รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันเป็นการพัฒนารูปแบบที่มีประสิทธิภาพและเกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้ป่วยและองค์กร</p>
2024-06-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/MNSTMedJ/article/view/272119
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการกลับมามีชีพจรของผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้น แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
2024-06-26T17:33:07+07:00
จักรา สมบัติวงศ์
librarymnst@hotmail.com
นุชศรา พรมชัย
librarymnst@hotmail.com
ภัทรพล กันไชยา
librarymnst@hotmail.com
วิศรุต เม้ามูล
librarymnst@hotmail.com
กัญจนี วชิรรังสิมันตุ์
librarymnst@hotmail.com
ศิวนาฏ พีระเชื้อ
librarymnst@hotmail.com
<p><strong>บทนำ </strong><strong>: </strong>ภาวะหัวใจหยุดเต้นเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ที่ต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วนด้วยการช่วยฟื้นคืนชีพ โดยผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นมีอัตราการรอดชีวิตน้อย การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการรอดชีวิตของผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นจึงมีความสำคัญที่จะพัฒนาระบบปฏิบัติการฉุกเฉิน </p> <p><strong>วัตถุประสงค์ </strong><strong>: </strong>เพื่อศึกษาอัตราการกลับมามีชีพจรและปัจจัยที่มีผลต่อการกลับมามีชีพจรของผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้น แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการ </strong><strong>: </strong>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยศึกษาวิเคราะห์ภาคตัดขวาง (Analytic cross-sectional study) ในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้น ที่มารับบริการที่แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ระหว่าง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2564 จำนวน 106 ราย เก็บข้อมูลด้วยแบบเก็บข้อมูลที่ดัดแปลงจากแบบบันทึกการช่วยฟื้นคืนชีพ ปรับปรุงครั้งที่ 5 (พฤษภาคม 2557) โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลสำเร็จรูป โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติอนุมาน ได้แก่ สถิติ T-test, Chi-square และ Fisher’s exact test กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และหาแนวโน้มความสัมพันธ์โดยใช้สถิติถดถอย</p> <p><strong>ผลการศึกษา </strong><strong>: </strong>จากการศึกษาผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นจำนวน 106 ราย แบ่งเป็นกลุ่ม ROSC และ No ROSC พบว่าผู้ป่วยที่มี ROSC ร้อยละ 40.57 และ No ROSC ร้อยละ 59.43 พบว่า อายุ จำนวน Adrenaline ที่ได้รับทั้งหมด ระยะเวลาการทำ CPR รวม มีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่ม ROSC และ No ROSC เมื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์การกลับมามีชีพจร พบว่า สาเหตุของหัวใจหยุดเต้น คลื่นไฟฟ้าแรกที่ตรวจพบ และศึกษาแนวโน้มความสัมพันธ์โดยใช้สถิติถดถอย พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการกลับมามีชีพจร ได้แก่ ผู้ที่มีคลื่นไฟฟ้าแรกที่ตรวจพบ (OR=2.36, 95%CI =1.18-4.72 ) สาเหตุการเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น (OR=5.42, 95%CI=1.32-22.30)</p> <p><strong>สรุป </strong><strong>: </strong>ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการกลับมามีชีพจร ROSC คือ ผู้ที่มีคลื่นไฟฟ้าหัวใจแรกที่ตรวจพบที่สามารถกระตุ้นได้ด้วยไฟฟ้า สาเหตุของการเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นที่ไม่ได้มีสาเหตุจากอุบัติเหตุ</p>
2024-06-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/MNSTMedJ/article/view/272120
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อค่าน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการในคลินิกหมอครอบครัว รพ.สต.บ้านร่าปู อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่
2024-06-26T17:43:12+07:00
วิรยุทธ สนธิเมือง
librarymnst@hotmail.com
<p><strong>บทนำ</strong><strong> : </strong>โรคเบาหวานใน รพ.สต.บ้านร่าปู เป็นปัญหาที่สำคัญที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน โดยมีอัตราป่วยในปี 2564 เท่ากับ 3,859.23 ต่อแสนประชากร</p> <p><strong>วัตถุประสงค์ </strong>: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับค่าน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวาน และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อค่าน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการคลินิกหมอครอบครัว รพ.สต.บ้านร่าปู อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการศึกษา </strong>: เป็นการวิจัยภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์ ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้และไม่ได้ จำนวน 119 คน ระหว่างเดือน เม.ย. ถึงเดือน มิ.ย. 2565 ทดสอบความสัมพันธ์ด้วยสถิติไคสแควร์ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสถิติ Odds Ratio</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong><strong> : </strong>พบว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ มีค่า HbA1c เฉลี่ย 6.53% รอบเอวและ BMI เฉลี่ย 83.97 ซม. และ 24.86 กก./ม<sup>2</sup> ตามลำดับ ในขณะที่กลุ่มผู้ป่วยที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ มีค่า HbA1c เฉลี่ย 10.75% มีรอบเอวและ BMI เฉลี่ย 84.57 ซม. และ 27.92 กก./ม<sup>2</sup> ตามลำดับ การปฏิบัติตัวขณะเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานมีความสัมพันธ์กับปริมาณ HbA1c และ กลุ่มผู้ป่วยที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ มี HbA1c อยู่ในเกณฑ์ที่ควบคุมได้ ( < 7 %) มากกว่ากลุ่มที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ (>7 %) เป็น 1.26 เท่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ </p> <p><strong>สรุป</strong> : ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับค่าน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานใน รพ.สต.บ้านร่าปู ได้แก่ BMI และ การปฏิบัติตัวขณะเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวาน</p>
2024-06-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/MNSTMedJ/article/view/272121
โครงการสำรวจความชุกของภาวะหมดไฟและความเครียด ในบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลราชบุรี
2024-06-26T17:47:23+07:00
ภาวิณี เหลืองอภิชาติ
librarymnst@hotmail.com
<p><strong>บทนำ</strong> : บุคลากรทางการแพทย์เป็นกลุ่มวิชาชีพที่มีความเครียดสูง ส่งผลให้เกิดภาวะหมดไฟ และมีผลกระทบในทางลบตามมา เช่น การให้บริการผู้ป่วยและต่อตัวบุคลากรเอง</p> <p><strong>วัตถุประสงค์ </strong>: เพื่อศึกษาความชุกของภาวะหมดไฟและความเครียดในบุคลากรทางการแพทย์รพ.ราชบุรี และศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยเกี่ยวข้องกับภาวะหมดไฟและความเครียด</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการศึกษา</strong> : เก็บข้อมูลบุคลากรทางการแพทย์รพ.ราชบุรี ตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2566 ถึง 29 กุมภาพันธ์ 2567 โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบวัดภาวะหมดไฟ (T-CBI) และความเครียด (ST-5) วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงวิเคราะห์ ได้แก่ การหาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่เกี่ยวข้อง โดยวิธี Spearman rank correlation</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong> : จากกลุ่มตัวอย่าง 302 คน พบว่ามีภาวะหมดไฟระดับปานกลางขึ้นไปร้อยละ 34.1 และ มีความเครียดระดับปานกลางขึ้นไปร้อยละ 57 ภาวะหมดไฟมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับ ความเครียด เพศหญิง สถานภาพโสด ชั่วโมงการปฏิบัติงาน ความไม่เพียงพอของรายได้ และมีความสัมพันธ์เชิงลบกับอายุ จำนวนบุตร จำนวนปีที่ทำงาน วันหยุดพักผ่อน และรายได้</p> <p><strong>สรุป </strong>: ผู้เข้าร่วมวิจัยส่วนใหญ่มีภาวะหมดไฟน้อยหรือไม่มีภาวะหมดไฟ และมีความเครียดน้อย โดยปัจจัย ที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับภาวะหมดไฟ เช่น ความเครียด ชั่วโมงการทำงาน และความไม่เพียงพอของรายได้ และปัจจัยมีความสัมพันธ์เชิงลบ เช่น อายุ จำนวนวันหยุด รายได้ เป็นต้น</p>
2024-06-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/MNSTMedJ/article/view/272122
การศึกษาการป้องกันภาวะความความดันโลหิตต่ำที่เกิดจากการให้ยาชาทางช่องน้ำไขสันหลังในการผ่าตัดคลอดบุตร เปรียบเทียบระหว่างการให้ยา Phenylephrine ร่วมกับ Ephedrine กับการให้ยา Ephedrine อย่างเดียว : การศึกษาแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม
2024-06-26T17:51:02+07:00
สุนทรีรัตน์ อินทร์น้อย
librarymnst@hotmail.com
วริศรา จันทร์สดใส
librarymnst@hotmail.com
<p><strong>บทนำ</strong><strong>: </strong>ภาวะความดันโลหิตต่ำเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยจากการให้ยาชาทางช่องน้ำไขสันหลังในการผ่าตัดคลอด ยา Ephedrine เป็นยาที่นิยมใช้ แต่ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ทั้งหมด การใช้ยา Phenylephrine ซึ่งออกฤทธิ์ตีบหลอดเลือดได้โดยตรงร่วมกับการให้ยา Ephedrine น่าจะสามารถเพิ่มประสิทธิผลในการป้องกันภาวะความดันโลหิตต่ำได้</p> <p><strong>วัตถุประสงค์ :</strong> เพื่อศึกษาถึงประสิทธิผลในการป้องกันภาวะความดันโลหิตต่ำจากการให้ยาชาทางช่องน้ำไขสันหลังในการทำผ่าตัดคลอด โดยการให้ยา Phenylephrine ร่วมกับ Ephedrine เปรียบเทียบกับการให้ยา Ephedrine อย่างเดียวและปริมาณการยา Ephedrine เสริมที่ใช้แก้ไขภาวะดังกล่าว ตลอดจนผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการศึกษา: </strong>ทำการศึกษาแบบสุ่มชนิดมีกลุ่มควบคุมโดยมีการปกปิดข้อมูลทั้งสองทาง ในหญิงตั้งครรภ์ครบกำหนดที่มี ASA physical status I-II ที่เข้ารับการผ่าตัดคลอดแบบนัดหมายจำนวน 60 คนในโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ ตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ.2566 ถึง เดือนสิงหาคม พ.ศ.2566 หญิงตั้งครรภ์ทุกคนจะได้รับสารน้ำ 15 มิลลิลิตรต่อกิโลกรัมก่อนให้ยาชาทางช่องน้ำไขสันหลัง จากนั้นจึงให้การระงับความรู้สึกด้วยยาชา hyperbaric Bupivacaine 10 มิลลิกรัม ร่วมกับ Morphine 0.2 มิลลิกรัม จากนั้นสุ่มแยกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มศึกษา (กลุ่ม PE) จะได้รับยา Phenylephrine 10 ไมโครกรัมต่อนาที ร่วมกับ Ephedrine 2 มิลลิกรัมต่อนาที และกลุ่มควบคุม (กลุ่ม E) จะได้รับยา Ephedrine 2 มิลลิกรัมต่อนาที โดยปรับยาตามขั้นตอนวิธีที่กำหนดไว้ล่วงหน้า หากเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ โดยนิยามว่าค่าความดันซิสโตลิกน้อยกว่า 100 มม.ปรอท หรือต่ำกว่าร้อยละ 80 จากค่าพื้นฐาน จะได้รับการแก้ไขด้วยยา Ephedrine 6 มิลลิกรัมต่อครั้ง</p> <p><strong>ผลการศึกษา : </strong>ในกลุ่ม PE พบอุบัติการณ์ภาวะความดันโลหิตต่ำเกิดขึ้น 1 ครั้ง จำนวน 3 ราย และในกลุ่ม E จำนวน 1 ราย โดยไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ พบอุบัติการณ์ภาวะความดันโลหิตต่ำเกิดซ้ำ 2 ครั้ง ในกลุ่ม E จำนวน 5 ราย และไม่พบในกลุ่ม PE โดยไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value=0.056) ปริมาณยาเสริม Ephedrine ที่ใช้แก้ไขความดันโลหิตต่ำในกลุ่ม PE มีค่าเฉลี่ย 6 มิลลิกรัม ซึ่งต่ำกว่ากลุ่ม E ที่มีค่าเฉลี่ย 9.4 +/-3.2 มิลลิกรัม (p-value=0.03) โดยทั้ง 2 กลุ่มไม่พบอุบัติการณ์การเกิดภาวะหัวใจเต้นช้าและภาวะความดันโลหิตสูง</p> <p><strong>สรุป :</strong> การให้ยา Phenylephrine 10 ไมโครกรัม/นาที ร่วมกับ Ephedrine 2 มิลลิกรัม/นาที มีแนวโน้มเพิ่มประสิทธิผลในการป้องกันการเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำเกิดซ้ำ จากการให้ยาชาทางช่องน้ำไขสันหลังในหญิงตั้งครรภ์ที่เข้ารับการผ่าตัดคลอดเมื่อเปรียบเทียบการให้ยา Ephedrine 2 มิลลิกรัม/นาที อย่างเดียว อีกทั้งสามารถลดปริมาณยาเสริม Ephedrine ที่ใช้แก้ไขภาวะความดันโลหิตต่ำได้ โดยทั้ง 2 กลุ่มไม่พบภาวะแทรกซ้อนที่แตกต่างกัน</p>
2024-06-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/MNSTMedJ/article/view/272123
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลบ้านกระทูน-พิปูนล้นเกล้า อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล
2024-06-26T17:58:01+07:00
อมรรัตน์ ไข่เศษ
librarymnst@hotmail.com
กมลวรรณ สุวรรณ
librarymnst@hotmail.com
ยุพา ปังแลมาเส็น
librarymnst@hotmail.com
<p><strong>บทนำ </strong><strong>:</strong> คุณภาพชีวิตคือการที่บุคคลสามารถดำรงชีวิตในระดับที่เหมาะสม ตามสภาพความจำเป็นพื้นฐานที่ได้กำหนดไว้ในสังคมหนึ่งๆ ในลักษณะที่ตนเองมีความพึงพอใจ มีความสุขทั้งทางร่างกายและจิตใจ และสามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมและสังคมที่ตนเองอยู่อาศัยได้เป็นอย่างดี สืบเนื่องจากการได้รับการตอบสนองความต้องการในด้านต่างๆ อย่างเพียงพอและเหมาะสมด้วย</p> <p><strong>วัตถุประสงค์ </strong><strong>:</strong> เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ในพื้นที่<em>โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล</em>บ้าน<em>กระทูน</em><strong>-</strong><em>พิปูนล้นเกล้า</em> อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการศึกษา </strong><strong>: </strong>การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปในพื้นที่<em>โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล</em>บ้าน<em>กระทูน</em>-<em>พิปูนล้นเกล้า</em> อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล ในช่วงเดือนมกราคม 2567 จำนวน 84 คน โดยทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม WHOQOL-BREF-THAI ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .80 ทำการวิเคราะห์ t-test ในกรณีที่ตัวแปรอิสระแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม วิเคราะห์ One-Way ANOVA ในกรณีที่ตัวแปรอิสระมีตั้งแต่ 3 กลุ่มขึ้นไป</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong><strong> :</strong> พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับคุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M = 92.73, SD = 9.3) ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยรวม คือ ความเพียงพอของรายได้ต่อเดือน แหล่งที่มาของรายได้ อาชีพ การเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชน และระดับการศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <p><strong>สรุป</strong><strong> :</strong> ความเพียงพอของรายได้ต่อเดือน แหล่งที่มาของรายได้ อาชีพ การเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชน และระดับการศึกษา ของผู้สูงอายุมี<strong>ส่งผล</strong>ต่อคุณภาพชีวิต<strong> ดังนั้น</strong> จึงควรมีการจัดกิจกรรมให้กับผู้สูงอายุภายในชุมชน ร่วมกันทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต</p> <p> </p>
2024-06-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/MNSTMedJ/article/view/272124
ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพ ความสามารถในการลุกยืนและก้าวเดิน และพฤติกรรมการป้องกันความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุในเขต อำเภอเมือง จังหวัดยะลา
2024-06-26T18:03:39+07:00
นูรซาฮีดา เจ๊ะมามะ
librarymnst@hotmail.com
จินตนา ทองเพชร
librarymnst@hotmail.com
พิชญ์ชญานิษฐ์ เรืองเริงกุลฤทธิ์
librarymnst@hotmail.com
สาธิมาน มากชูชิต
librarymnst@hotmail.com
พัชรินทร์ คมขำ
librarymnst@hotmail.com
ดวงฤทัย พงศ์ทรัพย์การุณ
librarymnst@hotmail.com
<p><strong>บทนำ</strong> : ผู้สูงอายุจะมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและความเสื่อมตามวัยทำให้พบปัญหาสุขภาพที่สำคัญ คือการบาดเจ็บจากการพลัดตกหกล้ม ส่งผลกระทบต่อผู้สูงอายุด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและเศรษฐกิจ ผู้สูงอายุจึงควรได้รับการส่งเสริมให้เกิดความรอบรู้ด้านสุขภาพ เพื่อลดอัตราการบาดเจ็บหรือเสียชีวิต และมีคุณภาพชีวิตที่ดี</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong> : เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพ ความสามารถในการลุกยืนและก้าวเดิน และพฤติกรรมการป้องกันความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมือง จังหวัดยะลา</p> <p><strong> </strong><strong>วัสดุและวิธีการศึกษา</strong> : การศึกษาเป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) ชนิดสองกลุ่มเปรียบเทียบก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุ 60-70 ปี ที่ผ่านการประเมินว่ามีความเสี่ยงต่อการหกล้ม จำนวน 54 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 27 คน กลุ่มควบคุมจำนวน 27 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ และแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ</p> <p><strong> </strong><strong>ผลการศึกษา</strong> : หลังเข้าร่วมโปรแกรมกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมการป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุสูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em> =.05) ค่าเฉลี่ยเวลาที่ใช้ในการทดสอบความสามารถในการลุกยืนและก้าวเดิน พบว่าก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมมีค่าเฉลี่ยเวลาไม่แตกต่างกัน (<em>p</em> =.110) และกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยเวลาใช้ในการทดสอบความสามารถในการลุกยืนและก้าวเดินดีกว่ากลุ่มควบคุม</p> <p><strong> </strong><strong>สรุป</strong> : โปรแกรมสามารถส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีความรอบรู้ด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น นำไปสู่การมีพฤติกรรมการป้องกันความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มที่ดีขึ้น และส่งผลให้ผู้สูงอายุมีความสามารถในการลุกยืนและก้าวเดินดีขึ้น</p>
2024-06-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/MNSTMedJ/article/view/272125
ประสิทธิผลของยา Sofosbuvir-Velpatasvir ในการรักษาผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบซี ของโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต
2024-06-26T18:13:18+07:00
พรพยอม นุ่มประพฤติ
librarymnst@hotmail.com
<p><strong>บทนำ</strong><strong>:</strong> โรคไวรัสตับอักเสบซีเป็นสาเหตุของโรคตับแข็ง และโรคมะเร็งตับ การรักษาไวรัสตับอักเสบซีด้วยยา Sofosbuvir/Velpatasvir สัมพันธ์กับการลดความเสี่ยงของมะเร็งตับ รวมทั้งลดอัตราตาย</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> เพื่อศึกษาประสิทธิผลของยา Sofosbuvir/Velpatasvir เพื่อดูความปลอดภัยของของยา Sofosbuvir/Velpatasvir และเปรียบเทียบประสิทธิผลของการรักษา ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะตับแข็ง และไม่มีภาวะตับแข็ง</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการศึกษา</strong><strong>:</strong> การศึกษานี้เป็นการศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา เก็บข้อมูลผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบซี ที่มีอายุ 18-70 ปี ที่โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ในช่วง 1 มกราคม 2564-31 ธันวาคม 2565 วิเคราะห์ทางสถิติด้วย Descriptive Statistics, t-test และ Mann-Whitney U test ประสิทธิผลของการรักษาดูจาก sustained virological response (SVR) ที่ 12 สัปดาห์หลังการรักษา</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong><strong>:</strong> ผู้ป่วยทั้งหมด 100 ราย อายุเฉลี่ย 50.97±8.39 ปี เป็นเพศชายร้อยละ 70.0 พบภาวะตับแข็ง ร้อยละ 35.0 ผู้ป่วยร้อยละ 98 เป็นผู้ที่ได้รับการรักษาครั้งแรก และผู้ป่วยจำนวน 94 คน ได้รับยา Sofosbuvir/Velpatasvir อีก 6 คนได้รับยา Sofosbuvir/Velpatasvir ร่วมกับ Ribavirin จำนวนผู้ป่วยที่รักษาหายขาดทั้งหมด 96 ราย คิดเป็นร้อยละ 96.0 โดยในกลุ่มผู้ป่วยที่มีตับแข็งร่วมด้วยหายขาดไม่ต่างจากกลุ่มที่ไม่มีภาวะตับแข็ง SVR 12 ร้อยละ 94.3 และ 96.9 ตามลำดับ (P = 0.52) และผู้ป่วยทุกคนสามารถกินยาได้โดยไม่มีผลข้างเคียงรุนแรง</p> <p><strong>สรุป</strong><strong>: </strong>การรักษาไวรัสตับอักเสบซีมีประสิทธิภาพที่ดีทั้งในผู้ที่มีภาวะตับแข็ง และไม่มีภาวะตับแข็ง ผู้ป่วยส่วนใหญ่ทนผลข้างเคียงได้ดี มีเพียง 1 ราย ที่มีอาการอ่อนเพลียระหว่างการรักษา</p>
2024-06-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/MNSTMedJ/article/view/272126
การประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อป้องกันการเกิด โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในพระสงฆ์ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
2024-06-26T18:20:53+07:00
พิศุทธิ์ ชนะรัตน์
librarymnst@hotmail.com
<p><strong>บทนำ </strong><strong>: </strong>พระสงฆ์เป็นกลุ่มเฉพาะที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมากกว่าคนทั่วไป เนื่องจากข้อจำกัดในการปฏิบัติตัว</p> <p><strong>วัตถุประสงค์ </strong><strong>: </strong>ศึกษาผลการอบรมเกี่ยวกับการป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โดยประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในพระสงฆ์</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการศึกษา </strong><strong>: </strong>การวิจัยกึ่งทดลองแบบหนึ่งกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นพระสงฆ์จากวัดในอำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 34 รูป เลือกกลุ่มตัวอย่างตามความสะดวกจากการตอบรับคำเชิญอบรมเรื่องการป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ระหว่างเดือนธันวาคม 2565 ถึง เมษายน 2566 การอบรมประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในการออกแบบ 4 กิจกรรม รวมทั้งสิ้น 12 ชั่วโมง และติดตามผล 3 เดือน เครื่องมือวิจัยอยู่ในรูปแบบสอบถาม 4 ส่วน ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป การรับรู้ภาวะคุกคาม การประเมินพฤติกรรม และการปฏิบัติตัวป้องกันโรค การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS โดยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมานเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างด้วยสถิติ Repeated Measure ANOVA และ Paired t-test</p> <p><strong>ผลการศึกษา </strong><strong>:</strong> คะแนนการรับรู้ภาวะคุกคามและการประเมินพฤติกรรมป้องกันโรคเพิ่มขึ้นหลังการอบรมทันที และลดลงเมื่อเวลาผ่านไป 3 เดือนแต่ไม่น้อยกว่าก่อนการอบรม ส่วนการปฏิบัติตัวป้องกันโรคมีคะแนนมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ(<em>p-value <0.001) </em>หลังการอบรม 3 เดือน</p> <p><strong>สรุป </strong><strong>: </strong>สามารถนำการอบรมโดยใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพเพื่อออกแบบการป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในพระสงฆ์อย่างมีประสิทธิผล</p>
2024-06-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/MNSTMedJ/article/view/272136
ความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อขณะปฏิบัติงานของ พยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลตะกั่วป่า จังหวัดพังงา
2024-06-27T08:09:56+07:00
จิรพร รัชชะ
librarymnst@hotmail.com
<p><strong>บทนำ</strong><strong> :</strong> การศึกษาความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อขณะปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลตะกั่วป่า จังหวัดพังงา จะช่วยลดการแพร่กระจายเชื้อในผู้ป่วย ลดภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาผู้ป่วย และเป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับบุคลากรทางการพยาบาลต่อไป</p> <p><strong>วัตถุประสงค์ </strong><strong>: </strong>เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อขณะปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลตะกั่วป่า และศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อขณะปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลตะกั่วป่า</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการศึกษา</strong><strong> : </strong>การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานให้การดูแลผู้ป่วยโดยตรงทั้งหน่วยตรวจผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยในโรงพยาบาลตะกั่วป่า ณ หอผู้ป่วยหนัก หอผู้ป่วยสูตินรีเวชกรรม หอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย หอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง หอผู้ป่วยเด็ก หอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง หอผู้ป่วยศัลยกรรมชาย งานผู้ป่วยนอกและกลุ่มงานเวชกรรมสังคม จำนวนทั้งหมด 125 คน ใช้วิธีเลือกตัวอย่างแบบเจาะจงตามคุณสมบัติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบ แบบประเมินทัศนคติ และแบบประเมินการปฏิบัติตามหลักการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อขณะปฏิบัติงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong><strong> : </strong>1) พยาบาลวิชาชีพมีความรู้การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อขณะปฏิบัติงาน ระดับปานกลางจำนวนมากสุด คิดเป็นร้อยละ 56.00 2) พยาบาลวิชาชีพมีทัศนคติการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อขณะปฏิบัติงานอยู่ในระดับสูง มีจำนวนมากสุด คิดเป็นร้อยละ 100 3) พยาบาลวิชาชีพมีการปฏิบัติการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อขณะปฏิบัติงาน อยู่ในระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 96.00 และ 4) ความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อขณะปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลตะกั่วป่า มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01</p> <p><strong>สรุป</strong><strong> : </strong>พยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลตะกั่วป่ามีความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมเกี่ยวกับการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อขณะปฏิบัติงานในภาพรวมมีความรู้อยู่ในระดับปานกลาง มีทัศนคติและพฤติกรรมอยู่ในระดับสูงและทั้ง 3 ด้านมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p>
2024-06-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/MNSTMedJ/article/view/272137
ค่าการกำจัดยาวาลโปรอิกแอซิดในผู้ใหญ่โรคลมชักที่ได้รับยาเดี่ยว และได้รับยากันชักอื่นร่วมด้วย ณ โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช
2024-06-27T08:33:35+07:00
พรรณี ยิ่งยง
librarymnst@hotmail.com
<p><strong>บทนำ</strong> : เภสัชจลนศาสตร์ของยาวาลโปรอิกแอซิด แตกต่างกันแต่ละกลุ่มประชากรตามกลุ่มอายุ เชื้อชาติและ การใช้ร่วมกับยากันชักที่เหนี่ยวนำเอนไซม์ ซึ่งเพิ่มค่าการกำจัดยา</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong> : เพื่อประมาณค่า และเปรียบเทียบ ค่าการกำจัดยาวาลโปรอิกแอซิด ในผู้ใหญ่ที่ใช้ยาเดี่ยว และใช้ยากันชักอื่นร่วมด้วย</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการศึกษา</strong> : ศึกษาข้อมูลย้อนหลังระหว่างเดือนมกราคมปี 2560 ถึงเดือน ธันวาคม 2565 โดยเก็บข้อมูลจากฐานข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ และจากรายงานการตรวจวัดและแปลผลระดับยาในเลือดของผู้ป่วยตามปกติ ของโรงพยาบาลมหาราช นครศรีธรรมราช ในผู้ป่วยอายุ 18 - 60 ปี ที่ได้รับยา วาลโปรอิก (Depakine chrono) ที่ใช้เป็นยาเดี่ยว เป็นเวลามากกว่า 3 วันและใช้ยากันชักอื่น ได้แก่ ฟีนิโตอิน ฟีโนบาร์บิทาล หรือ คาบามาซีพีน ร่วมด้วยเป็นเวลามากกว่า 10 วัน</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong> : จากข้อมูลผู้ป่วย 225 ราย เป็นกลุ่มที่ใช้ยาวาลโปรอิกแอซิดอย่างเดียว 113 ราย (ชาย 51 หญิง 62) และกลุ่มที่ใช้ยากันชักอื่นร่วมด้วย 112 ราย (ชาย 59 หญิง 53) พบว่าค่าการกำจัดยา เป็น 8.91 <u>+</u> 2.78 ml/kg/hr ในกลุ่มที่ใช้ยาเดี่ยว และ 16.84 <u>+</u> 4.42 ml/kg/hr ในกลุ่มที่ใช้ยากันชักอื่นร่วมด้วยซึ่งต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) ค่าการกำจัดยาในกลุ่มที่ใช้ร่วมกับฟีนิโตอิน (85 ราย) เท่ากับ 17.20 <u>+</u> 4.36 ml/kg/hr ฟีโนบาร์บิทาล (15 ราย) 15.98 <u>+</u> 4.79 ml/kg/hr คาบาร์มาซีพีน (1 ราย) 16.67 ml/kg/hr ทั้งฟีนีโทอินและฟีโนบาร์บิทาล (13 ราย) 16.62 <u>+</u> 5.27 ml/kg/hr</p> <p><strong>สรุป</strong> : ค่าการกำจัดยาวาลโปรอิคแอซิดในผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่ใช้เป็นยาเดี่ยว มีค่าน้อยกว่ากลุ่มที่ใช้ยากันชักอื่นที่มีฤทธิ์กระตุ้นเอนไซม์ร่วมด้วยอย่างมาก และค่าการกำจัดยาที่ได้จากประชากรกลุ่มเฉพาะจะช่วยให้การกำหนดขนาดยาเริ่มต้นได้เหมาะกับผู้ป่วยแต่ละรายตามเชื้อชาติ และยากันชักอื่นที่ใช้ร่วมด้วย</p>
2024-06-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/MNSTMedJ/article/view/272138
รูปแบบการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระดับอำเภอ กรณีศึกษา อำเภอละแม จังหวัดชุมพร : การวิจัยแบบผสมผสาน
2024-06-27T08:36:55+07:00
วิษณุ อนิลบล
librarymnst@hotmail.com
<p><strong>บทนำ </strong><strong>:</strong> จากมาตรการการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่มีประสิทธิภาพ ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษารูปแบบการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระดับอำเภอ เพื่อนำมาเป็นกรณีศึกษาถึงแนวทางการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคอุบัติใหม่ในอนาคตได้</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและการควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และเพื่อศึกษาปัจจัยและรูปแบบในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในระดับอำเภอ</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการศึกษา</strong><strong>:</strong> การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณ (Quantitative Data) และข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Data) กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงปริมาณจำนวน 310 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และกลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงคุณภาพจำนวน 30 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา นำเสนอค่าแจกแจงตามความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและแบบสเปียร์แมน และการวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis)</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong><strong>:</strong> กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระดับปานกลาง ร้อยละ64.57 และมีพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคระดับดีมาก ร้อยละ 69.18 ปัจจัยด้านอายุ ระดับการศึกษา และระดับความรู้ทั่วไป มีความสัมพันธ์ระดับต่ำกับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (r = 0.154, 0.121 0.158 ตามลำดับ) ผลของการศึกษาเชิงคุณภาพ พบว่าการมีระบบและกลไกการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในระดับอำเภอ ที่มีการทำงานแบบบูรณาการร่วมกันของหน่วยงานทุกภาคส่วน รวมถึงการได้รับความร่วมมือของประชาชนในพื้นที่ ทั้งมาตรการดานสาธารณสุข การประชาสัมพันธ์ การเตรียมความพร้อมทางการแพทย์ การบังคับใช้กฎหมาย ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ รวมถึงประชาชนมีความรู้ที่ดี สามารถป้องกันและควบคุมการแพร่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้ดี</p> <p><strong>สรุป</strong><strong>:</strong> รูปแบบการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระดับอำเภอ ที่เหมาะสมกับบริบทระดับอำเภอ คือการทำงานแบบบูรณาการร่วมกันของหน่วยงานทุกภาคส่วน และอายุ ระดับการศึกษา และระดับความรู้ทั่วไป มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างชัดเจน</p>
2024-06-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/MNSTMedJ/article/view/272139
การแก้ไขฟันหน้าสบไขว้ในชุดฟันผสมโดยการใช้เครื่องมือทันตกรรมจัดฟันชนิดถอดได้ รายงานผู้ป่วย
2024-06-27T08:40:53+07:00
พิมพ์บุษร์ สุพรรณพงศ์
librarymnst@hotmail.com
<p>ฟันหน้าสบไขว้ เป็นการสบฟันที่ผิดปกติประเภทหนึ่งพบได้มากในเด็ก โดยฟันหน้าบนจะสบอยู่ทางด้านลิ้นต่อฟันหน้าล่าง ซึ่งอาจเกิดเพียงซี่เดียว หรือหลายซี่ก็ได้ มักก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ได้แก่ ฟันหน้าบนสึก การสบกระแทกกับฟันหน้าล่าง ส่งผลให้ฟันหน้าล่างโยกและมีเหงือกร่น รวมถึงยับยั้งการเจริญเติบโตของขากรรไกรบน ดังนั้นเพื่อป้องกันปัญหาเหล่านี้ จึงควรให้การรักษาตั้งแต่ในระยะแรกที่เริ่มตรวจพบ</p> <p> บทความนี้เป็นรายงานการรักษาผู้ป่วยเด็กชายไทยอายุ 10 ปี 1 เดือน มาด้วยอาการฟันหน้าล่างสบคร่อมฟันหน้าบน จากการตรวจในช่องปากพบ ฟันซี่ 21 สบคร่อมกับซี่ 31 จึงพิจารณาเลือกใช้เครื่องมือทันตกรรมจัดฟันชนิดถอดได้ที่มีแท่นกัดฟันหลังร่วมกับสปริงดับเบิ้ลแคนทิลิเวอร์ ในระหว่างการรักษา ผู้ป่วยให้ความร่วมมือดีในการใส่เครื่องมือ สามารถแก้ไขการสบไขว้ฟันหน้าได้ในระยะเวลา 5 เดือน และหลังจากติดตามการรักษาระยะเวลา 6 เดือน พบว่าผู้ป่วยมีการสบฟันปกติ และสามารถดูแลสภาวะช่องปากได้ดี</p>
2024-06-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/MNSTMedJ/article/view/272140
การรักษาฟันหน้าแท้ปลายรากเปิดที่ได้รับบาดเจ็บ โดยวิธีตัดเนื้อเยื่อในบางส่วน และบูรณะโดยการยึดชิ้นส่วนฟันกลับเข้าตำแหน่งเดิม : รายงานผู้ป่วย
2024-06-27T08:44:40+07:00
ธนาภรณ์ ทองคล้ำ
librarymnst@hotmail.com
<p>อุบัติเหตุบริเวณใบหน้าและขากรรไกรพบได้บ่อยในเด็ก ซึ่งบริเวณฟันหน้าเป็นตำแหน่งที่พบได้มากที่สุด ช่วงที่พบอุบัติการณ์มักเกิดก่อนอายุ 9 ปี เป็นช่วงอายุที่ปลายรากฟันหน้ายังสร้างไม่เสร็จสมบูรณ์ ทำให้การรักษารากฟันมีความซับซ้อน นอกจากนี้พฤติกรรมของผู้ป่วยก็มีความสำคัญในการวางแผนการรักษา ซึ่งการรักษาที่ไม่ซับซ้อนและทำได้อย่างรวดเร็วจึงเป็นการรักษาที่เหมาะสม บทความนี้นำเสนอเคสผู้ป่วยเด็กหญิงไทย อายุ 8 ปี ประสบอุบัติเหตุบาดเจ็บบริเวณฟันตัดแท้บนขวาซี่กลาง (ซี่11) โดยฟันหักทะลุเนื้อเยื่อในและปลายรากฟันเปิด ผู้ป่วยได้รับการรักษาโดยวิธีตัดเนื้อเยื่อในบางส่วน และ ใช้แคลเซียมไฮดรอกไซด์เป็นวัสดุปิดทับเนื้อเยื่อใน จากนั้นบูรณะฟันที่หักด้วยการยึดชิ้นส่วนฟันกลับเข้าตำแหน่งเดิม การติดตามผลการรักษาเป็นเวลา 1 ปี ผลการรักษาเป็นที่น่าพอใจ คนไข้ไม่มีอาการปวดฟัน ภาพรังสีพบปลายรากฟันสร้างเสร็จสมบูรณ์ และ ไม่มีพยาธิสภาพปลายราก</p>
2024-06-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/MNSTMedJ/article/view/272141
การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันในห้องฉุกเฉิน: กรณีศึกษา 2 ราย
2024-06-27T09:00:04+07:00
มยุรี เมฆทัศน์
librarymnst@hotmail.com
<p><strong>บทนำ:</strong> โรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน เป็นสาเหตุการตาย และการพิการเป็นอันดับต้นของโลก และอุบัติการณ์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี โรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันเป็นระยะวิกฤตที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยงแต่เนื้อสมองยังไม่ตาย ถ้าทำให้เลือดไหลเวียนได้ทันเวลาและในระดับที่เพียงพอจะทำให้เนื้อสมองบริเวณนั้นฟื้นตัวได้เร็วส่งผลให้ผู้ป่วยกลับมาเป็นปกติได้ พยาบาลห้องฉุกเฉินมีบทบาทสำคัญในการดูแลผู้ป่วยในระยะนี้ การให้การพยาบาลอย่างถูกต้อง รวดเร็ว ตามมาตรฐาน สามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ส่งผลให้ผู้ป่วยปลอดภัย ลดอัตราการพิการและเสียชีวิตลงได้</p> <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันในห้องฉุกเฉิน : กรณีศึกษา 2 ราย</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการศึกษา:</strong> การศึกษาเพื่อเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน ที่เข้ารับการรักษาในห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลหาดใหญ่ จำนวน 2 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูล รวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบ ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน พยาธิสภาพ อาการและอาการแสดง การรักษา ปัญหาและข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล การวางแผนการจำหน่ายออกจากห้องฉุกเฉิน โดยผู้วิจัยได้ขอจริยธรรมผ่านคณะกรรมการจริยธรรม โรงพยาบาลหาดใหญ่ เพื่อดำเนินการวิจัยในครั้งนี้</p> <p><strong>ผลการศึกษา:</strong> ผู้ป่วยกรณีศึกษาทั้ง 2 รายได้รับการคัดกรอง และเฝ้าระวังอาการอย่างต่อเนื่อง โดยใช้แนวปฏิบัติการคัดกรองและการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันที่เข้ารับการรักษาในห้องฉุกเฉิน กรณีศึกษารายที่ 1 อาการสำคัญเวียนศีรษะ อาเจียน อ่อนแรงทั่ว ๆ 3 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล ได้รับการประเมินและคัดกรองอย่างถูกต้อง รวดเร็ว แพทย์วินิจฉัย Ischemic stroke (Fast Track) ได้รับยาละลายลิ่มเลือด rt-PA ขณะให้ยาและขณะ Admit ไม่มีภาวะแทรกซ้อน กรณีศึกษารายที่ 2 อาการสำคัญ พูดไม่ชัด แขนขาอ่อนแรง Last seen normal 8 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล แพทย์วินิจฉัย Stroke Non Fast Track ส่งเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง ผล Lt basal ganglia hemorrhage with IVH ขณะอยู่ในห้องฉุกเฉิน ผู้ป่วยระดับความรู้สึกตัวลดลง และมีภาวะความดันโลหิตสูง แพทย์ได้ใส่ท่อช่วยหายใจและให้ยาควบคุมความดันโลหิต พยาบาลได้เฝ้าระวังและติดตามอาการอย่างต่อเนื่องใกล้ชิด และให้การพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามแนวปฏิบัติ ซึ่งพบว่า ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนขณะอยู่ในห้องฉุกเฉิน</p> <p><strong>สรุป</strong>: การศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าพยาบาลมีบทบาทสำคัญในการคัดกรองและประเมินผู้ป่วยเพื่อเฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่รวดเร็ว ผู้ป่วยปลอดภัย ลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้</p>
2024-06-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/MNSTMedJ/article/view/272142
การพยาบาลและการให้ยาระงับความรู้สึกในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดกระดูกสันหลัง ระดับคอทางด้านหลัง : กรณีศึกษา 2 ราย
2024-06-27T09:03:34+07:00
กัลย์กมล ดวงเทพ
librarymnst@hotmail.com
<p><strong>บทนำ</strong>: การผ่าตัดกระดูกสันหลังระดับคอเทคนิคผ่าตัดจากทางด้านหลังจะมีการจัดท่าผู้ป่วยในท่านอนคว่ำทำให้มี<strong>การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาโดยมี</strong>ผลต่อระบบไหลเวียนเลือด และมีความเสี่ยงที่ควรเฝ้าระวัง </p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> เพื่อให้วิสัญญีพยาบาลรู้และเข้าใจให้การระงับความรู้สึกแก่ผู้ป่วยผ่าตัดกระดูกสันหลังระดับคอทางด้านหลังได้</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการศึกษา</strong><strong>:</strong> นำเสนอด้วยกรณีศึกษา จำนวน 2 ราย ดังนี้ </p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong><strong>:</strong> ผู้ป่วยรายที่ 1 มีกระดูกสันหลังระดับคอข้อที่ 6-7 หักเคลื่อนกดทับไขสันหลัง ผู้ป่วยรายที่ 2 มีกระดูกสันหลังคอข้อที่ 7 เสื่อมเคลื่อนกดทับไขสันหลัง ผู้ป่วยทั้ง 2 รายมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการผ่าตัดและการให้ยาระงับความรู้สึกในระยะก่อนการให้ยาระงับความรู้สึก แพทย์ผ่าตัดกระดูกสันหลังจากทางด้านหลังทั้งคู่ ขณะผ่าตัดไม่พบภาวะแทรกซ้อนรุนแรงใด ๆ ระยะหลังผ่าตัดผู้ป่วยรายที่ 1 มีอาการเจ็บคอ นอนพักในโรงพยาบาลหลังผ่าตัด 7 วัน ผู้ป่วยรายที่ 2 มีหลอดเลือดดำขาขวาอักเสบ นอนพักในโรงพยาบาลหลังผ่าตัด 15 วัน </p> <p><strong>สรุป</strong><strong>:</strong> ผลการศึกษาครั้งนี้ใช้เป็นแนวทางการวางแผนการการพยาบาลผู้ป่วยให้ยาระงับความรู้สึก ร่วมกับการเฝ้าระวังจัดการอาการและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นขณะผ่าตัดและได้รับยาระงับความรู้สึกในผู้ป่วยผ่าตัดกระดูกสันหลังระดับคอทางด้านหลัง</p>
2024-06-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024