วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JSH <p><strong>วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ</strong></p> <p>ISSN 3056-9540 (Online)</p> <p><strong>กำหนดออก</strong><span style="font-weight: 400;"> : 2 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน) และ ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม)</span></p> <p><strong>นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์ : </strong><span style="font-weight: 400;">วารสารฯ มีนโยบายรับตีพิมพ์บทความคุณภาพสูงในด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย สาธารณสุขศาสตร์ และ อนามัยสิ่งแวดล้อม โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือคณาจารย์ นักศึกษา และนักวิจัยทั้งในและนอกสถาบัน</span></p> มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช th-TH วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ 3056-9540 <p><em><span style="font-weight: 400;">Journal of Safety and Health is licensed under a Creative Commons </span></em><a href="https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/"><em><span style="font-weight: 400;">Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)</span></em></a><em><span style="font-weight: 400;"> licence, unless otherwise stated. </span></em></p> การประเมินความพร้อมทางสุขภาพในการทำงานในที่อับอากาศ: การศึกษาในคลินิกอาชีวเวชกรรม โรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่ง จังหวัดนครราชสีมา https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JSH/article/view/267609 <p>การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง เพื่อศึกษาหาสัดส่วนผู้ที่มีความพร้อมทางสุขภาพในการทำงานในที่อับอากาศ ซึ่งเป็นงานที่ต้องได้รับการประเมินสุขภาพก่อนเข้าทำงานด้วยข้อบังคับทางกฎหมาย จากข้อมูลการตรวจก่อนเข้างานในคลินิกอาชีวเวชกรรม โรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่ง จังหวัดนครราชสีมา ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 และศึกษาลักษณะทางสุขภาพที่มีผลให้ไม่สามารถทำงานในที่อับอากาศได้ หรือทำงานได้อย่างจำกัด โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากการบันทึกข้อมูล ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป ลักษณะการทำงาน ผลการตรวจร่างกายโดยแพทย์ และข้อมูลทางห้องปฏิบัติการ และวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่าผู้ที่เข้ารับการประเมินความพร้อมในการทำงานในที่อับอากาศจำนวน 50 คน ค่ามัธยฐานอายุเท่ากับ 33 ปี เป็นเพศชาย 48 คน ร้อยละ 96.00 มีโรคประจำตัว ร้อยละ 10.00 ประเภทของที่อับอากาศเป็นถังน้ำ ร้อยละ 24.00 ลักษณะทางเข้าออก เป็นวิธีการคลาน ร้อยละ 34.00 ลักษณะงาน มีการก่อประกายไฟร่วมกับเชื่อมโลหะ ร้อยละ 78.00 ระบบความปลอดภัยมีการอบรมความปลอดภัยก่อนเข้าทำงาน มีสัญญาณเตือน และมีผู้ดูแลปากทางเข้าออกทั้งหมด และสวมหน้ากากกรองอากาศแบบครึ่งหน้า ร้อยละ 38.00 และแบบเต็มหน้า ร้อยละ 2.00 พบผู้ที่สามารถทำงานในที่อับอากาศได้ ร้อยละ 74.00 และมีผู้ที่ไม่สามารถทำงานในที่อับอากาศได้ (unfit to work) ร้อยละ 26.00 ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากความดันโลหิตสูง ร้อยละ 12.00 สมรรถภาพการมองเห็นระยะไกลของตาทั้ง 2 ข้าง ที่ต่ำกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 8.00 ดัชนีมวลกายมากกว่าหรือเท่ากับ 35 kg/m<sup>2</sup> ร้อยละ 2.00 คลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติร่วมกับมีอาการ ร้อยละ 2.00 และสมรรถภาพปอดผิดปกติ ร้อยละ 2.00 โดยสรุปจะเห็นได้ว่าสาเหตุหลักของการไม่สามารถทำงานในที่อับอากาศได้ คือความดันโลหิตสูง และสาเหตุรองคือความผิดปกติของการมองเห็น ซึ่งสามารถแก้ไขหรือรักษาได้ และสามารถกลับมาประเมินการซ้ำได้เมื่อได้รับการรักษาหรือการแก้ไข คลื่นฟ้าฟ้าหัวใจก็เป็นสาเหตุที่พบได้อาจส่งปรึกษาอายุรแพทย์และตรวจเพิ่มเติม ความผิดปกติของระบบอื่นๆ ที่พบเพียงเล็กน้อยอาจไม่เป็นข้อจำกัดของการทำงานในที่อับอากาศ</p> ฤทัยรัตน์ แก้วกุล ภรณ์ทิพย์ พิมดา ธนิดา บุตรคล้าย Copyright (c) 2024 วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-26 2024-06-26 17 1 7 20 กิจกรรมหยั่งรู้อันตรายแบบปากเปล่าต่อพฤติกรรม ความปลอดภัย บริษัทรับผลิตโครงสร้างเหล็ก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JSH/article/view/266603 <p>การศึกษาการลดพฤติกรรมเสี่ยงของพนักงานกระบวนการผลิต ที่จะก่อให้เกิดอุบัติเหตุจากการทำงานด้วยการนำกิจกรรมการหยั่งรู้อันตราย นำมาใช้เป็นกิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัย งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบกึ่งทดลอง​ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของกิจกรรมการหยั่งรู้อันตรายแบบปากเปล่าต่อพฤติกรรมความปลอดภัย บริษัทรับผลิตโครงสร้างเหล็ก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานกระบวนการผลิต จำนวน 60 คน สุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ซึ่งได้ทำการประยุกต์จากงานวิจัยเรื่อง Humanware, Human Error, and Hiyari – Hatto : a Casual – chain of Effect and a Template of Unsafe Symptoms (Shigeomi et al., 1992) และจากกฎ ระเบียบด้านความปลอดภัยในการทำงานของบริษัท สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าจำนวน ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Repeated ANOVA</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 38 ปี ปฏิบัติงาน 8 ชั่วโมงการทำงาน คิดเป็นร้อยละ 83.3 มีอายุงานอยู่ระหว่าง 2 – 5 ปี คิดเป็นร้อยละ 41.7 ไม่เคยมีประสบอันตรายจากการทำงาน คิดเป็นร้อยละ 93.3 และผ่านการอบรมเกี่ยวกับความรู้ด้านความปลอดภัย คิดเป็นร้อยละ 100.00 และพบว่ามีคะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของกลุ่มตัวอย่างโดยรวมสูงขึ้นในระยะหลังจากการทำกิจกรรมหยั่งรู้อันตรายแบบปากเปล่า ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05) ยกเว้นการหยุดเครื่องจักรเมื่อมีการซ่อมแซมหรือทำความสะอาดเครื่องจักร เนื่องจากเมื่อพบเครื่องจักรเสีย ต้องทำการปิดเครื่องจักร เพื่อรอแผนกช่างซ่อมบำรุงมาซ่อม และรอพนักงานทำความสะอาดเครื่องจักรก่อนเลิกงาน 15 นาที การทำกิจกรรมหยั่งรู้ถึงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นนั้น จะกระตุ้นให้พนักงานคิดในสิ่งที่ควรปฏิบัติให้ถูกต้องเป็นประจำ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน</p> เพ็ญนภา ภู่กันงาม Copyright (c) 2024 วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-26 2024-06-26 17 1 21 33 ความรู้ เจตคติและพฤติกรรมเกี่ยวกับการเลือกซื้ออาหารปลอดภัยของผู้จำหน่ายอาหารและการปนเปื้อนสาร บอแรกซ์ในอาหาร https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JSH/article/view/264863 <p>บอแรกซ์เป็นสารที่มีอันตรายต่อสุขภาพและห้ามใช้ในอาหาร การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความรู้ เจตคติและพฤติกรรมเกี่ยวกับการเลือกซื้ออาหารปลอดภัยของผู้จำหน่ายอาหารและการปนเปื้อนสารบอแรกซ์ในอาหารของร้านจำหน่ายอาหารในเขตพื้นที่ตำบลแห่งหนึ่ง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 21 ร้านที่ยินยอมเข้าร่วมการวิจัย รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ประกอบด้วยข้อมูลทั่วไป ความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมเกี่ยวกับการเลือกซื้ออาหารปลอดภัยของผู้จำหน่ายอาหารและทดสอบการปนเปื้อนสารบอแรกซ์ในตัวอย่างอาหารด้วยชุดทดสอบของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับการเลือกซื้ออาหารปลอดภัย มีความรู้เกี่ยวกับสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยในอาหาร มีเจตคติและพฤติกรรมการเลือกซื้ออาหารปลอดภัยอยู่ในระดับสูง ตรวจสอบการปนเปื้อนของสารบอแรกซ์จากอาหารจำนวนทั้งหมด 46 ตัวอย่าง จาก 21 ร้าน พบว่า ร้านผลไม้ดอง (ร้อยละ 66.7) และร้านไส้กรอก ลูกชิ้น หมูยอ แหนม (ร้อยละ 10.0) ตรวจพบการปนเปื้อนของสารบอแรกซ์ แม้ว่าความรู้ เจตคติและพฤติกรรมเกี่ยวกับการเลือกซื้ออาหารปลอดภัยจะอยู่ในระดับสูงแต่ก็ยังพบการจำหน่ายอาหารที่มีการปนเปื้อนของสารบอแรกซ์ ผู้วิจัยได้ให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อหลีกเลี่ยงการจำหน่ายอาหารดังกล่าว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรที่จะเข้าไปดำเนินการเพื่อสร้างความปลอดภัยในอาหารดังกล่าว จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นชัดเจนว่ายังคงมีการปนเปื้อนสารบอแรกซ์ในอาหาร ดังนั้นพื้นที่อื่นๆ ที่จำหน่ายอาหารประเภทดังกล่าวควรที่จะทดสอบการปนเปื้อนและออกมาตรการร่วมกันเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค</p> สิทธิพร เพชรทองขาว ชลิตตา ศิริเขต นฤมล เชื้ออาน เจนจิรา พรหมแก้ว Copyright (c) 2024 วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-26 2024-06-26 17 1 34 46 ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันอันตรายทางด้านสารเคมีจากเครื่องถ่ายเอกสาร ของพนักงานร้านถ่ายเอกสาร ในพื้นที่เขตนิคมอุตสาหกรรมแห่งหนึ่ง https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JSH/article/view/265833 <p>การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันอันตรายทางด้านสารเคมีจากเครื่องถ่ายเอกสารของพนักงานร้านถ่ายเอกสารในพื้นที่เขตนิคมอุตสาหกรรมแห่งหนึ่ง เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างพนักงานร้านถ่ายเอกสารจำนวน 86 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามประกอบด้วย 4 ส่วนได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคล ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันอันตรายทางด้านสารเคมีจากเครื่องถ่ายเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ร้อยละ และค่าไคสแควร์ (Chi-Square) ผลการวิจัยพบว่า ร้อยละ 50 ของพนักงานมีพฤติกรรมการป้องกันอันตรายทางด้านสารเคมีจากเครื่องถ่ายเอกสารอยู่ในระดับเสี่ยงและร้อยละ 50 ของพนักงานมีพฤติกรรมข้างต้นอยู่ในระดับดี ส่วนใหญ่มีความรู้อยู่ในระดับน้อย (ร้อยละ 51.16) ทัศนคติในระดับดี (ร้อยละ 51.16) เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์พบว่า อาการแสดงทางร่างกายและทัศนคติมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันอันตรายทางด้านสารเคมีจากเครื่องถ่ายเอกสารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value = 0.02 และ 0.03 ตามลำดับ) ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่านายจ้างควรส่งเสริมให้พนักงานมีความรู้และตระหนักถึงอันตรายในการทำงานตลอดจนวิธีการป้องกันอันตรายจากสารเคมีของเครื่องถ่ายเอกสารที่ถูกต้องเพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดต่อสุขภาพ</p> ขวัญแข หนุนภักดี ธัญวิชญ์ จูฑะสุวรรณ์ สุวนันท์ ปานสีทอง วัชราภรณ์ วงศ์สกุลกาญจน์ Copyright (c) 2024 วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-26 2024-06-26 17 1 47 59 ประเมินความเสี่ยงด้านระบบการจัดการสารเคมี กรณีศึกษาห้องปฏิบัติการทางเคมีของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง จังหวัดปทุมธานี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JSH/article/view/266424 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อชี้บ่งอันตรายและประมาณระดับความเสี่ยงจากการครอบครองสารเคมีในห้องปฏิบัติการทางเคมีและเพื่อจัดทำแผนงานบริหารจัดการความเสี่ยงด้านระบบการจัดการสารเคมีของห้องปฏิบัติการทางเคมี โดยดำเนินการ ณ ห้องปฏิบัติการทางเคมีของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง จังหวัดปทุมธานี ขั้นตอนการดำเนินการประกอบด้วย การชี้บ่งอันตรายด้วยเทคนิค What If Analysis และแบบตรวจรายการของ ESPReL และประมาณระดับความเสี่ยงโดยอ้างอิงเกณฑ์กรมโรงงานอุตสาหกรรม </p> <p>ผลการวิจัย พบว่าห้องปฏิบัติการทางเคมีมีความเสี่ยงในการครอบครองสารเคมีอยู่ในระดับยอมรับไม่ได้ มีคะแนนเท่ากับ 12 ทั้งนี้มาตรการกำหนดให้ต้องหยุดดำเนินการและปรับปรุงแก้ไขเพื่อลดความเสี่ยงลงจนอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ก่อน อันตรายที่มีความเสี่ยงสูงมีคะแนนเท่ากับ 9 คือ การไม่แยกเก็บสารเคมีที่มีคุณสมบัติเป็นสารเคมีที่เข้ากันไม่ได้ สารไวไฟปริมาณเกิน 38 ลิตรและสารกัดกร่อนไม่มีตู้เก็บโดยเฉพาะ ไม่มีสัญลักษณ์ความเป็นอันตราย ภาชนะบรรจุสารกัดกร่อนประเภทกรดไม่มีภาชนะรองรับที่เหมาะสม การสื่อความเป็นอันตรายพบว่าไม่มีป้ายคำเตือนหน้าตู้หรือพื้นที่เก็บสารที่ไวต่อการปฏิกิริยา และเอกสารข้อมูลความปลอดภัยหรือ Safety Data Sheet (SDS) ไม่มีข้อมูลครบทั้ง 16 ข้อตามระบบสากลและข้อมูล SDSไม่เป็นปัจจุบัน การขนเคลื่อนย้ายสารเคมีอันตรายพบว่า รถเข็นมีสภาพไม่มั่นคงและไม่ปลอดภัยต่อการตกหล่นหรือการกระแทกกันของภาชนะ ผลการจัดทำแผนดำเนินการลดและควบคุมความเสี่ยงเป็นการกำหนดขั้นตอนการจัดเก็บและเคลื่อนย้ายสารเคมีที่ปลอดภัย การจัดทำแผนรองรับเหตุฉุกเฉิน จัดหาอุปกรณ์เคลื่อนย้ายสารเคมีและจัดเก็บสารเคมีให้เหมาะสมตามประเภทสารเคมี และจัดอบรมให้ความรู้ พร้อมทั้งฝึกซ้อมแผนตอบโต้ฉุกเฉินอย่างน้อยทุกปี และกำหนดความถี่ในการตรวจสอบความปลอดภัยในการครอบครองสารเคมีทุกเดือน</p> อรวรรณ ชำนาญพุดซา ชลลดา พละราช ชัยวัฒน์ เผดิมรอด Copyright (c) 2024 วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-26 2024-06-26 17 1 60 71 การเปรียบเทียบความเข้มข้นของชื้อจุลินทรีย์ในอากาศระหว่างห้องพัดลมและห้องแอร์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดเลย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JSH/article/view/264987 <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อเปรียบเทียบความเข้มข้นของเชื้อจุลินทรีย์ในอากาศระหว่างห้องพัดลมกับห้องแอร์ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดเลย (2) เพื่อเปรียบเทียบความเข้มข้นของเชื้อจุลินทรีย์ในอากาศระหว่างพื้นที่เก็บตัวอย่างของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดเลย โดยทำการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster sampling) 2 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/พื้นที่ ในเขตพื้นที่ 3 อำเภอ โดยใช้เครื่องมือมาตรฐาน Bio-Stage Impactor สำหรับเก็บตัวอย่างเชื้อจุลินทรีย์ในอากาศทั้งหมด 164 ตัวอย่าง</p> <p>ผลการศึกษาพบว่าความเข้มข้นเฉลี่ยของเชื้อแบคทีเรียในอากาศและเชื้อราในอากาศภายในห้อง เท่ากับ 41.09±21.13 cfu/m<sup>3</sup> และ 20.83±23.25 cfu/m<sup>3</sup> ตามลำดับ ส่วนความเข้มข้นเฉลี่ยของเชื้อแบคทีเรียในอากาศและเชื้อราในอากาศภายนอกห้อง เท่ากับ 35.18±28.76 cfu/m<sup>3</sup> และ 11.45±9.78 cfu/m<sup>3</sup> ตามลำดับ สัดส่วนความเข้มข้นของเชื้อแบคทีเรียในอากาศและเชื้อราในอากาศภายในห้องต่อภายนอกห้อง (I/O) เท่ากับ 1.17 และ 1.07 ตามลำดับ ทั้งนี้พบว่าค่ามัธยฐานของความเข้มข้นของเชื้อแบคทีเรียในอากาศของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่เป็นห้องพัดลมและห้องแอร์เท่ากับ 47.46 cfu/m<sup>3</sup> (95% ค่ามัธยฐาน 40.80 ถึง 65.85) และ 28.71 cfu/m<sup>3</sup> (95% ค่ามัธยฐาน 21.93 ถึง 35.61) ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบความเข้มข้นของเชื้อแบคทีเรียในอากาศระหว่างห้องแอร์กับห้องพัดลมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p-value &lt; 0.001 ดังนั้นผลการวิจัยนำไปสู่การติดตามและวางแผนการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเพื่อลดจุลินทรีย์ในอากาศต่อไป</p> ปิยะพงษ์ ชุมศรี ชลธิชา จินาพร พรชนก บุญลับ นภัสสร วงเปรียว มธุรส ชลามาตย์ บุญเลี้ยง สุพิมพ์ Copyright (c) 2024 วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-26 2024-06-26 17 1 72 83 การประยุกต์ใช้การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์สำหรับการพัฒนาระบบขนส่งมวลชน: กรณีศึกษาจังหวัดอุตรดิตถ์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JSH/article/view/269723 <p>การประยุกต์ใช้การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาและการประเมินทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับแผนพัฒนาระบบขนส่งมวลชนจังหวัดอุตรดิตถ์เพื่อเชื่อมโยงในจังหวัด ระหว่างจังหวัด ระดับภูมิภาค ทั้งการขนส่งสินค้าและคน รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาและการเชื่อมโยงเมืองชายแดนด้วยระบบขนส่งชาญฉลาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (ระบบขนส่งชาญฉลาดฯ) โดยดำเนินการดังนี้ (1) การกำหนดตัวชี้วัดทั้ง 3 มิติ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ประเมินค่าน้ำหนักตัวชี้วัดด้วยการวิเคราะห์หลายเกณฑ์ (2) การพัฒนาทางเลือกที่เป็นไปได้สำหรับแผน ได้แก่ การไม่พัฒนา การพัฒนาแบบปกติ การพัฒนาระบบขนส่งชาญฉลาดฯ (3) การประเมินคะแนนผลกระทบทางเลือกต่อตัวชี้วัด ทั้ง 3 มิติ (คะแนนนำหนัก x ระดับผลกระทบ) ของแต่ละทางเลือกที่เป็นไปได้ ทั้งนี้ผลกระทบหมายถึงผลกระทบเชิงบวก (4) เปรียบเทียบผลคะแนนผลกระทบรวมของทางเลือกที่เป็นไปได้ โดยคะแนนผลกระทบรวมสูงสุดคือทางเลือกที่เหมาะสม ผลการประเมินได้แผนพัฒนาระบบขนส่งชาญฉลาดฯ เป็นทางเลือกที่เหมาะสม จากนั้นกำหนดทางเลือกระดับแผนงานภายใต้แผนพัฒนาระบบขนส่งชาญฉลาดฯ คือ ระบบขนส่งหลักถนน รถไฟ ถนนและรถไฟ ดำเนินการประเมินทำนองเดียวกันได้ระบบขนส่งหลักถนนและรถไฟทางเลือกที่เหมาะสม อนึ่งงานวิจัยนี้เป็นการประยุกต์ใช้ SEA เริ่มต้นที่ดำเนินการร่วมกับการศึกษาด้านวิศวกรรมและผังเมือง ซึ่งการศึกษาแบบสมบูรณ์ต้องดำเนินการตามแนวทางการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์โดยสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ</p> พิษณุ ปันนะราชา ดลเดช ตั้งตระการพงษ์ Copyright (c) 2024 วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-26 2024-06-26 17 1 84 97 การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนทรศัพท์มือถือเพื่อลดความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JSH/article/view/267565 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาโปรแกรมที่สามารถประเมินความเสี่ยงและระบุแนวทางในการลดความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ และยังเป็นแนวทางการแก้ไขที่เข้ากับยุคสมัยปัจจุบัน โดยทำการศึกษาในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพชาวประมงพื้นบ้านจำนวน 29 คน เพื่อให้ทดลองใช้งาน และติดตามผลความรู้สึกปวดเป็นระยะ เวลา 12 สัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับความรู้สึกปวดบริเวณหลังส่วนบน หลังส่วนล่าง บ่า/ไหล่ ข้อศอก/แขน และมือ/ข้อมือลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05) และการประเมินความพึงพอใจหลังการใช้งานโปรแกรมมีประกอบโดยรวมอยู่ในระดับมีความพึงพอใจมาก และมากที่สุด ทั้งในด้านของความง่ายต่อการใช้งานระบบ ด้านการทำงานของฟังก์ชัน และมีความตรงต่อความต้องการของผู้ใช้ระบบ ดังนั้นโปรแกรมประยุกต์นี้จึงมีประโยชน์ในการนำไปใช้เพื่อลดความเสี่ยงด้านการยศาสตร์สำหรับผู้ประกอบอาชีพชาวประมงต่อไป</p> เกวรินทร์ นิติกรณ์ ปวีณา มีประดิษฐ์ ทนงศักดิ์ ยิ่งรัตนสุข พิจิตรา ปฏิพัตร Copyright (c) 2024 วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-26 2024-06-26 17 1 98 112 การพัฒนาระบบจัดยาโดยประยุกต์ใช้แนวคิดลีนเพื่อลดความคลาดเคลื่อนยาชื่อพ้อง มองคล้าย และระยะเวลาการรอคอย โรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง จังหวัดบุรีรัมย์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JSH/article/view/267092 <p>การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วัดความคลาดเคลื่อนที่เกิดจากการจัดยาผิดจากยาที่มีชื่อพ้องมองคล้ายก่อนและหลัง และระยะเวลารอคอยการรับยาโดยการพัฒนาระบบจากการประยุกต์ใช้ระบบลีนในแผนกเภสัชกรรมผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลชุมชน และ 2) เปรียบเทียบความคลาดเคลื่อนที่เกิดจากการจัดยาผิดจากยาที่มีชื่อพ้องมองคล้ายก่อนและหลัง และระยะเวลารอคอยการรับยาของผู้ป่วยโดยการพัฒนาระบบจากการประยุกต์ใช้ระบบลีน</p> <p> การศึกษาวิจัยเชิงพัฒนานี้มีประชากร คือ ใบสั่งยาจำนวน 195 ใบสั่ง สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจากการคำนวณได้จำนวน 191 ใบในช่วงเวลา 09.00 ถึง 12.00 น. วันราชการ ของแผนกเภสัชกรรมผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลชุมชนเป็นเวลา 30 วัน โดยเก็บข้อมูลความคลาดเคลื่อนจากการจัดยาผิดของยาที่มีชื่อพ้องมองคล้ายก่อนและหลัง และระยะเวลารอคอยการรับยาของผู้ป่วย เครื่องมือที่ใช้ คือแบบฟอร์มการจดความคลาดเคลื่อนจากการจัดยาผิดจากยาที่มีชื่อพ้องมองคล้ายก่อนและหลังการอบรมเชิงปฏิบัติการและระยะเวลารอคอยการรับยาของผู้ป่วย และการอบรมเชิงปฏิบัติการที่ประยุกต์ใช้ระบบลีนแก่บุคลากรที่รับผิดชอบในแผนกเภสัชกรรมผู้ป่วยนอกเป็นเวลา 2 วัน วันละ 3 ชั่วโมง แล้วฝึกปฏิบัติจริงในชั่วโมงการทำงาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ สถิติเชิงพรรณนา และวิลคอกซัน</p> <p> ผลการศึกษาจากระบบที่พัฒนาขึ้น ได้แก่ การปรับปรุงฉลากยา การจัดวางช่องเก็บยาที่มีชื่อพ้องมองคล้ายให้อยู่ห่างกัน การใส่หมายเลขหน้าชื่อยาบนสติ๊กเกอร์ยาให้ตรงกับป้ายชื่อยาที่ช่องเก็บ และการจัดยารอผู้ป่วยก่อนที่ผู้ป่วยจะมาติดต่อรับยา พบว่า 1) ความคลาดเคลื่อนยาที่เกิดจากการจัดยาผิดจากยาที่มีชื่อพ้องมองคล้ายก่อนประยุกต์ใช้ระบบลีนพบความคลาดเคลื่อนยาที่มีชื่อพ้องมองคล้าย จำนวน 31.41 ต่อ 1,000 ใบสั่งยา และระยะเวลาในการรอคอยรับยาเฉลี่ย 25.59 นาที และหลังจากการอบรมเชิงปฏิบัติเชิงการแล้วคลาดเคลื่อนลดลงเหลือ 20.94 ต่อ 1,000 ใบสั่งยา และระยะเวลาในการอคอยการรับยาลดลงเหลือเฉลี่ย 14.72 นาที และ 2) เมื่อเปรียบเทียบความคลาดเคลื่อนจากการจัดยาผิดจากยาที่มีชื่อพ้องมองคล้ายก่อนและหลังถึงแม้จะมีจำนวนลดลงแต่ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ระยะเวลาการรอคอยรับยาของผู้ป่วยลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p> พัชร์สิตา ศรียาชีพ พาณี สีตกะลิน อารยา ประเสริฐชัย Copyright (c) 2024 วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-26 2024-06-26 17 1 113 124 การศึกษาต้นทุนต่อหน่วยและจุดคุ้มทุนในการตรวจคัดกรองผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในช่วงที่มีการระบาดระยะแยกโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง จังหวัดเพชรบุรี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JSH/article/view/267553 <p>การศึกษาวิจัยพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาต้นทุนการบริการตรวจคัดกรองผู้ป่วยเฝ้าระวังและสอบสวนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และ 2) วิเคราะห์หาจุดคุ้มทุนการบริการตรวจคัดกรองผู้ป่วยเฝ้าระวังและสอบสวนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดเพชรบุรีในระยะแรกของการระบาด ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2563 โดยเก็บข้อมูลย้อนหลังผู้ป่วยที่มารับการคัดกรองด้วยแนวทางการค้นหาผู้ป่วยเชิงรุกที่โรงพยาบาลจำนวน 45 ราย โดยศึกษาต้นทุนทางบัญชีด้วยวิธีการกระจายต้นทุนโดยคำนวณเป็นต้นทุนค่าแรง ต้นทุนค่าวัสดุ ต้นทุนค่าลงทุน และต้นทุนรวมต่อหน่วย สำหรับจุดคุ้มทุนกำหนดที่ระดับรายได้เท่ากับต้นทุน เครื่องมือประกอบด้วยพจนานุกรมกิจกรรม แบบบันทึกข้อมูลต้นทุน การตรวจสอบความตรงและความเที่ยงมีค่า 1.0 และการวิเคราะห์ต้นทุนทางสถิติพรรณนา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ต้นทุนรวมบริการตรวจคัดกรองโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นเงิน 787.47 บาทต่อราย ต้นทุนทางตรงมีต้นทุนการนำส่งสิ่งส่งตรวจสูงสุดคือ 639.03 บาทต่อราย และมีต้นทุนแปรผันที่ 401.16 บาทต่อราย ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวโรงพยาบาลจัดเก็บค่าบริการที่รัฐบาลกำหนด 100 บาทต่อราย และในระยะต่อมารัฐบาลได้ปรับเพิ่มเป็น 540 บาทต่อรายทำให้ 2) จุดคุ้มทุนเมื่อจัดบริการอยู่ที่จำนวน 125 ราย การวิจัยนี้สามารถเป็นแนวทางในการจัดสรรงบประมาณที่เหมาะสมกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องหากเกิดสถานการณ์โรคติดต่ออุบัติใหม่ขึ้นในอนาคต</p> กรวิชญ์ เที่ยงธีระธรรม พาณี สีตกะลิน อารยา ประเสริฐชัย Copyright (c) 2024 วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-26 2024-06-26 17 1 125 139 ความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยการทำงานกับอาการผิดปกติของระบบทางเดินหายใจและสมรรถภาพปอดของผู้ประกอบอาชีพทำศาลพระภูมิ จังหวัดนครปฐม https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JSH/article/view/266816 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการได้รับสัมผัสฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน และความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยการทำงานกับอาการผิดปกติของระบบทางเดินหายใจและสมรรถภาพปอดของผู้ประกอบอาชีพทำศาลพระภูมิ ในจังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่าง 158 คน เก็บข้อมูลโดยใช้เครื่องเก็บตัวอย่างอากาศแบบพกพา แบบสอบถามปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ และเครื่องสไปโรมิเตอร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ T-test และ Chi-Square ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า ความเข้มข้นของฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน ที่เกิดจากการทำศาลพระภูมิแบบประเพณีไทยและแบบร่วมสมัย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.344 ± 0.262 และ 0.609 ± 1.153 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบทางสถิติมีค่าไม่แตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างมีอาการผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ ร้อยละ 67.7 อาการส่วนใหญ่ที่พบคือ อาการจาม ร้อยละ 36.1 ระคายเคืองจมูก ร้อยละ 21.5 คัดจมูก ร้อยละ 19.6 ไอไม่มีเสมหะ ร้อยละ 15.2 และเหนื่อยหอบ หายใจถี่ ร้อยละ 15.2 การประเมินสมรรถภาพปอดในกลุ่มตัวอย่าง 76 คน พบว่า มีความผิดปกติ ร้อยละ 56.6 เป็นความผิดปกติชนิดจำกัดการขยายตัว ร้อยละ 52.6 และแบบผสม ร้อยละ 4.0 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ อายุ รายได้ต่อเดือน การทำงานในขั้นตอนเตรียมผสมปูน และลักษณะสถานที่ทำงาน และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผิดปกติของสมรรถภาพปอด ได้แก่ เพศ และการทำงานในขั้นตอนหล่อปูนลงในแบบพิมพ์ ดังนั้น ผู้ประกอบอาชีพทำศาลพระภูมิควรมีการป้องกันเพื่อลดการได้รับสัมผัสฝุ่นละอองโดยการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันทางเดินหายใจ และจัดสถานที่ทำงานให้มีการระบายอากาศอย่างเพียงพอ</p> พรภิไล ถนอมสงัด นันทิดา โหวดมงคล ดวงรัตน์ เสือขำ Copyright (c) 2024 วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-26 2024-06-26 17 1 140 155 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตาม 3อ.2ส. ของนิสิตสายวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JSH/article/view/264395 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนำ (ภูมิลำเนา เส้นรอบเอว ค่าดัชนีมวลกาย) ปัจจัยเอื้อ (สิทธิการรักษาพยาบาล การเข้าถึงสถานบริการสุขภาพ ระบบบริการสุขภาพเชิงรุก การใช้อินเทอร์เน็ต) และปัจจัยเสริม (สถานภาพของครอบครัว การได้รับข่าวสารความรู้ด้านสุขภาพจากครอบครัว อาจารย์ กลุ่มเพื่อนและสื่อมวลชน) กับความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของนิสิตสายวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กลุ่มตัวอย่างคือนิสิตสายวิทยาศาสตร์สุขภาพ ชั้นปีที่ 4 จำนวน 188 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตาม 3อ.2ส. และแบบสอบถาม (สัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค 0.81) โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สถิติไคสแควร์ และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับดี และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05) ได้แก่ ภูมิลำเนา การเข้าถึงสถานบริการสุขภาพ ระบบบริการสุขภาพเชิงรุก การใช้อินเทอร์เน็ต สถานภาพครอบครัว และการได้รับข่าวสารความรู้ด้านสุขภาพจากครอบครัว อาจารย์ กลุ่มเพื่อนและสื่อมวลชน ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปเป็นข้อมูลในการจัดกิจกรรมและบริการที่ช่วยเสริมระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อให้นิสิตมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดียิ่งขึ้น</p> อ้อมใจ แต้เจริญวิริยะกุล กานต์สินี วัฒนพฤกษ์ ปรียาภัทร มั่นเพ็ชร ชลิตา มณีวงค์ ปนัดดา สุธีสุนทรกุล Copyright (c) 2024 วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-26 2024-06-26 17 1 156 166 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ระดับเสี่ยงต่ำของพนักงานขับรถบรรทุกในพื้นที่จังหวัดชลบุรี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JSH/article/view/269904 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายระดับพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์และทดสอบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ระดับเสี่ยงต่ำ ซึ่งเป็นการดื่มแอลกอฮอล์ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อการทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวันของพนักงานขับรถบรรทุกในจังหวัดชลบุรี โดยมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 369 คน จากการสุ่มแบบกลุ่ม เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน Binary Logistic Regression ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%CI</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์โดยรวมที่ระดับเสี่ยง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ระดับเสี่ยงต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ รายได้ต่อเดือนมากกว่าหรือเท่ากับ 20,000 บาท (OR<sub>adj</sub>=2.15, 95% CI=2.20–3.88, p=.01) ประสบการณ์การทำงานขับรถบรรทุกมากกว่าหรือเท่ากับ 2 ปี (OR<sub>adj</sub>=2.83, 95%CI=1.02-7.85, p=.04) การรับรู้ระดับสุขภาพโดยรวมระดับดีถึงดีมาก (OR<sub>adj</sub>=1.69, 95% CI=1.07-2.67, p=.025) การรับรู้กฎหมายห้ามดื่มแอลกอฮอล์ขณะขับรถระดับดี (OR<sub>adj</sub>=1.82, 95%CI=1.05-3.14, p=.033) การรับรู้ความสามารถในการควบคุมการดื่มแอลกอฮอล์ระดับสูงถึงสูงมาก (OR<sub>adj</sub>=2.78, 95% CI=1.74-4.45, p&lt;.001) และความตั้งใจเลิกดื่มแอลกอฮอล์ระดับสูงถึง สูงมาก (OR<sub>adj</sub>=2.62, 95% CI=1.67-4.11, p&lt;.001)</p> <p>ดังนั้นจึงควรส่งเสริมการรับรู้กฎหมายห้ามดื่มแอลกอฮอล์ขณะขับรถบรรทุก การรับรู้ความสามารถในการควบคุมการดื่มแอลกอฮอล์ และให้การสนับสนุนความตั้งใจเลิกดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงส่งเสริมให้พนักงานขับรถบรรทุกที่มีประสบการณ์มากกว่า 2 ปี เป็นแบบอย่างในการควบคุมการดื่มแอลกอฮอล์ของพนักงานขับรถบรรทุก</p> พูลศักดิ์ แข่งขัน นิสากร กรุงไกรเพชร ยุวดี ลีลัคนาวีระ Copyright (c) 2024 วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-26 2024-06-26 17 1 167 180 ผลของโปรแกรมการพัฒนาพฤติกรรมป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ในผู้ใหญ่กลุ่มเสี่ยงเขตเทศบาลจังหวัดนครราชสีมา https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JSH/article/view/264577 <p>การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง แบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง เพื่อเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการพัฒนาพฤติกรรมป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ในผู้ใหญ่กลุ่มเสี่ยงเขตเทศบาลจังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 41 คน ได้รับโปรแกรมสุขศึกษาซึ่งประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรค และแรงสนับสนุนทางสังคม และกลุ่มเปรียบเทียบ จำนวน 41 คน ไม่ได้รับโปรแกรมใดๆ ใช้ระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูล 2 ครั้ง ก่อนและหลังการทดลองด้วยแบบสอบถาม ประกอบด้วย คุณลักษณะทั่วไป ความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง การรับรู้ความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูง การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคความดันโลหิตสูง ความคาดหวังในผลลัพธ์ของการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง การรับรู้ความคาดหวังในสามารถของตนเองในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง และการปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด และค่าต่ำสุด วิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนของผลลัพธ์ด้วยสถิติ Paired t-test และ ANCOVA โดยควบคุมอิทธิพลของตัวแปรแทรกซ้อน ประกอบด้วย ค่าดัชนีมวลกาย ระดับการศึกษา และการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยของผลลัพธ์ในด้านความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง การรับรู้ความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูง การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคความดันโลหิตสูง ความคาดหวังในผลลัพธ์ของการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง การรับรู้ความคาดหวังในความสามารถของตนเอง ในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง และการปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และมีค่าความดันโลหิตซีสโตลิคและไดแอสโตลิค ลดลงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นกัน (p-value&lt;0.001) การศึกษาครั้งนี้ได้ชี้ให้เห็นว่า โปรแกรมการพัฒนาพฤติกรรมป้องกันโรคความดันโลหิตสูงครั้งนี้สามารถกระตุ้นให้เกิดความกลัวต่อการป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง ของกลุ่มเสี่ยงและมีประสิทธิผลในการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพได้เป็นอย่างดี</p> วิษณุ ปิ่นคำ รชานนท์ ง่วนใจรัก Copyright (c) 2024 วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-26 2024-06-26 17 1 181 196 ผลการใช้โมบายแอปพลิเคชัน เรื่อง การนวดไทยเพื่อรักษาอาการปวดคอ บ่า ไหล่ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JSH/article/view/266988 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ก่อนและหลังเรียนโดยใช้โมบายแอปพลิเคชัน เรื่อง การนวดไทยเพื่อรักษาอาการปวดคอ บ่า ไหล่ 2) ประเมินทักษะ เรื่อง การนวดไทยเพื่อรักษาอาการปวดคอ บ่า ไหล่ 3) ศึกษาความพึงพอใจการใช้โมบายแอปพลิเคชันเรื่อง การนวดไทยเพื่อรักษาอาการปวดคอ บ่า ไหล่ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาหลักสูตรการแพทย์แผนไทยบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช จำนวน 30 คน ที่ลงทะเบียนเรียนในภาคปลาย ปีการศึกษา 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โมบายแอปพลิเคชัน เรื่อง การนวดไทยเพื่อรักษาอาการปวดคอ บ่า ไหล่ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ 1) แบบประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้โดยใช้โมบายแอปพลิเคชันเรื่อง การนวดไทยเพื่อรักษาอาการปวดคอ บ่า ไหล่ 2) แบบประเมินทักษะการฝึกปฏิบัติ เรื่อง การนวดไทยเพื่อรักษาอาการปวดคอ บ่า ไหล่ และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจการใช้โมบายแอปพลิเคชัน เรื่อง การนวดไทยเพื่อรักษาอาการปวดคอ บ่า ไหล่ โดยใช้ระยะเวลาทดลอง 2 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 2) ทักษะของผู้เรียนอยู่ในระดับมากที่สุด และ 3) ความพึงพอใจการใช้โมบายแอปพลิเคชันในการเรียน เรื่อง การนวดไทย เพื่อรักษาอาการปวดคอ บ่า ไหล่อยู่ในระดับมากที่สุด</p> จุฑารัตน์ เสรีวัตร กิตติ ลี้สยาม เขมณัฏฐ์ มิ่งศิริธรรม อรชดา สิทธิพรหม พีรดา ดามาพงษ์ พงศ์มาดา ดามาพงษ์ Copyright (c) 2024 วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-26 2024-06-26 17 1 197 208 บทบรรณาธิการ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JSH/article/view/272109 ปธานิน แสงอรุณ Copyright (c) 2024 วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-26 2024-06-26 17 1 2 2