วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน https://he01.tci-thaijo.org/index.php/CUTJ <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน รับพิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่บทความวิจัย (Research Articles) และบทความวิชาการ (Academic Articles) ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์การอาหาร วิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล รวมทั้งสหสาขาวิชา ด้านการบริหารจัดการ การบัญชี และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง</p> มหาวิทยาลัยคริสเตียน th-TH วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน 1685-1412 ผลของการบริโภคอาหารต่อจุลินทรีย์ในลำไส้และสุขภาพ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/CUTJ/article/view/266780 <p> อาหารมีผลสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของจุลินทรีย์ในลำไส้ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพ โดยจุลินทรีย์สามารถผลิตสารเมแทบอไลต์ที่ส่งเสริมการมีสุขภาพที่ดีรวมทั้งส่งผลต่อการเกิดโรคในโฮสต์ได้ ซิมไบโอติก แบคทีเรีย (Symbiotic bacteria) เป็นแบคทีเรียที่มีความสัมพันธ์ในการให้ประโยชน์ซึ่งกันและกันระหว่างแบคทีเรียและโฮสต์ สารเมแทบอไลต์จากซิมไบโอติกแบคทีเรีย สามารถต่อต้านการรุกรานของจุลินทรีย์ก่อโรค ขณะที่แบคทีเรียที่ใช้ใยอาหารเช่น ธัญพืช ผักและผลไม้ซึ่งไม่สามารถย่อยได้ด้วยเอนไซม์ในระบบทางเดินทางอาหารจากกระบวนการหมักได้สารประกอบกรดไขมันสายสั้น (Short chain fatty acids, SCFAs) เช่น บิวไทเรท โพรปิโอเนต และอะซีเตท ซึ่งมีส่วนช่วยในการควบคุมกระบวนการเมแทบอลิซึมของร่างกายและป้องกันการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและโรคเสื่อมของระบบประสาท จุลินทรีย์ในลำไส้บางกลุ่มสามารถสลายกรดอะมิโนจากอาหารโปรตีนบางชนิดได้สารเมแทบอไลต์ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยสามารถเกิดสารประกอบที่เป็นสารพิษที่ออกฤทธิ์ต่อเซลล์ ขณะที่สารประกอบกรดอินโดล-โพรปิโอเนต (Indole-propionate acid) จากกรดอะมิโนทริปโตเฟนจะช่วยรักษาสมดุลของลำไส้และป้องกันการอักเสบของลำไส้ได้ นอกจากนี้การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงและอาหารที่มีการแปรรูปสูงโดยมีส่วนประกอบของคาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการขัดสี มีน้ำตาลเชิงเดี่ยวหรือเกลือในปริมาณสูง จะทำให้แบคทีเรียที่ผลิตกรดไขมันสายสั้นมีจำนวนลดลง เพิ่มสารตั้งต้นการอักเสบและภาวะเครียดออกซิเดชันที่เป็นสาเหตุการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหรือโรคเสื่อมของระบบประสาท ขณะที่การรับประทานธัญพืช ผัก ผลไม้ที่มีสารพฤกษเคมีสามารถเพิ่มแบคทีเรียที่ดีต่อลำไส้ได้ ดังนั้น ความเข้าใจเกี่ยวกับผลของการบริโภคอาหารต่อจุลินทรีย์ในลำไส้และสุขภาพอาจมีส่วนช่วยในการนำไปประยุกต์เพื่อเป็นแนวทางบริโภคอาหารที่มีส่วนในการป้องกันการเกิดโรคและเป็นทางเลือกสำหรับการมีสุขภาพที่ดี</p> นิอร ชุมศรี ธนัชพร คงไชย อธิชา เนตรบุตร Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยคริสเตียน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-22 2024-03-22 30 1 137 150 ผลของโปรแกรมส่งเสริมแรงจูงใจต่อพฤติกรรมการป้องกัน ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดในสตรีกลุ่มเสี่ยง https://he01.tci-thaijo.org/index.php/CUTJ/article/view/262401 <p> การวิจัยกึ่งทดลองนี้แบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการป้องกันการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดของสตรีตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงต่อการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม เพื่อติดตามอุบัติการณ์การคลอดก่อนกำหนดของสตรีตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงคลอดก่อนกำหนดและเพื่อประเมินความพึงพอใจของสตรีตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงต่อการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดหลังเข้าร่วมโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเจาะจงจำนวน 20 คน จากสตรีตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงต่อการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดอย่างน้อย 1 ข้อ ที่มารับบริการในคลินิกฝากครรภ์โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมส่งเสริมแรงจูงใจต่อพฤติกรรมการป้องกันการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิแอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s alpha Coefficient) เท่ากับ 0.81 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติที ผลการวิจัยพบว่า 1) สตรีตั้งครรภ์กลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมป้องกันการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดหลังเข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมแรงจูงใจ (M=83.55, S.D.= 3.66) สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม (M =70.45, S.D.=6.47) อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 2) กลุ่มตัวอย่างมีอุบัติการณ์การคลอดก่อนกำหนดเท่ากับร้อยละ 5 และ 3) สตรีตั้งครรภ์กลุ่มเสี่ยงมีความพึงพอใจต่อการใช้โปรแกรมในระดับดี</p> <p> ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า โปรแกรมส่งเสริมแรงจูงใจต่อพฤติกรรมการป้องกันภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดในสตรีกลุ่มเสี่ยง สามารถช่วยให้สตรีตั้งครรภ์กลุ่มเสี่ยง มีพฤติกรรมป้องกันการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดดีขึ้น จากการสื่อสาร ให้ข้อมูล ที่เน้นให้เกิดความกลัวต่อการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดจนเกิดความเชื่อ ทัศนคติ ว่าการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดเป็นอันตรายต่อตนเองและทารก การสื่อสารผ่านทางแอปพลิเคชันไลน์ที่ประกอบด้วยการส่งข้อความ ข้อความเสียง รูปภาพ สติ๊กเกอร์ และวิดีทัศน์ เป็นการกระตุ้นให้กลุ่มตัวอย่างเกิดการเรียนรู้ได้โดยสะดวก ไม่จำกัดเวลา ดังนั้นพยาบาลจึงควรนำโปรแกรมส่งเสริมแรงจูงใจไปใช้เพื่อส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมป้องกันการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด เพื่อช่วยให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม ช่วยป้องกันและลดความรุนแรงได้</p> พัณณ์ชิตา จันทร์สุหร่าย Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยคริสเตียน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-16 2024-03-16 30 1 1 14 ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความภักดีของลูกค้าออนไลน์ในประเทศไทย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/CUTJ/article/view/263079 <p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความภักดีของลูกค้าออนไลน์ในประเทศไทย และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการสร้างความภักดีของลูกค้าออนไลน์ในประเทศไทย ใช้การวิจัยแบบผสานวิธี ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์ในประเทศไทย จำนวน 433 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบโควต้า ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยสถิติพื้นฐานและสถิติอ้างอิง ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้ประกอบการธุรกิจออนไลน์ จำนวน 10 ราย เลือกผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเจาะจง ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และนำมาวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) การรับรู้คุณค่าตราสินค้ามีอิทธิพลทางตรงต่อความภักดี และทางอ้อมต่อความภักดีของลูกค้าผ่านความไว้วางใจ 2) แนวทางการสร้างความภักดีของลูกค้า คือ ในเรื่องการรับรู้คุณค่าตราสินค้า ผู้ประกอบการ ควรสร้างการรับรู้ว่าสินค้าบนธุรกิจออนไลน์มีคุณภาพ เหมาะสมกับราคา สร้างความน่าเชื่อถือด้วยการพัฒนาสินค้าใหม่ ๆ มีการให้ข้อมูลอย่างโปร่งใส และสร้างความมีชื่อเสียงของตราสินค้า ส่วนการสร้างความไว้วางใจนั้น โดยการสร้างประสบการณ์ที่ดี สร้างความประทับใจตั้งแต่ครั้งแรกในการสั่งซื้อที่เกินความคาดหวัง มีความซื่อสัตย์โดยเฉพาะในเรื่องการชำระเงิน และสร้างความมั่นใจในการใช้สินค้าผ่านการรีวิวจากลูกค้าด้วยการใช้เทคนิคการส่งเสริมการขาย ข้อค้นพบจากงานวิจัยจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการออนไลน์ในประเทศไทย ในการพัฒนากลยุทธ์การสร้างความภักดี ผ่านการรับรู้คุณค่าตราสินค้า และความไว้วางใจ</p> พงษ์สันติ์ ตันหยง พัชรกันต์ นิมิตรศดิกุล Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยคริสเตียน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-16 2024-03-16 30 1 15 30 การพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวสูงวัย ในเมืองมรดกโลกสำหรับนักท่องเที่ยวสูงวัย (อำเภอพระนครศรีอยุธยา) https://he01.tci-thaijo.org/index.php/CUTJ/article/view/262668 <p> บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบและผลิตภัณฑ์ของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในเมืองมรดกโลกสำหรับนักท่องเที่ยวสูงวัย 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในเมืองมรดกโลกสำหรับนักท่องเที่ยวสูงวัย 3) พัฒนาและยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวสูงวัยในเมืองมรดกโลกสำหรับนักท่องเที่ยวสูงวัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed methods research) เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ เลือกเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 410 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive sampling) การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Independent และ ANOVA ใช้ค่าสถิติ T-test และ F-test การวิจัยเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่มย่อย การสนทนากลุ่ม และใช้การตรวจสอบสามเส้าด้านข้อมูล (Data triangulate) เป็นการพิสูจน์ความถูกต้องของของข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า</p> <p> 1) รูปแบบและผลิตภัณฑ์ของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในเมืองมรดกโลกสำหรับนักท่องเที่ยวสูงวัย ที่ค้นพบสามารถแยกออกเป็น 3 ประเภทหลัก (1) ผลิตภัณฑ์ประเภทอาหารและขนมไทย (2) ผลิตภัณฑ์ประเภทกลุ่มสมุนไพร (3) ผลิตภัณฑ์ประเภทของใช้ของตกแต่ง </p> <p> 2) การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในเมืองมรดกโลกสำหรับนักท่องเที่ยวสูงวัย พบว่ารูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวที่ต้องการคือ การใช้บริการทานอาหารหรือเครื่องดื่มในร้านอาหารชีวจิต รองลงมาคือ ด้านการใช้บริการยาดมสมุนไพรจากธรรมชาติ</p> <p> 3) ผู้วิจัยได้โมเดลกระบวนการพัฒนาและยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และจากกระบวนการพัฒนาได้ผลลัพธ์จากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ช่วยตอบโจทย์กลุ่มการท่องเที่ยวสูงวัย คือ ผลิตภัณฑ์ยาหม่องใบหูเสือ ยาหม่องน้ำใบหูเสือ และชาใบหม่อน</p> <p> ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ส่งผลให้เกิดการพัฒนาและยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพช่วยเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจฐานรากของชุมชน และกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนสามารถนำผลการวิจัยไปพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ชนิดอื่นได้เพิ่มขึ้น</p> กำธร แจ่มจำรัส ญาณิศา เผื่อนเพาะ Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยคริสเตียน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-16 2024-03-16 30 1 31 47 พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคโควิด-19 ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ในจังหวัดนครศรีธรรมราช https://he01.tci-thaijo.org/index.php/CUTJ/article/view/262952 <p> การวิจัยแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความเชื่อด้านสุขภาพ 2) พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคโควิด-19 และ 3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคโควิด-19 ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 419 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.835 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และ Multiple Logistic Regression โดยนำเสนอค่าสถิติ Adjusted OR, OR และ 95% Confidence interval</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า ความเชื่อด้านสุขภาพส่วนใหญ่ที่อยู่ในระดับสูง ได้แก่ การรับรู้ประโยชน์ สัมพันธภาพระหว่างบุคคล แรงจูงใจด้านสุขภาพ และการรับรู้ความรุนแรง (ร้อยละ 88.31, 81.62, 78.76 และ 69.93 ตามลำดับ) สำหรับการรับรู้อุปสรรคและการรับรู้โอกาสเสี่ยง ส่วนใหญ่อยู่ในระดับต่ำ (ร้อยละ 77.57 และ 53.46) พฤติกรรมการป้องกันตนเองส่วนใหญ่อยู่ในระดับเหมาะสม (ร้อยละ 54.65) ซึ่งมีสัดส่วนที่ใกล้เคียงกับระดับต้องปรับปรุง (ร้อยละ 45.35) เมื่อวิเคราะห์พหุตัวแปร พบว่า การรับรู้โอกาสเสี่ยงระดับสูง (AOR= 1.90; 95%CI= 1.19-3.02) การรับรู้ความรุนแรงระดับสูง (AOR= 1.96; 95%CI= 1.19-3.22) การรับรู้อุปสรรคระดับสูง (AOR= 1.80; 95%CI= 1.02-3.16) แรงจูงใจด้านสุขภาพระดับสูง (AOR= 1.80; 95%CI= 1.02-3.16) และสัมพันธภาพระหว่างบุคคลระดับสูง (AOR= 2.65; 95%CI= 1.44-4.88) มีโอกาสที่ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจะมีพฤติกรรมที่เหมาะสมกว่า 1.90, 1.96, 1.80 และ 2.65 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ที่อยู่ในระดับต่ำ</p> <p> จากผลวิจัยควรนำความเชื่อด้านสุขภาพมาประยุกต์ใช้เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงได้รับรู้การปฏิบัติที่ถูกต้อง ทั้งนี้ แรงจูงใจก็มีส่วนสำคัญ ฉะนั้นจึงควรจะต้องกระตุ้นให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันตนเอง และควรสร้างความตระหนักให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีพฤติกรรมการป้องกันตนเองที่ถูกต้อง</p> จิฑาภรณ์ ยกอิ่น บุญประจักษ์ จันทร์วิน Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยคริสเตียน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-16 2024-03-16 30 1 48 64 ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันในองค์กรของพนักงานกลุ่มเจเนอเรชัน Z บริษัทเบนช์มาร์ค อิเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) https://he01.tci-thaijo.org/index.php/CUTJ/article/view/263538 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันในองค์กรของพนักงาน 2) ศึกษาระดับความผูกพันในองค์กรของพนักงาน และ 3) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันในองค์กรของพนักงาน กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานบริษัทเบนช์มาร์ค อิเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กลุ่มเจเนอเรชัน Z ที่เกิดในปี พ.ศ. 2539-2547 จำนวน 175 คน ใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีค่าความตรงระหว่าง 0.67-1.00 ค่าความเชื่อมั่น 0.856 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยด้านความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงานอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านความสำเร็จในการทำงาน ลักษณะของงาน ความก้าวหน้า นโยบายและการบริหารงาน การบังคับบัญชา สภาพแวดล้อมทางกายภาพในการทำงาน ความมั่นคง และค่าตอบแทนและสวัสดิการ อยู่ในระดับมาก 2) ความผูกพันในองค์กรของพนักงาน อยู่ในระดับมาก และ 3) ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันในองค์กร มี 4 ตัวแปร ได้แก่ (1) ความมั่นคง (2) ความสำเร็จในการทำงาน (3) ค่าตอบแทนและสวัสดิการ และ (4) ตำแหน่งงานช่างเทคนิค สามารถร่วมกันทำนายความผูกพันในองค์กรของพนักงานกลุ่มเจเนอเรชัน Z บริษัท เบนช์มาร์ค อิเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ได้ร้อยละ 73.0 (R<sup>2</sup> = 0.730)</p> <p> บริษัทเบนช์มาร์คฯ ควรจะต้องให้ความสำคัญในการหาแนวทางส่งเสริมปัจจัยด้านความสำเร็จในงาน ความมั่นคง ค่าตอบแทนและสวัสดิการ และตำแหน่งงานช่างเทคนิค เพื่อเสริมสร้างความผูกพันในองค์กรสำหรับธำรงรักษาหรือวางแผนการรับพนักงานกลุ่มเจเนอเรชัน Z</p> ปารมี ตันติพานิช จุฑาทิพย์ ถาวรรัตน์ ศุภรักษ์ อธิคมสุวรรณ Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยคริสเตียน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-16 2024-03-16 30 1 65 76 บทบาทการตลาดสื่อสังคมออนไลน์ และประสบการณ์ตราสินค้า ที่ส่งผลต่อความภักดีในตราสินค้าผ่านความผูกพันของลูกค้าและคุณค่าตราสินค้า ของผลิตภัณฑ์บะหมี่/ก๋วยเตี๋ยวกึ่งสำเร็จรูป https://he01.tci-thaijo.org/index.php/CUTJ/article/view/263676 <p> การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) อิทธิพลของการตลาดสื่อสังคมออนไลน์ และประสบการณ์ตราสินค้าที่มีต่อความผูกพันของลูกค้าและคุณค่าตราสินค้า และ 2) อิทธิพลของความผูกพันของลูกค้า และคุณค่าตราสินค้าที่มีต่อความภักดีในตราสินค้า ในสินค้ากลุ่มผลิตภัณฑ์บะหมี่/ก๋วยเตี๋ยวกึ่งสำเร็จรูป โดยใช้วิธีการวิจัยแบบเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งทำการศึกษากับผู้ที่มีการบริโภคและแลกเปลี่ยนข้อมูลผลิตภัณฑ์บะหมี่/ก๋วยเตี๋ยวกึ่งสำเร็จรูปผ่านการสื่อสารออนไลน์ จำนวน 400 คน โดยการเลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลเป็นแบบก้อนหิมะหรือแบบลูกโซ่ (Snowball/Chain sampling) ใช้วิธีการแนะนำบอกต่อผ่านชุมชนออนไลน์ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโมเดลสมการโครงสร้าง</p> <p> ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่าการตลาดสื่อสังคมออนไลน์มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความผูกพันของลูกค้า นอกจากนี้ประสบการณ์ตราสินค้ามีอิทธิพลเชิงบวกต่อความผูกพันของลูกค้าและคุณค่าตราสินค้า โดยที่ความผูกพันของลูกค้าและคุณค่าตราสินค้ามีอิทธิพลเชิงบวกต่อความภักดีในตราสินค้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งจากผลการศึกษาที่ได้จะเป็นประโยชน์ต่อองค์กรและผู้ประกอบการหน้าใหม่สามารถใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการพัฒนาการวางแผนการตลาด พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ให้ตรงและทันต่อความต้องการตลาด สนับสนุนกลยุทธ์ในการรักษาหรือแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาดของผลิตภัณฑ์กลุ่มบะหมี่/ก๋วยเตี๋ยวกึ่งสำเร็จรูป</p> ศิริลักษณ์ กิจโสภา ชวนชื่น อัคคะวณิชชา Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยคริสเตียน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-16 2024-03-16 30 1 77 94 ผลการศึกษาคุณสมบัติทางเคมีและทางกายภาพของผลิตภัณฑ์เปลือกส้มโอหยี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/CUTJ/article/view/263617 <p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสูตรพื้นฐานเปลือกส้มโอหยี 2) ศึกษาปริมาณที่เหมาะสมของเปลือกขาวส้มโอในผลิตภัณฑ์ 3) ศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพ และเคมีของผลิตภัณฑ์ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ทดสอบชิมให้การยอมรับสูตรที่ 3 มากที่สุดในด้านลักษณะปรากฎ สี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวม โดยมีค่าเฉลี่ย 8.19, 8.24, 8.02, 8.76, 8.72 และ 8.74 ตามลำดับ อยู่ในระดับความชอบมาก เมื่อนำมาวิเคราะห์ ความแปรปรวน และเปรียบเทียบความแตกต่างทางสถิติ พบว่าด้านลักษณะปรากฏ สี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาปริมาณเปลือกขาวส้มโอที่แตกต่างกัน 4 ระดับ คือ ร้อยละ 0 ร้อยละ 40 ร้อยละ 60 และร้อยละ 80 ของปริมาณเนื้อมะขามทั้งหมด ผู้ทดสอบชิมให้การยอมรับที่ร้อยละ 60 มีความชอบมากที่สุดในด้านลักษณะปรากฎ สี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวม โดยมีค่าเฉลี่ย 7.30, 7.35, 7.45, 7.50, 7.40 และ 7.43 ตามลำดับ อยู่ในระดับความชอบปานกลาง เมื่อนำมาวิเคราะห์ความแปรปรวน และเปรียบเทียบความแตกต่างทางสถิติ พบว่าด้าน สี รสชาติ เนื้อสัมผัส ของสูตรที่มีปริมาณเปลือกขาวส้มโอมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ปริมาณเปลือกขาวส้มโอที่ต่างกัน ไม่มีผลต่อคะแนนความชอบ ด้านลักษณะปรากฏ กลิ่น และความชอบโดยรวมของหยีเสริมเปลือกขาวส้มโอ จากผลของคะแนนความชอบที่ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 พบว่าผลการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของหยีเสริมเปลือกขาวส้มโอสูตรที่ 3 (60%) พลังงาน ร้อยละ 269 ไขมัน ร้อยละ 0.20 โปรตีน ร้อยละ 0.50 คาร์โบไฮเดรต ร้อยละ 66.20 น้ำตาล ร้อยละ 52.30 โซเดียม ร้อยละ 84 ความชื้น ร้อยละ 32.42 และเถ้า ร้อยละ 0.73 คุณสมบัติทางกายภาพพบว่า มีค่าความสว่าง (L*) 26.65 ค่าสีเขียว (a*) 6.08 และค่าสีเหลือง (b*) 4.66 ผลการวิจัยสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการช่วยเรื่องการนำวัสดุเหลือใช้ของเปลือกส้มโอมาสร้างมูลค่าเพิ่มเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่และสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการและเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภค ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีใยอาหารและสารอาหาร และมีสารต้านอนุมูลอิสระ ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ร่างกาย สามารถนำข้อมูลที่ได้รับไปเป็นแนวทางในการนำเปลือกส้มโอไปใช้ประโยชน์ในผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ได้ อาทิเช่น อาหารคาว หวาน และเครื่องดื่ม เป็นต้น</p> เชาวลิต อุปฐาก สุธิดา กิจจาวรเสถียร ปรัศนีย์ ทับใบแย้ม เปรมระพี อุยมาวีรหิรัญ สิรดนัย กลิ่นมาลัย กฤตเมธ รองรัตน์ สุมภา เทิดขวัญชัย Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยคริสเตียน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-16 2024-03-16 30 1 95 108 สถานการณ์และปัจจัยที่เป็นเงื่อนไขของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองของกลุ่มเสี่ยง ในบริบทชุมชนกึ่งเมือง https://he01.tci-thaijo.org/index.php/CUTJ/article/view/264755 <p> การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้การศึกษาเอกสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การเกิดโรคหลอดเลือดสมองของกลุ่มเสี่ยงในบริบทของชุมชนกึ่งเมืองในเขตพื้นที่ อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ข้อมูลด้านเอกสารแผนยุทธศาสตร์สาธารณสุข อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พ.ศ. 2563-2565 เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบตรวจสอบเอกสาร ทดสอบความเที่ยงตรงของข้อมูลด้วยการวิเคราะห์สามเส้า และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) สถานการณ์การเกิดโรคหลอดเลือดสมองของกลุ่มเสี่ยงในบริบทชุมชนกึ่งเมือง ได้แก่ การจัดการปัญหาสุขภาพของพื้นที่ พฤติกรรมการบริโภคส่วนบุคคล และปัจจัยด้านสังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจต่อพฤติกรรมสุขภาพ และ 2) ปัจจัยที่เป็นเงื่อนไขการเกิดโรคหลอดเลือดสมองของกลุ่มเสี่ยงในบริบทชุมชนกึ่งเมือง ได้แก่ สภาพทั่วไป ค่านิยมการบริโภค สื่อ การเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ และข้อจำกัดการบริหารจัดการระบบบริการสุขภาพ ผลการวิจัยนี้สะท้อนถึงความสัมพันธ์ของมิติด้านสังคมวัฒนธรรมที่สัมพันธ์กับภาวะสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเกิดโรคเรื้อรังที่เกิดจากปัจจัยภายนอก และช่วยวางแผนปฏิบัติการด้านสุขภาพ ระบบการจัดบริการสุขภาพสำหรับประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง และพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองให้มีความเหมาะสมกับบริบท ลักษณะของคน เป็นการแก้ไขปัญหาที่สอดคล้องกับบริบทสังคม และวัฒนธรรมของชุมชน บุคลากรสุขภาพที่เกี่ยวข้องสามารถนำผลการศึกษาไปเป็นข้อมูลพื้นฐานในการกำหนดนโยบายสาธารณะเพื่อให้บริการ และร่วมกันดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป</p> ไพรินทร์ พัสดุ อารยา ทิพย์วงศ์ Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยคริสเตียน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-16 2024-03-16 30 1 109 122 ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะของตนต่อพฤติกรรมการออกกำลังกาย แบบก้าวตามตารางของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน https://he01.tci-thaijo.org/index.php/CUTJ/article/view/265247 <p> การวิจัยกึ่งทดลองแบบเปรียบเทียบ 2 กลุ่ม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริม การรับรู้สมรรถนะของตนด้านการออกกำลังกายแบบก้าวตามตารางต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน คัดเลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงได้ กลุ่มทดลอง 22 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 24 คน เครื่องมือประกอบด้วย 1) โปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะของตนด้านการออกกำลังกายแบบก้าวตามตาราง ประกอบด้วยกิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้จากบุคคลต้นแบบและสัญลักษณ์ตัวแบบ การสร้างแรงจูงใจและการให้กำลังใจด้วยวาจา การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการสะท้อนกลับด้วยผลลัพธ์ โปรแกรมมีระยะเวลา 8 สัปดาห์ เก็บข้อมูลก่อนและหลังการทดลองด้วยแบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะของตน และพฤติกรรมการออกกำลังกาย ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา มีค่า CVI เท่ากับ 0.70 และ 1.00 ตามลำดับ ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟา<em>ครอนบาคเท่ากับ</em> 0.78 และ 0.94 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบวิลคอกซันและแมนท์วิทนีย์</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า ภายหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีการรับรู้สมรรถนะของตน พฤติกรรมการออกกำลังกายแบบก้าวตามตาราง และค่าระดับน้ำตาลในเลือดดีกว่าก่อนการทดลองและดีกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 พยาบาลวิชาชีพและบุคลากรทีมสุขภาพพึงตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อลดอุบัติการณ์ผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่</p> สุพัตรา เชาว์ไวย วิราพร สืบสุนทร กิติพงษ์ เรือนเพ็ชร นงพิมล นิมิตรอานันท์ Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยคริสเตียน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-16 2024-03-16 30 1 123 136