@article{น้ำหอมจันทร์_2021, title={การศึกษาเปรียบเทียบสมรรถนะของอาร์เรย์โมดูลเซลล์แสงอาทิตย์ จากรูปแบบการเชื่อมโยงอาร์เรย์ ภายใต้การบังเงาบางส่วน โดยใช้เทคนิคการเลื่อนแถวของเมจิกสแควร์}, volume={15}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/251007}, abstractNote={<p>การศึกษาวิจัยนี้นำเสนอผลการเปรียบเทียบสมรรถนะของอาร์เรย์โมดูลเซลล์แสงอาทิตย์ พิกัด 10 วัตต์ ขนาดอาร์เรย์ 5´X5 จากรูปแบบการเชื่อมโยงอาร์เรย์แบบ SP BL HC และ TCT รูปแบบการบังเงาบางส่วนแบบ SW SN LW LN และ NS การจัดเรียงอาร์เรย์แบบปกติ IC และการจัดเรียงตำแหน่งอาร์เรย์ใหม่ซึ่งตำแหน่งการเชื่อมต่อทางไฟฟ้าคงเดิม โดยใช้เทคนิคการเลื่อนแถวของเมจิกสแควร์วิธีสยาม MS1-MS5 โดยการจำลองบน MATLAB/Simulink ผลการศึกษาเปรียบเทียบ รวมทั้งสิ้น 30 กรณี พบว่า (1) การเชื่อมโยงแบบ TCT ให้ค่า GMPP สูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับรูปแบบอื่น ถึง 21 กรณี คิดเป็นร้อยละ 70 (2) มี 8 กรณีที่ให้ GMPP เท่ากันทั้ง 4 รูปแบบการเชื่อมโยง โดย 6 จาก 8 กรณีนี้เป็นกรณีที่ไม่มีการบังเงาของทั้ง 6 รูปแบบการจัดเรียง คิดเป็นร้อยละ 26.66 และ (3) มีเพียงกรณีเดียวที่การเชื่อมโยงแบบ SP ให้ค่า GMPP สูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับรูปแบบอื่น คิดเป็นร้อยละ 3.33 ทั้งนี้ กำลังไฟฟ้าสูญเสียของอาร์เรย์โมดูลเซลล์แสงอาทิตย์ภายใต้เงื่อนไขการบังเงาบางส่วน ขึ้นอยู่กับรูปแบบการบังเงา การจัดเรียงอาร์เรย์ และรูปแบบการเชื่อมโยงอาร์เรย์โมดูลเซลล์แสงอาทิตย์ ผลจากการศึกษานี้จะสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกรูปแบบการเชื่อมโยงของอาร์เรย์ได้อย่างเหมาะสมต่อไป</p>}, number={3}, journal={วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Online)}, author={น้ำหอมจันทร์ ธนากร}, year={2021}, month={ธ.ค.}, pages={84–104} }