TY - JOUR AU - ตันตะโยธิน, สายฝน AU - มาลารัตน์, อนันต์ AU - จันทน์ขาว, สิงหา PY - 2022/08/31 Y2 - 2024/03/29 TI - รูปแบบการจัดการสุขภาพในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง กรณีศึกษา: ชุมชนแห่งหนึ่งในเขตภาคกลาง JF - วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี JA - BCNNON Hlth Sci Res J VL - 16 IS - 2 SE - DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JHR/article/view/255048 SP - 111-123 AB - <p><strong>บทนำ </strong><strong>:</strong> โรคความดันโลหิตสูงเป็นปัญหา สาธารณสุขที่สำคัญ การศึกษาการจัดการสุขภาพในผู้ป่วยโรคนี้ในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน จะสามารถนำไปใช้พัฒนารูปแบบจัดการสุขภาพในผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม</p><p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย</strong> <strong>: </strong>เพื่อศึกษาบริบทในการจัดการสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในชุมชน ศึกษากระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในระดับบุคคลตามแบบจำลอง ADKAR และศึกษาพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง </p><p><strong>วิธีการวิจัย</strong> <strong>: </strong>การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีผู้มีส่วนร่วมในการวิจัย ประกอบด้วยทีมจัดการสุขภาพในชุมชน จำนวน 10 คน ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 16 คน และผู้ดูแล จำนวน 16 คน เก็บข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์ และการให้ตอบแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และการใช้สถิติเชิงพรรณนา</p><p><strong>ผลการวิจัย </strong><strong>:</strong> บริบทในการจัดการสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในชุมชน ประกอบด้วยกระบวนการวางแผน การบริหารจัดการ การดำเนินการ และการติดตามประเมินผล ผลการวิเคราะห์กระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านการตระหนักรู้ ด้านความปรารถนา ด้านความรู้ ด้านความสามารถ ด้านการเสริมแรงสนับสนุน ของผู้ดูแลและผู้ป่วยมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน และผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีพฤติกรรมสุขภาพภาพรวมด้านอาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ สูบบุหรี่ สุรา ยา อยู่ในระดับปานกลาง (<em>M</em>=3.31)</p><p><strong>สรุปผล </strong><strong>: </strong>ผลการวิจัยทำให้ทราบบริบทในการจัดการสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในชุมชน และระดับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน และพฤติกรรมของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง อันนำไปเป็นข้อมูลเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการสุขภาพที่เหมาะสมต่อไป</p> ER -