@article{เจริญสิริวิไล_เดียวอิศเรศ_วัชรสินธุ์_2015, title={ปัจจัยที่มีผลต่อขั้นตอนความพร้อมในการคุมกำเนิดภายหลังคลอดของมารดาวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์โดยไม่ได้วางแผน Factors Influencing Stage of Readiness to Postpartum Contraceptive Use among Unplanned Adolescent Pregnancy}, volume={16}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/39763}, abstractNote={<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาขั้นตอนความพร้อมในการคุมกำเนิดภายหลังคลอด และปัจจัยที่มีผลต่อขั้นตอนความพร้อมในการคุมกำเนิดภายหลังคลอดของมารดาวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์โดยไม่ได้วางแผน กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์โดยไม่ได้วางแผน และพักฟื้นในแผนกหลังคลอดของโรงพยาบาลของรัฐในจังหวัดสมุทรปราการจำนวน 327 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกแบบหลายกลุ่ม ผลการวิจัยพบว่ามารดาวัยรุ่นมีความพร้อมที่จะคุมกำเนิดภายหลังคลอดอยู่ในขั้นกระทำอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 56.6 ปัจจัยที่สามารถทำนายขั้นตอนความพร้อมในการคุมกำเนิดภายหลังคลอดของมารดาวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์โดยไม่ได้วางแผนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติมี 3 ปัจจัย ได้แก่ การประเมินผลดีของการกระทำพฤติกรรมเป็นปัจจัยที่ทำนายมารดาวัยรุ่นที่อยู่ในขั้นไม่สนใจปัญหา กระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านประสบการณ์เป็นปัจจัยที่ทำนายมารดาวัยรุ่นที่อยู่ในขั้นลังเลใจและสถานภาพสมรส หม้าย หย่า แยกเป็นปัจจัยที่ทำนายมารดาวัยรุ่นที่อยู่ในขั้นลงมือปฏิบัติ ดังนั้นพยาบาลที่ดูแลมารดาวัยรุ่นหลังคลอดที่ตั้งครรภ์ โดยไม่ได้วางแผน ควรให้ความสนใจในการส่งเสริมการคุมกำเนิดภายหลังคลอด โดยเน้นการรับรู้ถึงประโยชน์ หรือผลดีของการคุมกำเนิดให้แก่มารดาวัยรุ่นที่อยู่ในขั้นไม่สนใจปัญหาเน้นการส่งเสริมการใช้กระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านประสบการณ์ให้แก่มารดาวัยรุ่นที่อยู่ในขั้นลังเลใจ และส่งเสริมการได้รับบริการคุมกำเนิดอย่างเหมาะสมให้แก่มารดาที่อยู่ในขั้นลงมือปฏิบัติซึ่งมีสถานภาพสมรสหม้าย หย่า แยก</p><p>This research aimed to determine stage of readiness to postpartum contraceptiveand to identify predictors of stage of readiness to postpartum contraceptive use among unplanned adolescent pregnancy. The study samplewere 327 postpartum adolescent mothers with unplanned pregnancyand were recruited from government hospitals in Samut Prakan province. Data were collected by self - report questionnaires andanalyzed by multinomial logistic regression analysis.<br />The resultsrevealedthat 56.6% of adolescent motherswere in the maintenance stage of readiness to postpartum contraceptive use. Three factors were statistically significant in predicting stage of readiness to postpartum contraceptive use. Pros was the predictor in pre-contemplation stage, experiential process was the predictor in contemplation stage and marital status; separate was the predictor in action stage. It is recommended that nurses who are giving nursing care for postpartum adolescent mothers should focus on increasingprosof contraceptive usefor adolescent mothers in pre-contemplation, experiential process for adolescent mothers in contemplation stage and promote of contraceptive services for adolescent mothers in action stage whose separate status.</p>}, number={2}, journal={Journal of The Royal Thai Army Nurses}, author={เจริญสิริวิไล พุทธชาด and เดียวอิศเรศ วรรณี and วัชรสินธุ์ จินตนา}, year={2015}, month={Sep.}, pages={88–96} }