https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JHR/issue/feed วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี 2024-12-27T13:15:38+07:00 Dr. Warongrong Nelson bcnnonjournal@bcnnon.ac.th Open Journal Systems <p>วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี (BCNNON Health Science Research Journal) รับพิจารณาบทความวิชาการ บทความวิจัยเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สุขภาพ การพยาบาล การสาธารณสุข การศึกษา และนวัตกรรมในสาขาที่เกี่ยวข้อง มีกระบวนการให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาตรวจสอบก่อนการเผยแพร่ (Double blind peer review) โดยกำหนดการออกวารสารทุก 4 เดือน ปีละ 3 ฉบับ (ม.ค.-เม.ย. พ.ค.-ส.ค. และ ก.ย.-ธ.ค.) จำนวนชิ้นงานบทความ 10-12 เรื่อง/ฉบับ </p> https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JHR/article/view/271670 การส่งเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพร่วมกับการใช้แนวคิดการจัดการตนเองสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของประชาชนในชุมชน 2024-06-19T15:29:38+07:00 วดีรัตน์ ศรีวงศ์วรรณ Wadeerat@hotmail.com พัฒนา เศรษฐวัชราวนิช pattanajanny@gmail.com <p>อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เป็นผู้มีความสำคัญในทีมสุขภาพในการให้บริการแก่ประชาชนทางด้านสุขภาพอย่างทั่วถึง การส่งเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพแก่ อสม. ร่วมกับการใช้แนวคิดการจัดการตนเองในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของประชาชนในชุมชนจึงเป็นกระบวนการที่ช่วยส่งเสริมให้ อสม.สามารถคิด ตัดสินใจเกี่ยวกับสุขภาพ เปลี่ยนมุมมองทางพฤติกรรมให้แก่ประชาชน และเป็นผู้นำทางการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การช่วยเหลือดูแลเบื้องต้น บทความนี้จึงนำเสนอแนวทางการส่งเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพร่วมกับการใช้แนวคิดการจัดการตนเองสำหรับ อสม. ในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของประชาชนในชุมชน เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาศักยภาพของ อสม. ให้มีความรอบรู้ด้านสุขภาพและทักษะการจัดการตนเอง ซึ่งจะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการดูแลสุขภาพประชาชน ช่วยลดความเสี่ยงต่อความพิการ และลดค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพของประชาชน และจะช่วยสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้การจัดการปัญหาสุขภาพและการดูแลตนเอง ตลอดจนเปิดโอกาสให้ได้ฝึกปฏิบัติและประยุกต์ใช้ความรู้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งความสำเร็จในการจัดการสุขภาพตนเองจะช่วยเสริมสร้างความมั่นใจ กระตุ้นการแสวงหาความรู้ และส่งเสริมการเรียนรู้เกี่ยวกับโรคและการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง</p> 2024-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JHR/article/view/273027 ผลของกระบวนการศิลปะด้านในต่อกรอบคิดติดยึดเติบโต ของนักศึกษาพยาบาล: การศึกษานำร่อง 2024-10-02T08:58:22+07:00 ธิดา มุลาลินท์ thida@bcnsurin.ac.th วิไลพร ขำวงษ์ wionwanna@yahoo.com สุขุมาล แสนพวง sukhumal@bcnsurin.ac.th <p><strong>บทนำ :</strong> การพัฒนากรอบคิดติดยึดเติบโตมีความสำคัญต่อการเรียนรู้และการปรับตัวของนักศึกษาพยาบาล กระบวนการศิลปะด้านในเป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถส่งเสริมการพัฒนานี้ได้</p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย : </strong>เพื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงกรอบคิดติดยึดเติบโตและกรอบคิดติดยึดฝังแน่นก่อนและหลังเข้าร่วมกระบวนการศิลปะด้านใน และวิเคราะห์ขนาดอิทธิพลของกระบวนการศิลปะด้านในต่อการเปลี่ยนแปลงกรอบคิดติดยึดเติบโตและกรอบคิดติดยึดฝังแน่นของนักศึกษาพยาบาล</p> <p><strong>วิธีดำเนินการวิจัย : </strong>การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง ตัวอย่าง คือ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 จำนวน 23 คน ที่เข้าร่วมกระบวนการศิลปะด้านใน ประกอบด้วย การฝึกสุนทรียะด้านการมองเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหวและการลงมือปฏิบัติ รวมระยะเวลา 28 ชั่วโมง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบวัดชุดความคิด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา Wilcoxon Signed-Rank Test และคำนวณขนาดอิทธิพลด้วย Cliff’s Delta</p> <p><strong>ผลการวิจัย : </strong>มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญทั้งการลดลงกรอบคิดติดยึดฝังแน่น (2.98±1.12 เป็น 2.45±1.08, p&lt;.01) และการเพิ่มขึ้นกรอบคิดติดยึดเติบโต (4.56±0.89 เป็น 4.82±0.76, p&lt;.05) โดยมีขนาดอิทธิพลระดับเล็ก (δ=-0.31 และ 0.21 ตามลำดับ) เมื่อวิเคราะห์รายข้อ พบการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ 3 ด้าน ได้แก่ การเพิ่มความเชื่อในความสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงตนเอง การลดความเชื่อที่ว่าไม่สามารถเปลี่ยนแปลงส่วนสำคัญของตนเอง และการลดความเชื่อที่ว่าไม่สามารถเปลี่ยนแปลงพื้นฐานความฉลาด</p> <p><strong>สรุปผล </strong><strong>:</strong> กระบวนการศิลปะด้านในเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์สำหรับการพัฒนากรอบคิดติดยึดเติบโตและลดกรอบคิดติดยึดฝังแน่นของนักศึกษาพยาบาลได้</p> 2024-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JHR/article/view/272921 ประสิทธิผลของการประยุกต์ใช้การคิดเชิงออกแบบในการพัฒนานวัตกรรมปลอกแขนผูกยึดและดูแลสายน้ำเกลือในผู้ป่วยที่ได้รับการระงับความรู้สึก โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ 2024-10-16T08:57:49+07:00 ปรัชญ์ณรัตน์ สิทธิบวรโชติ kamonwan_sr@hotmail.com กิตติพร เนาว์สุวรรณ Jock2667@gmail.com อัจฉรา คำมะทิตย์ adcharakham@bcnu.ac.th <p><strong>บทนำ :</strong> การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมปลอกแขนผูกยึด และการดูแลสายน้ำเกลือในผู้ป่วยที่ได้รับการระงับความรู้สึก</p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย :</strong> เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของนวัตกรรมฯ</p> <p><strong>วิธีดำเนินการวิจัย : </strong>ใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบในการสร้างและทดลองใช้นวัตกรรม ตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัด และได้รับการระงับความรู้สึกที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ ตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึงพฤษภาคม พ.ศ. 2565 จำนวน 27 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นวัตกรรมปลอกแขนผูกยึดและดูแลสายน้ำเกลือ แบบประเมินผลของการใช้นวัตกรรม และแบบประเมินคุณภาพนวัตกรรม ถูกตรวจสอบความถูกต้องโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ค่า IOC ระหว่าง 0.67-1.00 ได้ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ .91 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติ One sample t-test</p> <p><strong>ผลการวิจัย :</strong> นวัตกรรมปลอกแขนผูกยึดและการดูแลสายน้ำเกลือในผู้ป่วยที่ได้รับการระงับความรู้สึกทำจากผ้าห่อเซ็ตเครื่องมือผ่าตัด น้ำหนักเบา กันน้ำ ทำความสะอาดได้ง่าย ติดตั้งกับที่วางแขนเตียงผ่าตัดได้ทุกรูปแบบ เพราะมีตัวล็อคกล้ามปูที่ปรับขนาดให้เข้ากับที่วางแขนเตียงผ่าตัด หลังการใช้นวัตกรรมพบว่า ไม่มีการเลื่อนหลุดของสายน้ำเกลือ มีคะแนนความพึงพอใจและความคิดเห็นต่อคุณภาพนวัตกรรมทั้งภาพรวม และรายข้อระดับดีขึ้นไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001</p> <p><strong>สรุปผล : </strong>นวัตกรรมปลอกแขนผูกยึดและดูแลสายน้ำเกลือในผู้ป่วยที่ได้รับการระงับความรู้สึกสามารถป้องกันการเกิดรอยช้ำบริเวณแขนที่ถูกผูกยึด การเลื่อนหลุดของหัวไหล่และข้อมือ แขนอ่อนแรง ไม่มีการเลื่อนหลุดของสายน้ำเกลือได้</p> 2024-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JHR/article/view/273086 การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด เอสที ยกสูงในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จังหวัดนนทบุรี 2024-11-11T09:01:55+07:00 พรรัตน์ โชคบันดาลสกุล juck_note@hotmail.co.th ศิริพร ครุฑกาศ siriporn.kr@bcnnon.ac.th นภพรพัชร มั่งถึก nopbhornphetchara.ma@ssru.ac.th ศศิธร เลิศภิรมย์ลักษณ์ sasithornlp@gmail.com <p><strong>บทนำ : </strong>ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด เอสที ยกสูง ที่ได้รับการรักษาด้วยการเปิดขยายหลอดเลือดหัวใจ อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคและการรักษา</p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย :</strong> เพื่อศึกษาสถานการณ์ พัฒนาแนวปฏิบัติและศึกษาผลลัพธ์การใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด เอสที ยกสูง</p> <p><strong>วิธีดำเนินการวิจัย : </strong>การศึกษานี้เป็นการวิจัยและพัฒนา ดำเนินการวิจัย 3 ระยะ คือ 1) ศึกษาสถานการณ์ 2) พัฒนาแนวปฏิบัติ 3) ประเมินผลลัพธ์การใช้แนวปฏิบัติ ตัวอย่าง คือ พยาบาลในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม จำนวน 15 คน และผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด เอสที ยกสูง ระดับ I และ II ที่ได้รับการเปิดขยายหลอดเลือดหัวใจชนิดปฐมภูมิ จำนวน 30 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา สถิติทดสอบวิลคอกซัน การทดสอบค่าที และการทดสอบของฟิชเชอร์</p> <p><strong>ผลการวิจัย : </strong>1) สถานการณ์การพยาบาลพบว่า (1) ผู้ป่วยเกิดเลือดออกหรือก้อนเลือดบริเวณที่ทำหัตถการ และจำนวนวันนอนโรงพยาบาล 6-8 วัน (2) แนวปฏิบัติการพยาบาลยังไม่ครบทุกมิติ การวางแผนจำหน่ายไม่เป็นแนวทางเดียวกัน 2) แนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้น มี 6 ระยะ และ 3) ผลลัพธ์หลังใช้แนวปฏิบัติ พบว่า ความรู้ของพยาบาลเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ภาวะเลือดออกหรือก้อนเลือดใต้ผิวหนังบริเวณที่ทำหัตถการ และจำนวนวันนอนโรงพยาบาลลดลงกว่าเดิมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05) ความพึงพอใจของพยาบาลและผู้ป่วยอยู่ในระดับมากที่สุด (=4.79, 4.61; SD=0.15, 0.39 ตามลำดับ)</p> <p><strong>สรุปผล :</strong> แนวปฏิบัติการพยาบาลตั้งแต่แรกรับจนถึงจำหน่ายที่มีมาตรฐาน ทำให้การดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด เอสที ยกสูง เกิดผลลัพธ์ที่ดี</p> 2024-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JHR/article/view/270446 ผลของโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองและการกลับมารักษาซ้ำ 2024-08-02T10:05:57+07:00 อังคณา ศรีจันทร์ fin139@hotmail.ac.th วิสุทธิ์ โนจิตต์ wnochit@gmail.com พิมใจ ทวีพักตร์ pimjai0402@gmail.com <p><strong>บทนำ </strong><strong>: </strong>ภาวะหัวใจล้มเหลวเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญที่ต้องให้การดูแลอย่างต่อเนื่อง การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยมีส่วนสำคัญที่ช่วยให้ผู้ป่วยมีการดูแลตนเองอย่างเหมาะสม และลดการกลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาล</p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย </strong><strong>:</strong> เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวต่อ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองและการกลับมารักษาซ้ำ</p> <p><strong>วิธีดำเนินการวิจัย </strong><strong>:</strong> การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง ตัวอย่างได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่ามีภาวะหัวใจล้มเหลว และมีการนอนพักรักษาในโรงพยาบาล ระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 ถึง มีนาคม พ.ศ. 2567 เลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง และแบบฟอร์มบันทึกการกลับมารับการรักษาซ้ำ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และ paired-t test</p> <p><strong>ผลการวิจัย </strong><strong>:</strong> พบว่าคะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองหลังทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p&lt;.001 และไม่มีผู้ป่วยกลับมารักษาซ้ำภายใน 28 วัน</p> <p><strong>สรุป</strong><strong>ผล :</strong> พยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์สามารถนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้ในการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย เพื่อพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวอย่างต่อเนื่องระหว่างโรงพยาบาลชุมชนกับหน่วยบริการปฐมภูมิต่อไป</p> 2024-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JHR/article/view/272069 ผลของโปรแกรมการเยี่ยมบ้านทางไกลแบบมีปฏิสัมพันธ์อย่างมีเป้าหมาย ต่อระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้วัยทำงานในสถานประกอบการ กรุงเทพมหานคร 2024-10-15T14:37:04+07:00 ศิริพร เภาแก้ว siriphorn2529@gmail.com รักชนก คชไกร rukchanok.kos@mahidol.ac.th จันทิมา ฤกษ์เลื่อนฤทธิ์ jantima.rer@mahidol.edu <p><strong>บทนำ :</strong> โรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ เป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร การใช้โปรแกรมการเยี่ยมบ้านทางไกล เป็นวิธีการหนึ่งในการควบคุมระดับความดันโลหิตของผู้ป่วย</p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย :</strong> เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเยี่ยมบ้านทางไกล แบบมีปฏิสัมพันธ์อย่างมีเป้าหมาย ต่อระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ วัยทำงานในสถานประกอบการ กรุงเทพมหานคร</p> <p><strong>วิธีดำเนินการวิจัย :</strong> เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม วัดผลก่อนและหลังการได้รับโปรแกรม โดยประยุกต์ ใช้ทฤษฎีการบรรลุเป้าหมายร่วมกันของคิงร่วมกับการเยี่ยมบ้านทางไกล ตัวอย่างจำนวน 66 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 33 คน ใช้ระยะเวลา 12 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Chi-square test, Paired t-test และ Independent t-test</p> <p><strong>ผลการวิจัย :</strong> หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของระดับความดันซิสโตลิคต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยลดลงจาก 151.33 mmHg เป็น 133.79 mmHg และมีค่าเฉลี่ยผลต่างความดันซิสโตลิคก่อนและหลังการทดลอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 โดยมีค่าความดันซิสโตลิคลดลงเฉลี่ย 17.45 mmHg (X̄=-17.45)</p> <p><strong>สรุปผล : </strong>โปรแกรมการเยี่ยมบ้านทางไกลแบบมีปฏิสัมพันธ์อย่างมีเป้าหมาย สามารถลดระดับความดันซิสโตลิค ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ วัยทำงาน ในสถานประกอบการให้ดีขึ้นได้</p> 2024-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JHR/article/view/274404 ผลของโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุโดยใช้แผนการดูแลรายบุคคลต่อความรู้และทักษะการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านในชุมชน 2024-12-02T14:18:08+07:00 ดวงใจ บุญทองแก้ว dj_dotcom@outlook.co.th วรัญญา จิตรบรรทัด waranya@bcnnakhon.ac.th <p><strong>บทนำ </strong><strong>:</strong> การดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านเป็นการวางแผนร่วมกันระหว่างผู้จัดการการดูแลกับผู้ดูแลผู้สูงอายุในการจัดทำแผนการดูแลรายบุคคล และนำมาเป็นแนวทางในการดูแลเฉพาะราย</p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย </strong><strong>:</strong> เพื่อศึกษาระดับความรู้และทักษะ ทำการเปรียบเทียบระดับความรู้และทักษะการดูแลของผู้ดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านในชุมชน ก่อนและหลังใช้โปรแกรมการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลโดยใช้แผนการดูแลรายบุคคล</p> <p><strong>วิธีดำเนินการวิจัย </strong><strong>:</strong> การวิจัยแบบการทดลองเบื้องต้นแบบกลุ่มเดียว วัดผลก่อนและหลังการทดลอง และระยะติดตามผล 1 เดือน ตัวอย่างเป็นผู้ดูแลที่ผ่านการอบรมหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุ และมีผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านในการดูแล จำนวน 34 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุโดยใช้แผนการดูแลรายบุคคล แบบวัดความรู้ของผู้ดูแลผู้สูงอายุ และแบบประเมินทักษะผู้ดูแลผู้สูงอายุ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติ Paired t-test และ Repeated Measures ANOVA</p> <p><strong>ผลการวิจัย</strong> <strong>:</strong> พบว่า หลังจากเข้าร่วมการทดลอง ผู้ดูแลผู้สูงอายุมีระดับความรู้ และทักษะปฏิบัติในการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านในชุมชนแต่ละด้าน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;.05) และติดตามผล 1 เดือน ผู้ดูแลผู้สูงอายุมีความรู้และทักษะอยู่ในระดับสูงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;.05)</p> <p><strong>สรุปผล</strong> <strong>: </strong>การใช้โปรแกรมการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุโดยใช้แผนการดูแลรายบุคคลสามารถเพิ่มความรู้และทักษะในการปฏิบัติการดูแลผู้สูงอายุ เนื่องจากผู้ดูแลผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในการประเมินภาวะสุขภาพและความต้องการของผู้สูงอายุรายบุคคล ระบุปัญหา/ความต้องการของผู้สูงอายุรายบุคคล วางแผนการดูแลผู้สูงอายุรายบุคคล ปฏิบัติการดูแลตามแผนการดูแลรายบุคคล และประเมินผลการดูแลรายบุคคล</p> 2024-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JHR/article/view/271779 ผลของโปรแกรมการนิเทศร่วมกับคิวอาร์โค้ดต่อการใช้สารสนเทศทางการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ ในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง 2024-09-09T12:00:30+07:00 อัญพัชร์ นิติวิเชียรวุฒิ anyaphat2019@gmail.com เนตรชนก ศรีทุมมา netchanoks@christian.ac.th อุษา ตันทพงษ์ usatantapong@gmail.com <p><strong>บทนำ</strong><strong> :</strong> การพัฒนาโปรแกรมการนิเทศร่วมกับคิวอาร์โค้ดต่อการใช้สารสนเทศทางการพยาบาลจะช่วยส่งเสริมให้พยาบาลวิชาชีพสามารถบริหารจัดการบริการพยาบาลที่ดีขึ้น</p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย </strong><strong>:</strong> เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการนิเทศร่วมกับคิวอาร์โค้ดต่อการใช้สารสนเทศทางการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ ก่อนและหลังเข้าโปรแกรมการนิเทศร่วมกับคิวอาร์โค้ด</p> <p><strong>วิธีดำเนินการวิจัย </strong><strong>:</strong> การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ พยาบาลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลเอกชน จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน ซึ่งได้รับการนิเทศการใช้สารสนเทศทางการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองเข้าโปรแกรมระยะเวลา 6 สัปดาห์ เครื่องมือการวิจัยได้แก่ 1) โปรแกรมการนิเทศร่วมกับคิวอาร์โค้ด และ 2) แบบสอบถามการใช้สารสนเทศทางการพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติ Paired t-test และIndependent t-test</p> <p><strong>ผลการวิจัย </strong><strong>:</strong> พบว่า พยาบาลวิชาชีพที่เข้าร่วมโปรแกรมการนิเทศร่วมกับคิวอาร์โค้ด มีคะแนนเฉลี่ย 4.46 สูงกว่ากลุ่มควบคุม และสูงกว่าก่อนเข้าโปรแกรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 </p> <p><strong>สรุปผล </strong><strong>:</strong> การใช้สารสนเทศทางการพยาบาลของกลุ่มทดลอง หลังเข้าร่วมโปรแกรมการนิเทศ มีคะแนนเฉลี่ยด้านทักษะความรอบรู้ด้านคอมพิวเตอร์อยู่ในระดับมากที่สุด ทักษะความรอบรู้ด้านสารสนเทศและทักษะด้านการจัดการสนเทศอยู่ในระดับมาก ซึ่งแสดงถึงประสิทธิผลของโปรแกรมการนิเทศร่วมกับคิวอาร์โค้ด เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในองค์กรทั้งในด้านความสะดวก ปลอดภัย ลดต้นทุน และเวลาในการบริหาร</p> 2024-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JHR/article/view/271580 การพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีไร้สายเพื่อติดตามอาการผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 ในระยะฟื้นฟูที่บ้าน 2024-07-04T15:45:40+07:00 พิศิษฐ์ พลธนะ ppoltana@snc.ac.th จารุวรรณ สนองญาติ jaruwan@snc.ac.th เรวดี โพธิ์รัง rawadee@snc.ac.th ขวัญฤทัย ธรรมกิจไพโรจน์ khanreothai@snc.ac.th <p><strong>บทนำ : </strong>เทคโนโลยีไร้สายเป็นอุปกรณ์หนึ่งสำหรับติดตามอาการผู้ป่วยจากการติดเชื้อโควิด<strong>-</strong>19 ในระยะฟื้นฟูที่บ้าน และช่วยให้ผู้ป่วยประเมินอาการและวางแผนการดูแลตนเองเบื้องต้นได้อย่างถูกต้อง</p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย : </strong>1) เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและพัฒนานวัตกรรมฯ และ 2) ศึกษาผลของนวัตกรรมเทคโนโลยีไร้สายในการติดตามอาการผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ระยะฟื้นฟูที่บ้าน</p> <p><strong>วิธีดำเนินการวิจัย : </strong>การวิจัยและพัฒนานี้ แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ 1) วิเคราะห์ปัญหาและการพัฒนานวัตกรรม โดยใช้กรอบแนวคิด ADDIE Model และ 2) การศึกษาผลของนวัตกรรมฯ วิจัยแบบกึ่งทดลอง แบ่งเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 50 คน วัดก่อนและหลังการทดลอง ใช้เวลาดำเนินการ 4 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ คือนวัตกรรมเทคโนโลยีไร้สายติดตามอาการผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ระยะฟื้นฟูที่บ้าน และแบบวัดพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา สถิติเชิงพรรณนา และสถิติการทดสอบที</p> <p><strong>ผลการวิจัย : </strong>พบว่า 1) การติดตามอาการผู้ป่วยทำได้ผ่านเทคโนโลยีติดไร้สายติดตามอาการผู้ป่วยและใช้หลักการวัดสัญญาณชีพและวัดความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือดที่แสดงค่าต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการประเมินปัญหาอาการ พร้อมวางแผนการดูแลตนเองและให้คำแนะนำ และ 2) กลุ่มทดลองในระยะหลังทดลองมีพฤติกรรมในการดูแลตนเองดีกว่าก่อนทดลองและดีกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <p><strong>สรุปผล : </strong>นวัตกรรมเทคโนโลยีไร้สายติดตามอาการผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ระยะฟื้นฟูที่บ้านที่พัฒนาขึ้นมีผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองหลังติดเชื้อโควิด-19 ระยะฟื้นฟูที่บ้านที่ดีขึ้น</p> 2024-12-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JHR/article/view/272191 การพัฒนาแนวปฏิบัติการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจในเด็กสำหรับผู้ดูแลเด็กของศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน 2024-07-17T09:43:34+07:00 จุฑาทิพย์ เดชเดชะ sompratthana@bnc.ac.th ศิริวรรณ ใบตระกูล sirin08@hotmail.com จิราพร เป็งราชรอง jiraporn.peng@mail.bcnlp.ac.th ณิชกานต์ นาควิโรจน์ nichakarn.n@mail.bcnlp.ac.th จิตอารี ชาติมนตรี ่jitaree.chat@gmail.com สมปรารถนา สุดใจนาค sompratthana@bnc.ac.th <p><strong>บทนำ : </strong>โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจในเด็กปฐมวัยเป็นปัญหาสำคัญที่พบบ่อยในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน การพัฒนาแนวปฏิบัติสำหรับผู้ดูแลเด็กจึงมีความสำคัญในการป้องกันและควบคุมโรค</p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย :</strong> เพื่อศึกษาสถานการณ์ พัฒนาแนวปฏิบัติ และประเมินผลของการใช้แนวปฏิบัติการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจในเด็กสำหรับผู้ดูแลเด็กของศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน</p> <p><strong>วิธีดำเนินการวิจัย :</strong> การวิจัยและพัฒนา แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์โดยสนทนากลุ่มกับครูพี่เลี้ยง 4 คนและผู้ปกครอง 6 คน ระยะที่ 2 พัฒนาแนวปฏิบัติ และระยะที่ 3 ทดลองใช้แนวปฏิบัติกับครูพี่เลี้ยง 10 คน และผู้ปกครอง 70 คน เครื่องมือ ได้แก่ แนวคำถามการสนทนากลุ่มและแบบสอบถาม วิเคราะห์เชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา วิเคราะห์เชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา และ Wilcoxon signed-rank test และ Paired t-test</p> <p><strong>ผลการวิจัย :</strong> ระยะที่ 1 พบปัญหาสำคัญ 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านบุคลากรที่ขาดทักษะการประเมินโรคและการสื่อสาร 2) ด้านการดำเนินงานที่ขาดระบบติดตามและเฝ้าระวัง และ 3) ด้านทรัพยากรที่มีข้อจำกัด ในการจัดหาอุปกรณ์และสถานที่ ระยะที่ 2 พัฒนาแนวปฏิบัติ ประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก ได้แก่ แนวปฏิบัติการป้องกันโรค และแนวปฏิบัติการควบคุมโรค ระยะที่ 3 พบว่า ครูพี่เลี้ยงมีคะแนนพฤติกรรมโดยรวมสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;.05) แต่คะแนนความรู้ไม่แตกต่าง ส่วนผู้ปกครองมีคะแนนทั้งด้านความรู้ และพฤติกรรมสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;.001)</p> <p><strong>สรุปผล :</strong> แนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้นสามารถพัฒนาพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคของครูพี่เลี้ยง และสามารถเพิ่มความรู้และพฤติกรรมของผู้ปกครองได้อย่างมีประสิทธิผล</p> 2024-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JHR/article/view/271383 ปัจจัยทำนายภาวะกดดันทางจิตใจของนักศึกษาพยาบาล สถาบันการศึกษาแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี 2024-08-07T09:57:00+07:00 ชุติมา จิรัฐิเกรียงไกร chutima.j@siu.ac.th วีนา วิทยเจียกขจร weena.v@siu.ac.th มลฤดี เพ็ชร์ลมุล monrudee.p@siu.ac.th <p><strong>บทนำ :</strong> ภาวะกดดันทางจิตใจในนักศึกษาพยาบาลเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่สำคัญ เนื่องจากนักศึกษาต้องเผชิญกับความเครียดและความกดดันจากการเรียนและการฝึกปฏิบัติที่เข้มงวด ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตและการปฏิบัติงานในอนาคตได้</p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย :</strong> เพื่อศึกษาภาวะกดดันทางจิตใจและปัจจัยทำนายภาวะกดดันทางจิตใจของนักศึกษาพยาบาล สถาบันการศึกษาแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี</p> <p><strong>วิธีดำเนินการวิจัย :</strong> การวิจัยเชิงทำนาย ตัวอย่าง คือ นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต สถาบันการศึกษาแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 352 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินสุขภาพทั่วไป แบบประเมินความรู้สึกเครียด แบบประเมินการรับรู้สนับสนุนทางสังคมแบบพหุมิติ และแบบประเมินกลยุทธ์ในการรับมือกับความเครียดแบบสั้นฉบับภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ เชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ</p> <p><strong>ผลการวิจัย :</strong> ตัวอย่างร้อยละ 66.76 มีภาวะกดดันทางจิตใจ การรับรู้ความเครียด (β=.52, p&lt;.001) และการรับรู้การสนับสนุนทางสังคม (β=-.11, p&lt;.05) สามารถทำนายภาวะกดดันทางจิตใจได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของภาวะกดดันทางจิตใจของนักศึกษาพยาบาลได้ร้อยละ 35 (R<sup>2</sup>=.35, F=37.31, p&lt;.001) ส่วนการจัดการความเครียดแบบมุ่งแก้ไขปัญหา การจัดการความเครียดแบบมุ่งจัดการอารมณ์ และการจัดการความเครียดแบบไม่เหมาะสมไม่สามารถทำนายภาวะกดดันทางจิตใจได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p> <p><strong>สรุปผล : </strong>สถาบันการศึกษา และคณาจารย์ผู้เกี่ยวข้องควรพัฒนามาตรการและกลยุทธ์เพื่อลดความเครียดและเพิ่มการสนับสนุนทางสังคมจะช่วยลดภาวะกดดันทางจิตใจในนักศึกษาพยาบาลได้</p> 2024-12-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JHR/article/view/270146 การพัฒนารูปแบบการดูแลทารกแรกเกิดที่มีภาวะวิกฤตโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ โรงพยาบาลเครือข่ายในจังหวัดปทุมธานี 2024-11-05T11:43:09+07:00 อรทัย ศิลป์ประกอบ orathai_ss@hotmail.com ปุณณภา ศรีสมบูรณ์ punnapakob@gmail.com <p><strong>บทนำ</strong><strong> : </strong>การพัฒนารูปแบบการดูแลที่มีคุณภาพ ทีมสหสาขาวิชาชีพมีความสำคัญ ลดภาวะแทรกซ้อนและอัตราการเสียชีวิตในทารกแรกเกิดที่มีภาวะวิกฤต</p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย </strong><strong>: </strong>เพื่อพัฒนารูปแบบและประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการดูแลทารกแรกเกิดที่มีภาวะวิกฤตโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ โรงพยาบาลเครือข่ายในจังหวัดปทุมธานี</p> <p><strong>วิธีดำเนินการวิจัย </strong><strong>: </strong>การวิจัยและพัฒนา ประกอบด้วย 2 ระยะ ได้แก่ 1) พัฒนารูปแบบการดูแลทารกแรกเกิดที่มีภาวะวิกฤตฯ ศึกษาปัญหาจากการสัมภาษณ์เชิงลึก และสนทนากลุ่ม นำข้อมูลมาพัฒนารูปแบบการดูแลทารกแรกฯ 2) ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบฯ เก็บข้อมูลจากบุคลากรสหสาขาวิชาชีพ 30 คน ศึกษานำร่องกับทารกแรกเกิดกลุ่มที่ 1 จำนวน 69 ราย และศึกษาหลังจากพัฒนารอบที่ 2 จำนวน 50 ราย โดยใช้ แบบสอบถามความพึงพอใจของทีมสหสาขาฯ แบบบันทึกผลลัพธ์ของทารก วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p><strong>ผลการวิจัย </strong><strong>: </strong>รูปแบบการดูแลทารกแรกเกิดวิกฤตฯ ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย การสร้างเครือข่าย ขยายจำนวนเตียง การให้ความรู้ การสอนงาน การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง การกำกับติดตาม การประเมินผล การให้ข้อมูลย้อนกลับ และการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบฯ พบว่า ทีมสหสาขาฯ มีความพึงพอใจต่อรูปแบบในระดับมาก (=4.20, SD=0.70) และผลลัพธ์ตามมาตรฐานการดูแลทารกแรกเกิดขณะส่งต่อดีขึ้นทุกด้าน</p> <p><strong>สรุปผล </strong><strong>: </strong>รูปแบบการดูแลทารกแรกเกิดฯ ตามแนวคิดการทำงานเป็นเครือข่ายที่พัฒนาขึ้นช่วยการดูแลที่ครอบคลุม และการทำงานมีการเชื่อมต่อที่มีศักยภาพ สามารถช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของทารกและเพิ่มความพึงพอใจของบุคลากร</p> 2024-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JHR/article/view/274658 การพัฒนารูปแบบการบริการการแพทย์ฉุกเฉินในผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติด ที่อยู่ในภาวะอันตรายก่อนถึงโรงพยาบาล 2024-11-04T10:50:02+07:00 สมาพร จิตบุณยเกษม samaporn117230@gmail.com จันทิมา นวะมะวัฒน์ juntima@bcnsprnw.ac.th ปรียาภัสสร์ เหล็กเพชร jiwjiw4297@gmail.com <p><strong>บทนำ</strong> : อัตราป่วยทางจิตเวชและยาเสพติดที่อยู่ในภาวะอันตรายมีแนวโน้มสูงขึ้น ถึงแม้ผู้ป่วยเข้ารับรักษาในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น แต่ขาดความต่อเนื่องในการดูแล และเข้าถึงบริการล่าช้า</p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย</strong> : เพื่อพัฒนารูปแบบการการบริการการแพทย์ฉุกเฉินในผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติด</p> <p>ที่อยู่ในภาวะอันตรายก่อนถึงโรงพยาบาล และประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการบริการการแพทย์ฉุกเฉินในผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดที่อยู่ในภาวะอันตรายก่อนถึงโรงพยาบาล</p> <p><strong>วิธีดำเนินการวิจัย</strong> : การวิจัยและพัฒนานี้ มี 5 ขั้นตอน ตัวอย่าง คือ ผู้บริหารโรงพยาบาล หัวหน้าฝ่ายการพยาบาล หัวหน้าห้องฉุกเฉิน พยาบาล ฝ่ายปกครอง ตำรวจ ชุมชน ผู้ดูแลผู้ป่วย และผู้ป่วย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีสนทนากลุ่ม สัมภาษณ์เชิงลึก บันทึกทางการพยาบาล และประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ วิธีวิเคราะห์เนื้อหาแบบสรุปความ วิเคราะห์ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p><strong>ผลการวิจัย</strong> : รูปแบบการบริการทางการแพทย์ฉุกเฉินในผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดที่อยู่ในภาวะอันตรายก่อนถึงโรงพยาบาล มี 4 องค์ประกอบ คือ 1) กลไกการดำเนินงาน 2) ชุดปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน 3) แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยก่อนถึงโรงพยาบาล และ 4) การสื่อสารและการประสานงาน ประสิทธิผลเมื่อนำรูปแบบไปใช้พบว่า ผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ทุกคนปลอดภัย ลดระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ผู้ป่วยได้รับการรักษาเร็วขึ้น บุคลากรที่ดูแลผู้ป่วยมีความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานตามรูปแบบในระดับมากที่สุด</p> <p><strong>สรุปผล</strong> : รูปแบบการบริการการแพทย์ฉุกเฉินระยะก่อนถึงโรงพยาบาลนี้เป็นปฏิบัติการโดยความร่วมมือของภาคีสุขภาพ ที่มีการกำหนดบทบาทหน้าที่ และแนวทางดำเนินงานที่ชัดเจน จึงทำให้ดูแลผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> 2025-01-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JHR/article/view/271533 การพัฒนาพฤติกรรมการจัดการตนเองสำหรับวัยรุ่นในการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อม 2024-12-02T15:08:36+07:00 หทัยรัตน์ บุษยพรรณพงศ์ hathairat@bcnchainat.ac.th สายฝน อำพันกาญจน์ fon.rainy8@gmail.com อภิสรา ใจแสน 572201098@bcnchainat.ac.th เนตร์นภา พรฐิตานนท์ natepurepornthitanon@gmail.com <p><strong>บทนำ </strong><strong>:</strong> การตั้งครรภ์ไม่พร้อมมักเกิดกับวัยรุ่น การแก้ปัญหาที่เหมาะสมจึงควรหาสาเหตุที่เกี่ยวข้องและแก้ไขให้ตรงสาเหตุ</p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย : </strong>เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบพฤติกรรมการจัดการตนเองสำหรับวัยรุ่นเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อม</p> <p><strong>วิธีดำเนินการวิจัย : </strong>การวิจัยและพัฒนา โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 จำนวน 40 คน จากโรงเรียนมัธยมในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุทัยธานี ชัยนาทและองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เครื่องมือวิจัยเป็นรูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมการจัดการตนเอง ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นจากแนวคิดการจัดการตนเอง (Self–management) ของ Kanfer และ Gaelick-Bays ร่วมกับรูปแบบของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้วยเทคนิค 5A ของ Glasgow และคณะ ประกอบด้วยแผนการสอน คู่มือฯ สมุดบันทึกพฤติกรรมฯ ข้อสอบและแบบสอบถามพฤติกรรมการจัดการตนเองฯ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที</p> <p><strong>ผลการวิจัย : </strong>พบว่า 1) ได้รูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมการจัดการตนเองสำหรับวัยรุ่นในการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อม 2) ประสิทธิผลของรูปแบบฯ พบว่าความรู้ความเข้าใจของนักเรียนหลังใช้รูปแบบฯ สูงกว่าก่อนใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีพฤติกรรมการจัดการตนเองในระดับดีมาก และมีความพึงพอใจต่อรูปแบบฯ ในระดับมากถึงมากที่สุด </p> <p><strong>สรุปผล : </strong>การพัฒนาพฤติกรรมการจัดการตนเองสำหรับวัยรุ่นในการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อม หากวัยรุ่นได้รับความรู้มีการติดตามกำกับให้เกิดความเข้าใจในการจัดการตนเอง เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมจะสามารถจัดการตัวเองได้ดี </p> 2024-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี