@article{อัมพันศิริรัตน์_วงศ์ไชยา_2019, title={บทบาทพยาบาลวิชาชีพ กับการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน สู่ตำบลสุขภาวะ}, volume={13}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/177189}, abstractNote={<p>ชุมชนเข้มแข็งเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาประเทศ ซึ่งเกิดจากการรวมตัวกันของคนในชุมชนเป็นองค์กรชุมชน ทุกคนมีความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน มีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน และร่วมหาแนวทางในการแก้ปัญหาร่วมกัน มีการเรียนรู้ และพัฒนาขีดความสามารถหรือศักยภาพในการพึ่งพาตนเอง กระบวนการพัฒนาสู่ชุมชนเข้มแข็ง เริ่มจากการเตรียมคนและโครงสร้างทางกายภาพ การกำหนดประเด็นปัญหาของชุมชนและพัฒนาทางเลือก การสร้างหุ้นส่วนในระดับชุมชน และการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ขั้นตอนการปฏิบัติการจริงของกระบวนการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง ประกอบด้วย การรับรู้ การเรียนรู้ และการจัดการ ซึ่งบทบาทของพยาบาลวิชาชีพในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน เป็น 1 ใน 5 ของยุทธศาสตร์การสร้างเสริมสุขภาพ ตามข้อตกลงออตตาวา ได้แก่ การร่วม/จัดกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การร่วม/สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน ร่วม/สร้างเสริมพลังอำนาจ ร่วมให้ข้อมูลข่าวสาร ร่วมพัฒนาทักษะชีวิตให้กับบุคคล/ครอบครัว/ชุมชน ร่วม/จัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่สร้างโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายต่าง ๆ รวมถึงการร่วมทำหรือสนับสนุนให้นำผลการวิจัยมาใช้ บทความนี้นำเสนอเกี่ยวกับแนวคิดและองค์ประกอบของชุมชนเข้มแข็ง กระบวนการพัฒนาสู่ชุมชนเข้มแข็ง บทบาท และสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ความเชื่อมโยงระหว่างชุมชนเข้มแข็งกับตำบลสุขภาวะ และองค์กรในพื้นที่ที่มีปฏิบัติการเสริมสร้างสู่ชุมชนเข้มแข็ง</p>}, number={1}, journal={วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Online)}, author={อัมพันศิริรัตน์ อมาวสี and วงศ์ไชยา พิมพิมล}, year={2019}, month={เม.ย.}, pages={38–47} }