TY - JOUR AU - กองขุนทด , พิมพ์ระพัทร์ AU - วัชโรสินธุ์, ธญานี AU - สีวันนะ, กัญญาณัฐ AU - วงศาสตร์, ทัศยามล AU - สรรเสริญ, นิตยา AU - ขั้วกลาง, สุภิญญา AU - สรรเสริญสุข, จิราภรณ์ AU - ศรีวิเศษ, กาญจนา AU - เพ็งอารีย์, กฤษดา PY - 2022/12/14 Y2 - 2024/03/29 TI - การออกแบบเครื่องขอดเกล็ดปลาตามหลักการยศาสตร์เพื่อลดความเสี่ยงท่าทางการทำงานในกลุ่มอาชีพขอดเกล็ดปลา JF - วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ JA - J of Safe & Health VL - 15 IS - 1 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JSH/article/view/248069 SP - 187-205 AB - <p>     งานวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินความเมื่อยล้าของผู้ปฏิบัติงานขอดเกล็ดปลา (2) ประเมินระดับความเสี่ยงทางด้านการยศาสตร์ และ (3) ออกแบบเครื่องขอดเกล็ดปลาตามหลักการยศาสตร์สำหรับลดระดับความเสี่ยงท่าทางการทำงานของผู้ปฏิบัติงานขอดเกล็ดปลา กลุ่มตัวอย่างคือผู้ที่ทำหน้าที่ขอดเกล็ดปลาจำนวน 16 คน จากร้านค้าปลาทั้งหมด 5 ร้าน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบประเมินระดับความเมื่อยล้า ประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ท่าทางการทำงานทั่วทั้งร่างกาย แล้วนำมาออกแบบเครื่องมือสำหรับลดความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ตามมาตรฐานการวัดสัดส่วนร่างกายของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า (1) ผู้ปฏิบัติงานมีอาการปวดเมื่อยระดับมากที่สุดด้านซ้ายคือ คอ (ร้อยละ 56.25) หลังส่วนบน (ร้อยละ 50.00) หลังส่วนล่าง(ร้อยละ 50.00)  และมือ/ข้อมือ(ร้อยละ 50.00) ตามลำดับ และทางด้านขวา คือ แขนส่วนบน(ร้อยละ 75.00) แขนส่วนล่าง(ร้อยละ62.50) และคอ   (ร้อยละ 56.25) (2) จากการประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์พบว่าผู้ปฏิบัติงานมีระดับความเสี่ยงสูงสุด (ร้อยละ 56.25)  และ (3) หลังการออกแบบตามหลักการยศาสตร์พบว่า ความเมื่อยล้าทั้งด้านซ้ายและด้านขวามีระดับความเมื่อยล้าลดลง และมีระดับความเสี่ยงท่าทางการทำงานลดลงในด้านซ้ายในระดับน้อย (ร้อยละ 62.50)  และด้านขวาอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 100)</p> ER -