@article{ตันติปัญจพร_2019, place={Nonthaburi, Thailand}, title={ความร้อน: ผลกระทบต่อสุขภาพ การตรวจวัด ค่ามาตรฐาน และการปรับตัวให้ทนกับสภาพความร้อน}, volume={12}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JSH/article/view/187302}, abstractNote={<p>การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปัจจุบันเป็นสาเหตุทำให้สภาพอากาศร้อนมาก  การสัมผัสความร้อนในสถานที่ทำงานจึงเป็นปัญหาหลักที่ส่งผลต่อสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงาน บทความฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะอธิบายผลกระทบต่อสุขภาพของความร้อน การตรวจวัดความร้อน ค่ามาตรฐานความร้อน และการปรับตัวให้ทนกับสภาพความร้อนของผู้ปฏิบัติงาน ผลกระทบต่อสุขภาพจากความร้อน ประกอบด้วย โรคลมแดด เหนื่อยล้าเนื่องจากความร้อน ตะคริวเนื่องจากความร้อน การหมดสติชั่วคราวจากแดด/ความร้อน ผดจากความร้อน การบวมน้ำจากแดด/ความร้อน และการชักเกร็งจากแดด/ความร้อน ประเทศไทยได้ใช้อุณหภูมิกระเปาะเปียกและโกลบ เป็นดัชนีบ่งชี้สภาพปัญหาความร้อน การประเมินการสัมผัสความร้อนต้องพิจารณาการตรวจวัดอุณหภูมิกระเปาะเปียกและโกลบร่วมกับการประเมินภาระงาน โดยผลการประเมินภาระงานจะจำแนกเป็นงานเบา งานปานกลาง และงานหนัก ทั้งนี้ การประเมินภาระงานด้วยวิธีการคัดกรองและวิธีการสังเกตเพียงพอสำหรับการประเมินความเสี่ยงจากการสัมผัสความร้อนสำหรับนักอาชีวอนามัย นอกจากนี้การจัดโปรแกรมการปรับตัวให้ทนกับสภาพความร้อนสำหรับผู้ปฏิบัติงานใหม่และผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์เป็นมาตรการที่สามารถควบคุมและป้องกันผลกระทบจากการสัมผัสความร้อนได้</p>}, number={3}, journal={วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ}, author={ตันติปัญจพร ทัศน์พงษ์}, year={2019}, month={ธ.ค.}, pages={01–16} }