https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JCHH/issue/feed วารสารวิชาการกัญชา กัญชง และสมุนไพร 2024-04-30T12:04:58+07:00 ผศ.ดร.นำพน พิพัฒน์ไพบูลย์ [email protected] Open Journal Systems <p><strong><u>วัตถุประสงค์ </u></strong></p> <p>วารสารวิชาการกัญชา กัญชงและสมุนไพร ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร ดำเนินการจัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสื่อกลางในการเผยแผ่ความรู้สำหรับนักวิชาการ คณาจารย์ นักวิจัยและผู้สนใจ ให้มีแหล่งในการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ งานวิจัย และผลงานสร้างสรรค์ความรู้และวิทยาการที่เกี่ยวข้องกับด้านกัญชา กัญชงและสมุนไพร</p> <p><strong>ISSN Online</strong> 2985-0177 </p> <p><strong><u>กลุ่มและขอบเขตของงานที่เปิดรับแบ่งเป็น </u></strong><strong><u>3 กลุ่ม </u></strong></p> <p>กลุ่มที่ 1 กลุ่มงานที่เกี่ยวข้องกับกัญชา กัญชงและสมุนไพร</p> <p>กลุ่มที่ 2 กลุ่มงานด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับกัญชา กัญชงและสมุนไพร</p> <p>กลุ่มที่ 3 กลุ่มงานด้านบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ การค้า และเชิงพาณิชย์ที่เกี่ยวข้องกับกัญชา กัญชงและสมุนไพร</p> <p><strong><u>ตีพิมพ์ปีละ </u></strong><strong><u>3 ฉบับต่อปี ฉบับละ 3 เรื่อง</u></strong></p> <p>ฉบับที่ 1 ระหว่างเดือนมกราคม-เมษายน</p> <p>ฉบับที่ 2 ระหว่างเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม</p> <p>ฉบับที่ 3 ระหว่างเดือนกันยายน-ธันวาคม</p> <p><strong><u>กระบวนการพิจารณาบทความ </u></strong></p> <p>บทความจะผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความที่มีความรู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านหรือมีความเกี่ยวข้องตั้งแต่ 2 ท่านขึ้นไป โดยผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แต่งไม่ทราบชื่อกันและกัน (Double-Blind)</p> <p><strong><u>ประเภทของบทความ</u></strong></p> <p>บทความวิจัย (Research article)</p> <p>บทความวิชาการ (Academic article)</p> <p><strong><u>ภาษา</u></strong> ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ</p> <p><strong>(ไม่มีค่าธรมมเนียมในการเผยแผ่สำหรับวารสารวิชาการกัญชา กัญชง และสมุนไพร)</strong></p> <p> </p> <p> </p> <p> </p> <p> </p> https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JCHH/article/view/267930 สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพและฤทธิ์การต้านออกซิเดชันในหอมแดงและเปลือกหอมแดงศรีสะเกษ 2024-02-16T09:55:23+07:00 จิรนันต์ รัตสีวอ [email protected] กู้เกียรติ เวียงหฤทัย [email protected] ขนิษฐา ฉิมพาลี [email protected] <p>งานวิจัยนี้ได้ศึกษาสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพและฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระในหอมแดง (Allium ascalonicum L.) และเปลือกหอมแดงศรีสะเกษ นำมาวิเคราะห์ปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมดและฟลาโวนอยด์ทั้งหมด รวมถึงฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH และ FRAP ผลการศึกษาพบว่าตัวอย่างเปลือกหอมแดงมีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกและฟลาโวนอยด์ทั้งหมด (99.68 mg GAE/g dry basis และ 67.97±0.85 mg RE/g dry basis ตามลำดับ) สูงกว่าในตัวอย่างหอมแดง (p &lt;0.05) ตัวอย่างเปลือกหอมแดงมีฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH (365.23±4.78 mg TE/g dry basis) และฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี FRAP (103.42 ±3.94 mg FeSO4/g dry basis) สูงกว่าในตัวอย่างหอมแดง (p &lt;0.05) ดังนั้นข้อมูลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าหอมแดงและเปลือกหอมแดงสามารถเป็นข้อมูลพื้นฐานในการนำไปประยุก ใช้ในการพัฒนาอาหารเพื่อสุขภาพต่อไป</p> 2024-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการกัญชา กัญชง และสมุนไพร https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JCHH/article/view/268215 การศึกษารวบรวมสมุนไพรที่มีสรรพคุณแก้ไข้ในตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป 2024-01-08T11:19:00+07:00 ศศิเจริญ เจริญสุข [email protected] ศิริวรรณ เกตุเพชร [email protected] จักรกฤษณ์ คณารีย์ [email protected] วนิษา ปันฟ้า [email protected] <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมและจัดหมวดหมู่ข้อมูลสมุนไพรเดี่ยวที่มีสรรพคุณแก้ไข้ที่ปรากฏในตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไปของกองการประกอบโรคศิลปะ โดยรวบรวมชื่อและสรรพคุณของพืชสมุนไพร จากนั้นนำมาตรวจสอบความซ้ำซ้อนของชนิดสมุนไพร และสรุปจำนวนสมุนไพร พร้อมทั้งจัดหมวดหมู่สมุนไพรตามสรรพคุณการแก้ไข้ ซึ่งการศึกษานี้ได้รวบรวมข้อมูลสมุนไพรเดี่ยวที่มีสรรพคุณแก้ไข้ในตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไปของกองการประกอบโรคศิลปะ ประกอบด้วย ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเวชกรรม เล่ม 1-3 ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาการผดุงครรภ์ และหนังสือตำรับยาแผนโบราณ ผลการศึกษาพบว่าข้อมูลสมุนไพรเดี่ยวที่มีสรรพคุณแก้ไข้ สามารถพบได้ในตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเวชกรรม และตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขา เภสัชกรรม โดยตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเวชกรรม พบสมุนไพรเดี่ยวที่มีสรรพคุณแก้ไข้จำนวน 35 ชนิด และ ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม พบสมุนไพรเดี่ยวที่มีสรรพคุณแก้ไข้ จำนวน 238 ชนิด เมื่อนำข้อมูลทั้ง 2 แหล่งมารวมกัน และตรวจสอบความซ้ำซ้อนของสมุนไพร พบสมุนไพรเดี่ยวที่มีสรรพคุณแก้ไข้ จำนวน 255 ชนิด และสามารถจัดกลุ่มในการแก้ไข้ตามสรรพคุณได้ทั้งหมด 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) ไข้ธรรมดาที่เกิดจากความร้อน 2) ไข้ที่มีความร้อนสูงที่รักษาต้องด้วยการกระทุ้งพิษไข้ และ 3) ไข้ที่มีความเฉพาะ จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นถึงสมุนไพรเดี่ยวที่มีสรรพคุณแก้ไข้ในตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไปของกองการประกอบโรคศิลปะ โดยผลการศึกษานี้มีประโยชน์ต่อการพัฒนายาแก้ไข้ด้วยสมุนไพรของแพทย์แผนไทยในอนาคต</p> 2024-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการกัญชา กัญชง และสมุนไพร