https://he01.tci-thaijo.org/index.php/CUTJ/issue/feed
วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน
2024-09-03T00:00:00+07:00
Asst.prof. Apinun Untaweesin, Ph.D.
cutjournal@christian.ac.th
Open Journal Systems
<p> วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน รับพิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่บทความวิจัย (Research Articles) และบทความวิชาการ (Academic Articles) ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์การอาหาร วิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล รวมทั้งสหสาขาวิชา ด้านการบริหารจัดการ การบัญชี และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง</p>
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/CUTJ/article/view/270174
การบาดเจ็บทางกีฬาของนักวีลแชร์บาสเกตบอลในกีฬาพาราลิมปิก: อุบัติการณ์ กลไก และการป้องกัน
2024-04-01T15:28:21+07:00
ธฤษณุวัชร ไชยโคตร
dhissanuvach@hotmail.com
หทัยชนก หมากผิน
hathaichanok.m@gmail.com
กิตติพันธุ์ อรุณพลังสันติ
dhissanuvachc@christian.ac.th
<p>วีลแชร์บาสเกตบอลเป็นหนึ่งในชนิดกีฬาที่มีความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บสูง การบาดเจ็บทางกีฬาดังกล่าวสร้างผลกระทบต่อทั้งด้านร่างกายและจิตใจของนักกีฬา ทำให้สมรรถนะการแข่งขันกีฬาลดลง วัตถุประสงค์ของบทความวิชาการนี้เพื่อรวบรวมข้อมูลอุบัติการณ์การบาดเจ็บ ตำแหน่ง กลไก และลักษณะการบาดเจ็บที่พบบ่อยในนักกีฬาวีลแชร์บาสเกตบอลในพาราลิมปิก ซึ่งเป็นมหกรรมการแข่งขันกีฬาคนพิการที่สำคัญที่สุด พร้อมทั้งเสนอแนวทางการป้องกันการบาดเจ็บที่พบบ่อย จากการศึกษาพบว่าตำแหน่งการบาดเจ็บที่พบบ่อยมากที่สุดคือรยางค์บน โดยเฉพาะหัวไหล่ กระดูกสันหลัง ศีรษะ ข้อมือ และข้อศอก ปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บคือ ลักษณะการเคลื่อนไหวที่มีรูปแบบเฉพาะของกีฬาประเภทนี้ที่ทำให้เกิดการใช้งานหนักเกินไปของไหล่ และเกิดการปะทะกันระหว่างการแข่งขัน การวินิจฉัยที่พบบ่อย ได้แก่ การกระทบกระเทือนทางศีรษะ กล้ามเนื้อบาดเจ็บ/ฟกช้ำ ปวดกล้ามเนื้อ และแผลกดทับ บทความวิชาการนี้ได้แสดงข้อมูลที่สำคัญเพื่อนำไปสู่การป้องกันการบาดเจ็บทางกีฬาให้กับบุคลากรผู้เกี่ยวข้องในการจัดการฝึกซ้อมให้เหมาะสมเพื่อลดโอกาสการเกิดการบาดเจ็บ บทความนี้ยังได้เน้นย้ำความสำคัญของบทบาทเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ของทีมในการป้องกัน รักษา และฟื้นฟู การประยุกต์ใช้แนวทางการป้องกันการเกิดแผลที่เกิดจากการเสียดสีและกดทับ การพัฒนาคุณภาพการเคลื่อนไหวและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรยางค์บน และการฟื้นฟูการบาดเจ็บรยางค์บน อาจช่วยลดความเสี่ยง ความรุนแรงของการบาดเจ็บ และระยะเวลาในการรักษาและฟื้นฟู</p>
2024-09-03T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยคริสเตียน
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/CUTJ/article/view/265582
ปัจจัยทำนายที่มีผลต่อท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุดในหอผู้ป่วยหนัก
2023-08-27T10:55:55+07:00
ทิพวัลย์ ธีรสิริโรจน์
tippawan@bcnsprnw.ac.th
ศิริพร แก้วกุลพัฒน์
tippawan@bcnsprnw.ac.th
วจี กิจวรายุทธ
tippawan@bcnsprnw.ac.th
<p>งานวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยภาคตัดขวางชนิดเก็บข้อมูลย้อนหลัง (Retrospective cross-sectional study) จากแฟ้มเวชระเบียนผู้ป่วยเพื่อศึกษาความชุกของอัตราท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุด และปัจจัยทำนายที่มีผลต่อท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุดในหอผู้ป่วยหนัก กลุ่มตัวอย่างจำนวน 100 คน เป็นผู้ป่วยที่ได้รับการใส่ท่อทางเดินหายใจที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ ในระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2564 - 31 พฤษภาคม 2565 เลือกแบบสุ่มอย่างง่าย วิเคราะห์จัดกลุ่มตัวแปรโดยใช้ Chi-square test เพื่อคัดข้อมูลที่ Significantly เข้าสู่สมการหลังจากการวิเคราะห์ตัวแปรด้วย Bivariate analysis</p> <p>จากการศึกษาครั้งนี้พบว่ามีอุบัติการณ์ท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุด คิดเป็น 3.88 ครั้งต่อ 1,000 วัน ใส่ท่อช่วยหายใจ ปัจจัยที่มีผลต่อท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุดในหอผู้ป่วยหนัก ประกอบด้วย เพศชายมากกว่าเพศหญิง ส่วนใหญ่มีอายุ 61 ปีขึ้นไป และมีสถานภาพสมรสมากที่สุด สาเหตุของท่อทางเดินหายใจเลื่อนหลุดพบทั้งผู้ป่วยดึงท่อช่วยหายใจเองและท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุดเอง ซึ่งได้รับการวินิจฉัยโรคหลักที่พบบ่อย ได้แก่ โรคปอดอักเสบ ร้อยละ 15.38 โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ร้อยละ 7.69 ภาวะเลือดออกในสมอง ร้อยละ 3.85 และโรคตับวายเฉียบพลัน ร้อยละ 1.92 นอกจากนี้ยังพบว่าส่วนใหญ่ผู้ป่วยมีโรคร่วม ได้แก่ โรคหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน ร้อยละ 26.92 ภาวะโพแทสเซียมต่ำ ร้อยละ 21.15 ภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ ร้อยละ 7.69 ภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด ร้อยละ 7.69 ภาวะสมองบวม ร้อยละ 7.69 และโรคหลอดเลือดแดงหัวใจแข็ง ร้อยละ 7.69 และพบว่ามีปัจจัย 3 ด้านที่มีผลต่อท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุดในหอผู้ป่วยหนัก 1) ด้านผู้ป่วย คือ ผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว 2) ด้านแผนการรักษา คือ ผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจที่ยังไม่มีคำสั่งฝึกหย่าเครื่องช่วยหายใจมีผลต่อท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุด 3) ด้านการพยาบาล คือ การติดพลาสเตอร์เหนียวยึดท่อทางเดินหายใจเป็นรูปตัว K ดังนั้นพยาบาลจึงควรตระหนักและให้ความสำคัญปฏิบัติการพยาบาล รวมทั้งสร้างแนวปฏิบัติและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมการป้องกันเพื่อการจัดการปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ป้องกันเกิดอุบัติการณ์ท่อทางเดินหายใจผู้ป่วยเลื่อนหลุดที่เหมาะสมต่อไป</p>
2024-09-03T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยคริสเตียน
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/CUTJ/article/view/266452
การทดแทนแป้งสาลีบางส่วนด้วยแป้งมันเทศสีม่วง ต่อคุณค่าทางโภชนาการ คุณสมบัติทางกายภาพและเคมีของสโคน
2023-11-22T14:39:27+07:00
กัญญาพัชร เพชราภรณ์
kanyapat.pe@ssru.ac.th
จุฑามาศ มูลวงศ์
kanyapat.pe@ssru.ac.th
ณัฐพล ประเทิงจิตต์
kanyapat.pe@ssru.ac.th
กฤษณธร สาเอี่ยม
kanyapat.pe@ssru.ac.th
ณิช วงศ์ส่องจ้า
kanyapat.pe@ssru.ac.th
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณที่เหมาะสม ของการทดแทนใช้แป้งมันเทศสีม่วงทดแทนแป้งสาลีบางส่วน ต่อคุณค่าทางโภชนาการ ปริมาณและความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระในผลิตภัณฑ์สโคน เปรียบเทียบกับสโคนสูตรควบคุมที่ทำมาจากแป้งสาลี เมื่อศึกษาการทดแทนใช้แป้งมันเทศสีม่วงทดแทนแป้งสาลีบางส่วนในผลิตภัณฑ์สโคน พบว่าผลิตภัณฑ์มีค่าความสว่าง (L*) ค่าความเป็นสีเหลือง (b*) ลดลง ในขณะที่ค่าความเป็นสีแดง (a*) เพิ่มมากขึ้น และเมื่อทำการวิเคราะห์คุณภาพเนื้อสัมผัสนั้นพบว่ามีค่าความแข็ง (Hardness) เพิ่มขึ้น เมื่อสโคนมีปริมาณการทดแทนแป้งสาลีด้วยแป้งมันเทศสีม่วงในอัตราส่วนที่เพิ่มมากขึ้น และเมื่อประเมินคุณลักษณะทางประสาทสัมผัสของผลิตภัณฑ์สโคนด้วยวิธีการให้คะแนนความชอบแบบ 5 Points hedonic scale จากการทดแทนแป้งสาลีบางส่วนด้วยแป้งมันเทศสีม่วง พบว่าการทดแทนใช้แป้งมันเทศสีม่วงทดแทนแป้งสาลีบางส่วนที่ร้อยละ 10 ได้รับคะแนนความพึงพอใจทางประสาทสัมผัสในระดับดีคือ 3.56±0.81 ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 นอกจากนี้พบว่าการทดแทนใช้แป้งมันเทศสีม่วงทดแทนแป้งสาลีบางส่วนในผลิตภัณฑ์สโคนนั้นส่งผลให้มีปริมาณและกิจกรรมสารต้านอนุมูลอิสระ (DPPH) ปริมาณโพลีฟีนอลทั้งหมด และแอนโทไซยานินเท่ากับ 2.574±0.22 mM Trolox equivalent/g, 214.75±0.04 mg GAE/ 100 g และ 1.760±0.02 mg cyanidin-3-glucoside/100 g ตามลำดับ ซึ่งมีปริมาณมากกว่าสโคนสูตรพื้นฐานจากแป้งสาลีเพียงชนิดเดียว</p>
2024-09-03T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยคริสเตียน
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/CUTJ/article/view/266821
พฤติกรรมการใช้กัญชาและผลกระทบจากการใช้กัญชาในเขตบริการสุขภาพ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
2023-10-28T16:24:50+07:00
สุจิตตา ฤทธิ์มนตรี
kwaboo@kku.ac.th
จักรสันต์ เลยหยุด
kwaboo@kku.ac.th
ขวัญสุดา บุญทศ
kwaboo@kku.ac.th
<p>การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้กัญชาและผลกระทบจากการใช้กัญชาในเขตบริการสุขภาพในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ใช้กัญชาที่มีรายชื่อในระบบข้อมูลการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดของประเทศ (บสต.) ในเขตบริการสุขภาพในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปีพ.ศ. 2564 จำนวน 380 คน โดยใช้การสุ่มอย่างเป็นระบบ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและ วิเคราะห์ความแตกต่างของปีสุขภาวะที่สูญเสียไปโดยใช้การทดสอบของครัสคาล-วัลลิส</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างใช้กัญชาครั้งแรกมีอายุช่วง 15-17 ปี สาเหตุอยากลอง ใช้การสูบแบบมวน จำนวน 11-20 มวน/วัน สลับกับใช้บ้อง 3-4 ครั้ง/วัน ระยะเวลานานเฉลี่ย 8.63 ปี ส่วนใหญ่เป็นผู้ติด และยังคงใช้ร้อยละ 84.74 ผลกระทบด้านสุขภาพมีปีสุขภาวะที่สูญเสียไป (DALYs) เฉลี่ย 8.06 ปี/คน ไม่พบความแตกต่างทางนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของการสูญเสียปีสุขภาวะกับคุณลักษณะส่วนบุคคล ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ ทำให้สูญเสียค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการบำบัดรักษา การบังคับใช้กฎหมายและการฟ้องร้องคดีความ และอุบัติเหตุ เฉลี่ย 13,455.95 บาท/คน/ปี ผลกระทบด้านสังคมโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (<img src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?%5Cbar%7Bx%7D" alt="gif.latex?\bar{x}" />= 1.74, S.D.=0.58) โดยเกิดผลกระทบต่อชุมชน ต่อตนเอง และต่อครอบครัวมากที่สุดตามลำดับ ผลการวิจัยครั้งนี้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมเพื่อป้องกันการใช้กัญชาในทางที่ผิดเพื่อลดผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม</p>
2024-09-03T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยคริสเตียน
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/CUTJ/article/view/267012
องค์ประกอบองค์กรแห่งนวัตกรรมของโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย
2023-11-07T13:52:35+07:00
สุวินัย บุษราคัมวงษ์
suvinaib@hotmail.com
ไพศาล จันทรังษี
suvinaib@hotmail.com
ชิษณุพงศ์ ทองพวง
suvinaib@hotmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบองค์กรแห่งนวัตกรรมของโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่เจ้าหน้าที่ระดับบริหารโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย จำนวน 384 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามการวิจัยแสดงด้วยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคเท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน </p> <p>ผลการวิจัย พบว่า องค์ประกอบองค์กรแห่งนวัตกรรมของโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ เรียงลำดับความสำคัญดังนี้ (1) ด้านภาวะผู้นำ (2) ด้านโครงสร้างองค์กร (3) ด้านวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ (4) ด้านวัฒนธรรมองค์กร (5) ด้านการสื่อสาร และ (6) ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งผลการตรวจเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโครงสร้างเชิงองค์ประกอบองค์กรแห่งนวัตกรรมของโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า ค่าวัดระดับความกลมกลืน คือ Chi-square (χ<sup>2</sup>) = 599.060, df = 0.678, χ<sup>2</sup>/df (CMIN/DF) = 0.875, RMR = 0.011, RMSEA = 0.000, GFI = 0.922, AGFI = 0.902, TLI= 1.000 และ CFI = 1.000 แสดงว่าโครงสร้างองค์ประกอบองค์กรแห่งนวัตกรรมของโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทยเชิงยืนยัน มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ดังนั้นผู้บริหารของโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทยควรให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาสู่องค์กรแห่งนวัตกรรม การปรับเปลี่ยนคุณลักษณะองค์กร เพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าของบริบทโลกาภิวัตน์ที่มีความรู้และนวัตกรรมเป็นปัจจัยหลักในการเพิ่มคุณค่า พัฒนาการบริการที่ดีให้มีคุณภาพ เพื่อตอบสนองความต้องการและความพึงพอใจของลูกค้าเพื่อความอยู่รอด และความสามารถเชิงการแข่งขันขององค์กร</p>
2024-09-03T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยคริสเตียน
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/CUTJ/article/view/267025
โมเดลความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความมั่นคงในการทำงาน ความมุ่งมั่นทุ่มเทในงาน และผลการปฏิบัติงานของผู้แนะนำการลงทุนในประเทศไทย
2023-11-07T23:33:20+07:00
ณภัทร อำนัคฆมณี
napat.wealth@gmail.com
ชิษณุพงศ์ ทองพวง
napat.wealth@gmail.com
ปภากร สุวรรณธาดา
napat.wealth@gmail.com
<p>การวิจัยเชิงปริมาณนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโมเดลความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความมั่นคงในการทำงาน ความมุ่งมั่นทุ่มเทในงาน และผลการปฏิบัติงานของผู้แนะนำการลงทุนในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้แนะนำการลงทุนในประเทศไทย จำนวน 397 คน และได้มาด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถามการรับรู้ความมั่นคงในการทำงาน ความมุ่งมั่นทุ่มเทในงาน และผลการปฏิบัติงานของผู้แนะนำการลงทุนในประเทศไทย มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาคของแบบสอบถามเท่ากับ 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยายและสถิติการวิเคราะห์เส้นทาง</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า การรับรู้ความมั่นคงในการทำงานมีอิทธิพลทางตรงต่อความมุ่งมั่นทุ่มเทในงาน (β= 0.25, p< 0.05) การรับรู้ความมั่นคงในการทำงานมีอิทธิพลทางตรงต่อผลการปฏิบัติงาน (β= 0.17, p< 0.05) ความมุ่งมั่นทุ่มเทในงานมีอิทธิพลทางตรงต่อผลการปฏิบัติงาน (β= 0.31, p< 0.05) และการรับรู้ความมั่นคงในการทำงานมีอิทธิพลทางอ้อมต่อผลการปฏิบัติงานของผู้แนะนำการลงทุนในประเทศไทยโดยผ่านความมุ่งมั่นทุ่มเทในงาน (β= 0.08, p< 0.05) และการรับรู้ความมั่นคงในการทำงาน ความมุ่งมั่นทุ่มเทในงาน และผลการปฏิบัติงานของผู้แนะนำการลงทุนในประเทศไทยมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (CMIN/DF = 1.32 GFI = 0.96 AGFI = 0.91 RMSEA = 0.05 RMR = 0.01 CFI =.0.97) ดังนั้น หากผู้แนะนำการลงทุนในประเทศไทยมีความมุ่งมั่นทุ่มเทในงานก็จะส่งผลให้ผลการปฏิบัติงานมีประสิทธิผล สร้างความมั่นคงในการทำงานได้อย่างยั่งยืน</p>
2024-09-03T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยคริสเตียน
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/CUTJ/article/view/268164
ผลของโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะทางใจต่อความสามารถการรู้คิด สุขภาพจิตและปัญหาพฤติกรรมและอาการทางจิตผู้สูงอายุที่สงสัยภาวะสมองเสื่อม
2024-01-05T14:49:37+07:00
วิจิตร วรรธนะวุฒิ
kaivijid2521@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียววัดผลก่อน-หลัง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะทางใจต่อความสามารถการรู้คิด สุขภาพจิตและปัญหาพฤติกรรมและอาการทางจิตผู้สูงอายุที่สงสัยภาวะสมองเสื่อม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชนในเขตความรับผิดชอบของโรงพยาบาลนครชัยศรี ที่ได้รับการคัดกรองด้วยแบบทดสอบสภาพสมองเบื้องต้นฉบับภาษาไทย TMSE น้อยกว่า 24 คะแนน กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 30 คน กลุ่มตัวอย่างได้เข้าร่วมโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะทางใจทั้งหมด 6 ครั้งติดต่อกัน 6 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบประเมินสภาพสมองเบื้องต้นฉบับภาษาไทย (TMSE) สำหรับใช้ประเมินการรู้คิด แบบประเมินสุขภาพจิตผู้สูงอายุฉบับสั้น (T-GMHA-15) เพื่อใช้ประเมินสุขภาพจิต และแบบประเมินอาการทางระบบประสาทและอาการทางจิตของภาวะสมองเสื่อมฉบับภาษาไทย (NPI-Q) เพื่อใช้ประเมินอาการทางระบบประสาทและอาการทางจิตของภาวะสมองเสื่อม วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา และใช้สถิติทีแบบไม่เป็นอิสระ (Paired t-test)</p> <p> ผลการวิจัย พบว่าคะแนนเฉลี่ยความสามารถด้านการรู้คิด (<img src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?%5Cbar%7Bx%7D" alt="gif.latex?\bar{x}" />= 26.53, S.D.=2.79) และสุขภาพจิต (<img src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?%5Cbar%7Bx%7D" alt="gif.latex?\bar{x}" />= 46.50, S.D<em>.</em>=4.78) ของผู้สูงอายุที่สงสัยภาวะสมองเสื่อมหลังได้รับโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะทางใจ สูงขึ้นกว่าก่อนทดลอง (<img src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?%5Cbar%7Bx%7D" alt="gif.latex?\bar{x}" />= 23.73, S.D.=5.69; (<img src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?%5Cbar%7Bx%7D" alt="gif.latex?\bar{x}" />=44.07, S.D.=5.38) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em> < .05) นอกจากนั้น คะแนนเฉลี่ยอาการทางระบบประสาทและอาการทางจิตของภาวะสมองเสื่อม ( =0.07, S.D.=0.25) ของผู้สูงอายุหลังได้รับโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะทางใจลดลงกว่าก่อนทดลอง (<img src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?%5Cbar%7Bx%7D" alt="gif.latex?\bar{x}" />= 0.40, S.D<em>.</em>=0.81) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em> <.05) ดังนั้น พยาบาลจึงควรนำโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะทางใจไปใช้เพื่อเพิ่มความสามารถด้านการรู้คิด เสริมสร้างสุขภาพจิต และลดอาการทางระบบประสาทและอาการทางจิตของภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ</p>
2024-09-03T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยคริสเตียน
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/CUTJ/article/view/268537
ปฏิกิริยาลูกโซ่ด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรยางค์ส่วนล่าง ในนักกีฬาข้อเท้าไม่มั่นคงเรื้อรัง
2024-01-23T00:11:13+07:00
วิมลสิริ นาสุนทร
Wimonsiri.n@ku.th
อำพร ศรียาภัย
amphorn.s@ku.th
พรพล พิมพาพร
feduapsp@ku.ac.th
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปฏิกิริยาลูกโซ่ที่เกี่ยวข้องกับความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรยางค์ส่วนล่างในนักกีฬาข้อเท้าไม่มั่นคงเรื้อรัง และเปรียบเทียบความแตกต่างของความแข็งแรงของกล้ามเนื้อระหว่างนักกีฬาข้อเท้าไม่มั่นคงเรื้อรัง กับนักกีฬาข้อเท้าปกติ ในกลุ่มตัวอย่างนักกีฬาฟุตบอลชาย อายุ 19-25 ปี จำนวน 46 คน ที่ถูกคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ นักกีฬาข้อเท้าไม่มั่นคงเรื้อรัง และนักกีฬาข้อเท้าปกติ กลุ่มละ 23 คน ทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรยางค์ส่วนล่าง ประกอบด้วย ข้อเท้า ข้อเข่า และข้อสะโพก ด้วยเครื่องไอโซคิเนติก ขณะกล้ามเนื้อหดสั้นเข้า ด้วยความเร็วคงที่ 60 องศาต่อวินาที วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบค่าที วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน รวมทั้งสถิติแมนน์-วิทนีย์ที่ใช้กับตัวแปรที่แจกแจงแบบโค้งไม่ปกติ และกำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า นักกีฬาข้อเท้าไม่มั่นคงเรื้อรังมีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหมุนสะโพกเข้าแตกต่างกับนักกีฬาข้อเท้าปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (<em>p</em> = .04) ในส่วนความสัมพันธ์ของนักกีฬาข้อเท้าไม่มั่นคงเรื้อรัง ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบข้อเท้า กับความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบข้อเข่าและข้อสะโพกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p </em>> .05) งานวิจัยชี้ให้เห็นว่า การเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหมุนเข้าของข้อสะโพกในนักกีฬาข้อเท้าไม่มั่นคงเรื้อรัง ยังคงต้องให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่องควบคู่กับโปรแกรมการฝึกซ้อมหรือการฟื้นฟู รวมทั้งควรศึกษาถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กันตามแนวคิดปฏิกิริยาลูกโซ่เพิ่มเติม</p>
2024-09-03T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยคริสเตียน
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/CUTJ/article/view/268705
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดของผู้ต้องขังหญิง วัยหมดประจำเดือนในเรือนจำและทัณฑสถานหญิงภาคใต้
2024-01-30T13:02:31+07:00
พรลัดดา โชติศิริ
chotsirip@gmail.com
อุมาพร ปุญญโสพรรณ
ohm_da@hotmail.com
เรวดี เพชรศิราสัณห์
ohm_da@hotmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยความสัมพันธ์เชิงทำนาย (Predictive correlational research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดของผู้ต้องขังหญิงวัยหมดประจำเดือนในเรือนจำและทัณฑสถานหญิงภาคใต้ 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดของผู้ต้องขังหญิงวัยหมดประจำเดือนในเรือนจำและทัณฑสถานหญิงภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้ต้องขังหญิงวัยหมดประจำเดือนในเรือนจำและทัณฑสถานภาคใต้ 4 แห่ง จำนวน 161 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 2 ส่วนคือ 1) เครื่องมือคัดกรอง Cardiovascular disease (CVD) risk คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ Thai CVD risk 2) เครื่องมือรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 8 ส่วน ได้แก่ (1) แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป (2) แบบสอบถามพฤติกรรมป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด (3) แบบประเมินความเครียด 5 Stress test ของกรมสุขภาพจิต (4) แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับโรคและการปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด (5) แบบสอบถามการรับรู้ความรุนแรงของโรคหัวใจและหลอดเลือด (6) แบบสอบถามการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด (7) แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการปฏิบัติพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด และ (8) แบบสอบถามการรับรู้ความคาดหวังในประสิทธิผลเมื่อปฏิบัติพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สถิติอ้างอิง และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณแบบขั้นตอนที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับพฤติกรรมการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.61, S.D.=.016) โดยมีคะแนนเฉลี่ยด้านการรับประทานอาหารอยู่ในระดับปานกลาง ( = 24.51, S.D. = 2.68) คะแนนเฉลี่ยด้านการจัดการความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง ( = 21.14, S.D. = 2.14) คะแนนเฉลี่ยด้านการออกกำลังกาย อยู่ในระดับปานกลาง ( = 19.89, S.D. = 2.51) ปัจจัยที่สามารถทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ คือ ความเครียด ( = 0.675, p < .01) โดยอธิบายความแปรปรวนได้ ร้อยละ 51.20 (<em>Adjusted R<sup>2</sup></em><strong> =</strong> .512, p < .01) ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการนำความเครียดมาสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติพฤติกรรมการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตบริบทของผู้ต้องขังที่ถูกควบคุมภายในเรือนจำและทัณฑสถานหญิงภาคใต้ต่อไป</p>
2024-09-03T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยคริสเตียน
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/CUTJ/article/view/269695
การเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัลของธุรกิจการประเมินมูลค่าทรัพย์สินในประเทศไทย
2024-03-13T08:08:54+07:00
ชิษณุพงศ์ ทองพวง
thongpuang_n@hotmail.com
ปภากร สุวรรณธาดา
thongpuang_n@hotmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัลของธุรกิจการประเมินมูลค่าทรัพย์สินในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่นักประเมินมูลค่าทรัพย์สิน จำนวน 317 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามการวิจัยแสดงด้วยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคเท่ากับ 0.90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน </p> <p>ผลการวิจัย พบว่า การเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัลของธุรกิจการประเมินมูลค่าทรัพย์สินในประเทศไทย ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ เรียงลำดับความสำคัญดังนี้ 1) ความพร้อมด้านระบบดิจิทัล 2) ด้านภาวะผู้นำดิจิทัล 3) ด้านการปฏิบัติเป็นมาตรฐานการจัดการด้านดิจิทัล 4) ด้านการบริหารการเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัล 5) ด้านการออกแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ด้วยระบบดิจิทัล และ 6) ด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งผลการตรวจเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโครงสร้างเชิงองค์ประกอบการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัลของธุรกิจการประเมินมูลค่าทรัพย์สินในประเทศไทยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า ค่าวัดระดับความกลมกลืน คือ Chi-square (χ<sup>2</sup>) = 699.969, df = 0.699, χ<sup>2</sup>/df (CMIN/DF) = 0.895, RMR = 0.011, RMSEA = 0.000, GFI = 0.929, AGFI = 0.901, TLI= 1.000 และ CFI = 1.000 แสดงว่าโครงสร้างองค์ประกอบการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัลของธุรกิจการประเมินมูลค่าทรัพย์สินในประเทศไทย เชิงยืนยัน มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ดังนั้นผู้บริหารของธุรกิจการประเมินมูลค่าทรัพย์สินควรให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาสู่การเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัลของธุรกิจการประเมินมูลค่า การปรับเปลี่ยนคุณลักษณะองค์กร เพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าของบริบทโลกาภิวัตน์ที่มีการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัลเพื่อตอบสนองความต้องการและความพึงพอใจของลูกค้าเพื่อความอยู่รอด และความสามารถเชิงการแข่งขันขององค์กร</p>
2024-09-03T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยคริสเตียน