บูรพาเวชสาร https://he01.tci-thaijo.org/index.php/BJmed <p>คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ได้จัดทำวารสารบูรพาเวชสาร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ผลงานวิชาการทางการแพทย์ ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ ด้านสาธารณสุข การศึกษาทางคลินิก และการวิจัยที่ก้าวหน้าทันสมัย ซึ่งบทความที่ตีพิมพ์รับทั้งบทความภาษาไทยและอังกฤษ ออกเผยแพร่ ปีละ 2 ฉบับ (มกราคม - มิถุนายน และ กรกฎาคม - ธันวาคม) </p> <p>ISSN 2350-9996 (Print)</p> <p>ISSN 2822-0242 (Online)</p> th-TH [email protected] (Associate Professor Somjit Prueksaritanond) [email protected] (Somying Bookaew) Wed, 27 Dec 2023 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 บรรณาธิการแถลง https://he01.tci-thaijo.org/index.php/BJmed/article/view/268000 <p>วารสาร บูรพาเวชสาร คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ฉบับที่ท่านถืออยู่นี้เป็นฉบับปีที่ 10 ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2566 ซึ่งได้ตีพิมพ์เผยแพร่เป็นฉบับที่ 2 ของทุกปี นำเสนอบทความวิจัยที่เป็นนิพนธ์ต้นฉบับและบทความปริทัศน์ที่ทบทวนวิชาการด้านการแพทย์และสาธารณสุขของผู้ทรงคุณวุฒิและนักวิชาการ</p> สมจิต พฤกษะริตานนท์ Copyright (c) 2023 Burapha University https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/BJmed/article/view/268000 Wed, 27 Dec 2023 00:00:00 +0700 กรณีศึกษาภาวะแคลเซียมในเลือดสูงรุนแรงในผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ชนิดเคลียร์เซลล์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/BJmed/article/view/264427 <p><strong> </strong></p> <p><strong>บทนำ</strong> ภาวะแคลเซียมในเลือดสูงเป็นภาวะแทรกซ้อนทางอายุรศาสตร์ที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้ป่วยโรคมะเร็ง การค้นหาสาเหตุและให้การรักษาที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งจำเป็นในเวชปฏิบัติ</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong> เพื่อรายงานกรณีศึกษาการเกิดภาวะแคลเซียมในเลือดสูงรุนแรงในผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ชนิดเคลียร์เซลล์ ขั้นตอนการตรวจวินิจฉัย ผลการรักษาและการรักษาผู้ป่วย</p> <p><strong>วิธีการศึกษา</strong> ศึกษาข้อมูลย้อนหลัง ประวัติ การดำเนินโรค อาการ อาการแสดงของผู้ป่วยจากการซักประวัติ ตรวจร่างกาย ภาพถ่ายอาการแสดงของผู้ป่วย ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการและการติดตามการดำเนินโรคจากเวชระเบียนผู้ป่วย</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong> กรณีศึกษาผู้ป่วยแคลเซียมในเลือดสูงรุนแรงหนึ่งราย พบสาเหตุจากสารเพปไทด์คล้ายฮอร์โมนพาราไทรอยด์ ซึ่งเป็นภาวะที่พบได้ไม่บ่อยนักในผู้ป่วยโรคมะเร็งรังไข่ รวมถึงได้อภิปรายแนวทางการวินิจฉัยแยกโรค และการรักษาภาวะแคลเซียมสูงรุนแรงในผู้ป่วยรายนี้</p> <p><br /><strong>สรุป</strong> สารเพปไทด์คล้ายฮอร์โมนพาราไทรอยด์ใช้บ่งชี้ความรุนแรงของโรคมะเร็งรวมถึงการกลับเป็นซ้ำของตัวโรค การตรวจพบสารนี้ร่วมกับภาวะแคลเซียมในเลือดสูงจึงมีความสำคัญต่อกระบวนการรักษาโรค</p> ระวีวรรณ วิฑูรย์, อวฤทธิ์ โภคาธิกรณ์, อโนชา วนิชชานนท์ Copyright (c) 2023 Burapha University https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/BJmed/article/view/264427 Wed, 27 Dec 2023 00:00:00 +0700 การยอมรับทางรสชาติของเยลลี่น้ำบีทรูทในอาสาสมัครสุขภาพดี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/BJmed/article/view/255883 <p><strong>บทนำ </strong>บีทรูทถือเป็นผักเพื่อสุขภาพและเป็นหนึ่งในอาหารทางเลือกที่กำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน แต่การศึกษาเกี่ยวกับบีทรูทในประเทศไทยยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก โดยเฉพาะในแง่ของการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ</p> <p><strong>วัตถุประสงค์ </strong>เพื่อผลิตเยลลีน้ำบีทรูทสำหรับเป็นอาหารหวาน และเพื่อศึกษาระดับการยอมรับทางประสาทสัมผัสของเยลลีน้ำบีทรูทเทียบกับเยลลีสูตรควบคุมในอาสาสมัครสุขภาพดี</p> <p><strong>วิธีการศึกษา</strong> รูปแบบการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงทดลอง อาสาสมัครที่เข้าร่วมการวิจัยเป็นอาสาสมัครที่มีสุขภาพดี เพศชายและหญิง อายุ 18 - 30 ปี จำนวน 30 คน ผู้วิจัยทำการผลิตเยลลีน้ำบีทรูทและเยลลีสูตรควบคุม จากนั้นให้อาสาสมัครชิมเยลลีทั้ง 2 สูตร แบบสุ่มแล้วทำแบบประเมินการยอมรับทางประสาทสัมผัส โดยมีแบบประเมิน 3 แบบ ได้แก่ แบบประเมินความชอบแบบ 9-point hedonic scale แบบประเมินความชอบแบบบรรยายลักษณะ และแบบประเมินความชอบแบบระบุสเกล</p> <p><strong>ผลการศึกษา </strong>ผลการประเมินความชอบแบบ 9-point hedonic scale พบว่าเยลลีน้ำบีทรูทมีคะแนนเฉลี่ย<br />ด้านลักษณะปรากฏไม่แตกต่างจากเยลลีสูตรควบคุม แต่มีคะแนนเฉลี่ยด้านกลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และ<br />ความชอบรวมต่ำกว่าเยลลีสูตรควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p &lt; 0.05</em>) โดยเยลลีสูตรควบคุมและ<br />เยลลีน้ำบีทรูทมีคะแนนเฉลี่ยด้านความชอบรวมอยู่ในระดับเฉย ๆ ถึงชอบระดับเล็กน้อย และชอบระดับเล็กน้อย ตามลำดับ ผลการประเมินความชอบแบบบรรยายลักษณะพบว่าเยลลีน้ำบีทรูทมีคะแนนเฉลี่ยด้านลักษณะปรากฏ และเนื้อสัมผัสไม่แตกต่างจากเยลลีสูตรควบคุม แต่มีคะแนนเฉลี่ยด้านสี กลิ่น และรสชาติต่ำกว่าเยลลีสูตรควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p &lt; 0.05</em>) และผลการประเมินความชอบแบบระบุสเกลพบว่าเยลลีน้ำบีทรูทมี คะแนนเฉลี่ยด้านความหวาน ความหอม ความเข้มของรสชาติ และความหยุ่นไม่แตกต่างจากเยลลีสูตรควบคุม</p> <p><strong>สรุป</strong> เยลลีน้ำบีทรูทมีความแตกต่างจากเยลลีสูตรควบคุมด้านสี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบรวม เมื่อประเมินการยอมรับทางรสชาติด้วยแบบประเมินความชอบแบบ 9-point hedonic scale และแบบบรรยายลักษณะ โดยเยลลีสูตรควบคุมและเยลลีน้ำบีทรูทมีคะแนนเฉลี่ย ด้านความชอบรวมในระดับเฉย ๆ ถึงชอบระดับเล็กน้อย และชอบระดับเล็กน้อย ตามลำดับ จึงสรุปได้ว่าเยลลีสูตรควบคุมเป็นที่ยอมรับของอาสาสมัครมากกว่าเยลลีน้ำบีทรูท</p> นันทนา สมยาประเสริฐ, นรีกานต์ หนุนวงศ์, จิตติมา มุ่งรายกลาง , ปิยะพงษ์ ประเสริฐศรี Copyright (c) 2023 Burapha University https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/BJmed/article/view/255883 Wed, 27 Dec 2023 00:00:00 +0700 ความหลากหลายของยีนคาร์บาพีนีเมสในเชื้อ Carbapenemase-producing Enterobacterales ในโรงพยาบาลสมุทรปราการ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/BJmed/article/view/262233 <p><strong>บริบท</strong> ปัจจุบันเชื้อ Carbapenem-resistant <em>Enterobacterales</em> (CRE) ถือเป็นภัยคุกคามเร่งด่วนที่แพร่กระจายไปทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยด้วย โดยมีกลไกการดื้อยาที่พบมากที่สุดคือการสร้างเอนไซม์คาร์บาพีนีเมสหลากหลายชนิด</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong> เพื่อศึกษาความหลากหลายของยีนคาร์บาพีนีเมสในเชื้อ Carbapenemase-producing <em>Enterobacterales</em> (CPE) จากสิ่งส่งตรวจของผู้ป่วยในโรงพยาบาลสมุทรปราการ</p> <p><strong>วิธีการศึกษา</strong> เก็บเชื้อ <em>Enterobacterales</em> จากสิ่งส่งตรวจในช่วงเดือน สิงหาคม - ตุลาคม 2562 พิสูจน์เชื้อและทดสอบความไวต่อยาต้านจุลชีพด้วยเครื่องวิเคราะห์อัตโนมัติว่าเป็น CRE จำนวน 67 สายพันธุ์ จากนั้นตรวจหา CPE ด้วยวิธี modified carbapenem inactivation method, EDTA carbapenem inactivation method และตรวจหาความหลากหลายของยีนคาร์บาพีนีเมสด้วยวิธี multiplex PCR </p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong> เชื้อ CRE 67 สายพันธุ์ จำแนกเป็นเชื้อ <em>Klebsiella pneumoniae</em>, <em>Escherichia coli</em> และ <em>Enterobacter cloacae</em> ร้อยละ 85.07, 8.96 และ 5.97 ตามลำดับ พบว่าเป็น CPE ร้อยละ 89.55 เชื้อมียีนดื้อยา 3 ชนิด ได้แก่ <em>bla</em><sub>OXA-48-like</sub>, <em>bla</em><sub>NDM</sub> และ<em> bla</em><sub>KPC</sub> ร้อยละ 70.00, 56.67 และ 3.33 ตามลำดับ โดยพบเชื้อมียีน <em>bla</em><sub>OXA-48-like</sub> ร่วมกับ <em>bla</em><sub>NDM</sub> ร้อยละ 30.00 ในการศึกษานี้พบว่าความไวต่อยาต้านจุลชีพมีความสัมพันธ์กับชนิดของยีน เชื้อที่มียีน <em>bla</em><sub>OXA-48-like</sub> ไวต่อยา imipenem, meropenem, doripenem, amikacin และ tigecycline เชื้อที่มียีน<em> bla</em><sub>NDM</sub> ไวต่อยา amikacin และ tigecycline เชื้อที่มียีน<em> bla</em><sub>KPC </sub>ไวต่อยา tigecycline ส่วนเชื้อที่มียีน <em>bla</em><sub>OXA-48-like</sub> ร่วมกับ<em> bla</em><sub>NDM </sub>ไวต่อยา gentamicin, amikacin และ tigecycline เชื้อ CPE และ non-CPE ทั้งหมดยังไวต่อยา colistin</p> <p><strong>สรุป </strong>ความหลากหลายของยีนคาร์บาพีนีเมสและผลการทดสอบความไวต่อยาต้านจุลชีพจะเป็นข้อมูลเบื้องต้นทางด้านระบาดวิทยาเพื่อใช้ในการควบคุมและเฝ้าระวังการแพร่กระจายของเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาลสมุทรปราการ</p> <p><strong> </strong></p> วัชรินทร์ รังษีภาณุรัตน์ , พัชรี กัมมารเจษฎากุล, มานพ สุทธิประภา Copyright (c) 2023 Burapha University https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/BJmed/article/view/262233 Wed, 27 Dec 2023 00:00:00 +0700 ผลของสารสกัดจากเมล็ดกระทงลาย (Celastrus paniculatus Willd.) ต่อการมีชีวิตของเซลล์ ประสาทฮิปโปแคมปัสและซีรีบรัล คอร์เท็กซ์ในหนูแรทเพศผู้ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/BJmed/article/view/258733 <p><strong>บทนำ</strong> มีการรายงานว่าสารสกัดจากเมล็ดกระทงลายมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) และยับยั้งการตาย (apoptosis) ของเซลล์เพาะเลี้ยงได้ แต่ยังไม่มีการรายงานถึงผลต่อเซลล์ประสาทในสมองหนูแรท</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong> เพื่อศึกษาผลของสารสกัดจากเมล็ดกระทงลายต่อการเปลี่ยนแปลงทางเนื้อเยื่อสมอง รวมถึงฤทธิ์ในการยับยั้งการตายของเซลล์ประสาทผ่านกลไก apoptosis ในหนูแรทเพศผู้สายพันธุ์ Sprague Dawley</p> <p><strong>วิธีการศึกษา</strong> เป็นการศึกษาไปข้างหน้าแบบส่มุ และมีกล่มุ ควบคุมในหนูแรทอายุ 4 สัปดาห์ เพศผู้ จำนวน 12 ตัว หนูแรทกลุ่มทดลอง 6 ตัว ได้รับการฉีดสารสกัดจากเมล็ดกระทงลาย ขนาด 80 มก./กก. น้ำหนักตัว เข้าทางช่องท้องติดต่อกันทุกวันเป็นเวลา 2 สัปดาห์ และกลุ่มควบคุม 6 ตัว ได้รับการฉีดด้วย Dimethylsulfoxide (DMSO) ร้อยละ 0.5 ปริมาตร 0.2 มล. ทุกวันเป็นเวลา 2 สัปดาห์เช่นกัน พักหนูแรท 5 วันก่อนนำไปศึกษาเซลล์ประสาทฮิปโปแคมปัสด้วยวิธีย้อมสี hematoxylin และ eosin ศึกษาการแสดงออกของ anti-apoptotic<br />protein ชนิด BCL-2 ในซีรีบรัลคอร์เท็กซ์และฮิปโปแคมปัส ด้วยวิธี immunohistochemistry และศึกษาสัดส่วนการแสดงออกของ anti-apoptotic protein (BCL-2) และ pro-apoptotic protein (BAX) ซึ่งเป็นตัวกกำหนดสำคัญในการมีชีวิตรอดของเซลล์ประสาท ด้วยวิธี Western blot จากสมองทั้งลูก (whole brain) นอกจากนี้ ยังทำการบันทึกปริมาณอาหารและน้ำที่กิน และน้ำหนักหนู ตลอดการทดลอง</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong> หนูแรทที่ได้รับสารสกัดจากเมล็ดกระทงลายเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงน้ำหนักปริมาณน้ำและอาหารที่กินในแต่ละวัน แสดงว่าการได้รับสารสกัดจากเมล็ดกระทงลายไม่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย หนูแรทกลุ่มทดลองมีลักษณะการจัดเรียงตัวของเซลล์ประสาทภายในฮิปโปแคมปัสไม่แตกแต่งจากกลุ่มควบคุม เป็นไปได้ว่าสารสกัดจากเมล็ดกระทงลายไม่พบความเป็นพิษต่อเซลล์ประสาท และเมื่อศึกษากลไกการยับยั้งการตายของเซลล์ประสาทผ่านการแสดงออกของ BCL-2 ซึ่งเป็น anti-apoptotic protein และ BAX ซึ่งเป็น pro-apoptotic protein พบว่ากลุ่มทดลองมีการแสดงออกของ BCL-2 เพิ่มขึ้นทั้งในซีรีบรัลคอร์เท็กซ์และฮิปโปแคมปัส และเมื่อศึกษาสัดส่วนการแสดงออกของ BCL-2 ต่อ BAX พบว่าเพิ่มขึ้นในกลุ่มทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม ดังนั้นสารสกัดจากเมล็ดกระทงลายควบคุมสัดส่วนการแสดงออกของ BCL-2 ต่อ BAX จึงอาจจะมีบทบาทสำคัญต่อการปกป้องเซลล์ประสาท</p> <p><strong>สรุป</strong> การศึกษานี้บ่งชี้ว่าสารสกัดจากเมล็ดกระทงลายไม่พบความเป็นพิษต่อเซลล์ประสาทและยังส่งเสริมการมีชีวิตของเซลล์ด้วยการยังยั้งการเกิด apoptosis</p> <p> </p> ปุณณ์ณิษา กุลวงษ์, ปัณฑิตา แตงพันธ์ , ศิริประภา บุญมี , ศิริพร จำเนียรสวัสดิ์ Copyright (c) 2023 Burapha University https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/BJmed/article/view/258733 Wed, 27 Dec 2023 00:00:00 +0700 ประสิทธิผลและความปลอดภัยในการฉีดแอลกอฮอล์โดยใช้อัลตราซาวนด์นำทางไปยังเส้นประสาทมัสคิวโลคิวทาเนียสในผู้ป่วยหลอดเลือดสมองที่มีกล้ามเนื้องอข้อศอกหดเกร็ง การศึกษาแบบย้อนหลัง https://he01.tci-thaijo.org/index.php/BJmed/article/view/261465 <p><strong>บทนำ </strong>ปัจจุบันมีการฉีดสารละลายแอลกอฮอล์ไปยังเส้นประสาทเพื่อลดอาการเกร็งในผู้ป่วยหลอดเลือดสมองอย่างแพร่หลาย แต่การศึกษาการฉีดสารละลายแอลกอฮอล์ไปยังเส้นประสาทมัสคิวโลคิวทาเนียสในผู้ป่วยหลอดเลือดสมองที่มีภาวะข้อศอกหดเกร็งมีจำนวนน้อย และยังไม่มีการศึกษาที่ใช้อัลตราซาวนด์นำทางเพียงอย่างเดียวในการทำหัตถการนี้</p> <p><strong>วัตถุประสงค์ </strong>เพื่อศึกษาประสิทธิผลและความปลอดภัยของการฉีดสารละลายแอลกอฮอล์โดยใช้อัลตราซาวนด์นำทางไปยังเส้นประสาทมัสคิวโลคิวทาเนียสในผู้ป่วยหลอดเลือดสมองที่มีกล้ามเนื้องอข้อศอกหดเกร็ง</p> <p><strong>วิธีการศึกษา </strong>รวบรวมข้อมูลจากระบบอิเล็กทรอนิกส์ของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2565 ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีภาวะศอกงอเกร็ง Modified Ashworth Scale (MAS) elbow flexor ≥ 1+ และได้รับการฉีดสารละลายแอลกอฮอล์โดยใช้อัลตราซาวนด์นำทาง ที่แผนกผู้ป่วยนอก ฝ่ายเวชศาสตร์ฟื้นฟู วิธีการเริ่มจากใช้อัลตราซาวนด์หาตำแหน่งของเส้นประสาทมัสคิวโลคิวทาเนียสในบริเวณแขนส่วนบน หลังจากนั้นฉีดสารละลายเอทิลแอลกอฮอล์เข้มข้นร้อยละ 50 จำนวน 4 มิลลิลิตร ไปยังรอบเส้นประสาทมัสคิวโลคิวทาเนียส ประเมินผลโดยใช้ MAS ระดับ 0-5, Associated Reaction (AR), pain score และผลข้างเคียงอื่น ๆ ก่อนฉีด ระยะหลังฉีดทันที ที่ 1 เดือน 3 เดือน และ 6 เดือน</p> <p><strong>ผลการศึกษา </strong>ผู้ป่วยหลอดเลือดสมองจำนวน 11 ราย อายุเฉลี่ย 58.5±13.1 ปี เพศชาย ร้อยละ 72.3 เพศหญิง ร้อยละ 27.3 ระยะเวลาหลังเป็นหลอดเลือดสมองเฉลี่ย 61±29.4 เดือน พบว่าหลังฉีดสารละลายเอทิลแอลกอฮอล์ทันที 1 เดือน และ 3 เดือน ระดับ MAS มีค่าลดลงจากก่อนฉีด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 1.7±0.6 (<em>p &lt; .001</em>), 1.3±0.5 (<em>p &lt; .001</em>) และ 0.86±0.4 (<em>p &lt; .001</em>) ตามลำดับ ที่ 6 เดือนแม้ว่าระดับ MAS ลดลงแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 0.3±0.5 (<em>p = .358</em>) ส่วน AR หลังฉีดทันที 1 เดือน และ 3 เดือน ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 44.1±25.0 องศา (<em>p &lt; .001</em>), 58.5±35.1 องศา (<em>p = .001</em>) และ 31.3±29.9 องศา (<em>p = .021</em>) ตามลำดับ แต่ที่ 6 เดือนลดลงอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 8.3±14.7 องศา (<em>p = .224</em>) คะแนนความปวดหลังฉีดทันทีอยู่ที่ 4.8±3.0 ไม่พบผลข้างเคียงที่รุนแรง เช่น การรับรู้ความรู้สึกผิดปกติ หรือ ก้อนเลือดบริเวณที่ฉีด</p> <p><strong>สรุป </strong>การฉีดสารละลายแอลกอฮอล์โดยใช้อัลตราซาวนด์นำทางไปยังเส้นประสาทมัสคิวโลคิวทาเนียสสามารถลดการเกร็งตัวของข้อศอกในผู้ป่วยหลอดเลือดสมองที่มีภาวะศอกงอเกร็งได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเป็นระยะเวลา 3 เดือนและไม่พบผลข้างเคียงที่รุนแรง</p> ฉัตร เอี่ยมศิริกิจ , โสภิดา ธรรมมงคลชัย, กรกมล โกฉัยพัฒน์ Copyright (c) 2023 Burapha University https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/BJmed/article/view/261465 Wed, 27 Dec 2023 00:00:00 +0700 อัตราการเสียชีวิตจากการจมน้ำในผู้ป่วยเด็กที่รับการรักษาในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา https://he01.tci-thaijo.org/index.php/BJmed/article/view/262187 <p><strong>บทนำ </strong>การจมน้ำเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตในเด็ก การหาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตจึงมีความสำคัญ</p> <p><strong>วัตถุประสงค์ </strong>เพื่อศึกษาอัตราการเสียชีวิตจากการจมน้ำและปัจจัยที่สำคัญต่อการเสียชีวิตในผู้ป่วยเด็กที่เข้ารับการรักษา ที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา</p> <p><strong>วิธีการศึกษา </strong>การศึกษานี้เป็นการศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา ในผู้ป่วยเด็กจมน้ำอายุน้อยกว่า 15 ปีที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา ตั้งแต่ 1 มกราคม 2556 ถึง 31 ธันวาคม 2565 โดยเก็บข้อมูลพื้นฐาน ข้อมูลเกี่ยวกับการจมน้ำ ข้อมูลการรักษา รวมทั้งผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น นำมาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ</p> <p><strong>ผลการศึกษา </strong>ผู้ป่วยเด็กทั้งหมด 49 ราย อายุเฉลี่ย คือ 5.22 ± 3.10 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 57.14) จมน้ำทะเล (ร้อยละ 85.71) ช่วงเวลาที่จมน้ำมากที่สุดคือ 16.00–20.00น. (ร้อยละ 40.82) เดือนที่พบผู้ป่วยจมน้ำมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ ตุลาคม ธันวาคม และมกราคม (ร้อยละ 24.49, 22.45 และ 10.20 ตามลำดับ) ระยะเวลามัธยฐานที่จมน้ำ 1 นาที [พิสัย 0.5–2 นาที] และระยะเวลาที่หายไปในกรณีที่ไม่มีผู้เห็นเหตุการณ์ เท่ากับ 5 นาที [พิสัย 2–30 นาที] ต้องการการช่วยฟื้นคืนชีพ ร้อยละ 22.45 ใส่ท่อช่วยหายใจ ร้อยละ 26.53 ในกลุ่มจมน้ำจืดตรวจพบระดับโซเดียมในเลือดอยู่ที่ 134.75 ± 4.03 mEq/L และกลุ่มจมน้ำเค็มอยู่ที่ 144.18 ± 3.01 mEq/L มีผู้เสียชีวิตหลังการจมน้ำ 4 ราย (ร้อยละ 8.16) ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิต คือ ระยะเวลาที่หายไปในกรณีที่ไม่มีผู้เห็นเหตุการณ์มากกว่าเท่ากับ 10 นาที (<em>p = 0.008</em>) ระยะเวลาที่ช่วยฟื้นคืนชีพมากกว่า 25 นาที (p &lt; 0.001) รูม่านตาไม่ตอบสนองต่อแสงตอนแรกรับ (p &lt; 0.001) ประเมินระดับความรู้สึกตัวแรกรับน้อยกว่า 5 คะแนน (<em>p &lt; 0.001</em>) และการจมน้ำจืด (<em>p = 0.033</em>)</p> <p><strong>สรุป </strong>อัตราการเสียชีวิตจากการจมน้ำในเด็ก คือ ร้อยละ 8.16 และปัจจัยที่สำคัญ ได้แก่ ระยะเวลาที่หายไปกรณีที่ไม่มีผู้เห็นเหตุการณ์ ระยะเวลาที่ช่วยฟื้นคืนชีพ การตอบสนองของรูม่านตาต่อแสง การประเมินระดับความรู้สึกตัว และชนิดของน้ำที่จม</p> เพ็ญวดี ภาคพิบูลย์, ธนีพร อินทรา Copyright (c) 2023 Burapha University https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/BJmed/article/view/262187 Wed, 27 Dec 2023 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีผลต่อการได้รับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจล่าช้าในผู้ป่วยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา https://he01.tci-thaijo.org/index.php/BJmed/article/view/262923 <p><strong>บริบท</strong> การเสียชีวิตของผู้ป่วยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในประเทศไทยมีแนวโน้มสูงขึ้น การดูแลรักษาในผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงมีความสำคัญ ตั้งแต่การวินิจฉัย ตลอดจนการเลือกแนวทางการรักษาที่รวดเร็วและเหมาะสม</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong> เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการได้รับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ช้ากว่า 10 นาทีในห้องฉุกเฉินของผู้ป่วยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา</p> <p><strong>วิธีการศึกษา</strong> เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง (Retrospective cohort study) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันและเข้ารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 ถึง วันที่ 30 กันยายน 2565 โดยศึกษาปัจจัยที่ทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้รับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ช้ากว่า 10 นาที ได้แก่ เพศ อายุ โรคประจำตัว ระยะเวลาตั้งแต่มีอาการจนมาถึงห้องฉุกเฉิน อาการนำของผู้ป่วย ระดับความรุนแรงของการคัดกรองผู้ป่วยแรกรับ ช่วงเวลาที่มาห้องฉุกเฉินและการเสียชีวิตในโรงพยาบาล จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละและช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95 และสถิติถดถอยพหุลอจีสติก นำเสนอด้วยค่า Adjusted Odds Ratio และช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong> ผู้ป่วยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่มารักษาในช่วงเวลาดังกล่าว มีจำนวนทั้งสิ้น 232 ราย ผู้ป่วยได้รับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ช้ากว่า 10 นาที จำนวน 86 ราย (ร้อยละ 37.1, 95%CI: 30.8-43.6) โดยผู้ป่วยกลุ่มนี้มีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 65.48 ± 14.43 ปี เป็นเพศชาย 46 ราย(ร้อยละ 53.5) โรคประจำตัวที่พบบ่อยที่สุดคือ เบาหวานและความดันโลหิตสูงจำนวน 29 ราย (ร้อยละ 33.7) สำหรับกลุ่มที่ได้รับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเร็วกว่า 10 นาที มีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 65.05 ± 14.99 ปี เป็นเพศชาย 91 ราย (ร้อยละ 62.3) โรคประจำตัวที่พบบ่อยที่สุดคือ เบาหวานและความดันโลหิตสูงจำนวน 42 ราย (ร้อยละ 28.8) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลคราวละตัวแปร พบว่า ผู้ป่วยที่อาการนำมาด้วยอาการเหนื่อยหอบมีความสัมพันธ์กับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ช้ากว่า 10 นาทีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p &lt; 0.001</em>) และเมื่อวิเคราะห์คราวละหลายตัวแปร พบว่า อาการเหนื่อยหอบมีความสัมพันธ์กับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ช้ากว่า 10 นาที (<em>p &lt; 0.009</em>) นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดในช่วงเวลาดังกล่าว มีผู้เสียชีวิต 11 ราย (ร้อยละ 3.45, 95% CI: 1.50-6.68) โดยผู้ป่วยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่ได้รับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ช้ากว่า 10 นาที สัมพันธ์กับการเสียชีวิตในโรงพยาบาล (OR 4.89, 95% CI 1.26-18.96, <em>p = 0.021</em>)</p> <p><strong>สรุป</strong> ผู้ป่วยที่มีอาการนำมาด้วยอาการเหนื่อยหอบเป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องให้ผู้ป่วยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันได้รับการตรวจด้วยคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ช้ากว่า 10 นาที</p> <p> </p> เกศกนิษฐ์ ธรรมคำภีร์, พรทิพย์ พลาดิศัยเลิศ, เอกพล กาละดี, สุกฤษฎิ์ คูวัฒนเธียรชัย Copyright (c) 2023 Burapha University https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/BJmed/article/view/262923 Wed, 27 Dec 2023 00:00:00 +0700 การฟื้นฟูหัวใจในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (CABG) https://he01.tci-thaijo.org/index.php/BJmed/article/view/265414 <p><strong>บทนำ</strong> โรคหลอดเลือดหัวใจเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเสียชีวิตทั่วโลกการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery bypass graft: CABG) เป็นหนึ่งในวิธีการรักษาที่ได้ผลดี การฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจช่วยลดปัจจัยเสี่ยง และช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong> เพื่อรวบรวมข้อมูลสำคัญและหลักฐานเชิงประจักษ์ในการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจของผู้ป่วยหลังการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery bypass graft: CABG)</p> <p><strong>วิธีการศึกษา</strong> ทบทวนวรรณกรรมจากบทความ วารสารทางการแพทย์ หนังสือต่าง ๆ ของการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ ในผู้ป่วยหลังการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery bypass graft: CABG) ตั้งแต่ระยะของการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ องค์ประกอบ วิธี และผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong> พบว่าการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจส่งผลให้ผู้ป่วยมีการฟื้นตัวที่ดีขึ้น ลดระยะเวลาในการรักษาตัวในหออภิบาลผู้ป่วยหนัก (ICU) และลดระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาล ลดระยะเวลาในการใช้เครื่องช่วยหายใจ ลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด ช่วยให้ระบบประสาทอัตโนมัติ และระบบไหลเวียนโลหิตทำงานได้ดีขึ้น ลดความเครียดและความวิตกกังวลหลังผ่าตัด ลดอัตราการเข้ารักษาซ้ำในโรงพยาบาลของผู้ป่วย รวมถึงช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย โดยพบว่าการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจควรทำเร็วที่สุด โดยสามารถทำได้ตั้งแต่ก่อนการเข้ารับการผ่าตัด CABG และควรทำต่อเนื่อง เพื่อลดโอกาสการกลับมาเป็นซ้ำของโรค ทั้งนี้การออกกำลังกายในการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจสามารถทำได้หลายรูปแบบซึ่งควรได้รับการออกแบบให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละบุคคล</p> <p><strong>สรุป</strong> การฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจส่งผลดีต่อผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัด CABG โดยควรเริ่มให้เร็วที่สุด มีการทำอย่างต่อเนื่อง และออกแบบให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละบุคคล</p> กรกมล โกฉัยพัฒน์ , อริยจิต มิตรกูล, ศรัณย์ จิระมงคล, พัชร โกฉัยพัฒน์ Copyright (c) 2023 Burapha University https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/BJmed/article/view/265414 Wed, 27 Dec 2023 00:00:00 +0700