@article{ประจันเขตต์_อินทรรัตน์_ประสิทธิเวชชากูร_จุลวงษ์_2017, title={ผลการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐานในรายวิชาระบบสุขภาพและ การสร้างเสริมสุขภาพต่อผลการเรียนรู้ และพฤติกรรมการทำงาน ที่มุ่งนวัตกรรมของนักเรียนพยาบาล}, volume={18}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/96840}, abstractNote={<p>การวิจัยเรื่องผลการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐานในรายวิชาระบบสุขภาพ และการสร้างเสริมสุขภาพต่อผลการเรียนรู้ และพฤติกรรมการทำงานที่มุ่งนวัตกรรมของนักเรียนพยาบาลเป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรม การทำงานที่มุ่งนวัตกรรมของนักเรียนพยาบาลก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐานในรายวิชาระบบสุขภาพและ การสร้างเสริมสุขภาพ และเพื่อศึกษาผลการเรียนรู้ของนักเรียนพยาบาลภายหลังจัดการเรียนการสอนแบบใช้วิจัยเป็นฐานในรายวิชา ระบบสุขภาพและการสร้างเสริมสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลกองทัพบกชั้นปีที่1 รุ่นที่51จำนวน 84คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจำนวน 1 ฉบับ แบ่งเป็นสามตอน ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปส่วนบุคคลแบบสอบถามพฤติกรรมการทำงานที่มุ่งนวัตกรรมและแบบบันทึกสะท้อนผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมการทำงานที่มุ่งนวัตกรรมทั้งภาพรวม และรายด้าน ได้แก่ ด้านการสร้าง ความคิดใหม่ และด้านการนำความคิดใหม่ไปสู่การปฏิบัติหลังทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิเคราะห์เนื้อหาจากแบบบันทึกสะท้อนผลการเรียนรู้พบว่า สิ่งที่ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการจัดการเรียนการสอนแบบใช้วิจัย เป็นฐาน ได้แก่การพัฒนาความคิดการสร้างนวัตกรรมการฝึกแก้ปัญหาการทำงานร่วมกับผู้อื่น และการสร้างเสริมสุขภาพ สำหรับ ประโยชน์ที่ได้รับจากจัดการเรียนการสอนแบบใช้วิจัยเป็นฐานทำให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเอง และต่อส่วนรวม ผู้เรียนสะท้อน ข้อเสนอแนะที่สำคัญคือ ควรจัดให้มีการเรียนการสอนแบบใช้วิจัยเป็นฐานต่อไปเพราะทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้วิธีการทำวิจัย ได้ฝึก การสืบเสาะหาความรู้อย่างเป็นระบบระเบียบ แต่การกำหนดหัวข้อในการทำนวัตกรรม อาจขึ้นอยู่กับความสนใจของผู้เรียน</p><p>The Effect of Research Based Learning Management in Health System and Health Promotion Subject on Learning Outcome and Innovative Work Behavior of Nursing Students</p><p>This analytic research aimed to (1) compare the innovative work behavior of nursing students before and after theuseof research-based learning in HealthSystem and HealthPromotionSubject and (2) to determinethelearningoutcomesofnursing students after theuseof research-based learning in HealthSystem and Health Promotion Subject. The sample composed of eighty- four first year nursing students, class 51 of the Royal Thai Army Nursing College. Purposive sampling method was used in this study. Data were collected by using a questionnaire which had three parts including personal information, the innovative work behavior questionnaire, and the reflecting record of the learning outcomes of students. The study results revealed that after intervention, the average scores of the innovative work behavior in general and each part including idea generation and idea implementation were higher than before intervention with statistically significant at .05 level. The content analysis of the reflecting record found that the lessons learned from the use of research-based learning were ideas generation, innovation development, problem solving skills, teamwork, and health promotion. Student perceived benefit from research based learning as it was useful for themselves and for public. In addition, the students suggested that the research based learning should be implemented continuously in order to enhance their research skills and systematic knowledge inquiring. However, the topic of innovation should depend on the area of interest of the students.</p>}, number={2}, journal={Journal of The Royal Thai Army Nurses}, author={ประจันเขตต์ องค์อร and อินทรรัตน์ อภิญญา and ประสิทธิเวชชากูร อายุพร and จุลวงษ์ อรวรรณ}, year={2017}, month={Aug.}, pages={55–63} }