วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน https://he01.tci-thaijo.org/index.php/CUTJ <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน รับพิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่บทความวิจัย (Research Articles) และบทความวิชาการ (Academic Articles) ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์การอาหาร วิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล รวมทั้งสหสาขาวิชา ด้านการบริหารจัดการ การบัญชี และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง</p> th-TH cutjournal@christian.ac.th (Asst.prof. Apinun Untaweesin, Ph.D.) cutjournal@christian.ac.th (Mrs. Thanyarat Wanthae) Thu, 20 Mar 2025 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 เปรียบเทียบผลของการออกกำลังกายแบบวิลเลียมและการบริหารกล้ามเนื้อหน้าท้องที่ปฏิบัติที่บ้าน ต่ออาการปวดและความสามารถในการทำกิจกรรม ในเกษตรกรไทยที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรังแบบไม่จำเพาะเจาะจง https://he01.tci-thaijo.org/index.php/CUTJ/article/view/271298 <p>อาการปวดหลังส่วนล่างเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญในระดับโลก โดยเฉพาะแรงงานภาคเกษตรกรรม ที่ต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่สูงขึ้นจากลักษณะงานที่ต้องใช้ร่างกายอย่างหนัก กอปรกับการระบาดของโควิด-19 ได้ทวีปัญหานี้ให้ซับซ้อนยิ่งขึ้น เนื่องจากการเข้าถึงบริการสุขภาพแบบดั้งเดิมถูกจำกัด ดังนั้นจึงมีความจำเป็นในการพัฒนาทางเลือกการรักษาที่มีประสิทธิภาพซึ่งสามารถทำได้ที่บ้าน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิผลของการออกกำลังกายที่บ้านภายใต้การดูแล ระหว่างการออกกำลังกายแบบก้มหลังของวิลเลียมและการบริหารกล้ามเนื้อหน้าท้องแบบก้าวหน้า ต่อการลดปวด ความสามารถในการทำกิจกรรม ความมั่นคงของแกนกลางร่างกาย องศาการเคลื่อนไหวของหลังส่วนล่าง และระดับความพึงพอใจต่อการออกกำลังกาย ในเกษตรกรไทยที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรังแบบไม่เฉพาะเจาะจง โดยมีผู้เข้าร่วมการศึกษาจำนวน 45 คน (อายุเฉลี่ย 35.0±3.2 ปี) ประกอบอาชีพเกษตรกรรม 9.4±4.0 ปี มีอาการปวดหลังส่วนล่าง 8.6±3.6 เดือน ถูกสุ่มมาเข้าร่วมกลุ่มการออกกำลังกายแบบก้มหลังของวิลเลียม กลุ่มบริหารหน้าท้องแบบก้าวหน้า หรือกลุ่มควบคุม จำนวนกลุ่มละ 15 คน กลุ่มควบคุมได้รับแผ่นพับความรู้เกี่ยวกับอาการปวดหลัง กลุ่มออกกำลังกายแบบก้มหลังของวิลเลียม จำนวน 8 ท่า 10 ครั้งต่อเซ็ต 3 เซ็ตต่อวัน และกลุ่มบริหารกล้ามเนื้อหน้าท้องแบบก้าวหน้า จำนวน 5 ขั้น รวม 11 เซ็ตที่ระดับความหนัก 50-90% ของความสามารถสูงสุด โดยเป็นการออกกำลังกายที่บ้านภายใต้การดูแลของนักกายภาพบำบัด 3 วันต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 4 สัปดาห์ วิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างสามกลุ่มด้วยการทดสอบครัสคาลและวอลลิส ผลการวิจัยพบว่า ทั้งสองกลุ่มออกกำลังกายมีอาการปวดลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม (กลุ่มออกกำลังกายแบบวิลเลียม: ค่าเฉลี่ยการลดลง = 38.11%, 95% CI [30.5%, 45.7%]; กลุ่มบริหารกล้ามเนื้อหน้าท้อง: ค่าเฉลี่ยการลดลง = 51.56%, 95% CI [42.3%, 60.8%], p&lt;0.01) โดยกลุ่มบริหารกล้ามเนื้อหน้าท้องลดอาการปวดได้มากกว่ากลุ่มการออกกำลังกายแบบวิลเลียม (ความแตกต่างของค่าเฉลี่ย: 13.45%, 95% CI [6.5%, 20.4%], p&lt;0.01) อย่างไรก็ตาม ไม่พบความแตกต่างกันระหว่างการออกกำลังกายทั้งสองกลุ่มในด้านความสามารถในการทำกิจกรรม ความแข็งแรงมั่นคงของแกนกลางร่างกาย องศาการเคลื่อนไหวของหลังส่วนล่าง และระดับความพึงพอใจในการออกกำลังกาย ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า แม้การออกกำลังกายที่บ้านทั้งสองรูปแบบมีประสิทธิผลในการลดปวดได้ แต่การบริหารกล้ามเนื้อหน้าท้องอาจมีประสิทธิภาพในการลดปวดได้มากกว่า อย่างไรก็ตาม ไม่พบประสิทธิภาพที่ดีกว่ากันในผลลัพธ์ด้านสมรรถภาพอื่นๆ ซึ่งชี้ให้เห็นว่า การออกกำลังกายทั้งสองรูปแบบสามารถเป็นทางเลือกในการรักษาดูแลผู้ที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างได้ โดยเฉพาะในสถานการณ์หลังการระบาดของโควิด-19 และบริบทสังคมยุค "ความปกติใหม่"</p> ธฤษณุวัชร ไชยโคตร, หทัยชนก หมากผิน, วลีวรรณ เจริญกิจการค้า Copyright (c) 2025 มหาวิทยาลัยคริสเตียน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/CUTJ/article/view/271298 Thu, 20 Mar 2025 00:00:00 +0700 อิทธิพลเชิงสาเหตุของการจัดการเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อขอบเขตความสามารถทางการแข่งขัน และผลการดำเนินงานของผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมและที่พักจังหวัดน่าน https://he01.tci-thaijo.org/index.php/CUTJ/article/view/272570 <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นต่อการจัดการเชิงกลยุทธ์ ขอบเขตความสามารถทางการแข่งขัน และผลการดำเนินงานของผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมและที่พักจังหวัดน่าน และ 2) ศึกษาอิทธิพลเชิงสาเหตุระหว่างการจัดการเชิงกลยุทธ์ ขอบเขตความสามารถทางการแข่งขัน และผลการดำเนินงานของผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมและที่พักจังหวัดน่าน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมและที่พักจังหวัดน่าน จำนวน 240 ราย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ทำการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัย พบว่า ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อผลการดำเนินงานของผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมและที่พักจังหวัดน่านในกลุ่มรวมมากที่สุด ด้านขอบเขตความสามารถทางการแข่งขัน ( <span class="CCcommand"><img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\beta&amp;space;" alt="equation" /></span> = 0.645, p &lt;0.001) รองลงมา ด้านผลการดำเนินงาน ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\beta&amp;space;" alt="equation" />= 0.445, p &lt;0.001) ส่วนอิทธิพลทางอ้อมของตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อผลการดำเนินงานของผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมและที่พักจังหวัดน่าน พบว่า ตัวแปรด้านการจัดการเชิงกลยุทธ์มีอิทธิพลทางอ้อมโดยผ่านตัวแปรด้านขอบเขตความสามารถทางการแข่งขัน ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\beta&amp;space;" alt="equation" />= 0.405, p &lt;0.001) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ข้อค้นพบจากงานวิจัยจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมและที่พักในการสร้างผลการดำเนินงานผ่านการจัดการเชิงกลยุทธ์ และขอบเขตความสามารถทางการแข่งขัน</p> ศรวัสย์ สมสวัสดิ์, กฤษดากร เพ็ชรดิษฐ, สุมนธา คชฤทธิ์ Copyright (c) 2025 มหาวิทยาลัยคริสเตียน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/CUTJ/article/view/272570 Thu, 20 Mar 2025 00:00:00 +0700 ผลของการฝึกด้วยกลยุทธ์การใช้สะโพกและข้อเท้าบนพื้นที่สั่นต่อภาวะกลัวล้มและ สมรรถภาพทางกายในผู้สูงอายุ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/CUTJ/article/view/272498 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการฝึกด้วยกลยุทธ์การใช้สะโพกและข้อเท้าบนพื้นที่สั่นต่อภาวะกลัวล้มและสมรรถภาพทางกายในผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีภาวะกลัวล้มระดับมาก จำนวน 48 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มๆ ละ 16 คน ทำการฝึกตามโปรแกรมที่กำหนด เป็นเวลา 8 สัปดาห์ โดยกลุ่มที่ 1 ฝึกกลยุทธ์การใช้สะโพกและข้อเท้าบนพื้นที่ไม่สั่น กลุ่มที่ 2 ฝึกกลยุทธ์การใช้สะโพกและข้อเท้าบนพื้นที่สั่น และกลุ่มควบคุมฝึกด้วยโปรแกรมออกกำลังกายทั่วไป วิเคราะห์ความแตกต่างของภาวะกลัวล้มระหว่างกลุ่มควบคุม กลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 ด้วยวิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) วิเคราะห์ข้อมูลภาวะกลัวล้ม และสมรรถภาพทางกาย ด้านความแข็งแรงและความอดทนของกล้ามเนื้อ การทรงตัว และเวลาปฏิกิริยา ก่อนการทดลอง หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 4 และ 8 ของทั้งสามกลุ่ม ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (One-way Repeated Measure ANOVA)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 8 กลุ่มควบคุม กลุ่มทดลองที่ 1 และกลุ่มทดลองที่ 2 มี ภาวะกลัวล้มแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05) และพบว่า ภาวะกลัวล้ม ความแข็งแรงและความอดทนของกล้ามเนื้อ การทรงตัว และเวลาปฏิกิริยาของกลุ่มควบคุม กลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05) ทั้งสามช่วงเวลา การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าการฝึกควบคุมระดับสะโพกและข้อเท้าบนพื้นที่สั่น มีประสิทธิภาพในการลดภาวะกลัวล้มในผู้สูงอายุที่มีภาวะกลัวล้มระดับมากได้ สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางการฝึกเพื่อลดความเสี่ยงหกล้มในผู้สูงอายุ และเป็นทางเลือกในการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีความรู้และวางแผนการดูแลสุขภาพร่างกายเพื่อป้องกันภาวะกลัวล้ม ไปจนถึงสนับสนุนการเข้าถึงความครอบคลุมของบริการสร้างเสริมสุขภาพ การคัดกรอง และป้องกันภาวะกลัวล้มในระยะเริ่มต้นของการเสี่ยงหกล้มในผู้สูงอายุที่โรงพยาบาลได้</p> กมลวรรณ ทองสัมฤทธิ์, อำพร ศรียาภัย, สุพิตร สมาหิโต Copyright (c) 2025 มหาวิทยาลัยคริสเตียน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/CUTJ/article/view/272498 Thu, 20 Mar 2025 00:00:00 +0700 ความก้าวหน้าและโอกาสในงานวิจัยการบัญชีบริหารในประเทศไทย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/CUTJ/article/view/272760 <p>การบัญชีบริหารเป็นเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจและสร้างความยั่งยืนให้แก่องค์กร โดยเฉพาะกับสภาพแวดล้อมที่มีความไม่แน่นอนของประเทศไทย บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อชี้ให้เห็นถึงวารสารที่ตีพิมพ์ผลการวิจัยและแนวโน้มของการศึกษาวิจัยการบัญชีบริหารในประเทศไทย ลักษณะและรูปแบบของการศึกษาวิจัยการบัญชีบริหารในประเทศไทยในปัจจุบัน และช่องว่างและโอกาสสำหรับงานวิจัยการบัญชีบริหารในประเทศไทยในอนาคต คณะผู้วิจัยได้คัดเลือกบทความที่มีความน่าเชื่อถือจากวารสารที่อยู่ใน TCI tier 1 จากระบบฐานข้อมูล ThaiJO ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 - 2567 เป็นจำนวนทั้งสิ้น 209 บทความ และดำเนินการรวบรวมข้อมูลจากบทคัดย่อและเนื้อหาที่ตีพิมพ์เพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์เนื้อหาอย่างเป็นระบบและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย พบว่า การบัญชีบริหารส่วนใหญ่ตีพิมพ์ในวารสารการบัญชีและการจัดการ วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียนและจุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์ และมีแนวโน้มของการศึกษาเพิ่มขึ้นมากจากในอดีตตามสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงไป ลักษณะของการวิจัยการบัญชีบริหารในปัจจุบันส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับแนวคิดและเครื่องมือการบริหารต้นทุน (Cost management) ที่จะส่งผลต่อผลการดำเนินงาน โดยการวิจัยส่วนใหญ่เป็นการวิจัยเชิงประจักษ์และเครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลยังคงเป็นแบบสอบถามกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหาร ซึ่งทำให้เกิดช่องว่างของการวิจัยในอนาคตสำหรับการวิจัยบัญชีบริหารโดยการนำแนวคิดของการบริหารแบบใหม่มาประยุกต์ใช้ การอ้างอิงถึงทฤษฎีอย่างชัดเจน และการปรับเปลี่ยนรูปแบบและวิธีการวิจัยที่จะเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับผลลัพธ์ของการวิจัยด้วยการวิจัยแบบผสมหรือการใช้ข้อมูลทุติยภูมิ ผู้วิจัยและผู้ที่สนใจได้เห็นถึงช่องทางการเข้าถึงงานวิจัยการบัญชีบริหารและนำมาปรับใช้เพื่อแก้ไขปัญหาและศึกษาวิจัยในอนาคต สามารถนำแนวคิดของการบัญชีบริหารมาประยุกต์ใช้กับบริบทที่สอดคล้องกับผลการวิจัย และพัฒนาการศึกษาวิจัยในแนวทางที่แตกต่างจากการศึกษาวิจัยในอดีต</p> บุญญารัตน์ ยรรยงพาณิชย์, พงศกร ยรรยงพาณิชย์, ศรีรุ่งรัตน์ สุดสมบูรณ์ Copyright (c) 2025 มหาวิทยาลัยคริสเตียน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/CUTJ/article/view/272760 Thu, 20 Mar 2025 00:00:00 +0700 การพัฒนาผลิตภัณฑ์กล้วยหอมคาเวนดิชผงชงดื่มผสมธัญญาหาร โดยใช้เครื่องทำแห้งแบบลูกกลิ้งคู่ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/CUTJ/article/view/272687 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการผลิตกล้วยหอมคาเวนดิชผงชงดื่มโดยใช้เครื่องทำแห้งแบบลูกกลิ้ง โดย 1) ศึกษาผลของอุณหภูมิผิวลูกกลิ้ง (120, 130 และ 140 องศาเซลเซียส) และปริมาณมอลโตเดกซ์ตริน (ร้อยละ 100, 150 และ 200 น้ำหนักแห้งของกล้วยสด) ต่อคุณภาพของกล้วยหอมคาเวนดิชผงด้วยวิธีแฟคทอเรียล 3<sup>2</sup> ในแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (3<sup>2</sup> Factorial in Completely Randomized Design; CRD) จากนั้นนำกล้วยหอมคาเวนดิชผงมาตรวจสอบคุณสมบัติทางเคมี กายภาพ และประสาทสัมผัส 2) ศึกษาปริมาณกล้วยหอมคาเวนดิชผงที่เหมาะสมในการผลิตการพัฒนาผลิตภัณฑ์กล้วยหอมคาเวนดิชผงชงดื่มผสมธัญญาหาร จากการศึกษา พบว่า เมื่ออุณหภูมิผิวลูกกลิ้งสูงขึ้น ส่งผลให้ค่าปริมาณน้ำอิสระ ค่าความชื้น ค่าสี a* ค่าดัชนีการดูดซับน้ำมีแนวโน้มลดลง ในขณะที่ค่าสี L*, b* ค่าดัชนีการละลายน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และเมื่อปริมาณมอลโตเดกตรินซ์มีค่าเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ค่าความชื้น ค่าสี a*, b* และค่าดัชนีการดูดซับน้ำ มีแนวโน้มลดลง ในขณะที่ค่าสี L*มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งสภาวะที่เหมาะสมที่ใช้ในการผลิตกล้วยหอมคาเวนดิชผง ได้แก่ อุณหภูมิผิวลูกกลิ้งที่ 140 องศาเซลเซียส และความเข้มข้นของมอลโตเดกซ์ตรินร้อยละ 150 น้ำหนักแห้งของกล้วยสด และศึกษาปริมาณกล้วยหอมคาเวนดิชผงที่เหมาะสมในการผลิตผลิตภัณฑ์กล้วยหอมคาเวนดิชผงชงดื่มผสมธัญญาหาร พบว่า ปริมาณกล้วยหอมคาเวนดิชผง 50 ส่วนต่อน้ำหนักของส่วนผสมอื่นๆ 100 ส่วน ผู้บริโภคให้การยอมรับสูงสุด โดยมีส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ประกอบด้วย ข้าวโอ๊ต จมูกข้าวสาลี งาดำ ถั่วเหลือง นมผง เวย์โปรตีน อินูลิน และน้ำตาลทรายแดง 10, 16, 5, 7, 20, 18, 13 และ 11 ส่วน ตามลำดับ ซึ่งเป็นการนํากล้วยหอมคาเวนดิชมาแปรรูปเป็นกล้วยหอมคาเวนดิชผงชงดื่มเพื่อเพิ่มมูลค่าในอุตสาหกรรมอาหาร ช่วยยืดอายุการเก็บรักษา พกพาสะดวก และตอบสนองความต้องการในเรื่องการดูแลสุขภาพ</p> สุวรนี ปานเจริญ, ผกาพันธ์ บัวพนัส, สุกัญญา หินใหม่, เพ็ญศิริ คงสิทธิ์ Copyright (c) 2025 มหาวิทยาลัยคริสเตียน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/CUTJ/article/view/272687 Thu, 20 Mar 2025 00:00:00 +0700 การศึกษาทางกายวิภาคศาสตร์ของหลอดเลือดบริเวณผนังหน้าท้อง เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนทางหลอดเลือดในหัตถการดูดไขมันที่บริเวณผนังหน้าท้องส่วนล่าง: เอกซเรย์คอมพิวเตอร์หลอดเลือด https://he01.tci-thaijo.org/index.php/CUTJ/article/view/272968 <p>หัตถการดูดไขมันได้รับความนิยมอย่างมาก ถูกคิดค้นและพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามภาวะเลือดออกจากการบาดเจ็บของหลอดเลือดระหว่างทำหัตถการอาจกลายเป็นปัญหาได้ เช่น ภาวะช็อคจากการสูญเสียสารน้ำหรือเลือด ซึ่งการศึกษาหลอดเลือดเพื่อการดูดไขมันหน้าท้องยังคงมีน้อย และตำแหน่งของหลอดเลือดที่หน้าท้องเหล่านี้อยู่ใกล้กับจุดทำหัตถการ ทำให้มีโอกาสที่หลอดเลือดเกิดการบาดเจ็บได้ การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาข้อมูลเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หลอดเลือดที่ครอบคลุมบริเวณหน้าท้องส่วนล่างและต้นขา จากการศึกษาทางกายวิภาคศาสตร์ของภาพข้อมูลเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หลอดเลือดที่ไม่มีพยาธิสภาพของหลอดเลือดในผนังหน้าท้อง จำนวน 100 ข้าง พบว่าหลอดเลือดแดงชั้นตื้นที่หน้าท้องส่วนล่าง (Inferior epigastric) มีต้นกำเนิดใต้ต่อปุ่มกระดูกที่ปีกเชิงกรานหน้า (ASIS) 47.81±3.80 มิลลิเมตร และวางตัวสัมพันธ์กับแกนมาตรฐานที่ตำแหน่งหนึ่งในสามทางด้านในของหน้าท้องหนึ่งข้าง (Y1) ที่ระยะ -1.64 ถึง +4.14 มิลลิเมตร และหลอดเลือดแดงชั้นลึกนี้มีตำแหน่งที่แทงเข้าในเยื่อหุ้มกล้ามเนื้อเรคตัส ห่างจากแกน Y1 ทางด้านใน 1.97±1.14 มิลลิเมตร และอยู่ต่ำกว่าปุ่มกระดูก ASIS 4.19±2.64 มิลลิเมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ย 2.12±1.75 มิลลิเมตร ดังนั้นข้อมูลทางกายวิภาคศาสตร์นี้จึงเป็นประโยชน์ให้แพทย์สามารถหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดที่เกิดจากการดูดไขมันหน้าท้องได้</p> เฉลิมขวัญ ณ พัทลุง, ศิริพร ธนามี, สัตพร เจริญสุข, วิวัฒน์ จรกิจ, อมรรัตน์ ยืนยงวัฒนกุล, สุกัญญา อุรุวรรณ, ธันวา ตันสถิตย์ Copyright (c) 2025 มหาวิทยาลัยคริสเตียน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/CUTJ/article/view/272968 Thu, 20 Mar 2025 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าร่วมกิจกรรมของประชาชนในเขตเทศบาล ตำบลกำแพงแสน อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม https://he01.tci-thaijo.org/index.php/CUTJ/article/view/273390 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการเข้าร่วมกิจกรรมของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลกำแพงแสน 2) ศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าร่วมกิจกรรมของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลกำแพงแสน และ 3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าร่วมกิจกรรมของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลกำแพงแสน อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลกำแพงแสน อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม จำนวน 366 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบโควตา เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าร่วมกิจกรรมของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลกำแพงแสน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ระดับการเข้าร่วมกิจกรรมของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลกำแพงแสน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าร่วมกิจกรรมของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลกำแพงแสน มีจำนวน 3 ปัจจัย ได้แก่ สภาพแวดล้อม ทัศนคติที่มีต่อท้องถิ่น และความน่าเชื่อถือของผู้นำ โดยร่วมกันอธิบายการเข้าร่วมกิจกรรมของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลกำแพงแสน ได้ร้อยละ 46.90 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .001 และสามารถสร้างเป็นสมการพยากรณ์การเข้าร่วมกิจกรรมของประชาชนในรูปคะแนนดิบ Y = 2.588 -0.031X<sub>5</sub>+0.195X<sub>2 </sub>+0.197X<sub>6 </sub>สมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนมาตรฐาน Z<sub>y</sub> = -0.042X<sub>5</sub> + 0.323X<sub>9 </sub>+ 0.309X<sub>6 </sub> ดังนั้น เทศบาลควรมีการจัดการด้านสภาพแวดล้อมที่ดี ส่งเสริมให้ประชาชนมีทัศนคติที่พร้อมจะเอื้อเฟื้อและช่วยเหลือผู้อื่น และพัฒนาทักษะการเป็นผู้นำ เพื่อทำให้ได้รับความเชื่อถือและการดำเนินการของเทศบาลตำบลกำแพงแสนก็มีความชอบธรรมตามไปด้วย</p> ธัญลักษณ์ รุ่งรัตน์ธวัชชัย, นิรันดร์ ยิ่งยวด, จุฑาทิพย์ ถาวรรัตน์ Copyright (c) 2025 มหาวิทยาลัยคริสเตียน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/CUTJ/article/view/273390 Thu, 20 Mar 2025 00:00:00 +0700 ปัจจัยส่วนบุคคลและแรงสนับสนุนทางสังคม ที่มีผลต่อการปฏิบัติงานป้องกันโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/CUTJ/article/view/273349 <p>การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและแรงสนับสนุนทางสังคม ที่มีผลต่อการปฏิบัติงานป้องกันโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 421 คน คัดเลือกโดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยการจับฉลากรายชื่อ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประกอบด้วย 3 ส่วน ส่วนที่ 1 ปัจจัยส่วนบุคคล ส่วนที่ 2 ปัจจัยแรงสนับสนุนทางสังคม ส่วนที่ 3 การป้องกันโรคไข้เลือดออก ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 คน หาค่าดัชนีความสอดคล้องมีค่าเท่ากับ 0.67 -1.00 นำไปทดลองใช้วิเคราะห์หาความเชื่อมั่นได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค ประกอบด้วย การได้รับข้อมูลข่าวสารเท่ากับ 0.760 ด้านการเข้าร่วมรณรงค์ป้องกันเท่ากับ 0.766 การได้รับการยกย่องชื่นชม เท่ากับ 0.759 การปฏิบัติงานป้องกันโรคไข้เลือดออก เท่ากับ 0.765 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบการถดถอยทีละขั้นตอน กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีการปฏิบัติงานป้องกันโรคไข้เลือดออกอยู่ในระดับสูง (<em>M</em>=3.98, <em>SD</em>=0.54) พยากรณ์โดยพิจารณาจากค่าสัมประสิทธิ์ถดถอย พบว่าตัวแปรที่พยากรณ์การป้องกันโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล การดำรงตำแหน่งอื่นๆ ในชุมชนและสถานภาพสมรส (B =-0.155, b=-0.155, B=0.071, b=0 .071, 95% CI=0.260- 0.395) และแรงสนับสนุนทางสังคมด้านการได้รับข้อมูลข่าวสาร การจัดกิจกรรมรณรงค์การป้องกันโรคไข้เลือดออก (B=0.327, b=0.227, 95% CI=0.125- 0.395, B=0.225, b=0.327, 95% CI=0.260- 0.395) มีผลต่อการปฏิบัติงานการป้องกันโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> <p>ผลวิจัยครั้งนี้นำมาใช้วางมาตรการการป้องกัน การควบคุมและลดอุบัติการณ์การเกิดโรคไข้เลือดออกในพื้นที่อำเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬต่อไป</p> หนึ่งบุรุษ ค่อมบุสดี, ทิวาภรณ์ ค่อมบุสดี Copyright (c) 2025 มหาวิทยาลัยคริสเตียน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/CUTJ/article/view/273349 Thu, 20 Mar 2025 00:00:00 +0700 ระบบสารสนเทศทางการบัญชีและคุณภาพรายงานการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/CUTJ/article/view/273450 <p>สหกรณ์ไทยมีความสำคัญในการส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์ในการรวมตัวกันของคณะบุคคลด้วยความสมัครใจช่วยเหลือกันทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของระบบสารสนเทศทางการบัญชีและความโปร่งใสของระบบสารสนเทศ ที่มีผลต่อคุณภาพรายงานการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากหัวหน้าบัญชีหรือเทียบเท่า จำนวน 220 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม LISREL 10.20 ผลการวิจัยพบว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของระบบสารสนเทศทางการบัญชี และความโปร่งใสของระบบสารสนเทศ ที่มีต่อคุณภาพรายงานการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ที่พัฒนาขึ้นสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ค่า (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\chi&amp;space;" alt="equation" /><sup>2</sup>/df=1.321, GFI=0.976, AGFI=0.929, CFI= 0.997, RMSEA=0.038, SRMR=0.029) ระบบสารสนเทศทางการบัญชีส่งผลทางตรงเชิงบวกต่อความโปร่งใสของระบบสารสนเทศ และคุณภาพรายงานการเงิน นอกจากนี้ยังส่งผลทางอ้อมเชิงบวกต่อคุณภาพรายงานการเงิน โดยมีความโปร่งใสของระบบสารสนเทศเป็นตัวแปรส่งผ่าน สามารถร่วมกันทำนายคุณภาพรายงานการเงินได้ร้อยละ 82.70 (R<sup>2</sup>=0.827) ดังนั้นคณะกรรมการสหกรณ์ควรให้ความสำคัญกับระบบสารสนเทศทางการบัญชี เพื่อเสริมสร้างนวัตกรรมธุรกิจ ซึ่งนำไปสู่คุณภาพรายงานทางการเงินและส่งเสริมความยั่งยืนของสหกรณ์ และสังคมจะได้ประโยชน์จากคุณภาพรายงานการเงินเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการควรคุมการดำเนินงานของธุรกิจให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล</p> รนกร สุภจินต์ Copyright (c) 2025 มหาวิทยาลัยคริสเตียน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/CUTJ/article/view/273450 Thu, 20 Mar 2025 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการนอนหลับกับเฮลท์สแปน: กลไกทางชีววิทยาและผลกระทบต่อสุขภาพ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/CUTJ/article/view/272156 <p>บทความวิชาการนี้มุ่งเน้นการนำเสนอหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนความสำคัญของการนอนหลับต่อสุขภาพโดยรวม โดยเน้นย้ำถึงความสัมพันธ์ระหว่างกลไกทางชีววิทยาของการนอนหลับกับสุขภาพและความเสี่ยงของโรคสำคัญที่พบทั่วไปในปัจจุบัน เช่น โรคหัวใจและโรคมะเร็ง การศึกษานี้เลือกบทความที่ใช้การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและการวิเคราะห์อภิมานเพื่อลดอคติและเพิ่มความน่าเชื่อถือของผลการวิจัยโดยวิเคราะห์ผลรวมจากหลายการศึกษาที่มีประเด็นปัญหาการวิจัยเดียวกัน นอกจากนี้ยังเน้นการวิจัยเกี่ยวกับการใช้สมุนไพรไทยและสูตรตำรับยาแผนโบราณที่ส่งเสริมการนอนหลับทั้งสำหรับบุคคลทั่วไปและผู้ที่ประสบปัญหาการนอนหลับ</p> ศุภศิษฏ์ อรุณรุ่งสวัสดิ์, ธนัชพร คงไชย, เกรียงไกร การชัยศรี Copyright (c) 2025 มหาวิทยาลัยคริสเตียน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/CUTJ/article/view/272156 Thu, 20 Mar 2025 00:00:00 +0700 การเปลี่ยนแปลงที่ต้องได้รับการจัดการ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/CUTJ/article/view/273776 <p>การเปลี่ยนแปลงเป็นธรรมดาของทุกสิ่งไม่มีอะไรเที่ยงแท้แน่นอนตลอดไป เฉกเช่นเดียวกับการเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงขององค์การหากที่ต้องได้รับการจัดการเข้ามามีความเชื่อมโยงกัน หากการเปลี่ยนแปลงดำเนินไปตามลำพังแล้วอาจเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ไร้ซึ่งจุดหมาย และไร้ซึ่งการสนับสนุนที่สำคัญ การจัดการก็เช่นเดียวกันหากดำเนินไปตามลำพังก็เป็นการจัดการที่ไร้ทิศทาง ดังนั้น หากนำเอาการจัดการและการเปลี่ยนแปลงมาบูรณาการเชื่อมโยงกันอันเป็นแนวทางที่ห้อมล้อมไปด้วยแนวทาง วิธีการที่หลากหลาย มีการวางแผนที่เป็นขั้นตอน เพื่อทำให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงได้เห็นถึงและเข้าใจถึงความเชื่อมโยงกันทั้งสองประเด็น มีความพร้อมมีความสามารถในปรับตัวให้เข้าสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปไม่ว่าสภาพแวดล้อมเป็นเช่นไรองค์การก็มีความสามารถในการเอาตัวรอดจากวิกฤติการณ์ที่เกิดขึ้นไปได้ด้วยเพราะการจัดการการเปลี่ยนแปลง</p> ทัตเทพ ทวีไทย Copyright (c) 2025 มหาวิทยาลัยคริสเตียน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/CUTJ/article/view/273776 Thu, 20 Mar 2025 00:00:00 +0700