Deviation Attitude of Contracts towards Fear of Leprosy in Phra Pradaeng Sanatorium in 2007

Authors

  • แสงระวี รัศมีแจ่ม Raj Pracha Samasai Institute, Department of Disease Control
  • จิตต์ลัดดา สุภานันท์ Raj Pracha Samasai Institute, Department of Disease Control
  • วิจิตรา ธารีสุวรรณ Raj Pracha Samasai Institute, Department of Disease Control
  • วีณา พริ้มแก้ว Raj Pracha Samasai Institute, Department of Disease Control

Keywords:

ความรังเกียจ, ผู้สัมผัสผู้ป่วยโรคเรื้อน, สถานสงเคราะห์ผู้ป่วยโรคเรื้อนพระประแดง

Abstract

การศึกษาเจตคติที่เบี่ยงเบนต่อความรังเกียจกลัวของผู้สัมผัสผู้ป่วยโรคเรื้อน ในสถานสงเคราะห์ผู้ป่วยโรคเรื้อนพระประแดง พ.ศ. 2550 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบเจตคติที่เบี่ยงเบนต่อความรังเกียจกลัวในผู้สัมผัสผู้ป่วยโรคเรื้อน และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับเจตคติที่เบี่ยงเบนต่อความรังเกียจกลัวของผู้สัมผัสผู้ป่วยโรคเรื้อน โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สัมผัสโรคเรื้อนและอาศัยอยู่สถานสงเคราะห์ผู้ป่วยโรคเรื้อนพระประแดง จำนวน 50 คน ที่ยินยอมให้ข้อมูล มีตัวแปรต้น ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ สถานภาพสมรส ความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับผู้ป่วย และตัวแปรตาม ได้แก่ เจตคติที่เบี่ยงเบนต่อความรังเกียจกลัวผู้ป่วยโรคเรื้อน เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ผลด้วยค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมุติฐานด้วย t-test และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One - way ANOVA) ผลการศึกษาพบว่าผู้สัมผัสผู้ป่วยโรคเรื้อนมีความรังเกียจกลัวผู้ป่วยโรคเรื้อนระดับน้อยที่สุดในเรื่องการร่วมกิจกรรมทางสังคม การนำของใช้มาขาย ผู้ป่วยที่มีความพิการ การนั่งร่วมรับประทานอาหาร ผู้ป่วยหยิบเงิน ผู้ป่วยมานั่งข้างๆ ผู้ป่วยหยิบของให้ นำอาหารที่มีเปลือกหรือมีสิ่งห่อหุ้มมาให้ ผู้สัมผัสผู้ป่วยโรคเรื้อนมีความรังเกียจกลัวผู้ป่วยโรคเรื้อนอยู่ระดับน้อย ในเรื่องผู้ป่วยนำของรับประทานมาขาย ผู้ป่วยมีแผล และผู้ป่วยทำอาหารมาให้รับประทาน และผู้สัมผัสผู้ป่วยโรคเรื้อนมีความรังเกียจกลัวผู้ป่วยโรคเรื้อนระดับมาก คือ ผู้ป่วยมีแผล มีน้ำเหลือง เมื่อเปรียบเทียบเจตคติที่เบี่ยงเบนต่อความรังเกียจกลัวผู้ป่วยโรคเรื้อนของผู้สัมผัสผู้ป่วยโรคเรื้อน พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มี เพศ อายุ รายได้ และสถานภาพสมรสแตกต่างกัน มีเจตคติที่เบี่ยงเบนต่อความรังเกียจกลัวผู้ป่วยโรคเรื้อนไม่แตกต่างกัน ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการศึกษา อาชีพ และความสัมพันธ์กับผู้ป่วยแตกต่างกัน มีเจตคติที่เบี่ยงเบนต่อความรังเกียจกลัวโรคเรื้อน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ส่วนปัจจัยที่ทำให้กลุ่มตัวอย่างมีความรังเกียจผู้ป่วยโรคเรื้อน คือ การมีแผล โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีแผลและมีน้ำเหลือง ปัจจัยที่ทำให้ไม่มีความรังเกียจผู้ป่วยโรคเรื้อน คือ ความรู้สึกน่าสงสาร เป็นเวรกรรม เป็นเครือญาติและมีความเคยชิน ผู้สัมผัสโรคเรื้อนทราบถึงสิทธิประโยชน์ที่ผู้ป่วยได้รับ คือ เงินเบี้ยเลี้ยง การรักษาฟรี ได้รับของแจก ได้บ้านพัก แฟลต และสาเหตุที่มาอาศัยอยู่ที่สถานสงเคราะห์ผู้ป่วยโรคเรื้อนพระประแดง เพราะได้อยู่ฟรีมีความปลอดภัย ไม่มีที่อยู่ และมีงานทำ

References

1. กฤษฎา มโหทาน. 2539. แนวทางการดำเนินงานโครงการปีรณรงค์ประชาร่วมใจเร่งรัดกำจัดโรคเรื้อนถวายเป็นพระราชกุศล ทรงครองราชย์ครบ 50 ปี. นนทบุรี : สถาบันราชประชาสมาสัย กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

2. ธีระ รามสูต. 2535. ตำราโรคเรื้อน. กรุงเทพฯ : นิวธรรมดาการพิมพ์.

3. ธีระ รามสูต. 2541. "วิวัฒนาการงานสวัสดิการสังคม และการฟื้นฟูสมรรถภาพสังคมในงานโรคเรื้อน". 40 ปีของการบุกเบิกและพัฒนาผู้ความสำเร็จของการกำจัดโรคเรื้อนในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : ศรีเมืองการพิมพ์.

4. สถาบันราชประชาสมาสัย. 2546. รายงานปฏิบัติงานติดตามผลด้านสวัสดิการและฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยโรคเรื้อนในนิคม. นนทบุรี : เอกสารเย็บเล่ม.

5. กฤษฎา มโหทาน และคณะ. 2548. ความคิดเห็นต่อการให้ยาเคมีเพื่อป้องกันโรคเรื้อนในผู้สัมผัสโรคที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคเรื้อน. นนทบุรี : สถาบันราชประชาสมาสัย กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

6. อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท. 2546. การสื่อสารเพื่อโน้มน้าวใจ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

Published

2008-09-30

How to Cite

1.
รัศมีแจ่ม แ, สุภานันท์ จ, ธารีสุวรรณ ว, พริ้มแก้ว ว. Deviation Attitude of Contracts towards Fear of Leprosy in Phra Pradaeng Sanatorium in 2007. Dis Control J [Internet]. 2008 Sep. 30 [cited 2024 Apr. 19];34(3):301-10. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/DCJ/article/view/156544

Issue

Section

Original Article