@article{หมายมั่น_ทองมาก_รัตนไตร_เหมวิภาต_2022, title={เจาะความเคลื่อนไหวอุตสาหกรรม 4.0 และความอยู่รอดในยุคโควิด-19}, volume={16}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/253255}, abstractNote={<p>บทความวิชาการนี้ นำเสนอความเคลื่อนไหวของอุตสาหกรรม 4.0 ในปัจจุบันว่าได้ขับเคลื่อนไปในลักษณะใดบ้าง ซึ่งจากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พบความเคลื่อนไหว 3 ประเด็นสำคัญ คือ (1) แนวคิดการพัฒนาสู่อุตสาหกรรม 4.0 ในประเทศและต่างประเทศ (2) การประเมินความพร้อมของอุตสาหกรรมผ่านตัวชี้วัด และ (3) ความอยู่รอดของอุตสาหกรรมท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 เมื่อเจาะรายละเอียดแต่ละประเด็น ทำให้สรุปแนวคิดองค์รวมของการพัฒนาสู่อุตสาหกรรม 4.0 จากประเทศที่ศึกษา คือ ประเทศเยอรมนี สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา จีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น และไทย ได้เป็น 6 มิติ คือ (1) ด้านผลิตภัณฑ์ (2) ด้านกระบวนการผลิตและการบำรุงรักษา (3) ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม (4) ด้านบุคลากร (5) ด้านองค์การ และ (6) ด้านสิ่งแวดล้อม ส่วนประเด็นความเคลื่อนไหวที่ได้จากการศึกษางานวิจัยด้านการประเมินความพร้อมของอุตสาหกรรม สรุปตัวชี้วัดได้ 7 ตัวชี้วัด คือ (1) ด้านทรัพยากรมนุษย์ (2) ด้านเทคโนโลยี (3) ด้านกลยุทธ์ (4) ด้านโครงสร้างองค์การ (5) ด้านกระบวนการ (6) ด้านการปฏิบัติการอัจฉริยะ และ (7) ด้านผลิตภัณฑ์และบริการอัจฉริยะ จากความเคลื่อนไหวในการพัฒนาและการเตรียมความพร้อม สะท้อนให้เห็นถึงความพยายามในการขับเคลื่อนสู่อุตสาหกรรม 4.0 อย่างจริงจัง ถึงแม้ว่าขณะนี้ภาคอุตสาหกรรมกำลังเผชิญหน้ากับภาวะวิกฤตการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานก็ตาม ในวิกฤตนั้นยังมีโอกาสให้เกิดความอยู่รอดของอุตสาหกรรมได้ด้วยการใช้เทคโนโลยีอุตสาหกรรม 4.0 มาใช้รับมือกับ COVID-19 ซึ่งประกอบด้วย ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence--AI) ข้อมูลขนาดใหญ่และการวิเคราะห์ (big data and analytics) อินเทอร์เน็ตอุตสาหกรรมและคลาวด์ (industrial internet and cloud) อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things--IoT) อินเทอร์เน็ตของการแพทย์ (Internet of Medical Things--IoMT) ความจริงเสมือน (Virtual Reality--VR) เพิ่มความเป็นจริง (augmented reality) โซลูชั่นการผลิตขั้นสูง (advanced manufacturing solutions) การผลิตสารเติมแต่ง (additive manufacturing) การจำลอง (simulation) การบูรณาการแนวนอน/แนวตั้ง (Horizontal/Vertical Integration) เทคโนโลยีโดรนและหุ่นยนต์อิสระ (drone technology and autonomous robots) 5G บล็อคเชน (Blockchain) ความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber-security) และเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ (3D printing)</p> <p> </p>}, number={1}, journal={วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Online)}, author={หมายมั่น ฐิติกร and ทองมาก ชำนาญ and รัตนไตร บัณฑิต and เหมวิภาต กฤติมา}, year={2022}, month={เม.ย.}, pages={37–55} }