การบูรณาการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยใช้ชุมชนเป็นฐานในสถานบริการปฐมภูมิ: บทเรียนรู้จากประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • รัชนี สรรเสริญ คณะพยาบาลศาสคร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 169 ถ.ลงหาดบางแสน ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี 20131
  • เบญจวรรณ ทิมสุวรรณ เบญจวรรณ ทิมสุวรรณ ผู้ทรงคุณวุฒิ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข ถ.ติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
  • วรรณรัตน์ ลาวัง คณะพยาบาลศาสคร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 169 ถ.ลงหาดบางแสน ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี 20131
  • ยุวดี รอดจากภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 169 ถ.ลงหาดบางแสน ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี 20131
  • รจนา ปุณโณทก คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 169 ถ.ลงหาดบางแสน ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี 20131
  • ชุติมา ฉันทมิตรโอภาส คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 169 ถ.ลงหาดบางแสน ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี 20131

คำสำคัญ:

Community based rehabilitation, Disable people, Primary Health Care, Thailand

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

                การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการถือเป็นหนึ่งในภารกิจที่สำคัญในสถานบริการระดับ ปฐมภูมิ  โดยแนวคิดการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการที่เป็นที่ยอมรับและมีประสิทธิภาพ  ที่ควร
นำมาปฏิบัติ  คือ การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน วัตถุประสงค์ของการวิจัย เชิงพรรณนานี้ เพื่ออธิบายสถานการณ์ ปัญหา และความต้องการของการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน  ในหน่วยบริการระดับปฐมภูมิในประเทศไทย เก็บรวบรวมข้อมูลจากการ วิเคราะห์เอกสาร และข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการสนทนากลุ่มเฉพาะผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และ การสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 137 ราย เลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วยบุคลากร
ทางสุขภาพจำนวน  36 รายจากโรงพยาบาลชุมชน 7 แห่งและหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ 5 แห่ง คนพิการ 36 ราย ญาติผู้ดูแล 36 ราย ผู้นำของคนพิการ 7 ราย ผู้นำชุมชน 14 ราย และสมาชิก องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  7  ราย  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา  (content         analysis)

                ผลการศึกษาพบว่า  หน่วยบริการระดับปฐมภูมิส่วนใหญ่จัดระบบการฟื้นฟูสมรรถภาพ คนพิการ  ตามแนวคิดการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยใช้ชุมชนเป็นฐานดำเนินการปรับปรุง เครือข่ายการดูแลสุขภาพ และการให้บริการการส่งต่อทางการแพทย์ เพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพ และการป้องกันความพิการ โดยหน่วยบริการปฐมภูมิเริ่มดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการนำชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมในการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ  รวมถึงการบูรณาการแนวคิดการฟื้นฟู สมรรถภาพคนพิการโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน  เป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาสุขภาพของชุมชน  เช่น การสนับสนุนทุน การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน การระดมคนพิการ ครอบครัว และสมาชิกชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพมากขึ้น ตลอดจนการฟื้นฟู สมรรถภาพตามความต้องการของคนพิการเป็นฐาน แต่อย่างไรก็ตามบุคลกรทางสุขภาพยังได้รับ การฝึกอบรมเกี่ยวกับแนวคิดการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน  และความรู้ ความชำนาญเฉพาะทาง  ตลอดจนการสนับสนุนสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างจำกัดส่วนผู้มีส่วน ได้ส่วนเสียในชุมชน มีบทบาทเป็นพันธมิตรและร่วมดำเนินงานการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ในระดับปานกลาง ดังนั้น เพื่อการปรับปรุงการดำเนินงานฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ โดยใช้ ชุมชนเป็นฐานในหน่วยบริการปฐมภูมิมีความจำเป็นต้องให้ความสำคัญและลงทุนทั้งการ ส่งเสริมความรู้และพัฒนาทักษะผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย  การสร้างความมั่นใจในระบบสนับสนุน การดำเนินงานการใช้เครือข่ายที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพ  และพัฒนาความร่วมมือ อย่างเป็นหุ้นส่วนระหว่างบุคลากรทางสุขภาพ ชุมชน คนพิการ และครอบครัวอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อเป็นการส่งเสริมและปรับปรุงคุณภาพชีวิตของคนพิการอย่างมีประสิทธิภาพ

Abstract

                In primary care unit settings, rehabilitation services focusing on medical care for people with disabilities are less than optimal or simply do not exist. In trying to close the rehabilitation gap, community based rehabilitation (CBR) is considered one of the most practical and efficient       rehabilitation approaches. The purpose of this descriptive research was to explore situations,      problems and needs of community based rehabilitation at primary care unit in Thailand. Qualitative approach and documentation analysis were used as a guide for this study. The data were collected by focus group discussion, in-depth interviews and documentation analysis. The 136 samples were selected by purposive sampling including 36 health professionals from 7 community hospitals and ๕ primary care units, ๓๖ persons with disabilities, 36 family caregivers, and 7 leaders of disabled people, 14 community leaders, and 7 representatives of sub-district. Content analysis was performed to analyze and validated by key informants and experts.

                Most of primary care units tried to set up, improve primary health care network and offer referral services in medical and community based rehabilitation, and prevent disabilities. However, training CBR professionals, and providing facilities were limited. Most of primary care units just began to build-in activity related to community’s involvement including integrating CBR program with community developmental plans; funding support, the rehabilitation needs of disabled people; utilizing community’s resources; mobilizing disabled people, their family members and  community members to participate in CBR program. Moreover, some stakeholders in the community played a moderate role as a community partner and work collaboratively in this  program. In order to improve CBR in primary care unit, investment is required in a range of measures, including enhancing knowledge, developing skills, ensuring enabling support systems and making use of related networks and collaborations among health professionals and  community partner and family in order to promote and improve quality of life of people with disabilities effectively.

เผยแพร่แล้ว

2012-06-14

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย