@article{พูลทอง_คำแฝง_หอมจันทร์_คำแฝง_จันทร์หอม_2013, place={Nonthaburi, TH}, title={การประเมินผลโครงการอำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี}, volume={39}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/DCJ/article/view/155083}, DOI={10.14456/dcj.2013.19}, abstractNote={<p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลโครงการอำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืน อำเภอเขื่องในจังหวัดอุบลราชธานี เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง ใช้รูปแบบการประเมินผลซิปป์ (CIPP model) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 30 คน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 342 คน และนายกองค์การบริหารส่วนตำบล 19 คน ที่อาศัยอยู่ในเขตอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ระหว่างวันที่ 10 มิถุนายน - 10 กรกฏาคม 2555 โดยใช้แบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลเป็นค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พบว่า (1) ด้านบริบท: โครงการนี้มีความจำเป็นต่อประชาชน (X=4.41, S.D.=0.9) และควรดำเนินการต่อไป (X=4.35, S.D.=0.6) (2) ด้านปัจจัยนำเข้า: บุคลากรด้านสาธารณสุขมีความรู้ (X=3.87, S.D.=0.8) และมีศักยภาพในการทำโครงการนี้ (X=3.79, S.D.=0.5) (3) ด้านกระบวนการดำเนินงาน: การรายงานการเกิดโรคที่สำคัญของพื้นที่และของประเทศตั้งแต่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลถึงโรงพยาบาลชุมชนมีความครอบคลุม ทันเวลา เหมาะสม (X=3.78, S.D.=0.6) และปฏิทินการรณรงค์การป้องกันควบคุมโรคที่เป็นปัญหาสุขภาพของพื้นที่ และที่เป็นนโยบายของประเทศมีความเหมาะสม (X=3.43, S.D.=0.7) (4) ด้านผลผลิตของโครงการ: อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกลดลงร้อยละ 3.7 เมื่อเทียบกับค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี ผู้ป่วยวัณโรคปอดที่มีเสมหะพบเชื้อรายใหม่ทุกรายได้รับการกำกับการกินยาโดยพี่เลี้ยง ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุข หรืออาสาสมัครสาธารณสุขหรือแกนนำชุมชน ร้อยละ 97.37 ดังนั้นให้บุคลากรสาธารณสุขควรได้รับการส่งเสริมให้มีความรู้วิชาการในประเด็นการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพ ต่อโครงการนี้ต่อไป</p>}, number={3}, journal={Disease Control Journal}, author={พูลทอง สมัย and คำแฝง เจริญชัย and หอมจันทร์ ชนะ and คำแฝง จีระนันท์ and จันทร์หอม ทวีศักดิ์}, year={2013}, month={Sep.}, pages={266–271} }