วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JCCPH Journal of Council of Community Public Health สภาการสาธารณสุขชุมชน th-TH วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน 2730-1729 <ul> <li class="show">บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย</li> <li class="show">บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน</li> </ul> ความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองดี อำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JCCPH/article/view/274525 <p>การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ระดับความรอบรู้<br />ด้านสุขภาพ พฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทั้งสอง การศึกษาดำเนินการในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองดี อำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 92 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและแบบประเมินปัญหาการดื่มสุรา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก</p> <p><strong> </strong>ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพอยู่ในระดับพอเพียงทุกทักษะ แต่มีพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์อยู่ในระดับเสี่ยง (ร้อยละ 40.22) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์แสดงให้เห็นว่า ผู้ที่มีทักษะการตัดสินใจอยู่ในระดับมีปัญหาและไม่พอเพียงมีโอกาสดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แบบอันตรายและติดมากกว่ากลุ่มที่มีทักษะในระดับดีเยี่ยมและพอเพียงถึง 6.27 เท่า และโอกาสของกลุ่มที่มีทักษะการนำไปใช้ในระดับมีปัญหาและไม่พอเพียงจะดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แบบอันตรายและติด<br />ถึง 4.19 เท่า เมื่อเทียบกับกลุ่มตัวอย่างที่มีทักษะการนำไปใช้ในระดับดีเยี่ยมและพอเพียง ทั้งนี้ควรมุ่งเน้นการเสริมสร้างและพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับผู้บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงการบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาคส่วนเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิผล</p> จักรินทร์ ปริมานนท์ ปริฉัตร พิริยะพิเศษพงศ์ พัชรี เปรมปรีดา บุญเรือง ขาวนวล จุฬาวัลย์ ชนะสุข Copyright (c) 2024 วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-20 2024-12-20 6 3 116 128 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของพระภิกษุสงฆ์ในจังหวัดลำปาง https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JCCPH/article/view/274759 <p>การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของพระภิกษุสงฆ์ที่จำพรรษาในจังหวัดลำปางตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากพระภิกษุสงฆ์ 328 รูป วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและ logistic regression <br />ผลการศึกษาพบว่า อายุเฉลี่ย 48.4 ปี ระยะเวลาบวช 18.6 พรรษา สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษา <br />ร้อยละ 21.3 ส่วนใหญ่จบนักธรรมชั้นเอกและเป็นพระลูกวัด พบความชุกของการสูบบุหรี่ร้อยละ 44.8 (147 รูป) โดยมีการติดสารนิโคตินระดับสูงร้อยละ 14.3 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของพระภิกษุสงฆ์ในพื้นที่จังหวัดลำปาง ได้แก่ พระภิกษุที่บวชมา 20-30 พรรษา (AOR = 4.86, 95% CI= 1.56-15.10) การศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี โดยเฉพาะผู้ที่จบมัธยมศึกษาตอนต้น (AOR = 26.50, 95% CI= 3.62-193.73) <br />มีทัศนคติเกี่ยวกับบุหรี่ระดับปานกลาง (AOR = 6.02, 95% CI= 2.92-12.38) การรับรู้ธรรมนูญสุขภาพพระภิกษุสงฆ์แห่งชาติระดับปานกลาง (AOR = 3.44, 95% CI= 1.32-8.99) และได้รับปัจจัยเสริมระดับปานกลาง <br />(AOR = 7.36, 95% CI= 2.74-19.75) อย่างไรก็ตาม ปัจจัยป้องกันของการสูบบุหรี่ของพระภิกษุ ได้แก่ ตำแหน่งทางพระสังฆาธิการตั้งแต่ระดับเจ้าคณะตำบลขึ้นไป (AOR = 0.07, 95% CI: 0.01-0.76) และการรับรู้กฎหมายความคุมบริโภคยาสูบระดับปานกลาง (AOR = 0.13, 95% CI: 0.05-0.36) ดังนั้นควรบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานสาธารณสุข คณะสงฆ์ และชุมชนในการรณรงค์ลดการสูบบุหรี่โดยให้ความรู้เกี่ยวกับโทษ<br />ของบุหรี่และปรับเปลี่ยนทัศนคติ พัฒนามาตรการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันการสูบบุหรี่ที่เหมาะสมกับบริบทของพระสงฆ์</p> ชัยวัฒน์ เผดิมรอด กฤษณะพงษ์ ดวงสุภา สยัมภู ใสทา Copyright (c) 2024 วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-20 2024-12-20 6 3 129 143 การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JCCPH/article/view/272814 <p>การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาและความต้องการดูแลสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง 2) พัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม และ 3) ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบ การดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ (1) ศึกษาปัญหาและความต้องการดูแลสุขภาพ (2) พัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม (3) ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบ (4) วิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จและข้อเสนอเชิงนโยบาย กลุ่มตัวอย่าง คือ สหวิชาชีพ ผู้ดูแลและผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จำนวน 36 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง รูปแบบการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม และแบบประเมินกิจวัตรประจำวัน ตรวจสอบความตรงของเนื้อหา จากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน มีค่าดัชนีสอดคล้อง .67-1.00 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า 1. ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นและผู้ดูแลต้องการมีทักษะ<br />ในการดูแลสุขภาพ 2. รูปแบบมี 3 กิจกรรม ได้แก่ 1) การเตรียมการ 2) การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม <br />3) การให้คำปรึกษาและประเมินผล และ 3. ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง มีคะแนนระดับกิจวัตรประจำวัน หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 (<em>p</em>=.03)</p> <p>ข้อเสนอเชิงนโยบาย คือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรติดตามและประเมินผลดูแลสุขภาพครอบคลุมทุกมิติ รวมทั้งการเสริมสร้างความเข้มแข็งของทีมสหวิชาชีพและภาคีเครือข่าย</p> มัฏฐวรรณ ลี้ยุทธานนท์ ประไพพรรณ ทิพย์สุวรรณ Copyright (c) 2024 วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-12 2024-12-12 6 3 38 50 ผลของโปรแกรมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและแรงสนับสนุนทางสังคม ต่อพฤติกรรมการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลค่ายพิชัยดาบหัก จังหวัดอุตรดิตถ์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JCCPH/article/view/274779 <p>การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 36 คน ได้รับโปรแกรมการดูแลเท้าและกลุ่มควบคุม จำนวน 36 คน ระยะดำเนินกิจกรรม 8 สัปดาห์ เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามสำหรับเก็บรวบรวมข้อมูล และโปรแกรมการดูแลเท้า การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา <br />การวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบใช้สถิติ Paired sample t-test และ Independent t-test กำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า หลังได้รับโปรแกรม กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการดูแลเท้า การรับรู้สมรรถนะแห่งตน และแรงสนับสนุนทางสังคมเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนได้รับโปรแกรม เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม พบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมการดูแลเท้า การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการดูแลเท้า และแรงสนับสนุนทางสังคมเพิ่มมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ <br />(p &lt; 0.05) สรุปได้ว่าโปรแกรมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลเท้า สามารถนำไปส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลเท้าของผู้เบาหวานชนิดที่ 2 ได้</p> หนึ่งฤทัย แสงทอง ธนากร ธนวัฒน์ ณิชารีย์ ใจคำวัง Copyright (c) 2024 วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-16 2024-12-16 6 3 83 98 การพัฒนาระบบการจองคิวตรวจล่วงหน้าของผู้รับบริการผ่านแอปพลิเคชันหมอพร้อมในโรงพยาบบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JCCPH/article/view/272999 <p>ปัจจุบันสภาพความแออัดของผู้ป่วยที่มารอรับบริการตามโรงพยาบาลต่าง ๆ ของรัฐ และในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เป็นปัญหาที่ส่งผลทำให้ผู้ป่วยได้รับบริการที่ล่าช้ามากขึ้น ความพึงพอใจลดลงซึ่งระยะเวลาการรอคอยสะท้อนถึงคุณภาพการให้บริการและมีผลต่อความพึงพอใจของผู้รับบริการการวิจัย และพัฒนานี้ <br />มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการจองคิวตรวจล่วงหน้าผ่านแอปพลิเคชันหมอพร้อมในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะคือ 1) ศึกษาสภาพปัญหา<br />2) พัฒนาระบบการจองคิวตรวจล่วงหน้า ทดลองระบบ และปรับปรุงแก้ไข 3) ประเมินระยะเวลาที่รอคอย<br />และความพึงพอใจของผู้รับบริการ กลุ่มตัวอย่าง คือ แพทย์ พยาบาลวิชาชีพ เจ้าหน้าที่สารสนเทศ รวม 6 คน<br />และ ผู้รับบริการจำนวน 80 คน ระหว่างเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม 2567 โดยการ สังเกต การสัมภาษณ์<br />แบบบันทึกระยะเวลารอคอย และแบบสอบถามความพึงพอใจ ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยผู้ทรงคุณวุฒิ <br />3 คน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.67 – 1.00 แบบสอบถามความพึงพอใจต่อคุณภาพบริการ<br />และระบบการจองคิวตรวจล่วงหน้า เท่ากับ 0.86 และ 0.82 ตามดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ เปรียบเทียบระยะลาเวลารอคอยของผู้รับบริการก่อนและหลังใช้ระบบการจองคิวตรวจล่วงหน้าด้วยสถิติ Wilcoxon Signed Rank Test และการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัย พบว่าระบบบริการเดิมการนัดหมายใช้แบบแจกบัตรคิว ไม่ได้กำหนดเวลาและจำนวน<br />การนัดหมายที่ชัดเจน ไม่มีระบบจองคิวล่วงหน้า ผู้รับบริการมาพร้อมๆกัน เกิดความแออัดหน้าห้องตรวจ<br />การพัฒนาระบบการจองคิวตรวจล่วงหน้าผ่านแอปพลิเคชันหมอพร้อมผู้รับบริการมารับบริการตามเวลาที่ตนเองสามารถกำหนดได้ ทำให้ระยะเวลารอคอยหลังใช้ระบบจองคิวตรวจล่วงหน้าลดลงจากก่อนพัฒนาระบบ <br />จากเดิมเฉลี่ย 60 นาที 30 วินาที เป็น 20 นาที 10 วินาที อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อคุณภาพบริการ และความพึงพอใจของผู้จองคิวล่วงหน้าผ่านแอปพลิเคชัน <br />หมอพร้อมอยู่ในระดับมาก ดังนั้นการเพิ่มช่องทางระบบการจองคิวตรวจล่วงหน้าผ่านแอปพลิเคชันหมอพร้อม <br />มีความเหมาะสมช่วยลดเวลาที่รอคอยของผู้รับบริการและผู้รับริการมีความพึงพอใจเพิ่มขึ้นในการเข้าถึง<br />บริการสุขภาพ</p> วิทยา พลาอาด Copyright (c) 2024 วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-04 2024-12-04 6 3 21 37 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสพยาบ้าในทหารใหม่ จังหวัดอุตรดิตถ์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JCCPH/article/view/274792 <p>การวิจัยแบบภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความชุก, ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสพยาเสพติดของทหารกองประจำการ และแนวทางในการดูแลทหารกองประจำการที่มีความผิดปกติจากการเสพยาเสพติด ในระหว่างการฝึกทหารใหม่ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากทหารกองประจำการ ผลัดที่ 2/66 จังหวัดอุตรดิตถ์ และหาแนวทางในการดูแลทหารกองประจำการฯ จากผู้ปฏิบัติงานภายในหน่วยฝึกทหารใหม่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% แนวทางการดูแลทหารกองประจำการที่มีความผิดปกติจากการเสพยาเสพติด ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยทางสังคมและเศรษฐกิจ ปัจจัยสิ่งแวดล้อม และปัจจัยทางจิตวิทยา มีความสัมพันธ์กับประวัติการเสพยาเสพติดประเภทที่ 1 (ยาบ้า) ตลอดช่วงชีวิตที่ผ่านมา ก่อนมาเป็นทหารกองประจำการ ของทหารกองประจำการ จังหวัดอุตรดิตถ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และแนวทางการดูแลทหารกองประจำการฯ ที่มีความผิดปกติจากการเสพยาเสพติด ควรมีการดูแลที่มุ่งเน้นด้านการเฝ้าระวังโดยการสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด การเฝ้าระวังเมื่อมีอาการขาดยาระหว่างฝึก และการจัดการอบรมจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านยาเสพติด การจัดผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะ มาแนะนำและกำกับการดูแลทหารกองประจำการฯ</p> ปรารถนา ศุภลักษณ์ จักรกฤษณ์ พิญญาพงษ์ สุนีย์ กันแจ่ม Copyright (c) 2024 วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-20 2024-12-20 6 3 99 115 การใช้แพทย์ทางเลือกเสริมการแพทย์แผนปัจจุบันในการดูแลตนเองของผู้ป่วยมะเร็ง อำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JCCPH/article/view/273297 <p>วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการใช้แพทย์ทางเลือกเสริมการแพทย์แผนปัจจุบัน <br />ในการดูแลตนเอง 2) ปัจจัยที่ทำผู้ป่วยมะเร็งใช้การแพทย์ทางเลือกเสริมการแพทย์แผนปัจจุบันในการดูแลตนเอง 3) และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งใช้การแพทย์ทางเลือกเสริมการแพทย์แผนปัจจุบันในการดูแลตนเอง <br />เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรคือผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง จำนวน 173 คน คัดเลือก<br />กลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ซึ่งเป็นผู้ป่วยมะเร็งที่ใช้ชีวิตอยู่หลังการเป็นโรคมามากกว่า 5 ปี คัดเลือกจำนวน 10 ราย ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสำภาษณ์เชิงลึก การสังเกต การบันทึกเทป และการตอบแบบสอบถาม </p> <p> ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่าง ภายหลังใช้การแพทย์ทางเลือกเสริมการแพทย์แผนปัจจุบันในการดูแลตนเอง รู้สึกว่าสุขภาพกายและจิตใจ อยู่ในสภาวะที่ดีขึ้น ปัจจัยที่ทำผู้ป่วยมะเร็งใช้การแพทย์ทางเลือกเสริมการแพทย์แผนปัจจุบันในการดูแลตนเอง พบว่า ปัจจัยด้านความรู้ ส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาสมุนไพร ในระดับมาก ปัจจัยด้านความเชื่ออยู่ในระดับสูง ปัจจัยเอื้อ อยู่ในระดับสูง คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งที่รักษาด้วยแพทย์ทางเลือกเสริมการแพทย์แผนปัจจุบัน ในทุกด้านได้แก่ ทางกาย จิต สังคม สิ่งแวดล้อม <br />อยู่ระดับปานกลางทั้งหมด และภาพรวมก็อยู่ในระดับปานกลาง</p> <p> ดังนั้น การใช้แพทย์ทางเลือกเสริมการแพทย์แผนปัจจุบันสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง เป็นทางเลือกที่น่าสนใจและมีประโยชน์ แต่ต้องควรมีการดูแลและให้คำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้การใช้แพทย์ทางเลือก<br />เป็นไปอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในระยะยาว </p> วสุวัตติ์ พบลาภ Copyright (c) 2024 วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-12 2024-12-12 6 3 51 68 การพัฒนารูปแบบการจัดทำผลงานวิจัยทางด้านสาธารณสุข จังหวัดชุมพร https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JCCPH/article/view/275029 <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดทำผลงานวิจัยทาง<br />ด้านสาธารณสุขของบุคลากรในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชุมพร โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 96 คน ประกอบด้วย กลุ่มเครือข่ายวิชาการ จำนวน 20 คน โดยมีการเก็บข้อมูลกลุ่มผู้ที่เคยมีประสบการณ์การวิจัยมาแล้วและผู้ที่สนใจที่จะจัดทำผลงานวิจัย จำนวน 76 คน โดยใช้กระบวนการวางแผน ปฏิบัติ ตรวจสอบ ปรับปรุง (PDCA) ขั้นตอนการวางแผนโดยการกำหนดการพัฒนารูปแบบการจัดทำผลงานวิจัย ขั้นตอนการปฏิบัติโดยการจัดทำโครงการพัฒนาการจัดทำผลงานวิจัยด้านสาธารณสุขและโครงการเวทีนำเสนอผลงานวิชาการ<br />ด้านการวิจัย ขั้นตอนการตรวจสอบโดยการติดตามและประเมินผล และขั้นตอนการปรับปรุงโดยการปรับปรุงและแก้ไขกิจกรรม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินความรู้ ประเมินความพึงพอใจ แบบแบบบันทึกกระบวนการวิเคราะห์สวอท แบบบันทึกกระบวนการประชุมแบบมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ด้วยเทคนิคเอไอซี แบบบันทึกการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการบันทึกภาคสนาม และแบบสรุปผลงานวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการจัดทำผลงานวิจัยทางด้านสาธารณสุข ประกอบไปด้วย 4 กิจกรรม ได้แก่ 1) การประชุมเชิงปฏิบัติการโดยการมีส่วนร่วมโดยการวิเคราะห์ถึงปัจจัยที่ถูกควบคุมและการนำพลังปัญญาสร้างสรรค์ที่มีอยู่ในบุคคล 2) การกำหนดกลยุทธ์และกิจกรรมการพัฒนาศักยภาพ 3) การจัดกิจกรรมตามโครงการพัฒนาการจัดทำผลงานวิจัยด้านสาธารณสุขและโครงการเวทีนำเสนอผลวิชาการด้านการวิจัย <br />และ 4) การสังเกตและการประเมินผลการปฏิบัติ</p> <p>จากผลการพัฒนารูปแบบการจัดทำผลงานวิจัยทางด้านสาธารณสุข สถานบริการสาธารณสุขในแต่ละระดับ สามารถนำรูปแบบการการพัฒนาผลงานวิจัยซึ่งได้พัฒนามาอย่างมีระบบไปปรับใช้ให้เหมาะสมตามบริบทของแต่ละพื้นที่หรือสถานบริการดังกล่าว และพัฒนาให้ผลงานวิจัยได้เผยแพร่สู่สาธารณชนเพื่อประโยชน์<br />ต่อวงการแพทย์และสาธารณสุขต่อไป</p> อดิศร วิศาล กฤตย์ติวัฒน์ ฉัตรทอง Copyright (c) 2024 วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-23 2024-12-23 6 3 144 160 การดำเนินงานป้องกันโรคเบาหวานของหน่วยบริการปฐมภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JCCPH/article/view/273518 <p>การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานป้องกันโรคเบาหวานในหน่วยบริการปฐมภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ ประชากร คือ ผู้อำนวยการ พยาบาลวิชาชีพ <br />และนักวิชาการสาธารณสุขในหน่วยบริการปฐมภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ ทั้ง 86 แห่ง จำนวนรวมทั้งสิ้น 258 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์ และการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (82.2%) มีอายุอยู่ในช่วงตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป (39.5%) <br />มีระยะเวลาในการปฏิบัติงานช่วง 1 - 10 ปี (50%) หน่วยบริการปฐมภูมิส่วนใหญ่มีบุคลากรจำนวน 1 - 15 คนต่อแห่ง (89.1%) และเป็นหน่วยบริการปฐมภูมิขนาดใหญ่ (73.3%) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานป้องกันโรคเบาหวาน คือ ระบบสารสนเทศ (p-value = 0.046) และปัจจัยทำนายการดำเนินงานป้องกันโรคเบาหวานของหน่วยบริการปฐมภูมิ พบว่า ระบบสารสนเทศ (p-value = 0.047) และการสนับสนุนการตัดสินใจ (p-value = 0.015) เป็นปัจจัยทำนาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> <p>ดังนั้น คณะกรรมการ NCD Board ระดับอำเภอ ควรมีการทบทวนและปรับแนวเวชปฏิบัติอิงหลักฐานเป็นระยะ ควรมีการพัฒนาทบทวนองค์ความรู้บุคลากรเกี่ยวกับแนวเวชปฏิบัติ เพื่อให้บุคลากรมีความรู้<br />ที่เหมาะสมและเกิดความมั่นใจในการดำเนินงานป้องกันโรคเบาหวาน หน่วยบริการควรมีความพร้อมในระบบสารสนเทศ มีการอบรมบุคลากรเกี่ยวกับการบันทึกข้อมูลในระบบ Health Data Center มีการตรวจสอบ<br />และใช้ข้อมูลในการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานเพื่อนำมาปรับปรุงการดำเนินงานให้ดียิ่งขึ้น</p> ณิศรา ทิพย์วังเมฆ ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ นิทัศน์ ศิริโชติรัตน์ ศริยามน ติรพัฒน์ ชนิดา เลิศพิทักษ์พงศ์ Copyright (c) 2024 วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-04 2024-12-04 6 3 1 20 ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านวังยาว ตำบลดอนขุนห้วย อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JCCPH/article/view/273643 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ และศึกษาปัจจัยที่ส่งผล<br />ต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านวังยาว ตำบลดอนขุนห้วย อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ในเขตรับผิดชอบ<br />ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านวังยาว ตำบลดอนขุนห้วย อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 205 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ ประกอบด้วย 4 ตอน <br />1) ปัจจัยส่วนบุคคล 2) การรับรู้ภาวะสุขภาพ 3) แรงสนับสนุนทางสังคม และ 4) พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการวิเคราะห์<br />การถดถอยพหุคูณ</p> <p> ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับพฤติกรรมสุขภาพทุกด้าน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ <br />การจัดการความเครียด รองลงมา คือการออกกำลังกาย และ การรับประทานอาหารและ การปฏิบัติตน <br />เมื่อเจ็บป่วย ตามลำดับ ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ พบว่า ปัจจัยส่วนบุคลคล ได้แก่ <br />ที่มารายได้ เพศ โรคประจำตัว และแรงสนับสนุนทางสังคมร่วมกันทำนายพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุได้ 24.90% (Adjusted R<sup>2</sup> = 0.234, p&lt;0.05)</p> วารินทร์ แผนเจริญ Copyright (c) 2024 วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-12 2024-12-12 6 3 69 82