@article{จันธิมา_สารีโส_2021, title={การประยุกต์ใช้กลยุทธ์ PEMEC เพื่อขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มพึ่งพาตำบลศรีเมืองชุม อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย}, volume={15}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JHR/article/view/248962}, abstractNote={<p><strong>บทนำ :</strong> การดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชนต้องการการมีส่วนร่วมจากชุมชนและภาคีเครือข่าย เพื่อขับเคลื่อนการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มพึ่งพาให้เกิดประสิทธิผล เข้มแข็งและยั่งยืน</p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย :</strong> เพื่อขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มพึ่งพา และทดสอบประสิทธิผลของการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยเปรียบเทียบคะแนน ADL ค่าเฉลี่ยการมีส่วนร่วมของชุมชนและความพึงพอใจ</p> <p><strong>วิธีการวิจัย :</strong> การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมด้วยกลยุทธ์ PEMEC มี 4 ขั้นตอน ดังนี้ <br>1) การศึกษาสถานการณ์ 2) การพัฒนารูปแบบ 3) ระยะดำเนินการ 4) การประเมินผลลัพธ์ ดำเนินการระหว่างเดือนธันวาคม 2562 - กรกฎาคม 2563 เลือกตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 124 คน คือ 1)  ภาคประชาชน 2) ภาคท้องถิ่น และ 3) ภาคสุขภาพ  เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แนวคำถามในการสนทนากลุ่ม แบบสัมภาษณ์การมีส่วนร่วมและความพึงพอใจและแบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นต่อการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มพึ่งพา เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่มวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p><strong>ผลการวิจัย :</strong> การใช้กลยุทธ์  PEMEC ทำให้เกิดการบูรณาการการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวอย่างเป็นระบบ ผู้สูงอายุกลุ่มพึ่งพามีคะแนน ADL เพิ่มขึ้น คะแนนเฉลี่ยของการมีส่วนร่วมทุกด้านหลังดำเนินงานเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (p<.001) และคะแนนความพึงพอใจต่อการมีส่วนร่วมก่อนการดำเนินงานน้อยกว่าหลังการดำเนินงาน (p<.001)</p> <p><strong>สรุปผล :</strong> การนำกลยุทธ์ PEMEC มาใช้ในการขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมในชุมชนช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้เพิ่มขึ้น</p>}, number={3}, journal={วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี}, author={จันธิมา ปราณี and สารีโส พรทิพย์}, year={2021}, month={ธ.ค.}, pages={59–70} }