วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JHR <p>วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี (BCNNON Health Science Research Journal) รับพิจารณาบทความวิชาการ บทความวิจัยเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สุขภาพ การพยาบาล การสาธารณสุข การศึกษา และนวัตกรรมในสาขาที่เกี่ยวข้อง มีกระบวนการให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาตรวจสอบก่อนการเผยแพร่ (Double blind peer review) โดยกำหนดการออกวารสารทุก 4 เดือน ปีละ 3 ฉบับ (ม.ค.-เม.ย. พ.ค.-ส.ค. และ ก.ย.-ธ.ค.) จำนวนชิ้นงานบทความ 14 เรื่อง/ฉบับ </p> th-TH <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี</p> <p>ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี และคณาจารย์ท่านอื่น ในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว</p> journalbcnnon@bcnnon.ac.th (Asst.Dr. Matanee Radabutr) sudarat@bcnnon.ac.th (Sudarat Wanngamwiset ) Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 บทบาทพยาบาลในการส่งเสริมความแข็งแกร่งของครอบครัวเด็กป่วยโรคเรื้อรัง https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JHR/article/view/267456 <p>การเจ็บป่วยเรื้อรังในเด็ก นอกจากมีผลกระทบต่อเด็กทั้งร่างกายและจิตใจแล้ว ยังมีผลกระทบต่อครอบครัวจากการต้องเผชิญความท้าทายและความไม่แน่นอนต่าง ๆ จากภาวะเจ็บป่วย หากครอบครัวสามารถเผชิญและจัดการปัญหาได้จนสามารถเข้าสู่ภาวะปกติได้ จะทำให้เด็กป่วยโรคเรื้อรังและครอบครัวมีคุณภาพชีวิติที่ดีแม้ต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ยากลำบากของโรคเรื้อรัง ความแข็งแกร่งของครอบครัวเป็นกระบวนการสำคัญที่ทำให้ครอบครัวสามารถดูแลเด็กและสนับสนุนให้สมาชิกแต่ละคนในครอบครัวสามารถเผชิญกับปัญหาจัดการปัญหาด้วยกัน และช่วยให้คงไว้ซึ่งหน้าที่ของครอบครัวได้ การเข้าใจความสำคัญและการประยุกต์แนวคิดความแข็งแกร่งของครอบครัว จะทำให้บุคลากรทางด้านสาธารณสุข ได้แสดงบทบาทในการสนับสนุนครอบครัวของเด็กป่วยโรคเรื้อรัง บทความนี้นำเสนอแนวคิดความแข็งแกร่งของครอบครัว และการส่งเสริมความแข็งแกร่งของครอบครัวเด็กป่วยโรคเรื้อรัง เพื่อเป็นแนวทางสำหรับบุคลากรด้านสาธารณสุข โดยเฉพาะพยาบาลในการดูแลเด็กป่วยโรคเรื้อรังและครอบครัวให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น</p> ศศิวิมล บูรณะเรข, ยุพาภรณ์ ติรไพรวงศ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JHR/article/view/267456 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 ผลของการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในการป้องกันการฆ่าตัวตายโดยโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JHR/article/view/265752 <p><strong>บทนำ </strong><strong>:</strong> การฆ่าตัวตายเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทย ซึ่งเป็นการสูญเสียและเกิดผลกระทบหลายมิติกับญาติหรือบุคคลในครอบครัว อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ที่เป็นแกนหลักในชุมชนสามารถช่วยป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายได้หากมีการช่วยเหลือที่ทันท่วงที</p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย :</strong> เพื่อศึกษาผลของการพัฒนาศักยภาพ อสม. ในการป้องกันการฆ่าตัวตายด้วยโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม</p> <p><strong>วิธีการวิจัย :</strong> เป็นวิจัยกึ่งทดลอง แบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง ตัวอย่างเป็น อสม. จำนวน 60 คน คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด สุ่มเข้ากลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน ทำการศึกษาระหว่างเดือนมีนาคม ถึง พฤษภาคม 2566 เครื่องมือวิจัยคือ โปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของ อสม. แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับการฆ่าตัวตาย แบบสอบถามทักษะการดูแลผู้มีพฤติกรรมฆ่าตัวตาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที</p> <p><strong>ผลการวิจัย :</strong> กลุ่มทดลองมีระดับความรู้และทักษะการดูแลผู้มีพฤติกรรมฆ่าตัวตายหลังได้รับโปรแกรมสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> <p><strong>สรุปผล :</strong> งานวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่าโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมช่วยพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันการฆ่าตัวตาย และควรศึกษาต่อเนื่องเพื่อติดตามผู้ป่วย</p> นพภัสสร วิเศษ, ยชญ์รวินทร์ จรบุรมย์, ศศิธร บัวผัน Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JHR/article/view/265752 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาบอร์ดเกมการส่งเสริมความตั้งใจใฝ่พฤติกรรม 3อ.2ส. เพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของนิสิตปริญญาตรี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JHR/article/view/267330 <p><strong>บทนำ :</strong> โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) สามารถป้องกันได้ด้วยการมีพฤติกรรม 3อ.2ส. ได้แก่ อ.อาหาร อ.ออกกำลังกาย อ.อารมณ์ ส.ไม่ดื่มสุรา ส.ไม่สูบบุหรี่</p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย :</strong> เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของบอร์ดเกมการส่งเสริมความตั้งใจใฝ่พฤติกรรม <br />3อ.2ส. เพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของนิสิตปริญญาตรี</p> <p><strong>วิธีการวิจัย : </strong>การวิจัยและพัฒนาแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ การพัฒนาบอร์ดเกม และการทดลองใช้บอร์ดเกม ระยะที่ 1 พัฒนาบอร์ดเกมโดยใช้แนวคิดเชิงออกแบบ และประเมินคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน ระยะที่ 2 ทดลองใช้บอร์ดเกม ด้วยการศึกษาแบบกึ่งทดลองวัดก่อนและหลังการทดลอง จำนวน 72 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย บอร์ดเกมและแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และทดสอบค่าที จากนั้นปรับปรุงบอร์ดเกมให้เหมาะสม</p> <p><strong>ผลการวิจัย : </strong>ผลของการพัฒนาบอร์ดเกมฯ มีคุณภาพด้านการใช้ประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความถูกต้องอยู่ในระดับดีมาก และผลของบอร์ดเกม ภายหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีการรับรู้ความรุนแรงของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ความคาดหวังในประสิทธิผลของพฤติกรรม 3อ.2ส. การรับรู้ความสามารถในการปฏิบัติพฤติกรรม 3อ.2ส. และความตั้งใจใฝ่พฤติกรรม 3อ.2ส. ดีขึ้นกว่าก่อนการทดลอง และดีกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 </p> <p><strong>สรุปผล :</strong> บอร์ดเกมที่พัฒนามีผลต่อความตั้งใจใฝ่พฤติกรรม 3อ.2ส. เพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่ดีขึ้น</p> ธีรพล ผังดี Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JHR/article/view/267330 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการนอนหลับของพนักงานฝ่ายขุดเจาะในอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซนอกชายฝั่ง https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JHR/article/view/267960 <p><strong>บทนำ </strong><strong>:</strong> คุณภาพการนอนหลับเป็นเรื่องที่สำคัญต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานนอกชายฝั่งที่มีลักษณะ การทำงานที่ต้องเผชิญกับความเสี่ยงและอันตรายในการทำงานอยู่ตลอดเวลา</p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย </strong><strong>:</strong> เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการนอนหลับในกลุ่มพนักงานฝ่ายขุดเจาะในอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซนอกชายฝั่ง</p> <p><strong>วิธีการวิจัย </strong><strong>:</strong> เป็นวิจัยเชิงปริมาณแบบสหสัมพันธ์ ตัวอย่างเป็นพนักงานฝ่ายขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาตินอกชายฝั่งประเทศไทย จำนวนทั้งหมด 228 คน เครื่องมือ ประกอบด้วย แบบทดสอบข้อมูลส่วนบุคคลและสภาพแวดล้อมการทำงาน แบบวัดปัจจัยด้านจิตสังคมในการทำงาน (Thai-JCQ) และแบบวัดคุณภาพการนอนหลับ (Thai-PSQI) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการนอนหลับด้วยการวิเคราะห์การถอยโลจิสติกทวินาม (Binomial logistic regression)</p> <p><strong>ผลการวิจัย </strong><strong>:</strong> ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการนอนหลับของพนักงานฝ่ายขุดเจาะในอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซนอกชายฝั่ง ประกอบด้วย 3 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน 1 ปัจจัย คือ ปัจจัยการทำงานที่มีลักษณะหลากหลาย และปัจจัยด้านจิตสังคมในการทำงาน 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยความมั่นคงในงาน และปัจจัยข้อเรียกร้องจากงานด้านจิตใจ</p> <p><strong>สรุปผล </strong><strong>:</strong> คุณภาพการนอนของพนักงานฝ่ายขุดเจาะในอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซนอกชายฝั่งสามารถส่งเสริมได้ด้วยจัดระบบการทำงานที่มีลักษณะหลากหลาย สร้างระบบการทำงานให้พนักงานรู้สึกถึงความมั่นคงในงาน เพื่อลดข้อเรียกร้องจากงานด้านจิตใจของพนักงาน</p> ณัฐพงษ์ ศรีวงค์ไชย, วีระพร ศุทธากรณ์, กัลยาณี ตันตรานนท์ Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JHR/article/view/267960 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพจิตโดยใช้การเรียนรู้เชิงประสบการณ์ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตและความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JHR/article/view/265316 <p><strong>บทนำ :</strong> การส่งเสริมสุขภาพจิตช่วยให้ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตที่ดีขึ้น นำไปสู่การดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุข และมีความผาสุกทางใจ</p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย :</strong> เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพจิตโดยใช้การเรียนรู้เชิงประสบการณ์ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตและความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุ</p> <p><strong>วิธีการวิจัย :</strong> วิจัยกึ่งทดลอง ตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุ จำนวน 60 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน ที่เข้าร่วมโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพจิตโดยใช้การเรียนรู้เชิงประสบการณ์ และกลุ่มควบคุม 30 คน เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิต และความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุ หาค่าความเชื่อมั่น (Cronbach’s alpha coefficient) เท่ากับ .97 และ .96 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยที่เป็นอิสระต่อกัน</p> <p><strong>ผลการวิจัย :</strong> พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิต และความผาสุกทางใจสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิต และความผาสุกทางใจสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05</p> <p><strong>สรุปผล :</strong> โปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพจิตโดยใช้การเรียนรู้เชิงประสบการณ์สามารถพัฒนาพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิต และความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุได้ ดังนั้นโปรแกรมนี้สามารถนำไปปรับใช้ให้เข้ากับสถานการณ์และสอดคล้องกับกลุ่มผู้สูงอายุในแต่ละบริบท</p> พัทธ์ธีรา วุฒิพงษ์พัทธ์, กัญญาวีณ์ โมกขาว, อภิสรา วงศ์สละ Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JHR/article/view/265316 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 ความเครียดและการเผชิญความเครียดในสตรีหลังทราบผลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกผิดปกติ ระหว่างรอส่องกล้องทางช่องคลอดและฟังผลชิ้นเนื้อ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JHR/article/view/267422 <p><strong>บทนำ </strong><strong>: </strong>สตรีที่รับทราบผลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกผิดปกติ ต้องรอเข้ารับการส่องกล้องทางช่องคลอดและฟังผลชิ้นเนื้ออาจเกิดความเครียด ซึ่งการเผชิญความเครียดที่เหมาะสม อาจช่วยทำให้สตรีลดความเครียดในแต่ละช่วงเวลาได้</p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย </strong><strong>: </strong>เพื่อเปรียบเทียบความเครียด และการเผชิญความเครียดในสตรีหลังทราบผลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกผิดปกติ ระหว่างรอส่องกล้องทางช่องคลอดและรอฟังผลชิ้นเนื้อ</p> <p><strong>วิธีการวิจัย </strong><strong>: </strong>การวิจัยพรรณนาเชิงเปรียบเทียบ ตัวอย่าง คือ สตรีที่มีผลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกผิดปกติที่ต้องเข้ามารับการส่องกล้องทางช่องคลอดและตัดผลชิ้นเนื้อปากมดลูกที่โรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัย และมีผลการคัดกรองความเครียดตั้งแต่ 4 คะแนนขึ้นไป จำนวน 90 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบวัดระดับความเครียด และ 3) แบบสอบถามการเผชิญความเครียด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนชนิด Kruskal-Wallis Test</p> <p><strong>ผลการวิจัย </strong><strong>: </strong>ตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 38.83 ปี (SD=13.06) ความเครียดทั้งสามช่วงเวลามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;.05) ส่วนการเผชิญความเครียดโดยรวมทั้งสามช่วงเวลาไม่แตกต่างกัน วิธีการเผชิญความเครียดที่ตัวอย่างใช้คือ การเผชิญปัญหา (M=39.11, SD=5.43) การบรรเทาความเครียด (M=34.18, SD=4.75) และการจัดการอารมณ์ (M=20.41, SD=5.03) ตามลำดับ<strong> </strong></p> <p><strong>สรุปผล </strong><strong>: </strong>ความเครียดของสตรีที่ผลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกผิดปกติมีความแตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลา แต่การเผชิญความเครียดโดยรวมไม่แตกต่างกัน พยาบาลนรีเวชสามารถให้คำแนะนำในการเผชิญความเครียดให้กับสตรีเป็นรายบุคคลได้อย่างเหมาะสมตามช่วงเวลา</p> สุชาณันท์ ธัญญกุลสัจจา, บัวหลวง สำแดงฤทธิ์, ธิราภรณ์ จันทร์ดา Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JHR/article/view/267422 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการป้องกันการเปิดรับสื่อลามกอนาจารของวัยรุ่นชายในเขตสุขภาพที่ 4 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JHR/article/view/265844 <p><strong>บทนำ </strong><strong>:</strong> การพัฒนาวัยรุ่นชายให้มีการป้องกันการเปิดรับสื่อลามกอนาจาร จะเป็นเกราะในการป้องกันผลของการเปิดรับสื่อลามกอนาจาร</p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย </strong><strong>:</strong> เพื่อพัฒนารูปแบบการป้องกันการเปิดรับสื่อลามกอนาจารของวัยรุ่นชาย ในเขตสุขภาพที่ 4 </p> <p><strong>วิธีการวิจัย </strong><strong>:</strong> การวิจัยและพัฒนา ดำเนินการ 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1) ศึกษาสถานการณ์การป้องกันการเปิดรับสื่อลามกอนาจารฯ ผู้ให้ข้อมูล คือ วัยรุ่นชายอายุ 15-19 ปีจำนวน 374 คน และสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึกกับบิดามารดา/ผู้ปกครอง เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่กระทรวงดิจิทัล ระยะที่ 2) การพัฒนารูปแบบฯ ได้นำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นไปใช้กับตัวอย่างที่เป็นกลุ่มทดลองจำนวน 40 คน ระยะที่ 3) ประเมินผลรูปแบบกับกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือประกอบด้วย แบบสอบถามการป้องกันการเปิดรับสื่อลามกอนาจารของวัยรุ่นชาย ค่าความเที่ยงตรงอยู่ระหว่าง 0.82-1.00 ค่าความเชื่อมั่นที่ .70 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Independent t-test</p> <p><strong>ผลการวิจัย </strong><strong>:</strong> 1) สถานการณ์การป้องกันการเปิดรับสื่อลามกอนาจารของวัยรุ่นชาย พบว่า การป้องกันการเปิดรับสื่อลามกอนาจารอยู่ในระดับปานกลาง 2) รูปแบบประกอบด้วย 7 กิจกรรม ประกอบด้วย รู้ทันเธอ รู้สึกดีที่ไม่ดู แบบอย่างของฉัน ฉันควบคุมเธอได้ แน่วแน่ เอาจริงละนะ และคนสำคัญ และ 3) การประเมินผลรูปแบบ พบว่า กลุ่มทดลองมีการป้องกันการเปิดรับสื่อลามกอนาจารสูงขึ้น และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 หลังการทดลอง</p> <p><strong>สรุปผล </strong><strong>:</strong> รูปแบบที่พัฒนาขึ้นสามารถป้องกันการเปิดรับสื่อลามกอนาจารของวัยรุ่นชายได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> พรพรรณ ขวัญชื้น, พรสุข หุ่นนิรันดร์ Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JHR/article/view/265844 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 ผลของโปรแกรมการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยด้วยการละเล่นแบบไทยต่อพัฒนาการของเด็กปฐมวัย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JHR/article/view/265770 <p><strong>บทนำ </strong><strong>: </strong>โปรแกรมการส่งเสริมพัฒนาการ เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยกระตุ้นให้เด็กมีพัฒนาการที่สมวัย ทั้งด้านการเคลื่อนไหว สังคมอารมณ์ และสติปัญญา โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรแกรมที่มีการนำการละเล่นแบบไทยมาช่วยจัดกิจกรรมการเล่น เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของกลุ่มเด็กปฐมวัย</p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย </strong><strong>: </strong>เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยด้วยการละเล่นแบบไทยต่อพัฒนาการของเด็กปฐมวัย</p> <p><strong>วิธีการวิจัย </strong><strong>: </strong>การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลอง แบบสองกลุ่ม ทดสอบก่อนและหลัง ตัวอย่างเป็นเด็กอายุ 2-4 ปี ที่ได้รับการประเมินพัฒนาการด้วยเครื่องมือประเมินพัฒนาการ DSPM และไม่ผ่านเกณฑ์อย่างน้อย 1 ข้อ แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 30 คน กลุ่มทดลองจะได้รับโปรแกรมการส่งเสริมพัฒนาการด้วยการละเล่นแบบไทยเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) โปรแกรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยด้วยการละเล่นแบบไทย 2) คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) 3) วิดีโอการส่งเสริมพัฒนาการเด็กด้วยการละเล่นแบบไทย 4) คู่มือการส่งเสริมพัฒนการเด็กด้วยการละเล่นแบบไทยสำหรับผู้ปกครอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และไคสแควร์</p> <p><strong>ผลการวิจัย </strong><strong>: </strong>กลุ่มทดลองมีพัฒนาการรายด้านเพิ่มขึ้นทุกด้าน แต่กลุ่มเปรียบเทียบ มีพัฒนาการเพิ่มขึ้นเฉพาะด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา และด้านการรับรู้ทางภาษาเท่านั้น โดยผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของพัฒนาการรายด้าน ก่อนและหลังการทดลอง พบว่า พัฒนาการด้านการช่วยเหลือตนเองและสังคมของกลุ่มทดลอง ดีขึ้นมากกว่า กลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 <strong> </strong></p> <p><strong>สรุปผล </strong><strong>: </strong>โปรแกรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยด้วยการละเล่นแบบไทย สามารถช่วยส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยให้ดีขึ้นได้</p> สุภาวดี นาคสุขุม, ศิปภา ภุมมารักษ์, รุจาภา จิระประดิษฐ์ผล, ทิฆัมพร มัจฉาชีพ, ยุภา โพผา Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JHR/article/view/265770 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในจังหวัดกาฬสินธุ์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JHR/article/view/267091 <p><strong>บทนำ : </strong>ผู้สูงอายุเป็นประชากรที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดปัญหาสุขภาพจิตที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับบริบาทของแต่ละพื้นที่</p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย : </strong>เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพจิตผู้สูงอายุในเขตพื้นที่ จังหวัดกาฬสินธุ์</p> <p><strong>วิธีการวิจัย : </strong>การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาภาคตัดขวาง ตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุ จาก 13 หมู่บ้าน จำนวน 1,348 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติวิเคราะห์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน</p> <p><strong>ผลการวิจัย :</strong> ตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองและมีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลาง ตัวอย่างส่วนใหญ่มีภาวะสุขภาพจิตอยู่ในกลุ่มที่ระดับต่ำกว่าคนทั่วไป ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทั้งเชิงบวกและเชิงลบกับสุขภาพจิตของตัวอย่าง ได้แก่ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ลักษณะการอยู่อาศัย การอยู่กับคู่สมรส การเข้าร่วมโรงเรียนผู้สูงอายุ ระดับความรู้ในการดูแลสุขภาพ และระดับคุณภาพชีวิต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <p><strong>สรุปผล :</strong> ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านความรู้ในการดูแลสุขภาพและระดับคุณภาพชีวิตมีความสัมพันธ์กับสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดกิจกรรมที่มีการพัฒนาสุขภาพจิตที่จะสามารถช่วยลดความเครียด เสริมสร้างความสุข และเพิ่มความสมดุลทั้งในด้านร่างกายและจิตใจของผู้สูงอายุ เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตให้กับผู้สูงอายุในชุมชนโดยเฉพาะด้านจิตใจ</p> วิลาวัณย์ ชาดา, นิรุวรรณ เทิร์นโบล์, วิพา ชุปวา, เสาวลักษณ์ ศรีดาเกษ, เบญจพล แสงไสว, สุภาพร ชัยชาญวัฒนา, นงค์ลักษณ์ ตั้งปรัชญากูล Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JHR/article/view/267091 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอาการคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรมในพนักงานธนาคาร https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JHR/article/view/267448 <p><strong>บทนำ </strong><strong>:</strong> อาการคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรมเป็นความผิดปกติทางตาและการมองเห็นจากการใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงานเป็นระยะเวลานาน</p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย </strong><strong>:</strong> เพื่อศึกษาการเกิดอาการคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรมและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดอาการคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรมในพนักงานธนาคาร</p> <p><strong>วิธีการวิจัย :</strong> การศึกษาเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ ตัวอย่างคือ พนักงานธนาคาร จำนวน 396 ราย สุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือประกอบด้วย แบบสอบถามอาการคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม และแบบสอบถามปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดอาการคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา และการถดถอยโลจิสติกอย่างง่าย</p> <p><strong>ผลการวิจัย </strong><strong>:</strong> ตัวอย่าง ร้อยละ 68.4 มีอาการคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม อาการที่พบบ่อยครั้งมากที่สุด คือ อาการแสบตา ร้อยละ 28.8 รองลงมา คือ อาการตาพร่ามัว ร้อยละ 26.0 โดยทุกอาการมีความรุนแรงปานกลาง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอาการคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม ประกอบด้วยปัจจัยด้านสภาพการทำงาน ได้แก่ ระยะเวลาทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ 3-4 ชั่วโมงต่อวัน (OR=4.75; 95% CI=1.24, 18.19) 5-6 ชั่วโมงต่อวัน (OR=6.93; 95% CI= 2.06, 23.30) และมากกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน (OR=10.94; 95% CI=3.13, 38.28) การมองจอสลับกับเอกสาร (OR=2.97; 95% CI=1.61, 5.49) และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมในการทำงาน ได้แก่ แสงสว่างหน้าจอที่จ้าเกินไป (OR=7.90; 95% CI=1.04, 60.29) และแสงสะท้อนจากหน้าต่าง (OR=1.72; 95% CI=1.02, 2.99) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;.05)</p> <p><strong>สรุปผล </strong><strong>:</strong> พยาบาลอาชีวอนามัยควรออกแบบโปรแกรมเพื่อป้องกันการเกิดอาการคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรมในพนักงานธนาคาร โดยเน้นการปรับระยะเวลาการใช้คอมพิวเตอร์ให้เหมาะสม และปรับแสงสว่างหน้าจอให้เหมาะสม</p> รุ่งระพี อุปรา, กัลยาณี ตันตรานนท์ , วันเพ็ญ ทรงคำ Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JHR/article/view/267448 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาตัวชี้วัดเพื่อการจัดการคุณภาพสู่ความเป็นเลิศของสถาบันการศึกษาพยาบาล https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JHR/article/view/267421 <p><strong>บทนำ </strong><strong>:</strong> การพัฒนาตัวชี้วัดการดำเนินงานของสถาบันการศึกษาพยาบาลตามเกณฑ์ EdPEx มีความสำคัญในการกำหนดทิศทางในการขับเคลื่อนการบริหารจัดการคุณภาพและพัฒนาองค์กร</p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย </strong><strong>: </strong>เพื่อพัฒนาตัวชี้วัดการดำเนินงานเพื่อการจัดการคุณภาพสู่ความเป็นเลิศของสถาบันการศึกษาพยาบาล</p> <p><strong>วิธีการวิจัย </strong><strong>: </strong>เป็นการวิจัยและพัฒนา ดำเนินการวิจัย 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีของการจัดการคุณภาพสู่ความเป็นเลิศของสถาบันการศึกษาพยาบาล ระยะที่ 2 การพัฒนาตัวชี้วัดการดำเนินงานเพื่อการจัดการคุณภาพสู่ความเป็นเลิศของสถาบันการศึกษาพยาบาล เลือกตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 8 คน จากคณะพยาบาลศาสตร์ จำนวน 4 แห่ง เครื่องมือ ประกอบด้วย แบบบันทึกแนวปฏิบัติที่ดี และแนวคำถามสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา</p> <p><strong>ผลการวิจัย </strong><strong>:</strong> ตัวชี้วัดการดำเนินงานเพื่อการจัดการคุณภาพสู่ความเป็นเลิศของสถาบันการศึกษาพยาบาล ประกอบด้วย 7 หมวด จำนวน 96 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1) ตัวชี้วัดการดำเนินงานด้านการนำองค์กร จำนวน 12 ข้อ 2) ตัวชี้วัดการดำเนินงานด้านกลยุทธ์ จำนวน 8 ข้อ 3) ตัวชี้วัดการดำเนินงานด้านลูกค้า จำนวน 8 ข้อ 4) ตัวชี้วัดการดำเนินงานด้านการวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้ จำนวน 6 ข้อ 5) ตัวชี้วัดการดำเนินงานด้านบุคลากร จำนวน 9 ข้อ 6) ตัวชี้วัดการดำเนินงานด้านระบบปฏิบัติการ จำนวน 9 ข้อ และ 7) ตัวชี้วัดการดำเนินงานด้านผลลัพธ์ จำนวน 44 ข้อ</p> <p><strong>สรุปผล </strong><strong>:</strong> ตัวชี้วัดที่ได้เป็นตัวชี้วัดตามเกณฑ์ EdPEx ที่ช่วยให้การขับเคลื่อนการบริหารจัดการคุณภาพของสถาบันการศึกษามีเป้าหมายที่ชัดเจนขึ้นและนำไปพัฒนาคุณภาพสู่การยกระดับความเป็นเลิศของสถาบันการศึกษาพยาบาลอย่างยั่งยืนและเป็นที่ยอมรับ</p> ภาวิดา พุทธิขันธ์, จตุพล ยงศร , จักรกฤษณ์ โปณะทอง Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JHR/article/view/267421 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 ข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารอัตรากำลังคนด้านสุขภาพช่วงระยะเปลี่ยนผ่านจากการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสู่องค์การบริหารส่วนจังหวัด https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JHR/article/view/264334 <p><strong>บทนำ : </strong>การถ่ายโอนภารกิจด้านอัตรากำลังของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจากกระทรวง สาธารณสุขสู่องค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่งในช่วงเปลี่ยนผ่าน </p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย :</strong> เพื่อศึกษาภาระงาน อัตรากำลังคนด้านสุขภาพ ความก้าวหน้าในสายวิชาชีพ และการพัฒนาสมรรถนะของกำลังคนด้านสุขภาพช่วงระยะเปลี่ยนผ่านจากการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสู่องค์การบริหารส่วนจังหวัด</p> <p><strong>วิธีการวิจัย : </strong>เป็นวิจัยแบบผสมผสานเชิงอธิบายเป็นลำดับ โดยการวิจัยเชิงปริมาณก่อนแล้วตามด้วยวิจัยเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติร้อยละ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยกระบวนการวิเคราะห์แก่นสาระ</p> <p><strong>ผลการวิจัย : </strong>จากผลการวิจัยเชิงปริมาณสามารถนำมาอธิบายด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อช่วยในการอธิบายผลการวิจัยเชิงปริมาณใน 4 ประเด็นหลัก ดังนี้ 1) ด้านภาระงาน 2) ด้านอัตรากำลังคน 3) ด้านความก้าวหน้าในสายวิชาชีพ และ 4) ด้านการพัฒนาสมรรถนะ</p> <p><strong>สรุปผล : </strong>องค์การบริหารส่วนจังหวัดและสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดควรมีการบริหารจัดการในด้านภาระงาน อัตรากำลัง สนับสนุนให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาชีพ และควรมีการพัฒนาสรรถนะของกำลังคนด้านสุขภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับการบริการสุขภาพตามมาตรฐาน อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับมาตรฐานบริการปฐมภูมิ </p> อติญาณ์ ศรเกษตริน, อัจฉราวดี ศรียะศักดิ์, รุ่งนภา จันทรา, สุชาดา นิ้มวัฒนากุล, ทัศนีย์ เกริกกุลธร, ธัญพร ชื่นกลิ่น, ดาราวรรณ รองเมือง, สรรเสริญ นามพรหม, รัถยานภิศ รัชตะวรรณ Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JHR/article/view/264334 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 ผลของรูปแบบการพัฒนาศักยภาพสมองโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ในวัยก่อนสูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังในเขตเมือง https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JHR/article/view/266198 <p><strong>บทนำ </strong><strong>:</strong> ภาวะสมองเสื่อมเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญที่สามารถป้องกันได้ด้วยการส่งเสริมศักยภาพสมองตั้งแต่ก่อนเข้าวัยสูงอายุ โดยใช้กิจกรรมที่เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อกระตุ้นภาวะการรู้คิด ลดความวิตกกังวล และลดภาวะซึมเศร้า</p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย </strong><strong>:</strong> เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการพัฒนาศักยภาพสมองโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในวัยก่อนสูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังในเขตเมืองต่อภาวะการรู้คิด ความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า</p> <p><strong>วิธีการวิจัย </strong><strong>:</strong> การศึกษานี้เป็นวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่ม วัดผลก่อน-หลังทดลอง และติดตามผล 1 เดือน ตัวอย่าง คือ วัยก่อนสูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองแห่งหนึ่ง แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 33 คน และกลุ่มควบคุม 35 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินภาวะการรู้คิด ความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Friedman test Wilcoxon signed rank test และ Mann-Whitney U-test</p> <p><strong>ผลการวิจัย </strong><strong>: </strong>กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยภาวะการรู้คิดสูงกว่ากลุ่มควบคุมทั้งหลังทดลองและติดตามผล 1 เดือน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีคะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าหลังทดลองน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในการตรงกันข้ามกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีคะแนนเฉลี่ยความวิตกกังวลไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 </p> <p><strong>สรุปผล </strong><strong>:</strong> รูปแบบการพัฒนาศักยภาพสมองโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนสามารถส่งเสริมการรู้คิดของวัยก่อนสูงอายุที่มีโรคเรื้อรังให้ดีขึ้น จึงควรนำรูปแบบนี้ไปใช้อย่างต่อเนื่อง</p> นิภาพร อภิสิทธิวาสนา, พิมพ์รัตน์ ธรรมรักษา, พนารัตน์ วิศวเทพนิมิตร, เจียมใจ ศรีชัยรัตนกูล, กัลปังหา โชสิวสกุล, สุทธานันท์ กัลกะ, นิติกุล ทองน่วม, ฐิตินันท์ นาคผู้, ภาณุสิทธิ์ หวันมะหมุด Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JHR/article/view/266198 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความวิตกกังวลหลังคลอดของมารดาหลังคลอด ในเมืองเหวินโจว ประเทศจีน https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JHR/article/view/264682 <p><strong>บทนำ </strong><strong>:</strong> ความวิตกกังวลหลังคลอดเป็นภาวะที่พบมาก อาจจะไม่รุนแรงเมื่อเปรียบเทียบกับอาการป่วยทางจิตอื่น ๆ แต่อาการดังกล่าวอาจพัฒนาไปสู่ความเจ็บป่วยทางจิตที่ร้ายแรงได้</p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย :</strong> เพื่อศึกษาความวิตกกังวลหลังคลอดและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความวิตกกังวลหลังคลอดในหญิงหลังคลอด เมืองเหวินโจว ประเทศจีน</p> <p><strong>วิธีการวิจัย :</strong> การวิจัยสหสัมพันธ์เชิงทำนาย ตัวอย่าง คือ หญิงหลังคลอด จำนวน 148 คน คัดเลือกแบบสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบ 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต 3) แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม และ 4) แบบสอบถามความวิตกกังวล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการถดถอยพหุคูณเชิงเส้นตรง</p> <p><strong>ผลการวิจัย :</strong> ตัวอย่างมีความวิตกกังวลหลังคลอดในระดับต่ำ (M=25.45, SD=5.59) การไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต และการสนับสนุนทางสังคมสามารถอธิบายความแปรปรวนของความวิตกกังวลหลังคลอดได้ร้อยละ 30.8% (β=0.011, p=.022, β=-0.463, p&lt;.001; β=-0.16, p=.023 ตามลำดับ) ความวิตกกังวลหลังคลอดมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญในตัวอย่างที่ไม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เมื่อเปรียบเทียบกับที่ให้นมแม่เพียงอย่างเดียว (β=0.188, p=.022) การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวและการเลี้ยงลูกด้วยการผสมระหว่างนมแม่และนมผงไม่แตกต่างกัน (β=-0.028, p=.722) อายุไม่สามารถทำนายความวิตกกังวลหลังคลอดได้ (β=-0.008, p&gt;.05)</p> <p><strong>สรุปผล :</strong> พยาบาลควรช่วยเหลือหญิงหลังคลอดให้ได้รับความรู้ด้านสุขภาพจิต และสนับสนุนให้เลี้ยงบุตรด้วยนมแม่ต่อไป สมาชิกในครอบครัวและสังคมควรสนับสนุนและดูแลหญิงหลังคลอดอย่างเพียงพอ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความวิตกกังวลหลังคลอด</p> เหยา เชิน, จิณห์จุฑา ชัยเสนา ดาลลาส, จินตนา วัชรสินธุ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JHR/article/view/264682 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700