@article{ชุมศรี_คงไชย_2022, place={Nonthaburi, Thailand}, title={ความสัมพันธ์ระหว่างแบคทีเรียลำไส้พรีไบโอติกส์และการลดความเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุ}, volume={15}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JSH/article/view/247630}, abstractNote={<p>การเปลี่ยนแปลงขององค์ประกอบของจุลินทรีย์ที่ไม่สมดุลในลำไส้ของผู้สูงอายุสามารถพัฒนาให้เกิดโรคอัลไซเมอร์จากความสัมพันธ์ระหว่างสมองและลำไส้ที่มีการสื่อสารแบบสองทิศทาง โดยแบคทีเรียบางกลุ่มที่พบในลำไส้สามารถผลิตสารเมแทบอไลต์ที่เป็นพิษต่อเซลล์ประสาท ส่งผลทำให้เกิดการอักเสบและการตายของเซลล์ประสาทในระบบประสาทส่วนกลางผ่านวิถีหรือช่องทางต่างๆ อาหารเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของแบคทีเรียในลำไส้  การบริโภคอาหารกลุ่มพรีไบโอติกส์หรือใยอาหารจากผัก ผลไม้ และธัญพืชสามารถกระตุ้นแบคทีเรียที่ผลิตกรดไขมันสายสั้นหรือจุลินทรีย์กลุ่มโพรไบโอติกส์ โดยแบคทีเรียดังกล่าวสามารถผลิตสารเมแทบอไลต์ต่อต้านการอักเสบและลดการผ่านเข้าไปของสารเมแทบอไลต์ที่เป็นพิษต่อเซลล์ประสาท ดังนั้น ความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างแบคทีเรียในลำไส้ พรีไบโอติกส์และการเกิดโรคอัลไซเมอร์อาจเป็นแนวทางในการช่วยป้องกันความเสี่ยงการเกิดของโรคอัลไซเมอร์ที่มีสาเหตุจากความไม่สมดุลของจุลินทรีย์ในผู้สูงอายุได้</p>}, number={1}, journal={วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ}, author={ชุมศรี นิอร and คงไชย ธนัชพร}, year={2022}, month={ธ.ค.}, pages={1–9} }