@article{สนใจ_2021, title={ผลของการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมสุขภาพและสมรรถภาพไต ของผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะไตเสียหน้าที่ระยะที่ 3}, volume={15}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JHR/article/view/249279}, abstractNote={<p><strong>บทนำ </strong><strong>: </strong>ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีไตเสียหน้าที่ระยะที่ 3 สามารถเปลี่ยนแปลงกลับไปสู่ระยะที่ 2 หรือ ระยะที่ 1 ได้ หากมีการจัดการตนเองที่เหมาะสม</p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย </strong><strong>:</strong> เพื่อศึกษาผลของการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมสุขภาพและสมรรถภาพไตของผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะไตเสียหน้าที่ระยะที่ 3</p> <p><strong>วิธีการวิจัย </strong><strong>:</strong> การวิจัยกึ่งทดลอง สองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง ตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน และหรือผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ที่มีภาวะไตเสียหน้าที่ระยะที่ 3 จำนวน 60 คน      โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 30 คน กลุ่มทดลองจะได้รับกิจกรรมการจัดการตนเอง เป็นเวลา 12 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการทดลอง โดยใช้ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล  แบบประเมินพฤติกรรมสุขภาพ และแบบบันทึกผลการตรวจเลือดระดับค่าซีรั่มครีเอตินิน วิเคราะห์ข้อมูลโดย การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ชนิดสองกลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน</p> <p><strong>ผลการวิจัย</strong><strong> :</strong> พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพสูงกว่ากลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลอง  มีระดับค่าซีรั่มครีเอตินินลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05</p> <p><strong>สรุปผล </strong><strong>:</strong> การจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะไตเสียหน้าที่ระยะที่ 3 ที่เหมาะสม ส่งผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพและสมรรถภาพไตดีขึ้น</p>}, number={3}, journal={วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี}, author={สนใจ วันวิสาข์}, year={2021}, month={ธ.ค.}, pages={120–132} }