การประเมินผลโครงการอำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี

Authors

  • สมัย พูลทอง Khuang Nai District Public Health Office, Ubonratchathani province
  • เจริญชัย คำแฝง Khuang Nai District Public Health Office, Ubonratchathani province
  • ชนะ หอมจันทร์ Khuang Nai District Public Health Office, Ubonratchathani province
  • จีระนันท์ คำแฝง Khuang Nai District Public Health Office, Ubonratchathani province
  • ทวีศักดิ์ จันทร์หอม Khuang Nai District Public Health Office, Ubonratchathani province

DOI:

https://doi.org/10.14456/dcj.2013.19

Keywords:

active and sustainable disease control district, assessment

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลโครงการอำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืน อำเภอเขื่องในจังหวัดอุบลราชธานี เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง ใช้รูปแบบการประเมินผลซิปป์ (CIPP model) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 30 คน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 342 คน และนายกองค์การบริหารส่วนตำบล 19 คน ที่อาศัยอยู่ในเขตอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ระหว่างวันที่ 10 มิถุนายน - 10 กรกฏาคม 2555 โดยใช้แบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลเป็นค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พบว่า (1) ด้านบริบท: โครงการนี้มีความจำเป็นต่อประชาชน (X=4.41, S.D.=0.9) และควรดำเนินการต่อไป (X=4.35, S.D.=0.6) (2) ด้านปัจจัยนำเข้า: บุคลากรด้านสาธารณสุขมีความรู้ (X=3.87, S.D.=0.8) และมีศักยภาพในการทำโครงการนี้ (X=3.79, S.D.=0.5) (3) ด้านกระบวนการดำเนินงาน: การรายงานการเกิดโรคที่สำคัญของพื้นที่และของประเทศตั้งแต่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลถึงโรงพยาบาลชุมชนมีความครอบคลุม ทันเวลา เหมาะสม (X=3.78, S.D.=0.6) และปฏิทินการรณรงค์การป้องกันควบคุมโรคที่เป็นปัญหาสุขภาพของพื้นที่ และที่เป็นนโยบายของประเทศมีความเหมาะสม (X=3.43, S.D.=0.7) (4) ด้านผลผลิตของโครงการ: อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกลดลงร้อยละ 3.7 เมื่อเทียบกับค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี ผู้ป่วยวัณโรคปอดที่มีเสมหะพบเชื้อรายใหม่ทุกรายได้รับการกำกับการกินยาโดยพี่เลี้ยง ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุข หรืออาสาสมัครสาธารณสุขหรือแกนนำชุมชน ร้อยละ 97.37 ดังนั้นให้บุคลากรสาธารณสุขควรได้รับการส่งเสริมให้มีความรู้วิชาการในประเด็นการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพ ต่อโครงการนี้ต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

References

1. กองแผนงาน กรมควบคุมโรค. ร่างคู่มือประเมินอำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืน ปี 2555.(เอกสารอัดสำเนา). 2555.

2. Stufflebeam DL. Education evaluation and decisionmaking. New York: Raven Press; 1971.

3. Yamane T. Statistics: an introductory analysis.New York: Harper and Row; 1967.

4. จุฑารัตน์ ผาสุก, ธนวรรธน์ อิ่มสมบูรณ์. ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการดำเนินงานของภาคีเครือข่ายสุขภาพ ในการป้องกันควบคุมโรค ตำบลหาดอาษา
อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท. วารสารควบคุมโรค2555; 38(3): 258-9.

5. กรมควบคุมโรคติดต่อ. โรคไข้เลือดออก. นนทบุรี:กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (เอกสารอัดสำเนา). 2544.

6. Becker M.H., and Mainman, L.A. the healthbelief model: origins and correction in psychological theory. healtheducation monograph
1974; 4(3): 336-53.

7. พิริยะ อนุกุล. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก: ศึกษาเฉพาะกรณี เทศบาลตำบลวังวิเศษ อำเภอวังวิเศษ
จังหวัดตรัง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขายุทธศาสตร์การพัฒนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. 2551.

8. สุพัฒน์ ปัญจมทุม, สกุลลักษณ์ ผากอง, และมานพทองตัน. การดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนอำเภอหนองแค
จังหวัดสระบุรี. วารสารควบคุมโรค 2547; 31(3):67-73.

9. วิโรจน์ ฤทธาธร. ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติในการดำเนินงาน ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกของเจ้าหน้าที่หน่วยควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ปริญญาพัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพัฒนาสังคมสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. 2543.

10. ทวีศักดิ์ วัดอุดม.การมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกกรณีศึกษา อำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัด
สุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต(พัฒนาสังคม) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. 2543.

11. เนรมิต จันทร์ทอง. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก:ศึกษาเฉพาะกรณี ตำบลหนองหิน อำเภอเมือง
ยโสธร จังหวัดยโสธร. วิทยานิพนธ์ปริญญาพัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพัฒนาสังคมสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. 2540.

12. พลเกต อินตา. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก ศึกษากรณี: อบต.ขนาดใหญ่ในเขตอำเภอ เมืองเชียงใหม่
จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2547.

13. ปาริชาติ วลัยเสถียร และคนอื่นๆ. กระบวนการและเทคนิคการทำงานของนักพัฒนา. กรุงเทพมหานคร:สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย; 2543.

14. ชินรัตน์ สมสืบ. การพัฒนาชนบท. ยะลา: วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา. (เอกสารอัดสำเนา). 2539.

15. Maslow. Motivation and personality. New York:Westriss Press; 1994.

Downloads

Published

2013-09-30

How to Cite

1.
พูลทอง ส, คำแฝง เ, หอมจันทร์ ช, คำแฝง จ, จันทร์หอม ท. การประเมินผลโครงการอำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี. Dis Control J [Internet]. 2013 Sep. 30 [cited 2024 Dec. 20];39(3):266-71. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/DCJ/article/view/155083

Issue

Section

Original Article