TY - JOUR AU - ตันติวงษ์, ปภัสสร AU - สุขใส, กมลมณี AU - รักษาสมบัติ, นิดชดา AU - ด้วงโท, ประดับดาว AU - จงกล, พรศิริ PY - 2022/04/26 Y2 - 2024/03/29 TI - การประยุกต์ใช้ข้อมูลระยะเอื้อมในการปรับปรุงสถานีงานบรรจุหมี่โคราช JF - วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Online) JA - EAU Heritage Sci. VL - 16 IS - 1 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/253114 SP - 114-126 AB - <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจและทดลอง วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความไม่สบายตามบริเวณส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่เกิดจากการทำงานผลิตหมี่โคราชและปรับปรุงสถานีงานโดยใช้ข้อมูลระยะเอื้อมและเปลี่ยนตำแหน่งการจัดวางอุปกรณ์เพื่อลดการบาดเจ็บจากการทำงาน ผู้ถูกทดสอบคือพนักงานในกลุ่มผู้ผลิตสินค้าชุมชนแห่งหนึ่งจำนวน 10 คนซึ่งเป็นเพศหญิงทั้งหมด งานวิจัยนี้รวบรวมข้อมูลความปวดเมื่อยของร่างกายโดยใช้แบบประเมินความเสี่ยงอาการผิดปกติของระบบโครงร่างกระดูกและกล้ามเนื้อจากการทำงาน การวัดระยะเอื้อมมี 3 ระยะ คือ ระยะเอื้อมปกติ ระยะเอื้อมมากที่สุด และระยะเอื้อมแบบโน้มลำตัว โดยมีมุมของแขน 0 องศาถึง 120 องศา รวมถึงการศึกษาเวลาที่ใช้ในการทำงาน จากนั้นจึงดำเนินการปรับปรุงสถานีงานและปรับเปลี่ยนขั้นตอนการทำงาน ผลการวิจัยพบว่าระยะเอื้อมปกติมีค่ามากที่สุดที่มุม 30 องศา ระยะเอื้อมมากที่สุดมีค่ามากที่สุดที่มุม 60 องศา ระยะเอื้อมแบบโน้มลำตัวมีค่ามากที่สุดที่มุม 90 องศา ผลจากแบบประเมินความเสี่ยงอาการผิดปกติพบว่าพนักงานเคยมีอาการบาดเจ็บหรือไม่สบายบริเวณหลังส่วนล่างมากที่สุด รองลงมา คือ บริเวณหัวเข่า ข้อมือ แขนส่วนบน แขนส่วนล่าง และไหล่ตามลำดับ หลังการปรับปรุงสถานีงานพบว่าอาการปวดเมื่อยตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายหลังปฏิบัติงานลดลง การกำจัดการเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็นและลดขั้นตอนการทำงานที่ซ้ำซ้อน ลดเวลาในการบรรจุหมี่จำนวน 150 ถุง จาก 2 ชั่วโมง 42 นาที เหลือ 1 ชั่วโมง 20 นาที</p> ER -