@article{จันทร์เสถียร_วินัยชาติศักดิ์_ลพล้ำเลิศ_จันทร์เสถียร_2022, title={ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียสแตฟฟิโลคอคคัส ออเรียส ของเครื่องเทศไทย ในผลิตภัณฑ์ละอองพ่นฝอย}, volume={16}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/252067}, abstractNote={<p>สแตฟฟิโลคอคคัส ออเรียส (<em>Staphylococcus aureus</em>) เป็นแบคทีเรียแกรมบวกซึ่งพบเป็นปกติบนผิวหนังของมนุษย์และที่สำคัญแบคทีเรียชนิดนี้ยังสามารถก่อโรคจากสารพิษที่สร้างขึ้นในมนุษย์ได้ โดยเฉพาะโรคระบบทางเดินอาหารซึ่งเชื้อจะปนเปื้อนจากมือสู่อาหาร วัตถุประสงค์ของงานวิจัยเพื่อสร้างนวัตกรรมละอองพ่นฝอยจากเครื่องเทศของไทยที่สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ สแตฟฟิโลคอคคัส ออเรียส บนมือได้ โดยการเก็บตัวอย่างเครื่องเทศของไทยจำนวน 10 ชนิด ได้แก่ กระชาย ขมิ้น พริก กระเทียม ตะไคร้ หัวหอม มะกรูด ขิง ข่า และพริกไทย การทดสอบพบว่าสารสกัดหยาบกระเทียม และใบมะกรูด มีประสิทธิภาพในการยับยั้งแบคทีเรีย สแตฟฟิโลคอคคัส ออเรียส สายพันธุ์ TISTR 1466 โดยมีขอบเขตการยับยั้ง 15 และ 10 มิลลิเมตร ตามลำดับ แอมพิซิลิน 10 ไมโครกรัม ถูกใช้เป็นตัวควบคุมเชิงบวก ส่วนน้ำกลั่นปราศจากเชื้อใช้เป็นตัวควบคุมเชิงลบ การทดสอบความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ สแตฟฟิโลคอคคัส ออเรียส ใช้วิธีการเจือจางในอาหารเลี้ยงเชื้อเหลวแบบหลายหลอด ค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ สแตฟฟิโลคอคคัส ออเรียส ของสารสกัดหยาบจากกระเทียมและใบมะกรูด มีค่าเท่ากับ 12.5 และ 25 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร การประเมินค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถฆ่าเชื้อ สแตฟฟิโลคอคคัส ออเรียส ใช้เทคนิคการเกลี่ยเพลท โดยสังเกตจากเชื้อที่ไม่สามารถเจริญได้บนอาหารเลี้ยงเชื้อแข็ง ซึ่งมีค่าเท่ากันกับค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อได้ทั้งสารสกัดหยาบกระเทียมและใบมะกรูด สารสกัดจากเครื่องเทศของไทยทั้งสองชนิดมีประสิทธิภาพสามารถใช้เป็นทางเลือกเพื่อพัฒนาเป็นสเปรย์ยับยั้งการเจริญของเชื้อ สแตฟฟิโลคอคคัส ออเรียส บนมือได้</p>}, number={1}, journal={วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Online)}, author={จันทร์เสถียร สิรวิชญ์ and วินัยชาติศักดิ์ ณัฏฐพล and ลพล้ำเลิศ กษิดิศ and จันทร์เสถียร อรอุมา}, year={2022}, month={เม.ย.}, pages={106–113} }