วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JSH <p><strong>วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ</strong></p> <p><strong>E-ISSN:</strong><span style="font-weight: 400;"> 2586-8918</span></p> <p><strong>กำหนดออก</strong><span style="font-weight: 400;"> : 2 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน) และ ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม)</span></p> <p><strong>นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์ : </strong><span style="font-weight: 400;">วารสารฯ มีนโยบายรับตีพิมพ์บทความคุณภาพสูงในด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย สาธารณสุขศาสตร์ และ อนามัยสิ่งแวดล้อม โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือคณาจารย์ นักศึกษา และนักวิจัยทั้งในและนอกสถาบัน</span></p> th-TH <p><em><span style="font-weight: 400;">Journal of Safety and Health is licensed under a Creative Commons </span></em><a href="https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/"><em><span style="font-weight: 400;">Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)</span></em></a><em><span style="font-weight: 400;"> licence, unless otherwise stated. </span></em></p> [email protected] (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปธานิน แสงอรุณ) [email protected] (พรรณรินทร์ มีเครือ) Mon, 25 Dec 2023 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 บทบรรณาธิการ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JSH/article/view/267918 ปธานิน แสงอรุณ Copyright (c) 2023 วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JSH/article/view/267918 Mon, 25 Dec 2023 00:00:00 +0700 การประเมินความเสี่ยงการรั่วไหลและระเบิดของท่อส่งก๊าซธรรมชาติ และการประเมินผลกระทบด้วยการจำลองสถานการณ์ โดยใช้โปรแกรม ALOHA https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JSH/article/view/264736 <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สาเหตุและประเมินความเสี่ยงผลกระทบจากการรั่วไหลและระเบิดของท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย โดยใช้เทคนิคการชี้บ่งอันตรายด้วยวิธี Fault Tree Analysis (FTA) เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุหลัก และจำลองการรั่วไหลด้วยโปรแกรม ALOHA ที่รูรั่วขนาด 1 4 และ 16 นิ้ว ผลการศึกษาพบว่า สาเหตุของการเกิดการรั่วไหลของท่อก๊าซที่มีโอกาสเกิดได้มากที่สุด คือ การนำเครื่องจักรกลหนักเข้าไปกระทำต่อท่อจนเกิดความเสียหาย การกัดกร่อนภายในจากการเติมสารเคมีในท่อ และการกัดกร่อนภายนอกเนื่องจากอายุการใช้งาน เมื่อจำลองผลกระทบจากการรั่วไหลและระเบิด พบว่า หากท่อเกิดรูรั่ว 16 นิ้ว จะส่งผลกระทบที่รุนแรงมากที่สุด คือ เกิดกลุ่มหมอกก๊าซไวไฟ (Flammable Vapor Cloud) มีค่าความเข้มข้นของก๊าซมีเทน 30,000 ppm รัศมี 1,300 เมตรและเกิดการระเบิดแบบไฟพุ่ง (Jet Fire) มีค่าพลังงานความร้อน 10 กิโลวัตต์ต่อตารางเมตร มีรัศมีการแผ่กระจายรังสีความร้อน 97 เมตร จากแหล่งกำเนิด และผลการประเมินระดับความเสี่ยงของผลกระทบจากการรั่วไหลและระเบิดของท่อส่งก๊าซธรรมชาติมีความเสี่ยงระดับปานกลาง ซึ่งผลการประเมินความเสี่ยงสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเตรียมพร้อมรับมือกับเหตุฉุกเฉินในระยะก่อนเกิดเหตุ เช่น การเตรียมความพร้อมของทรัพยากรด้านต่างๆ การอบรมให้ความรู้ให้กับพนักงานที่ปฏิบัติงานในแนวท่อ และผลจากศึกษาระดับความรุนแรงของผลกระทบ สามารถนำไปจัดทำแผนตอบโต้ต่อเหตุฉุกเฉินในระยะขณะเกิดเหตุและหลังเกิดเหตุ และฝึกซ้อมแผนดังกล่าว ร่วมกันระหว่างสถานประกอบการ ชุมชน และหน่วยงานในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาการป้องกันและตอบโต้เหตุฉุกเฉินอย่างมีประสิทธิภาพ</p> ณัฎฐิตา ศรีบุโฮม, วิชัย พฤกษ์ธาราธิกูล, ยุพรัตน์ หลิมมงคล Copyright (c) 2023 วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JSH/article/view/264736 Mon, 25 Dec 2023 00:00:00 +0700 การพัฒนาเทคโนโลยีความจริงเสมือน เพื่อกำหนดความถี่ของการฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ สำหรับโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ จังหวัดชลบุรี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JSH/article/view/265798 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในรูปแบบการจำลองสถานการณ์ ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสมือน โดยนำไปใช้ร่วมกับการฝึกซ้อมอพยพหนีไฟในหลากหลายสถานการณ์จำลอง เพื่อศึกษาความถี่ที่ใช้ในการฝึกซ้อมที่ได้ตามเวลาที่กำหนดและเกิดความปลอดภัย และศึกษาความพึงพอใจของพนักงานฝ่ายผลิตบริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์แห่งหนึ่ง จังหวัดชลบุรี จำนวน 85 คนที่ผ่านเกณฑ์คัดเข้า เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความพึงพอใจ และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสมือน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า ความถี่ที่เหมาะสมในการฝึกซ้อมอพยพหนีไฟที่สามรอบนั้น สามารถช่วยให้เกิดทักษะในการอพยพที่ปลอดภัยและอยู่ในเวลาที่กำหนด โดยความถี่ในการทดสอบฝึกซ้อมอพยพหนีไฟมากที่สุดเท่ากับสามรอบ โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 88 ผ่านการฝึกซ้อมที่ความถี่หนึ่งรอบ สาเหตุที่ฝึกซ้อมมากกว่าหนึ่งรอบมาจากเวลาที่เกินกำหนดในสถานการณ์ที่ควบคุมไม่ได้ถึงร้อยละ 67 ผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าโปรแกรมเทคโนโลยีความจริงเสมือน สามารถนำไปใช้ฝึกซ้อมอพยพหนีไฟได้หลากหลายสถานการณ์ ดังนั้นควรสนับสนุนให้มีการเสริมการเรียนรู้จากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น</p> นีนนารา ธนินสิทธางกูร, ทนงศักดิ์ ยิ่งรัตนสุข, ธีรยุทธ เสงี่ยมศักดิ์ Copyright (c) 2023 วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JSH/article/view/265798 Mon, 25 Dec 2023 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถภาพการได้ยินของคนงานตัดหญ้า ในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาเขตภาคเหนือตอนบน https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JSH/article/view/264561 <p>การได้รับสัมผัสเสียงดังในการทำงาน เป็นความเสี่ยงและสาเหตุสำคัญต่อการสูญเสียการได้ยินในผู้ประกอบ อาชีพคนงานตัดหญ้า การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสมรรถภาพการได้ยินของคนงานตัดหญ้าในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา เขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป ตรวจวัดการสัมผัสเสียงด้วยเครื่องวัดปริมาณเสียงสะสม และตรวจการได้ยินด้วยเครื่องตรวจสมรรถภาพการได้ยิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และทดสอบความสัมพันธ์ด้วยสถิติไคสแคว์</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า คนงานตัดหญ้าจำนวน 97 คน ได้รับระดับสัมผัสเสียง (TWA<sub>8</sub> <sub>hr</sub>) 83.0-104.5 เดซิเบลเอ พบความชุกของการสูญเสียสมรรถภาพการได้ยินในช่วงความถี่ต่ำที่ 2,000 เฮิรตซ์มากที่สุด (หูขวาร้อยละ 16.5 และหูซ้ายร้อยละ 20.6) ส่วนในช่วงความถี่สูงพบที่ความถี่ 6,000 เฮิรตซ์มากที่สุด (หูขวาร้อยละ 71.1 และหูซ้ายร้อยละ 80.4) ปัจจัยด้านระดับการศึกษาและอายุ มีความสัมพันธ์กับการสูญเสียการได้ยินในช่วงความถี่ต่ำ ในขณะที่ปัจจัยด้านอายุ ชนิดมอเตอร์เครื่องตัดหญ้า และดัชนีมวลกาย มีความสัมพันธ์กับการสูญเสียการได้ยินในช่วงความถี่สูง (p &lt; 0.05)</p> <p>ดังนั้นหน่วยงานสถาบันการศึกษาควรเฝ้าระวังสุขภาพและสร้างความตระหนักให้คนงานตัดหญ้ามีการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันเสียงดัง รวมทั้งพิจารณาปรับเปลี่ยนชนิดของมอเตอร์ของเครื่องตัดหญ้า เพื่อลดความเสี่ยงต่อการสูญเสียการได้ยิน</p> <p> </p> <p> </p> ปุณญิสา ผุดผ่อง, ศุภกาญจน์ แก่นท้าว, นัฐพล ปันสกุล, น้ำเงิน จันทรมณี, ศศิวิมล บุตรสีเขียว Copyright (c) 2023 วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JSH/article/view/264561 Mon, 25 Dec 2023 00:00:00 +0700 ปรากฏการณ์การเกิดอุบัติเหตุจากพฤติกรรมเสี่ยงในการขับขี่รถจักรยานยนต์ของผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี: การศึกษาเชิงคุณภาพ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JSH/article/view/263017 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการอธิบายเงื่อนไขของพฤติกรรมเสี่ยง และสาเหตุของการใช้รถจักรยานยนต์ในผู้ขับขี่ที่มีอายุน้อยกว่า 15 ปี เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 4 กลุ่ม ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ 1) ผู้ที่เคยประสบอุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์ที่มีอายุน้อยกว่า 15 ปี 2) บุคคลในครอบครัว ผู้ปกครอง ครู หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับบุคคลที่เคยประสบอุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์ที่มีอายุน้อยกว่า 15 ปี 3) บุคลากรทางการแพทย์ ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาผู้ที่เคยประสบอุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์ที่มีอายุน้อยกว่า 15 ปี และ 4) บุคคลที่มีบทบาทในการดูแลความปลอดภัยทางถนน </p> <p>ผลการวิจัยพบเงื่อนไขเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ ในผู้ขับขี่ที่มีอายุน้อยกว่า 15 ปี 4 ระดับ ได้แก่ ระบบจุลภาค มีทั้งหมด 3 ประการ คือ 1) ผู้ขับขี่อายุน้อย อ่อนวุฒิภาวะ ขาดทักษะการขับขี่ และ ประมาท 2) การรวมตัวกับเพื่อนเพื่อขับขี่แข่งกัน และขับขี่ด้วยวิธีแปลกๆ เพื่อโชว์ความเท่ และ3) ครอบครัวไม่มีเวลาดูแลบุตรหลาน อนุญาติให้ขับขี่ในวัยอันไม่สมควร ระบบกลาง คือ ความสัมพันธ์ระหว่างบ้านกับโรงเรียนที่โรงเรียนไม่สนับสนุนให้ขับขี่รถจักรยานยนต์มาโรงเรียนแต่ก็ไม่ห้ามเนื่องจากเห็นถึงความจำเป็นของแต่ละครอบครัวเกี่ยวกับเรื่องการเดินทางที่ไม่สะดวก ระบบภายนอก มี 5 ประการ คือ 1) บริบทแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวย 2) สถานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวชั้นกลางมักให้เด็กช่วยเหลือตัวเอง 3) ความไม่พร้อมของการให้บริการรถโดยสารสาธารณะ 4) รถจักรยานยนต์คือพาหนะที่สะดวกและประหยัดค่าเดินทาง และ 5) การเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ที่ราคาเข้าถึงได้ ระบบมหภาคมี 2 ประการ 1) ค่านิยมที่เชื่อว่าการปรับเปลี่ยนสภาพรถจักรยานยนต์ใหม่มีความแรง และขับขี่รถจักรยานยนต์ด้วยวิธีแปลกๆเป็นที่ดึงดูดและมีเสน่ห์หรือมีความเท่ 2)วัฒนธรรมการรักษากฎกติกาของคนไทยที่ไม่ปฏิบัติตามกฎ</p> <p>สรุป เงื่อนไขที่พบนี้สามารถนำไปหาแนวทางในการป้องกันอันตรายที่เกิดจากพฤติกรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ของผู้ขับขี่ที่มีอายุน้อยกว่า 15 ปีได้</p> อารยา เชียงของ, วีรพงษ์ พวงเล็ก, อมราพร สุรการ, ชัยยุทธ กลีบบัว, นิตยา สุขชัยสงค์ Copyright (c) 2023 วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JSH/article/view/263017 Mon, 25 Dec 2023 00:00:00 +0700 การสร้างแบบจำลองการรั่วไหลของสารเคมีอันตราย กรณีศึกษา: บิวทิว อะซีเตท https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JSH/article/view/265656 <p>กระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมต่างๆ รวมทั้งกระบวนการผลิตอุตสาหกรรมจากเฟอร์นิเจอร์ไม้ พบมีการใช้สารเคมีชนิดต่างๆ ซึ่งกระบวนการผลิตดังกล่าวนี้อาจมีการใช้สารเคมีที่อาจเกิดการหก รั่วไหล หรือแพร่กระจายโดยไม่ตั้งใจ เหตุการณ์เหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อชีวิตและสุขภาพของประชาชนในบริเวณใกล้เคียงและสิ่งแวดล้อมโดยรอบ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการแพร่กระจายอันเนื่องมาจากการรั่วไหลของสารบิวทิว อะซีเตท และเพื่อศึกษาผลของการรั่วไหลของสารบิวทิว อะซีเตท ในช่วงเวลากลางวันและกลางคืนที่ระดับความเร็วลมแตกต่างกัน งานวิจัยนี้เลือกพื้นที่กรณีศึกษาเป็นโรงงานอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้แห่งหนึ่งในจังหวัดระยอง วิธีการประเมินการรั่วไหลของสารเคมีในงานวิจัยเลือกการวิเคราะห์ข้อมูลผลการศึกษาด้วยโปรแกรม ALOHA (Areal Locations of Hazardous Atmospheres) โดยทำการศึกษา 4 กรณีศึกษา ดังนี้ กรณีที่ 1) การรั่วไหลเป็นไอพิษจากถังเก็บกรณีไม่ลุกติดไฟ กรณีที่ 2) การเฝ้าระวังระยะห้ามก่อเกิดประกายไฟซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดการระเบิด กรณีที่ 3) การรั่วไหลและเกิดการลุกไหม้แผ่ไปตามพื้น และกรณีที่ 4) การรั่วไหลและเกิดการลุกไหม้เป็นลูกไฟวิ่งไปในอากาศ</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า ในกรณีที่ 1) การรั่วไหลเป็นไอพิษจากถังเก็บกรณีไม่ลุกติดไฟ ซึ่งแสดงผลเป็นค่า Emergency Response Planning Guidelines (ERPG) เป็นความเข้มข้นของสารเคมีในอากาศที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระดับต่างๆ ซึ่งระยะการแพร่กระจายที่ไปได้ไกลมากที่สุด คือ 311 เมตร ในบริเวณพื้นที่สีเหลือง (ERPG-1) ไปทางทิศเหนือ จากการจำลองสถานการณ์ในระดับความเร็วลมที่ต่ำที่สุดในช่วงเวลากลางวัน กรณีที่ 2) การเฝ้าระวังระยะห้ามก่อเกิดประกายไฟซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดการระเบิด ผลลัพธ์ที่ได้ในบริเวณพื้นที่สีแดง และบริเวณพื้นที่สีเหลือง เท่ากันในทุกระดับความเร็วลมในแต่ละเดือนของช่วงเวลากลางวันและกลางคืน คือระยะ 10 เมตร กรณีที่ 3) การรั่วไหลและเกิดการลุกไหม้แผ่ไปตามพื้น บริเวณพื้นที่สีเหลือง มีระยะการแผ่รังสีความร้อนไกลที่สุดคือ 18 ค่าระดับพลังงานอยู่ที่ 2 กิโลวัตต์/ตารางเมตร ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งช่วงเวลากลางวันและกลางคืน ในทุกระดับความเร็วลม และกรณีที่ 4) การรั่วไหลและเกิดการลุกไหม้เป็นลูกไฟวิ่งไปในอากาศ มีระยะการแผ่รังสีความร้อนไกลที่สุดคือ 138 เมตร ค่าระดับพลังงานอยู่ที่ 2 กิโลวัตต์/ตารางเมตร ซึ่งตรงกับช่วงเวลากลางวัน ในระดับความเร็วลมที่สูงที่สุดและความเร็วลมเฉลี่ยของช่วงเวลากลางวัน</p> <p>ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าความแตกต่างระหว่างช่วงเวลากลางวันและกลางคืนไม่ได้เป็นปัจจัยหลักในการบ่งชี้ระดับความรุนแรงของเหตุการณ์ที่รุนแรงที่สุดที่จะเกิดขึ้น แต่พบว่าปัจจัยทางอุตุนิยมวิทยามีอิทธิพลต่อระดับความรุนแรงของสถานการณ์ ผลการศึกษาพบปัจจัยด้านความเร็วลมมีผลต่อกรณีศึกษาในแต่ละสถานการณ์ ดังนี้ กรณีที่ 1) การรั่วไหลเป็นไอพิษจากถังเก็บกรณีไม่ลุกติดไฟ พบว่าความเร็วลมที่สูงจะทำให้รัศมีการแพร่กระจายไปได้ไกลกว่าระดับความเร็วลมที่ต่ำเนื่องจากสารเคมีเจือจางไปกับอากาศได้เร็ว กรณีที่ 2) การเฝ้าระวังระยะห้ามก่อเกิดประกายไฟซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดการระเบิด พบว่าระดับความเร็วลมไม่ทำให้ ผลกระทบแตกต่างกัน กรณีที่ 3) การรั่วไหลและเกิดการลุกไหม้แผ่ไปตามพื้น และกรณีที่ 4) การรั่วไหลและเกิดการลุกไหม้เป็นลูกไฟวิ่งไปในอากาศ พบว่าความเร็วลมที่เพิ่มขึ้นทำให้อัตราการกระจายตัวของสารเคมีที่สูงขึ้น และอิทธิพลของลมส่งผลต่อระยะการแพร่กระจายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งการวางแผนรับมือกับเหตุฉุกเฉินจะต้องไม่น้อยว่าระยะที่โปรแกรมแสดงออกมาเพื่อความปลอดภัยของประชาชนและชุมชนโดยรอบ</p> ศุภชัย ช้างเผือก, เยาวทัศน์ บุญกล้า Copyright (c) 2023 วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JSH/article/view/265656 Mon, 25 Dec 2023 00:00:00 +0700 ความเสี่ยงทางสุขภาพจากการประกอบอาชีพบริการส่งอาหารในพื้นที่อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JSH/article/view/263419 <p>การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเสี่ยงทางสุขภาพจากการประกอบอาชีพบริการส่งอาหาร ในพื้นที่อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม พบว่าอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการประกอบอาชีพบริการส่งอาหาร ร้อยละ 17.01 เมื่อวิเคราะห์การเกิดอุบัติเหตุโดยใช้สถิติ Multiple logistic regression แล้วพบว่าระยะทางที่ไปส่งอาหารให้กับลูกค้ามากกว่า 10 กิโลเมตรขึ้นไป มีความสอดคล้องกับการเกิดอุบัติเหตุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เคยติดเชื้อโรคโควิด-19 ร้อยละ 42.15 เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Multiple logistic regression แล้วพบว่าจำนวนวันที่ปฏิบัติงานต่อสัปดาห์ จำนวน 7 วันต่อสัปดาห์ มีความสอดคล้องกับการติดเชื้อโรคโควิด-19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สำหรับอาการเจ็บป่วยเกี่ยวกับระบบกล้ามเนื้อพบว่า อาการปวดเอว ปวดไหล่ และปวดกล้ามเนื้อแขน มากที่สุด ร้อยละ 73.56, 72.25 และ 71.73 ตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์อาการปวดกล้ามเนื้อโดยใช้สถิติ Simple logistic regression พบว่าจำนวนรอบการรับส่งอาหาร มากกว่า 40 รอบต่อวัน มีความสอดคล้องกับอาการปวดกล้ามเนื้อคอ ปวดไหล่ ปวดหลังส่วนบน ปวดสะโพก ปวดเอว ปวดกล้ามเนื้อแขน ปวดข้อมือและมือ ปวดต้นขา ปวดเข่า ปวดน่อง ปวดเท้าและข้อเท้า และระยะทางที่ส่งอาหารมากกว่า 10 กิโลเมตร สอดคล้องกับอาการปวดสะโพก รวมทั้งผู้ที่มีดัชนีมวลกายที่มีค่ามากกว่า 30.0 สอดคล้องกับอาการปวดต้นขาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> ชัยวัฒน์ เหลี่ยมสิงขร, กาญจนา นาถะพินธุ Copyright (c) 2023 วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JSH/article/view/263419 Mon, 25 Dec 2023 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์ของประสิทธิภาพระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและการปนเปื้อนแบคทีเรียในน้ำประปา https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JSH/article/view/263689 <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพของระบบประปาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับคุณภาพน้ำประปาด้านการปนเปื้อนโคลิฟอร์มแบคทีเรีย เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ มีจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 630 แห่ง เครื่องมือวิจัยใช้ชุดทดสอบคลอรีนอิสระคงเหลือในน้ำ ชุดตรวจสอบโคลิฟอร์มแบคทีเรียในน้ำ และแนวทางการประเมินประสิทธิภาพของระบบประปาของกรมทรัพยากรน้ำ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Independent T-test และ Spearman correlation ผลการศึกษาระบบประปา พบว่าเป็นระบบประปาบาดาล คิดเป็นร้อยละ 51.1 และระบบประปาผิวดิน คิดเป็นร้อยละ 48.9 รูปแบบโครงสร้างส่วนใหญ่ คือ รูปแบบของกรมทรัพยากรน้ำ ร้อยละ 37.3 รองลงมา คือ รูปแบบของกรมโยธาธิการ ร้อยละ 28.4 ผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบประปา ส่วนใหญ่อยู่ในระดับพอใช้ ร้อยละ 79.04 รองลงมาคือ ระดับดีร้อยละ 12.50 คุณภาพน้ำประปาด้านการปนเปื้อนแบคทีเรียที่ปลายท่อ พบการปนเปื้อน ร้อยละ 88.3 โดยคุณภาพน้ำด้านการปนเปื้อนแบคทีเรียมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับประสิทธิภาพของระบบประปาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในภาพรวมทั้ง 5 ด้าน (r = 0.134) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 พบว่าด้านระบบประปา (ความสัมพันธ์เชิงบวก r = 0.132) และด้านการควบคุมการผลิตและบำรุงรักษาระบบประปา (ความสัมพันธ์เชิงบวก r = 0.087) มีผลทำให้คุณภาพน้ำด้านแบคทีเรียดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p> วราภรณ์ ถาวรวงษ์, ชัยเลิศ กิ่งแก้วเจริญชัย, นัชชา ผลพอตน Copyright (c) 2023 วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JSH/article/view/263689 Mon, 25 Dec 2023 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จด้านการจัดการขยะของสถาบันการศึกษาด้านสุขภาพและการพยาบาล https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JSH/article/view/263837 <p>ปัจจุบันสถาบันการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของเมืองที่ถูกจัดเป็นแหล่งกำเนิดขยะของเมือง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จด้านการจัดการขยะของสถาบันทางการศึกษาด้านสุขภาพและการพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลองค์ประกอบขยะทางกายภาพด้วยวิธี Quartering Method ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการสำรวจข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS และจัดลำดับความสำคัญของปัจจัยด้วยกระบวนการ Multi-Criteria Analysis (MCA) ผลการศึกษาพบว่า มีปริมาณขยะรวม 1,693 กิโลกรัม/วัน อัตราการเกิดขยะมีค่าเท่ากับ 1.55 กิโลกรัม/คน/วัน ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จด้านการจัดการขยะของสถาบันทางการศึกษาด้านสุขภาพและการพยาบาล มีทั้งหมด 20 ปัจจัย จัดกลุ่มปัจจัยสำคัญหลักเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) ปัจจัยด้านนโยบายและองค์กร 2) ปัจจัยด้านบริหารจัดการ 3) ปัจจัยด้านขั้นตอนการดำเนินการ และ 4) ปัจจัยด้านผลการดำเนินการ การประยุกต์ข้อมูลปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการจัดการขยะเพื่อการสร้างทางเลือกการจัดการขยะอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย 4 แนวทาง ได้แก่ (1) เสนอแผนการก่อสร้างสถานที่รวบรวมขยะของมหาวิทยาลัยเพื่อรองรับปริมาณขยะ (2) จัดทำแผนการดำเนินงานภายใต้แผนยุทธศาสตร์ต่อมหาวิทยาลัย โดยการกำหนดรูปแบบการบริหารจัดการแบบองค์รวมที่มีระบบการจัดการแบบเดียวกัน (3) กำหนดทิศทาง การสร้างกิจกรรมที่มีกระบวนการการมีส่วนร่วมให้เป็นรูปธรรมในการกำหนดรูปแบบกิจกรรมแบบต่อเนื่องเพื่อสร้างความยั่งยืน และ (4) บูรณาการปัจจัยจากผลลัพธ์ของการศึกษาร่วมกับปัจจัยอื่นๆจากนอกพื้นที่ศึกษา เพื่อร่วมสร้างความเข้มแข็งระหว่างองค์กรในมิติการจัดการขยะเชิงพื้นที่ เพื่อให้สามารถเป็นสถาบันการศึกษาที่มีบทบาทของการเป็นสถาบันด้านวิชาการในการพัฒนาเมืองด้านสาธารณสุข และตอบโจทย์การเป็นองค์กรสีเขียวเพื่อมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ</p> เจษฎานันท์ เวียงนนท์, แสน กีรตินวนันท์, อนัญญา โพธิ์ประดิษฐ์, อิงเดือน แสงเงิน Copyright (c) 2023 วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JSH/article/view/263837 Mon, 25 Dec 2023 00:00:00 +0700 การประเมินระบบสารสนเทศเพื่อการส่งต่อผู้ป่วย: กรณีศึกษาโรงพยาบาล ในเครือข่ายบริการที่ 2 จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JSH/article/view/264660 <p>การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการพัฒนาและเพื่อประเมินผลการใช้งานโปรแกรมระบบการส่งต่อและนัดหมายผู้ป่วย (HIS Sansai) ซึ่งเป็นระบบสารสนเทศเพื่อการส่งต่อผู้ป่วยระหว่างโรงพยาบาลในเครือข่ายบริการที่ 2 จังหวัดเชียงใหม่ พัฒนาโดยโรงพยาบาลสันทราย เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ 3 วิธี ได้แก่ การสังเกตในพื้นที่ดำเนินการของโครงการวิจัย การสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ หัวหน้าโครงการวิจัย เจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ แพทย์ พยาบาลวิชาชีพ และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ จำนวน 27 คน ที่คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ภายใต้กรอบแนวคิดของทฤษฎีโปรแกรม</p> <p>ผลการประเมินพบว่า โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมีรูปแบบการพัฒนาแบ่งออกเป็นสองระบบย่อย คือ ระบบการส่งต่อฉุกเฉิน และระบบการส่งต่อแบบนัดหมาย ซึ่งทั้งสองระบบช่วยให้เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลปลายทางสามารถเตรียมการได้ล่วงหน้า ก่อนผู้ป่วยจะไปถึง และการใช้งานมีความสะดวกกับผู้ใช้ เนื่องจากเป็นเว็บแอปพลิเคชัน (Web Application) อีกทั้งยังช่วยให้การส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยมีความครบถ้วนมากขึ้น และรองรับ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 โดยเฉพาะระบบการส่งต่อฉุกเฉิน ซึ่งช่วยลดเวลาการตัดสินใจตอบรับการส่งต่อของแพทย์ ช่วยคัดกรองผู้ป่วยที่ควรจะส่งต่อ และลดการรอคอยการ ตรวจวินิจฉัยโรคด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) และตรวจอวัยวะภายในด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasound) ของผู้ป่วย ในส่วนระบบการส่งต่อแบบนัดหมาย โปรแกรมช่วยลดเวลาลงทะเบียน และลดต้นทุนค่าเสียโอกาสในการเดินทางมาโรงพยาบาลของผู้ป่วยและครอบครัว อย่างไรก็ตามยังคงต้องพัฒนาโปรแกรมให้มีความเสถียรมากขึ้น โดยเฉพาะให้รองรับปริมาณการใช้งานจำนวนมาก ตลอดจนพัฒนาการเชื่อมต่อข้อมูลผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลศูนย์ เพื่อการส่งต่อผู้ป่วยต่อเนื่อง และลดความสูญเสียของผู้ป่วยและครอบครัวต่อไป</p> อติพันธ์ สุวัฒน์เมฆินทร์, พุดตาน พันธุเณร, อานนท์ สุกสัก, กฤษฎา วัฒนเสาวลักษณ์, อุดมศักดิ์ ตั้งชัยสุริยา, อุษณา ตัณมุขยกุล, ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์, วรุตม์ มุขแจ้ง Copyright (c) 2023 วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JSH/article/view/264660 Mon, 25 Dec 2023 00:00:00 +0700 การเปรียบเทียบประสิทธิผลของการรักษาด้วยคลื่นอัตราซาวด์และแผ่นร้อนกับการรักษาด้วยคลื่นสั้นร่วมกับการ ดัดดึงข้อต่อในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดส่องกล้องเพื่อเย็บซ่อมเส้นเอ็นข้อไหล่ที่ฉีกขาด https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JSH/article/view/260221 <p>วัตถุประสงค์ของการวิจัย: เปรียบเทียบประสิทธิผลการรักษาด้วยคลื่นอัตราซาวด์และแผ่นร้อนกับการรักษาด้วยคลื่นสั้นร่วมกับการดัดดึงข้อต่อในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดส่องกล้อง เพื่อเย็บซ่อมเส้นเอ็นข้อไหล่ที่ฉีกขาดเป็นการศึกษาตามรุ่นย้อนหลัง (Retrospective Cohort Study) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลช่วงการเคลื่อนไหวข้อไหล่ จากบันทึกการรักษาทางกายภาพบำบัด ที่หน่วยงานกายภาพบำบัด ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มศว จังหวัดนนทบุรี จำนวน 36 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ (คลื่นอัลตราซาวด์, แผ่นร้อน, ดัดดึงข้อต่อ) 23 คน และ (คลื่นสั้น, ดัดดึงข้อต่อ) 13 คน เปรียบเทียบผลการรักษาโดยใช้สถิติ Mann-Whitney U test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ p &lt; 0.05 ผลการศึกษาพบว่าระยะเวลาการรักษาและการเปลี่ยนแปลงขององศาการเคลื่อนไหวข้อไหล่ระหว่างผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยคลื่นอัตราซาวด์และแผ่นร้อนกับการรักษาด้วยคลื่นสั้นร่วมกับการดัดดึงข้อต่อไม่มีความแตกต่างกัน</p> ฐิติพร คัมภิรานนท์, จุฑารัตน์ จันทร์ไชย Copyright (c) 2023 วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JSH/article/view/260221 Mon, 25 Dec 2023 00:00:00 +0700 ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าของนักเรียนชั้นระถมศึกษาปีที่ 4 ในจังหวัดชลบุรี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JSH/article/view/264200 <p>โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคประจำถิ่นในประเทศไทย มีอัตราการป่วยตายเกือบร้อยละ 100 ทั้งในคน และสัตว์ มีประชากรกลุ่มเสี่ยงคือเด็กที่อายุต่ำกว่า 15 ปี จากข้อมูลของผู้เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้าพบว่าการไม่ได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้าและไม่ทราบว่าควรจะต้องทำอย่างไรเมื่อถูกสัตว์กัดเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการเสียชีวิต การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับของความรู้เกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า ทัศนคติเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า และพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคพิษสุนัขบ้าของนักเรียนที่ศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จำนวน 290 คน กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) จำนวน 268 คน ในจังหวัดชลบุรี การวิจัยพบว่านักเรียนที่ศึกษาในโรงเรียนสังกัด สช. มีคะแนนความรู้เกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า ( = 4.75 SD=1.543, P &lt; 0.001) และคะแนนพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคพิษสุนัขบ้า ( = 16.60 SD=3.889, P &lt; 0.05) สูงกว่านักเรียนที่ศึกษาในโรงเรียนสังกัด สพฐ. ที่มีคะแนนความรู้เกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า ( = 3.89 SD=1.66, P &lt; 0.001) และคะแนนพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคพิษสุนัขบ้า ( = 15.81 SD=3.398, P &lt; 0.05) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และเมื่อนำคะแนนที่ได้มาจัดระดับเป็น 3 กลุ่ม ตามเกณฑ์ของบลูมพบว่า นักเรียนที่ศึกษาในโรงเรียนสังกัด สพฐ. ส่วนใหญ่มีคะแนนความรู้เกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้าอยู่ในระดับน้อย (ร้อยละ 60.3) ในขณะที่นักเรียนที่ศึกษาในโรงเรียนสังกัด สช. มีคะแนนความรู้อยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 51.5) ส่วนคะแนนทัศนคติเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้าและคะแนนพฤติกรรมการป้องกันตนเองโรคพิษสุนัขบ้าของนักเรียนที่ศึกษาอยู่ในโรงเรียนทั้งสังกัด สพฐ. และ สช. อยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 64.1 และ 54.1 กับ ร้อยละ 46.2 และ 42.5 ตามลำดับ) โรงเรียนในสังกัด สพฐ. และ สช. ควรมีการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าโดยการดำเนินกิจกรรมเพื่อพัฒนาความรู้ ทัศนคติเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้าและเสริมสร้างพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในเด็กนักเรียนเพื่อลดอุบัติการณ์ของโรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนสามารถป้องกันตนเองจากโรคพิษสุนัขบ้าได้ในอนาคต</p> อารยา ประเสริฐชัย , วุธจักร พันธุ์สมบัติ, ลักษิกา ฉิมพลี, มิณฑิชา เดชเกตุ, มยุรินทร์ เหล่ารุจิสวัสดิ์ Copyright (c) 2023 วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JSH/article/view/264200 Mon, 25 Dec 2023 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับภาวะสุขภาพช่วงสถานการณ์โควิด 19 ของพนักงานเก็บขยะ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JSH/article/view/265604 <p>ในปี พ.ศ. 2562-2565 ช่วงสถานการณ์โควิด 19 พนักงานเก็บขยะมีความเสี่ยงต่อภาวะสุขภาพการทำงาน การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยด้านบุคคล การทำงาน ความรู้และพฤติกรรมการป้องตนเองจากมูลฝอยติดเชื้อ และ (2) ศึกษาปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพ ศึกษาในกลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานเก็บขยะเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม จํานวน 200 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสูงสุด-ค่าต่ำสุด และการทดสอบสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า พนักงานเก็บขยะทั้งหมดเป็นเพศชาย ร้อยละ 100.0 อยู่ในช่วงอายุระหว่าง 40-49 ปี ร้อยละ 33.5 ในการปฎิบัติงานมีการสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ร้อยละ 97.0 ส่วนใหญ่สวมใส่หน้ากากอนามัย ร้อยละ 87.5 และเคยได้รับการให้ความรู้เกี่ยวกับการเก็บขนขยะ ร้อยละ 58.5 ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการป้องตนเองจากมูลฝอยติดเชื้อความเสี่ยงระดับปานกลาง ร้อยละ 59.0 และมีระดับความรู้สูงเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อช่วงสถานการณ์โควิด 19 ร้อยละ 96.0 ผลของระดับภาวะสุขภาพคือ มีความเสี่ยงระดับต่ำ ร้อยละ 81.5 และปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพของพนักงานเก็บขยะที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ได้แก่ สถานภาพ (p = 0.038) และพฤติกรรมการป้องตนเองจากมูลฝอยติดเชื้อ (p = 0.027) ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานประกอบการเฝ้าระวังการป้องกันและระงับการแพร่เชื้อจากมูลฝอยติดเชื้อ การเก็บ ขนขยะ การตระหนักเรื่องเฝ้าระวังภาวะสุขภาพ และการพัฒนารูปแบบการจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของพนักงานเก็บขยะอย่างต่อเนื่อง</p> นันทิดา โหวดมงคล, พรภิไล ถนอมสงัด , มนัส รงทอง Copyright (c) 2023 วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JSH/article/view/265604 Mon, 25 Dec 2023 00:00:00 +0700 ชุมชนเข้มแข็งสู่การเกิดสวัสดิการชุมชนเมืองทางด้านสาธารณสุขเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนเมืองอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา ชุมชนแฟลตสิริสาสน์ เคหะศรีย่าน เขตดุสิต ชุมชนตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JSH/article/view/263833 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษากลไกและกระบวนการที่นำไปสู่การสร้างรูปแบบสวัสดิการชุมชนเมืองทางด้านสาธารณสุข ที่เกิดขึ้นจากฐานชุมชนเข้มแข็งในเขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นของสวัสดิการชุมชนเมืองทางด้านสาธารณสุขที่มีต่อคุณภาพชีวิตคนเมือง ที่สามารถเป็นแนวทางสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนเมืองให้เกิดขึ้นอย่างยั่งยืนสอดคล้องกับบริบทการพัฒนามหานคร โดยการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย 2 กลุ่มหลัก คือ 1) กลุ่มผู้นำของทั้งสองชุมชน จำนวน 12 คน 2) กลุ่มสมาชิกชุมชนทั้งสองชุมชน จำนวน 28 คน รวมทั้งสิ้น 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) การศึกษาเอกสาร 2) การสังเกต 3) การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก 4) การสัมภาษณ์แบบกลุ่ม</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า 1) กลไกและกระบวนการที่นำไปสู่การสร้างรูปแบบสวัสดิการชุมชนเมืองทางด้านสาธารณสุขคือ อาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร (อสส.) กลุ่มผู้นำชุมชนและกลุ่มแกนนำอาสาสมัคร เครือข่ายความสัมพันธ์ทั้งภายในและภายนอกชุมชน 2) ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นของสวัสดิการชุมชนเมืองทางด้านสาธารณสุขที่มีต่อคุณภาพชีวิตคนเมืองคือ (1) สมาชิกชุมชนเมืองทุกคนมีสุขภาพอนามัยที่ดีและได้รับบริการสาธารณสุขพื้นฐานและการปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างรวดเร็ว (2) การประสานงานด้านสุขภาพหรือสุขอนามัยภายในชุมชนกับเครือข่ายสถานพยาบาล และการระดมทรัพยากรทางการแพทย์จากเครือข่ายสถานพยาบาลโดยรอบชุมชน (3) การเรียนรู้บทเรียนภาวะโรคอุบัติใหม่ และ (4) การบริหารจัดการชุมชนเมื่อเกิดสถานการณ์โรคระบาดและโรคอุบัติใหม่ (โควิด - 19)</p> แสน กีรตินวนันท์, สิริยา รัตนช่วย Copyright (c) 2023 วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JSH/article/view/263833 Mon, 25 Dec 2023 00:00:00 +0700 ประสิทธิผลของกิจกรรมกระตุ้นแรงบันดาลใจต่อการลดภาวะซึมเศร้าในการเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JSH/article/view/263595 <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของกิจกรรมกระตุ้นแรงบันดาลใจต่อการลดภาวะซึมเศร้าในการเรียนของนักศึกษากลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา หญิงและชายอายุ 18-22 ปี ที่กำลังศึกษาในระดับชั้นปีที่ 1-4 แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 30 คน ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลประกอบด้วย 3 ส่วน ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปด้านลักษณะบุคคล ส่วนที่ 2 แบบประเมินภาวะซึมเศร้า 2 คำถาม และแบบประเมินภาวะซึมเศร้า 9 คำถาม ส่วนที่ 3 แบบสอบถามภาวะซึมเศร้าต่อการเรียน 15 คำถาม และจัดกิจกรรมกระตุ้นแรงบันดาลใจต่อการลดภาวะซึมเศร้าในการเรียน ซึ่งจะจัดกิจกรรมก่อนการเรียนในแต่ละสัปดาห์ จำนวนทั้งสิ้น 4 สัปดาห์</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มควบคุมเป็นเพศหญิงร้อยละ 56.7 เพศชายร้อยละ 43.3 อายุเฉลี่ย 19.77± 0.50 กลุ่มทดลองเป็นเพศหญิงร้อยละ 60.0 เพศชายร้อยละ 40.0 อายุเฉลี่ย 20.17± 0.94 กลุ่มควบคุม มีภาวะซึมเศร้าระดับน้อย ร้อยละ 33.3 มีภาวะซึมเศร้าระดับปานกลาง ร้อยละ 6.7 มีภาวะซึมเศร้าระดับรุนแรง ร้อยละ 3.3 ส่วนกลุ่มทดลองมีภาวะซึมเศร้าระดับน้อยร้อยละ 13.3 มีภาวะซึมเศร้าระดับปานกลางร้อยละ 3.3 เมื่อพิจารณาระดับภาวะซึมเศร้าต่อการเรียนของกลุ่มตัวอย่าง พบว่ากลุ่มควบคุมมีภาวะซึมเศร้าต่อการเรียนระดับปานกลางร้อยละ 26.7 และระดับรุนแรงร้อยละ 10.0 ส่วนกลุ่มทดลองมีภาวะซึมเศร้าต่อการเรียนระดับปานกลางร้อยละ 16.7 และระดับรุนแรง ร้อยละ 3.3 เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าต่อการเรียนของนักศึกษาระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่า มีความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าต่อการเรียนของนักศึกษาทั้งสองกลุ่ม t = 2.515, p-value = 0.015, 95%CI = 4.33 (0.88 - 7.78) สรุปผล ควรมีการคัดกรองภาวะซึมเศร้าอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันการเกิดภาวะซึมเศร้าและส่งเสริมการจัดกิจกรรมกระตุ้นแรงบันดาลใจต่อการลดภาวะซึมเศร้าในนักศึกษา</p> ชลวิภา สุลักขณานุรักษ์, อูน ตะสิงห์ Copyright (c) 2023 วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JSH/article/view/263595 Mon, 25 Dec 2023 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจคงอยู่ในงานของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้าสังกัดกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 1 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JSH/article/view/264528 <p>บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้ามีบทบาทสำคัญในการปฏิบัติหน้าที่ตอบสนองต่อการระบาดของโควิด-19 ความตั้งใจคงอยู่ในงานของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข จึงเป็นประเด็นสำคัญที่ทั่วโลกเล็งเห็นความสำคัญ การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้ภาระงานและคุณลักษณะของงาน ความยึดมั่นต่อองค์กร ความพึงพอใจในงาน ภาวะหมดไฟในการทำงาน ระดับความตั้งใจคงอยู่ในงาน และปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจคงอยู่ในงานของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า สังกัดกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข สังกัดกระทรวงสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในช่วงการระบาดของโควิด-19 เขตสุขภาพที่ 1 จำนวน 528 คน เลือกตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 68.8 มีอายุเฉลี่ย 37.28 ปี มีการรับรู้ภาระงานและคุณลักษณะของงานและความพึงพอใจในงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก (𝑥̅ = 3.86 และ 3.83 ตามลำดับ) ความยึดมั่นต่อองค์กรโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (𝑥̅ = 3.49) และมีภาวะหมดไฟในการทำงานอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 10.4 กลุ่มตัวอย่างมีความตั้งใจคงอยู่ในงาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก (𝑥̅ = 3.69) และตัวแปรพยากรณ์ร่วมกันทำนายความตั้งใจคงอยู่ในงานของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติตามลำดับ ดังนี้ ความพึงพอใจในงาน ความยึดมั่นต่อองค์กร รายได้ต่อเดือน ภาวะหมดไฟในการทำงานด้านการลดความเป็นบุคคลและด้านความรู้สึกอ่อนล้าทางอารมณ์ อายุ และภาวะหมดไฟในการทำงานด้านความสำเร็จส่วนบุคคล โดยร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 39.5 (R<sup>2</sup> = 0.395) ดังนั้นอายุ รายได้ที่เหมาะสม การประเมินความพึงพอใจในงาน ความยึดมั่นต่อองค์กร และภาวะหมดไฟในการทำงานเป็นระยะ ช่วยเพิ่มระดับความตั้งใจคงอยู่ในงาน</p> สุชาดา ลำพูน, อนัญญา ประดิษฐปรีชา, อารยา ประเสริฐชัย Copyright (c) 2023 วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JSH/article/view/264528 Mon, 25 Dec 2023 00:00:00 +0700