@article{วิชาทร_ชายเกลี้ยง_2021, place={Nonthaburi, Thailand}, title={การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการสัมผัสความร้อนของเกษตรกรตัดอ้อย ในอำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ}, volume={15}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JSH/article/view/250259}, abstractNote={<p><strong><em>บทคัดย่อ</em></strong></p> <p><em>การศึกษาในครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์</em><em>เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการสัมผัสความร้อนของเกษตรกรตัดอ้อย ในอำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ กลุ่มตัวอย่าง มีจำนวน 379 คน ตรวจวัดความร้อนโดย </em><em>Wet bulb globe temperature หรือ WBGT และประยุกต์ใช้</em><em>แบบประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพของผู้ทำงานกลางแจ้ง มีข้อมูลทั้งหมด 3 ส่วน ด้านปัจจัยเสี่ยงส่วนบุคคล การทำงานกลางแจ้ง และประวัติอาการเจ็บป่วยจากความร้อน  วิเคราะห์ความเสี่ยงโดยการรวมคะแนนเพื่อจัดความเสี่ยงออกเป็น 3 ระดับ ระดับคือ ต่ำ ปานกลาง และสูง ผลการศึกษา พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่อายุ 40 ปีขึ้นไป ร้อยละ 86.81 ประสบการณ์ในการทำงานมากกว่า 5 ปี ร้อยละ 88.13 ทำงานกลางแจ้งตลอดทั้งวัน ร้อยละ 99.74 สัมผัสแสงแดดโดยตรงมากกว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน ร้อยละ 96.04 เกษตรกรเคยมีอาการเจ็บป่วยจากความร้อนอย่างน้อย 1 อาการหรือ 1 ครั้ง ร้อยละ 34.30 คืออาการเพลีย กล้ามเนื้ออ่อนแรง เหนื่อยล้าจากความร้อนชั่วคราว ร้อยละ 22.96 รองลงมาคือ อาการปวดเกร็งที่กล้ามเนื้อหรือเป็นตะคริว ร้อยละ 16.89 และอาการเป็นลมแดด ร้อยละ 11.41 และเกษตรกรทุกรายไม่ได้รับการอบรมด้านการทำงานกับความร้อนหรือผลกระทบ ผลการประเมินความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยจากการสัมผัสความร้อน คือมีความเสี่ยงสูงสุดระดับเสี่ยงปานกลาง ร้อยละ 87.07 รองลงมาคือ ระดับต่ำ ร้อยละ 12.93 และผลการตรวจวัดความร้อนพบว่าความร้อนเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 31.2 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับเกณฑ์การสัมผัสความร้อนของผู้ทำงานกลางแจ้งคือมีความเสี่ยงปานกลาง กรณีมีภาระงานหนัก ซึ่งสอดคล้องกับผลการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพของเกษตรกรตัดอ้อยที่ส่วนใหญ่มีความเสี่ยงปานกลาง และเกษตรกรมีประวัติการเจ็บป่วยจากความร้อน จึงเสนอแนะให้มีการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการทำงานกับความร้อนเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยหรือผลกระทบต่อสุขภาพอื่นที่เกิดจากความร้อนให้กับกลุ่มเกษตรกรตัดอ้อย หรือเกษตรกรที่มีลักษณะการทำงานคล้ายกันที่ทำงานกลางแจ้ง ต้องสัมผัสแดดเป็นเวลานาน และผลการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพเป็นแนวทางในการเฝ้าระวังความเสี่ยงจากการสัมผัสความร้อนของเกษตรกรตัดอ้อยหรือกลุ่มเกษตรกรที่ทำงานคล้ายกันได้เพื่อการป้องกันต่อไป</em></p> <p><strong><em>คำสำคัญ</em></strong> <em>: ความเสี่ยงต่อสุขภาพจากความร้อน, การสัมผัสความร้อน, เกษตรกรตัดอ้อย</em></p> <p><em>** ผู้รับผิดชอบบทความ รองศาสตราจารย์ ดร.สุนิสา ชายเกลี้ยง ภาควิชา</em><em>อนามัยสิ่งแวดล้อม <br>อาชีวอนามัยและความปลอดภัย</em> <em>คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เลขที่ </em><em>123 ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40002 โทรศัพท์ 04-3424820 อีเมลล์: csunis@kku.ac.th</em></p> <p><em>* นักศึกษาปริญญาโท สาขา วท.ม. (อาชีวอนามัยและความปลอดภัย) คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น</em></p> <p><em>** รองศาสตราจารย์ ประจำภาควิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น</em></p>}, number={1}, journal={วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ}, author={วิชาทร ทิพย์อัปษร and ชายเกลี้ยง สุนิสา}, year={2021}, month={พ.ย.}, pages={144–160} }