https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JCCPH/issue/feed วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน 2024-09-11T10:34:02+07:00 กองบรรณาธิการวารสาร the.jccph@gmail.com Open Journal Systems Journal of Council of Community Public Health https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JCCPH/article/view/271469 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้ และการรับรู้ประโยชน์การใช้มะระขี้นกรักษาเบาหวาน ของผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 ที่มารับยามะระขี้นก โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17 2024-06-27T13:16:20+07:00 ชุติญา ด้วงศาลเจ้า aumpol@kmpht.ac.th อำพล บุญเพียร aumpol@kmpht.ac.th <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ และการรับรู้ประโยชน์การใช้มะระขี้นกรักษาเบาหวาน <br />และศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับความรู้ และการรับรู้ประโยชน์การใช้มะระขี้นกรักษาเบาหวาน<br />ของผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 ที่มารับยามะระขี้นก โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17 เครื่องมือที่ใช้<br />เป็นแบบสอบถาม ประกอบไปด้วย 3 ตอน คือ 1) ปัจจัยบุคคล 2) ความรู้เรื่องการใช้มะระขี้นก 3) การรับรู้ประโยชน์ของมะระขี้นกรักษาเบาหวาน วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติไคสแควร์</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 56.60) มีอายุ 51 - 59 ปี <br />(ร้อยละ 48.90) การศึกษาระดับประถมศึกษา (ร้อยละ 40.50) รายได้ต่อเดือน 20,001–30,000 บาท <br />(ร้อยละ 43.40) อาชีพเกษตรกร (ร้อยละ 26.60) มีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้อยู่ที่ 5.94 คะแนน (S.D.=2.01) ค่าเฉลี่ยการรับรู้ประโยชน์อยู่ที่ 3.81 คะแนน (S.D.=0.23) โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้คือ อาชีพ (p=0.015) และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ประโยชน์ คือ อายุ (p=0.000) และการศึกษา (p=0.030) ดังนั้นจึงควรมีการนำปัจจัยที่มีความสัมพันธ์นี้ไปใช้ประกอบการวางแผนในการให้ความรู้แก่ผู้ป่วยเบาหวาน <br />ชนิดที่ 2 โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17 ต่อไป</p> 2024-07-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JCCPH/article/view/271974 การออกกำลังกายด้วยแรงสนับสนุนทางสังคมในผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนายาง อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ 2024-06-19T16:27:12+07:00 สมใจ สุดจิต lawman5565@gmail.com <p>การศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการออกกำลังกายด้วยแรงสนับสนุนทางสังคม โดยเป็นการวิจัย<br />แบบกึ่งทดลอง โดยเป็นการศึกษาแบบการวัดผลเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม <br />เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการออกกำลังกายด้วยแรงสนับสนุนทางสังคมของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนายาง ตำบลนายาง อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ ดำเนินการทดลองผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงของตำบลนายาง จำนวน 80 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 40 คน กลุ่มควบคุม จำนวน 40 คน โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง โดยใช้สถิติเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง <br />2 กลุ่มที่เป็นอิสระต่อกันด้วยการทดสอบที พบว่า ค่าเฉลี่ยของระดับคะแนนของแรงสนับสนุนทางสังคม<br />ในการออกกำลังกายของกลุ่มทดลองหลังได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกาย (43.27%) สูงกว่าค่าเฉลี่ยของระดับคะแนนของแรงสนับสนุนทางสังคมในการออกกำลังกายของกลุ่มทดลองก่อนได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกาย (34.23%) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Mean difference 9.03%; 95%CI 7.53 ถึง 10.54, p=≤0.001) ดังนั้น การใช้แรงสนับสนุนทางสังคม<br />ในการออกกำลังกายสามารถช่วยให้ผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถออกกำลังกายได้เพิ่มขึ้น<br />อย่างมีประสิทธิภาพ</p> 2024-07-17T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JCCPH/article/view/265990 รูปแบบการพัฒนาระบบคุณภาพและมาตรฐานทางห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอย่างยั่งยืน เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว 2024-05-13T10:19:05+07:00 กรณมณีธนา ปุณณศิริมั่งมี mol_mt@hotmail.com <p>การระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลต่อการพัฒนามาตรฐานห้องปฏิบัติการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอย่างต่อเนื่อง และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาวถูกเปลี่ยนเป็นการประเมินมาตรฐาน<br />หน่วยบริการปฐมภูมิ และเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการคงอยู่<br />ของการปฏิบัติงานตามระบบคุณภาพและมาตรฐานทางห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุข <br />และเพื่อศึกษาผลของรูปแบบการพัฒนาระบบคุณภาพและมาตรฐานทางห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์<br />และสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอย่างยั่งยืน เครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอตาพระยา <br />จังหวัดสระแก้ว ในระยะที่ 2 โดยใช้กระบวนการศึกษาวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ประยุกต์ใช้ร่วมกับแนวความคิดวงจรคุณภาพตามกระบวนการ PDSA ของ Deming ในบุคลากรผู้รับผิดชอบระบบคุณภาพและมาตรฐานทางห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุข จำนวน 30 คน วัดผลการวิจัยแบบ 1 กลุ่ม โดยวัดความรู้ผู้รับผิดชอบมาตรฐานของห้องปฏิบัติการ ประเมินระบบคุณภาพทางห้องปฏิบัติการ และความพึงพอใจของผู้ปฏิบัติงานก่อนและหลังการศึกษา รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถามความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย <br />ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ paired t-test ผลการศึกษาพบว่า คะแนนเฉลี่ยด้านความรู้ของผู้รับผิดชอบมาตรฐานทางห้องปฏิบัติการ และผลคะแนนจากการประเมินระบบคุณภาพและมาตรฐานทางห้องปฏิบัติการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em>=0.001) โดยทุกแห่งผ่านมาตรฐานอย่างต่อเนื่อง ผลสำรวจความพึงพอใจ<br />ของผู้ปฏิบัติงานตามมาตรฐานทางห้องปฏิบัติการ มีความพึงพอใจในระดับมาก ดังนั้นรูปแบบการพัฒนาระบบคุณภาพนี้สามารถใช้ได้ต่อเนื่อง และนำไปเป็นแบบอย่างในการพัฒนามาตรฐานอื่น และระบบคุณภาพ<br />ทางห้องปฏิบัติการยังคงมีมาตรฐานอย่างต่อเนื่อง</p> 2024-08-21T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JCCPH/article/view/272059 การศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยของบุคลากร สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 อุบลราชธานี 2024-07-24T13:36:49+07:00 ทศพงษ์ บุระมาน itisbenz@hotmail.com <p>การศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยของบุคลากรสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาศักยภาพด้านวิจัยของบุคลากรสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี และเพื่อเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นในการพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยของบุคลากรสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 <br />จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรจากขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตาราง Krejcie &amp; Morgan <br />ที่ความเชื่อมั่น 95% ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 145 คน จากนั้นได้ดำเนินการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ โดยสุ่มจากบุคลากรแต่ละกลุ่มงาน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนที่ 2 แบบสอบถามสภาพความเป็นจริงในปัจจุบันและความคาดหวังที่ต้องการให้เกิดขึ้น<br />ของบุคลากร ในการพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัย และส่วนที่ 3 ข้อเสนอแนะของผู้ตอบแบบสอบถามสำหรับ<br />การพัฒนาศักยภาพด้านวิจัย</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า ข้อมูลส่วนตัวของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่<em><br /></em>เป็นเพศหญิง จำนวน 82 คน คิดเป็นร้อยละ 56.55 อยู่ในตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุข มากที่สุด จำนวน 64 คน คิดเป็นร้อยละ 44.14 ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาตนเองด้านวิจัยของบุคลากรสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี พบว่า มีความต้องการจำเป็นเกือบทุกด้าน <br />แสดงให้เห็นถึงช่องว่างระหว่างสภาพที่เป็นอยู่กับสภาพที่คาดหวังในปัจจุบัน เมื่อนำมาเรียงลำดับความสำคัญ เมื่อใช้ดัชนีค่า PNI<sub>modified</sub> พบว่า ด้านที่มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ ด้านการศึกษาดูงาน ข้อเสนอแนะจากการศึกษาใครครั้งนี้ คือ สร้างรูปแบบ/แนวทาง สำหรับการพัฒนาสมรรถนะ<br />ทางด้านการทำวิจัย จากผลจากการศึกษาความต้องการจำเป็นในด้านศึกษาดูงาน</p> 2024-08-21T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JCCPH/article/view/269610 การจัดการสุขาภิบาลอาหารของร้านอาหาร ในเขตเทศบาลเมืองศิลา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 2024-07-10T13:33:05+07:00 ภัควลัญชญ์ พินิจมนตรี phakwalan1704@gmail.com <p>การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการสุขาภิบาลอาหารของร้านอาหาร <br />เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของการจัดการสุขาภิบาลอาหารของร้านอาหาร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล<br />และปัจจัยด้านความรู้การสุขาภิบาลอาหาร เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล<br />และปัจจัยด้านความรู้การสุขาภิบาลอาหารกับการจัดการสุขาภิบาลอาหารของร้านอาหาร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ประกอบการร้านอาหาร ที่ขึ้นทะเบียนขอรับใบอนุญาตกับเทศบาลเมืองศิลา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น <br />โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างจำนวน 218 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 100 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม <br />ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ .872 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย <br />ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสมมุติฐานการวิจัย โดยใช้ค่าสถิติ t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One way ANOVA) และค่าสถิติไคสแควร์ (Chi-Square) พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย <br />ร้อยละ 53.2.1 มีการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรีร้อยละ 73.4 มีอายุระหว่าง 30 - 50 ปี ร้อยละ 56.9 <br />มีรายได้ระหว่าง 15000 – 30000 บาท ร้อยละ 40.8 และมีประสบการณ์ระหว่าง 3-5 ปี ร้อยละ 39.4 <br />การจัดการสุขาภิบาลอาหารของร้านอาหารในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบความแตกต่าง<br />ของการจัดการสุขาภิบาลอาหารของร้านอาหารจำแนกตามเพศและอายุไม่แตกต่างกันที่ระดับ 0.05 <br />ผู้มีการศึกษาระดับปริญญาตรีและสูงกว่ามีค่าเฉลี่ยมากกว่าผู้มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี จำแนกตามปัจจัย<br />ด้านความรู้การควบคุมป้องกันโรคแตกต่างกัน แต่การจัดการสุขาภิบาลอาหารไม่แตกต่างกันที่ระดับ 0.05 จำแนกตามปัจจัยด้านความรู้การด้านโภชนาการอาหารแตกต่างกันที่ระดับ 0.05 ด้านทัศนคติต่อการประกอบอาหารแตกต่างกันที่ระดับ 0.05</p> <p>ผลเปรียบเทียบความแตกต่างของการจัดการสุขาภิบาลอาหารของร้านอาหารจำแนกตาม<br />ปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยด้านความรู้การสุขาภิบาลอาหาร 2.1) ปัจจัยส่วนบุคคลจำแนกตามเพศ<br />ไม่แตกต่างกันที่ระดับ 0.05 และเพศหญิงมีค่าเฉลี่ยมากกว่าเพศชายจำแนกตามการศึกษากลุ่มตัวอย่าง<br />ที่มีการศึกษาไม่แตกต่างกันที่ระดับ 0.05 ผู้มีการศึกษาระดับปริญญาตรีและสูงกว่ามีค่าเฉลี่ย<br />มากกว่าผู้มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีจำแนกตามอายุไม่แตกต่างกันที่ระดับ 0.05 จำแนกตามรายได้แตกต่างกัน<br />ที่ระดับ 0.05 จำแนกตามประสบการณ์แตกต่างกันที่ระดับ 0.05</p> <p>2.2) ปัจจัยด้านความรู้จำแนกตามปัจจัยด้านการเกิดโรคไม่แตกต่างกันที่ระดับ 0.05 จำแนกตาม<br />ปัจจัยด้านความรู้การควบคุมป้องกันโรคแตกต่างกันแต่การจัดการสุขาภิบาลอาหาร ไม่แตกต่างกันที่ระดับ 0.05 จำแนกตามปัจจัยด้านความรู้การด้านโภชนาการอาหารแตกต่างกันที่ระดับ 0.05 ด้านทัศนคติต่อการประกอบอาหารแตกต่างกันที่ระดับ 0.05</p> 2024-08-21T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JCCPH/article/view/272265 ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ในจังหวัดสมุทรสงคราม 2024-09-11T10:34:02+07:00 นพดล ทองอร่าม nopadol@phcsuphan.ac.th กนกพร สมพร nopadol@phcsuphan.ac.th ฮันวรรณี หะยีอับดุลรอมัน nopadol@phcsuphan.ac.th มารียาณี สะมะแอ nopadol@phcsuphan.ac.th <p>อุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์เป็นปัญหาสำคัญทั้งในระดับโลกและประเทศไทย โดยเฉพาะ<br />ในกลุ่มเยาวชนและนักศึกษา การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสงคราม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาจำนวน 293 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา<br />และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษามีความรู้อยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 81.9) <br />ทัศนคติอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 53.2) และพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุในระดับสูง (ร้อยละ 49.8) ปัจจัยที่สามารถทำนายพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง<br />ในจังหวัดสมุทรสงครามได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;.05) ได้แก่ ความรู้ การรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้<br />ความรุนแรง และสิ่งชักนำสู่การปฏิบัติ ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการสร้างความรู้ ความตระหนัก และสิ่งชักนำสู่การปฏิบัติที่เหมาะสม เป็นกลวิธีสำคัญในการส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันอุบัติเหตุในกลุ่มนักศึกษา ควรนำไปประยุกต์ใช้ในการรณรงค์ป้องกันอุบัติเหตุต่อไป</p> 2024-08-21T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JCCPH/article/view/270189 การพัฒนารูปแบบการฝากครรภ์คุณภาพแบบบูรณาการและมีส่วนร่วม ตำบลเหนือคลอง อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ 2024-05-09T10:18:51+07:00 เสาวภา ขันติ khung_s2512@hotmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการฝากครรภ์คุณภาพ<br />แบบบูรณาการทำงานเครือข่ายในชุมชนและมีส่วนร่วม ตำบลเหนือคลอง อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ <br />โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 97 คน ประกอบด้วย กลุ่มภาคีเครือข่าย แกนนำชุมชน จำนวนทั้งหมด 20 คน และมีการเก็บข้อมูลหญิงตั้งครรภ์ทั้งหมดในเขตตำบลเหนือคลองที่มาฝากครรภ์ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน<br />ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด และที่ไม่ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 77 คน ใช้เวลาในการดำเนินการ 6 เดือน โดยใช้กระบวนการ Plan Do Check Act (PDCA) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูล<br />โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis) รูปแบบการฝากครรภ์คุณภาพแบบบูรณาการและมีส่วนร่วมในตำบลเหนือคลอง ประกอบไปด้วย 3 กิจกรรม ได้แก่ <br />1) การเพิ่มการเข้าถึงบริการและการสร้างแรงจูงใจให้หญิงมีครรภ์มาฝากครรภ์ให้ได้ตามเกณฑ์ <br />2) การพัฒนาคุณภาพการให้บริการ เช่น การจัดระบบการให้สุขศึกษา ระบบการติดตามหญิงมีครรภ์ <br />3) การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน เช่น การจัดเวทีประชาคมประชุมชี้แจงการแก้ปัญหาอนามัยแม่และเด็กในชุมชน อสม.เคาะประตูบ้านติดตามหญิงตั้งครรภ์</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า หญิงตั้งครรภ์ส่วนใหญ่อายุระหว่าง 25 - 30 ปี มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 26.33 <br />ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 64.20 จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา ร้อยละ 42.40 <br />ประกอบอาชีพเกษตรกร ร้อยละ 75.00 รายได้ส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 10,000 – 15,000 บาท ข้อมูลการรับบริการจากหน่วยบริการ ส่วนใหญ่เข้ารับบริการที่ PCU โรงพยาบาลเหนือคลอง ร้อยละ 65.00 เนื่องจากมีระยะทางใกล้เดินทางได้สะดวก สิทธิในการรับบริการ ส่วนใหญ่ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า การรับบริการ<br />จากหน่วยบริการส่วนใหญ่ได้ฝากครรภ์เกิน 5 ครั้ง ร้อยละ 92.00</p> <p> ผลการดำเนินงานในการฝากครรภ์ตามเกณฑ์คุณภาพ 5 ครั้ง ตามเกณฑ์ (เป้าหมายร้อยละ 75.00) <br />ก่อนดำเนินการ ร้อยละ 49.46 หลังดำเนินการพบว่าหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการดูแลก่อนคลอด <br />5 ครั้ง ตามเกณฑ์เพิ่มขึ้น ร้อยละ 75.82 ข้อเสนอแนะจากการศึกษาในครั้งนี้พบว่า รูปแบบการฝากครรภ์คุณภาพแบบบูรณาการและมีส่วนร่วมในตำบลเหนือคลอง ต้องมีการใช้หลักการแก้ปัญหาโดยการวางแผนการจัดกิจกรรมดำเนินงานให้หญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการ การประเมินผลการดำเนินงาน และการปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานแบบมีส่วนร่วมของชุมชน</p> 2024-07-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JCCPH/article/view/270361 ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดสมุทรสงคราม 2024-05-14T10:57:58+07:00 นิวัฒน์ ทรงศิลป์ niwatsongsin71@gmail.com นฤพันธ์ จันทร์ดวน niwatsongsin71@gmail.com ฮีดายะห์ เจ๊ะแว niwatsongsin71@gmail.com <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกัน <br />โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกัน<br />โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของนักเรียนชั้นมัธยมปลายในจังหวัดสมุทรสงคราม กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดสมุทรสงคราม จำนวน 373 คน ซึ่งคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ <br />เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรอบรู้ด้านสุขภาพอยู่ในระดับดีร้อยละ 50.9 <br />พฤติกรรมการป้องกันโรคติเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อยู่ในระดับดีร้อยละ 46.4 นอกจากนี้ยังพบว่าความรอบรู้<br />ด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (r = .656, p &lt; 0.001) ผลการศึกษาในครั้งนี้สามารถนำไปใช้ในการวางแผนเพื่อการยกระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพและสร้างพฤติกรรมการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 รวมถึงการจัดโครงการหรือกิจกรรม<br />สร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายต่อไป</p> 2024-07-24T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JCCPH/article/view/270613 ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อ ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในจังหวัดสมุทรสงคราม 2024-07-24T14:29:05+07:00 รชานนท์ รุนนุช niwatsongsin71@gmail.com ขวัญฤทัย เถินมงคล niwatsongsin71@gmail.com นิวัฒน์ ทรงศิลป์ niwatsongsin71@gmail.com วรรณวิมล เมฆวิมล กิ่งแก้ว niwatsongsin71@gmail.com สุรีย์วรรณ สีลาดเลา niwatsongsin71@gmail.com กนกพร สมพร niwatsongsin71@gmail.com ปริศนา เพียรจริง niwatsongsin71@gmail.com อนันตชัย อินทร์ธิราช niwatsongsin71@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้<br />และความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในจังหวัดสมุทรสงคราม กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนในจังหวัดสมุทรสงครามที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป จำนวน 402 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น<br />โดยใช้สัดส่วน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับความรู้เกี่ยวกับบริการการแพทย์ฉุกเฉินโดยรวมอยู่ในระดับดี (=15.56, SD=2.40) ระดับความคาดหวังต่อระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินโดยรวมอยู่ในระดับมาก <br />(= 45.46, SD= 4.97) และความรู้เกี่ยวกับบริการการแพทย์ฉุกเฉินมีความสัมพันธ์กับความคาดหวัง<br />ต่อระบบการแพทย์ฉุกเฉินในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value&lt;0.05) ผลการศึกษาในครั้งนี้<br />สามารถนำข้อมูลไปส่งเสริมให้ความรู้เกี่ยวกับการเข้าถึงระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินที่เหมาะสมและการพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินที่เหมาะสมตอบสนองความต้องการของประชาชนและได้มาตรฐานต่อไป</p> 2024-07-24T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JCCPH/article/view/273217 การสร้างทีมงาน 2024-08-22T10:28:41+07:00 พันโทนิติศักดิ์ เชื่อมวราศาสตร์ John_lovers@hotmail.com ชวาลา ยิ่งทวีศักดิ์ John_lovers@hotmail.com <p>เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าในการทำงานให้บรรลุเป้าหมายขององค์กรนั้น ต้องดำเนินการโดยทีมคนทำงานขององค์กรทั้งในระดับผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งบุคลากรกลุ่มดังกล่าว ควรจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ สมรรถนะ ทักษะ ประสบการณ์ ที่เกี่ยวข้องกับงาน พร้อมทั้งมีวิจารณญาณในการปฏิบัติงาน<br />ที่ครอบคลุม สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจขององค์กร ทั้งนี้องค์กรต่าง ๆ จึงต้องมีคณะทำงานที่ทำหน้าที่<br />ในบริหารงาน และการพัฒนาองค์กรเพื่อให้ได้การทำงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น ดังนั้นองค์กรจึงควรนำเอาการวิธีการของทำงานแบบทีมมาใช้ในการทำงาน ด้วยการสร้างทีมงานที่ดีและเก่งเข้ามาใช้<br />ในการบริหารงาน เนื่องจากการทำงานเป็นทีมเป็นกระบวนการทำงานที่ทำให้คนทำงานมีความมั่นใจว่าตนเองไม่ได้เป็นเพียงแค่ผู้ปฏิบัติงานแต่จะมีความรู้สึกและมีความเข้าใจที่เพิ่มเติมเข้ามาว่าตนเองนั้นเป็นผู้ที่มีส่วนร่วม<br />ในหน่วยงาน ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งของการสรรสร้างให้คนทำงายทุกคนได้รับเกียรติและศักดิ์ศรีในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของการทำงานและเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จในงานที่มีความสำคัญเท่าเทียมกัน อีกทั้งการทำงาน<br />เป็นทีมงาน<strong>ยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์และความไว้วางใจ</strong>ของคนทำงาน <strong>ที่นำ</strong>ไปสู่การเรียนรู้รวมกันและพัฒนางานและองค์กรอย่างต่อเนื่อง (รณกร สุวรรณกลาง. 2557) เป็นการทำงานร่วมกันโดยการใช้ทักษะต่าง ๆ <br />ที่เกี่ยวข้องกับงานมาเติมเต็มให้แก่กันและกันด้วยความเต็มใจ โดยเป็นการทำงานที่มีเป้าหมาย<br />และความรับผิดชอบต่อ ผลของการกระทำงานนั้น ๆ ด้วยกัน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งแนวทางของการบ่มเพาะ<br />และหล่อหลอมการทำงานที่คนทำงานพร้อมจะแลกเปลี่ยน เรียนรู้ร่วมกัน หากในกรณีเกิดความผิดพลาดจากการทำงาน ทีมงานจะไม่ตำหนิติเตียน แต่จะเป็นการแนะนำ สอนงานเพื่อการเรียนรู้จากปัญหาไปด้วยกัน <br />และสิ่งที่สำคัญ คือ ทีมงานจะกลายเป็นตัวอย่างที่ดีในการถ่ายทอดประสบการณ์ พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยง <br />หรือต้นแบบการทำงานให้กับทีมงานคนอื่น ๆ หรือทีมงานรุ่นใหม่ ๆ ที่เข้ามา</p> <p>ในบทความ “การสร้างทีมงาน” นี้ ผู้เขียนจะกล่าวถึงแนวคิด ความหมาย ความสำคัญและประโยชน์ของการทำงานเป็นทีม ประเภทและองค์ประกอบของทีมงานรวมทั้งปัจจัยสนับสนุนของการทำงานเป็นทีม<br />ให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งการทำงานเป็นทีมไม่เพียงแต่ช่วยให้บรรลุเป้าหมายขององค์กรเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่เหนียวแน่นและส่งเสริมการพัฒนาทักษะส่วนบุคคลของคนทำงานแต่ละคน การสร้างทีมงาน<br />จึงเป็นการเรียนรู้ที่จะทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการทำงานเป็นทีม และการสร้างทีมงาน<br />เป็นหนึ่งในทักษะที่มีคุณค่าที่คนทำงานควรมีโดยเฉพาะในปัจจุบันที่เน้นการทำงานเป็นทีมและการทำงานร่วมกัน <br />ที่สนับสนุนให้เกิดการทำงานเป็นทีมงานที่มีประสิทธิภาพ</p> 2024-08-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน