บูรพาเวชสาร https://he01.tci-thaijo.org/index.php/BJmed <p>คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ได้จัดทำวารสารบูรพาเวชสาร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ผลงานวิชาการทางการแพทย์ ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ ด้านสาธารณสุข การศึกษาทางคลินิก และการวิจัยที่ก้าวหน้าทันสมัย ซึ่งบทความที่ตีพิมพ์รับทั้งบทความภาษาไทยและอังกฤษ ออกเผยแพร่ ปีละ 2 ฉบับ (มกราคม - มิถุนายน และ กรกฎาคม - ธันวาคม) </p> <p>ISSN 2350-9996 (Print)</p> <p>ISSN 2822-0242 (Online)</p> คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th-TH บูรพาเวชสาร 2350-9996 การตรวจความหนาแน่นของกระดูกและองค์ประกอบของมวลร่างกายด้วยเครื่อง DXA สำหรับแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป https://he01.tci-thaijo.org/index.php/BJmed/article/view/259110 <p><strong>บทนำ </strong>ร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยเนื้อเยื่อหลัก ๆ คือ กระดูก กล้ามเนื้อ และไขมัน ซึ่งมนุษย์แต่ละคนแต่ละช่วงอายุจะมีองค์ประกอบของร่างกายที่ต่างกันไป ในปัจจุบันวิธีการวัดองค์ประกอบของร่างกายหลายวิธี ซึ่งการตรวจด้วยเครื่อง DXA (dual-energy X-ray absorptiometry) เป็นวิธีที่สามารถแยกปริมาณของกระดูก กล้ามเนื้อ และไขมัน ได้อย่างแม่นยำ ไม่อันตราย และสามารถทำซ้ำได้บ่อย</p> <p><strong>วัตถุประสงค์ </strong>เพื่อให้ผู้อ่านทราบประโยชน์ของการวัดองค์ประกอบของร่างกายทางคลินิกและเป็นความรู้พื้นฐานต่อยอดไปในแง่ของการวิจัยโดยใช้การวัดองค์ประกอบของร่างกาย</p> <p><strong>ผลการศึกษา </strong>เครื่อง DXA เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก และองค์ประกอบของมวลร่างกาย การตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก จะใช้กรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคกระดูกพรุน ผู้ป่วยที่ใช้ยารักษาโรคกระดูกพรุน และผู้ที่มีความเสี่ยงของการเกิดกระดูกพรุน เช่น ในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีประวัติกระดูกหักจากอุบัติเหตุไม่รุนแรง การตรวจวัดองค์ประกอบของมวลร่างกายจะใช้กรณีที่เป็นผู้ป่วยโรคอ้วน ผู้ป่วยโรคมวลกล้ามเนื้อน้อย ผู้ที่มีกล้ามเนื้อลีบหรืออ่อนแรง นอกจากนี้ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในวงการวิทยาศาสตร์การกีฬาด้วย</p> <p><strong>สรุป</strong> การวัดความหนาแน่นของกระดูก และมวลกายเป็นการตรวจยืนยันที่มีประโยชน์ เป็นที่นิยมและแพร่หลายในด้านเวชปฏิบัติทั่วไปและด้านการวิจัย</p> อลิสรา วงศ์สุทธิเลิศ เกียรติชัย กีรติตานนท์ Copyright (c) 2024 Burapha University https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-28 2024-06-28 11 1 100 114 กัญชากับวัยรุ่น https://he01.tci-thaijo.org/index.php/BJmed/article/view/262199 <p><strong>บทนำ </strong>ประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาของการใช้กัญชาในกลุ่มวัยรุ่น เนื่องจากมีการเปิดกัญชาเสรีให้ถูกต้องตามกฎหมายซึ่งนำไปสู่การเข้าถึงที่ง่าย หากมีการใช้กัญชาตั้งแต่อายุยังน้อยจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกายยังส่งผลกระทบต่อ สติปัญญา ความจำ และยังเพิ่มความเสี่ยงต่อความผิดปกติทางอารมณ์ โดยในกัญชามีสารเคมีที่ส่งผลต่อระบบประสาทและสมองของวัยรุ่น ด้วยเหตุนี้ประเทศไทยควรมีมาตรการป้องกันการใช้กัญชาในวัยรุ่นเพื่อลดความเสี่ยงหรือผลกระทบจากกัญชาในวัยรุ่นได้</p> <p><strong>วัตถุประสงค์ </strong>เพื่อทบทวนและวิเคราะห์บทความที่เกี่ยวข้อง กับกัญชาผลกระทบของกัญชาและแนวทางในการเฝ้าระวังพฤติกรรมการใช้กัญชาในทางที่ผิดของวัยรุ่นเพื่อจะได้ช่วยให้วัยรุ่นมีสุขภาพที่ดียิ่งขึ้นตามวัย</p> <p><strong>วิธีการศึกษา </strong>ทบทวนและวิเคราะห์บทความ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบจากการใช้กัญชาในวัยรุ่น และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างกัญชากับผลกระทบจากการใช้กัญชาเพื่อเป็นแนวป้องกันพฤติกรรมการใช้กัญชาในวัยรุ่น</p> <p><strong>สรุป </strong>การใช้กัญชาในวัยรุ่นมีเสียต่อระบบประสาทและสมอง และอาจมีปัญหาทางสุขภาพจิตที่เพิ่มมากขึ้น และยังมีผลกระทบทางด้านร่างกาย ถึงแม้ว่าจะเริ่มมีการใช้กัญชาอย่างเสรีในการประกอบอาหาร ก็ยังไม่ควรใช้กัญชาเพราะผลกระทบจากการใช้อาจส่งผลไปยังวัยผู้ใหญ่ได้ในอนาคตได้</p> สุรสิงห์ สมบัติ สุรนาถวัชวงศ์ นงค์นุช แน่นอุดร ภาสิต ศิริเทศ มนเทียร วงศ์เทียนหลาย ชานนท์ ชูศรีวัน Chankomadararithysak Duch อนันต์ จรรยาดี Copyright (c) 2024 Burapha University https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-28 2024-06-28 11 1 115 127 สมรรถภาพทางกาย คุณภาพชีวิต ในผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดที่มีแรงบีบมือต่ำและแรงบีบมือปกติ: การศึกษาย้อนหลัง https://he01.tci-thaijo.org/index.php/BJmed/article/view/264255 <p><strong>บทนำ </strong>ผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมมักสัมพันธ์กับสมรรถภาพทางกายต่ำ สูญเสียกำลังกล้ามเนื้อและเพิ่มความเสี่ยงต่อการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ (sarcopenia) การวัดแรงบีบมือ เป็นหนึ่งในเครื่องมือวัดสมรรถภาพทางกายที่สำคัญ ทำได้ง่ายและรวดเร็ว</p> <p><strong>วัตถุประสงค์ </strong>เพื่อศึกษาเปรียบเทียบสมรรถภาพทางกายและคุณภาพชีวิต ของกลุ่มที่มีแรงบีบมือต่ำกับแรงบีบมือปกติในผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือด้วยเครื่องฟอกเลือด</p> <p><strong>วิธีการศึกษา</strong> รวบรวมข้อมูลจากระบบอิเล็กทรอนิคและแบบบันทึกข้อมูลของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา ตั้งแต่ วันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2564 ถึง 2 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ในผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม แบ่งกลุ่มที่มีแรงบีบมือปกติ และแรงบีบมือต่ำ เปรียบเทียบหาสมรรถภาพทางกาย คุณภาพชีวิตระหว่างกลุ่มที่มีแรงบีบมือปกติและแรงบีบมือต่ำ</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong> กลุ่มแรงบีบมือปกติและกลุ่มแรงบีบมือต่ำสมรรถภาพทางกายประเมินโดย 6 minute walk test มีค่าเฉลี่ยที่ 394.2±34.4 เมตรและ 178.7±102.1 เมตร ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; 0.001) ค่า time up and go มีค่าเฉลี่ยที่ 8.7±3.8 วินาที และ 21.5±10.5 วินาที ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.01) ค่า 5-times chair stand มีค่าเฉลี่ยที่ 10±2.5 วินาทีและ 23.4±8.1 วินาที แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.001) คุณภาพชีวิตด้านสุขภาวะทางกาย (WHO QoL brief thai - physical) มีค่าเฉลี่ยที่ 25.8±3.2 และ 20.9±1.8 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.001)</p> <p><strong>สรุป</strong> ผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องฟอกเลือดกลุ่มที่มีแรงบีบมือปกติมีสมรรถภาพทางกาย (6MWT, TUG, 5-times chair stand) และมีคุณภาพชีวิตในด้านกิจกรรมทางกาย ดีกว่ากลุ่มที่มีแรงบีบมือต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p> <p> </p> ฉัตร เอี่ยมศิริกิจ รวีวรรณ วิฑูรย์ สมชาย ยงศิริ อลิสรา วงศ์สุทธิเลิศ จารุวรรณ กิตติวราวุฒิ พิธากร ธำรงเลาหะพันธุ์ โสภิดา ธรรมมงคลชัย Copyright (c) 2024 Burapha University https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-28 2024-06-28 11 1 1 10 การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของการฝังเข็มที่จุดกดเจ็บกับจุดเลี่ยเชวียเพื่อบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อต้นคอ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/BJmed/article/view/268202 <p><strong>บริบท </strong>ในสังคมปัจจุบันมีภาวะความกดดันสูงทำให้ผู้คนต้องทำงานหนักมากขึ้น โดยเฉพาะการทำงานออฟฟิศซึ่งมีความจำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานานทำให้เกิดอาการปวดต้นคอได้ง่าย การฝังเข็มเป็นวิธีการรักษาอาการปวดเมื่อยที่ประหยัด มีประสิทธิภาพและได้รับการยอมรับวิธีหนึ่ง จึงเหมาะที่จะนำมาใช้ในสถานการณ์ปัจจุบันเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษา</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong> เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของการฝังเข็มที่จุดกดเจ็บกับจุดเลี่ยเชวียเพื่อบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อต้นคอ</p> <p><strong>วิธีการศึกษา </strong>การวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิธีกึ่งทดลองรูปแบบ Pretest -posttest control group design โดยเก็บข้อมูลไปข้างหน้า ในอาสาสมัครที่มีอาการปวดต้นคออันเนื่องมาจากการทำงาน ช่วงอายุ 15 - 65 ปี จากสถานพยาบาลการแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม จำนวน 40 คน แบ่งเป็น 2กลุ่ม คือกลุ่มที่ฝังเข็มโดยใช้จุดกดเจ็บและกลุ่มที่ฝังเข็มโดยใช้จุดเลี่ยเชวีย กลุ่มละ 20 คน โดย วัดค่าความเจ็บปวดก่อนและหลังการรักษาจาก 0-10ประมวลผลทางสถิติโดยใช้ independent t-test และ pair t-test</p> <p><strong>ผลการศึกษา </strong>ในกลุ่มผู้ป่วยที่ใช้วิธีฝังเข็มบริเวณจุดกดเจ็บ ค่าเฉลี่ยระดับความเจ็บปวด (mean±S.D.) ก่อนการรักษาเท่ากับ 6.75±1.33 ค่าเฉลี่ยระดับความเจ็บปวดหลัง (mean±S.D.) การรักษาเท่ากับ 1.9±0.79 ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ค่าเฉลี่ยระดับความเจ็บปวด ก่อนและหลังการรักษามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ <em>p</em>&lt;0.05 มีค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 และผลการทดสอบในผู้ป่วยที่ใช้วิธีฝังเข็มบริเวณจุดเลี่ยเชวีย ค่าเฉลี่ยระดับความเจ็บปวด (mean±S.D.) ก่อนการรักษาเท่ากับ 6.55±1.36 ค่าเฉลี่ยระดับความเจ็บปวด (mean±S.D) หลังการรักษาเท่ากับ 3.75±1.12 ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ค่าเฉลี่ยระดับความเจ็บปวด ก่อนและหลังการรักษามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ <em>p</em>&lt;0.05 และมีค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95 และเมื่อเปรียบเทียบผลต่างของระดับความเจ็บปวดก่อน และหลังการรักษาในกลุ่มผู้ป่วยที่ใช้วิธีฝังเข็มบริเวณจุดกดเจ็บ และ กลุ่มผู้ป่วยที่ใช้วิธีฝังเข็มบริเวณจุดเลี่ยเชวีย พบว่า ค่าเฉลี่ยผลต่างของระดับความเจ็บปวด (mean±S.D.) ก่อนและหลังการรักษาในกลุ่มผู้ป่วยที่ใช้วิธีฝังเข็มบริเวณจุดกดเจ็บเท่ากับ 4.85±0.99 ค่าเฉลี่ยผลต่างของระดับความเจ็บปวด (mean±S.D) ก่อนและหลังการรักษาในกลุ่มผู้ป่วยที่ใช้วิธีฝังเข็มบริเวณจุดเลี่ยเชวีย เท่ากับ 2.8±0.89 ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ค่าเฉลี่ยระดับความเจ็บปวด ก่อนและหลังการรักษาในกลุ่มผู้ป่วยที่ใช้วิธีฝังเข็มบริเวณจุดกดเจ็บ ลดลงมากกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ใช้วิธีฝังเข็มบริเวณจุดเลี่ยเชวีย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ <em>p</em>&lt;0.05</p> <p><strong>สรุป</strong> การฝังเข็มที่จุดกดเจ็บและจุดเลี่ยเชวียสามารถบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อต้นคออันเนื่องมาจากการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งสองจุด โดยการฝังเข็มที่จุดกดเจ็บสามารถบรรเทาอาการปวดได้มากกว่าการฝังเข็มที่จุดเลี่ยเชวียอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าในผู้ป่วยที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อต้นคอจากการทำงานการฝังเข็มที่จุดกดเจ็บสามารถบรรเทาอาการปวดได้ดีกว่าการฝังเข็มที่จุดเลี่ยเชวีย<strong> </strong></p> อัครณัฏฐ์ อดุลย์รวิกร เหว่ยเสียง หยวน Copyright (c) 2024 Burapha University https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-28 2024-06-28 11 1 11 22 การผ่าตัดปิดกะโหลกศีรษะด้วยกะโหลกศีรษะเทียมวัสดุพอลิเมทิลเมทาคริเลต (polymethylmethacrylate) แบบพิมพ์สามมิติ: ผลการรักษา และภาวะแทรกซ้อน ณ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา https://he01.tci-thaijo.org/index.php/BJmed/article/view/254146 <p><strong>บริบท</strong> กะโหลกศีรษะเทียมวัสดุพอลิเมทิลเมทาคริเลตแบบพิมพ์สามมิติมีผลการรักษา ภาวะแทรกซ้อน และมีความปลอดภัยในระยะยาวหรือไม่อย่างไร</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong> ศึกษาผลการรักษาและภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดปิดกะโหลกศีรษะด้วยกะโหลกศีรษะเทียม วัสดุพอลิเมทิลเมทาคริเลตแบบ พิมพ์สามมิติที่มารักษา ณ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา</p> <p><strong>วิธีการศึกษา</strong> การศึกษาแบบตัดขวางย้อนหลังระยะเวลา 7 ปี โดยเก็บข้อมูลผู้ป่วยก่อน และหลังผ่าตัดปิดกะโหลกศีรษะ ความผิดปกติของระบบประสาท ระดับ Glasgow Outcome Scale Score (GOS) ภาวะ<br />แทรกซ้อน วิเคราะห์ตัวแปรที่สัมพันธ์กับผลการรักษา และภาวะแทรกซ้อนที่พบ</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong> ผู้ป่วย 15 ราย เป็นเพศหญิง 9 ราย เพศชาย 6 ราย อายุระหว่าง 19-71 ปี (เฉลี่ย 30 ปี) ส่วนใหญ่ได้รับการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะเนื่องจากการบาดเจ็บสมองแบบปิด ระยะเวลาติดตามอาการหลังผ่าตัดปิดกะโหลกศีรษะอยู่ระหว่าง 32-2,290 วัน (เฉลี่ย 3 ปี 18 วัน) ระดับ GOS ก่อนการผ่าตัดปิดกะโหลกศีรษะอยู่ที่ระดับ 5 จ􀄞ำนวน 8 ราย ระดับ 4 จ􀄞ำนวน 6 ราย หลังการผ่าตัดปิดกระโหลกศีรษะ GOS อยู่ที่ระดับ 5 ทั้ง14 ราย และอาการผิดปกติทางระบบประสาทที่ดีขึ้นมีจำนวน 1 รายที่ GOS อยู่ที่ระดับ 3 ร่วมกับมีภาวะน้ำคั่งในโพรงสมอง หลังการผ่าตัดรักษาพบว่า GOS อยู่ในระดับ 3 เท่าเดิม odds ratio = 87 (95% CI 1.22-6192.93), p = 0.04 กะโหลกศีรษะเทียมหลุดเลื่อน 2 ราย ทั้งสองรายผ่าตัดในช่วงมากกว่า 6 เดือน มีขนาดกว้างที่มากกว่า10 ซม. และยาวมากกว่า 13 ซม. และใช้วัสดุยึดกะโหลกศีรษะเทียมแตกต่างกัน แต่ไม่พบว่าสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p> <p><strong>สรุป</strong> ผลการผ่าตัดปิดกะโหลกศีรษะด้วยกะโหลกศีรษะเทียมวัสดุพอลิเมทิลเมทาคริเลตแบบพิมพ์สามมิติอยู่ในระดับดี และมีความปลอดภัยในระยะยาว ระดับ GOS ที่ไม่ดี และภาวะน้ำคั่งในโพรงสมองมีผลต่อการรักษาและขนาดกะโหลกศีรษะเทียมขนาดใหญ่มีผลทำให้เกิดการหลุดเลื่อนของกะโหลกศีรษะเทียม</p> ภาคภูมิ บำรุงราชภักดี ปองทิพย์ อุ่นประเสริฐ Copyright (c) 2024 Burapha University https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-28 2024-06-28 11 1 23 39 ผลของการใช้แนวปฏิบัติในการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลในโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนบน โรคท้องร่วงเฉียบพลัน บาดแผลสดจากอุบัติเหตุในแผนกผู้ป่วยนอกและห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา https://he01.tci-thaijo.org/index.php/BJmed/article/view/268579 <p><strong>บริบท</strong> การใช้ยาต้านเชื้อโรคอย่างไม่เหมาะสมเป็นปัญหาระดับโลกที่ทำให้เกิดการดื้อยาต้านจุลชีพ เกิดผลข้างเคียงจากยา และเพิ่มค่าใช้จ่ายจากการเจ็บป่วยทั่วไป เช่น การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน ท้องเสียเฉียบพลัน และบาดแผลสดจากอุบัติเหตุ บาดแผลขอบเรียบมักได้รับการสั่งยาต้านจุลชีพอย่างไม่เหมาะสมซึ่งมีส่วนสำคัญในการเกิดปัญหานี้ โรงพยาบาลบางปะกงได้รับทราบเรื่องนี้และได้ทำการใช้แนวทางปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการใช้ยาต้านจุลชีพ</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong> เพื่อประเมินผลของแนวทางการใช้ยาต้านจุลชีพและอัตราการสั่งใช้ยาสำหรับผู้ป่วยที่มีเงื่อนไขดังกล่าวในแผนกผู้ป่วยนอกและห้องฉุกเฉินตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2563</p> <p><strong>วิธีการศึกษา</strong> เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์โดยสืบค้นข้อมูลย้อนหลังจากโปรแกรม HosXP ใน 3 กลุ่มผู้ป่วย ได้แก่ การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน ท้องเสียเฉียบพลัน และบาดแผลสดจากอุบัติเหตุ บาดแผลขอบเรียบตามสถานที่และช่วงเวลาที่ระบุ ข้อมูลทางประชากรถูกวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา อัตราการสั่งใช้ยาต้านจุลชีพก่อนและหลังการปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติการวิเคราะห์โดยใช้การทดสอบ z-test สำหรับสถิติความแตกต่าง</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong> จากผู้ป่วยติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนบน พ.ศ.2561 จำนวน 4,594 คน พ.ศ. 2562 จำนวน 2,481 คน ผู้ป่วยท้องเสียเฉียบพลัน พ.ศ. 2561 จำนวน 391 คน พ.ศ. 2562 จำนวน 333 คน และ ผู้ป่วยบาดแผลสดจากอุบัติเหตุ พ.ศ. 2561 จำนวน 4,307 คน พ.ศ. 2562 จำนวน 3,463 คน พบว่าการใช้ยาต้านจุลชีพในการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนลดลงอย่างมีนัยสำคัญ 7.3% (31.0% เป็น 23.80%, p &lt; 0.01, 95% CI = 5.10, 9.50%) และผู้ป่วยท้องเสียเฉียบพลัน 10.8% (30.9% เป็น 20.1%, p &lt; 0.01, 95% CI = 4.39,<br />17.21%) อย่างไรก็ตาม การใช้ยาต้านจุลชีพสำหรับและ บาดแผลสดจากอุบัติเหตุ บาดแผลขอบเรียบเพิ่มขึ้น (1.89%, p = 0.07, 95% CI = -0.18, 3.98%)</p> <p><strong>สรุป</strong> การปฏิบัติตามแนวทางสำหรับการใช้ยาต้านจุลชีพทำให้การสั่งใช้ยาต้านจุลชีพลดลงแต่ยังมีการเพิ่มขึ้นสำหรับและบาดแผลสดจากอุบัติเหตุ บาดแผลขอบเรียบซึ่งส่วนใหญ่เป็นแผลที่เท้าอาจชี้นำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อจึงทำให้ยังมีการใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็น ข้อสรุปเหล่านี้ยำ้ความสำคัญของการปฏิบัติตามแนวทางเพื่อส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล</p> มยุรี พิทักษ์ศิลป์ วัลลภ ใจดี นิชาภา เจริญรัตน์ Copyright (c) 2024 Burapha University https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-28 2024-06-28 11 1 40 53 ผลของการใช้โปรแกรมร่างกายสร้างจังหวะต่อความเร็วในการวิ่งระยะสั้นของนักกรีฑาเยาวชน https://he01.tci-thaijo.org/index.php/BJmed/article/view/267063 <p><strong>บริบท </strong>การวิ่งระยะสั้นถือเป็นสิ่งสำคัญของนักกรีฑา เนื่องจากเป็นช่วงที่นักกรีฑาต้องใช้ความจดจ่อใส่ใจอย่างสูงและรวบรวมสมาธิ เพื่อให้กลไกของร่างกายตอบสนองต่อสัญญาณในการออกตัวจนถึงการวิ่งอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเกิดจากการรวมกันของทักษะ และแบบแผนที่วางไว้ ส่งผลไปยังศักยภาพของนักกรีฑา การวิ่งระยะสั้นในงานวิจัยนี้ หมายถึง ขั้นตอนกลไกการตอบสนองของร่างกายเมื่อได้ยินสัญญาณในการออกตัวที่มีการหน่วงของเวลาในระดับมิลลิวินาทีในร่างกาย แล้วจึงมีการส่งแรงจากร่างกายไปสู่แท่นออกตัวและทำการวิ่งถึงระยะ 10 เมตร</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong> เพื่อเปรียบเทียบความเร็วในการวิ่งระยะสั้นของนักกรีฑาเยาวชน กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมร่างกายสร้างจังหวะก่อนการทดลองและหลังการทดลอง และเปรียบเทียบความเร็วในการวิ่งระยะสั้นของนักกรีฑาเยาวชนหลังทดลองระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมร่างกายสร้างจังหวะและกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับโปรแกรมร่างกายสร้างจังหวะ</p> <p><strong>วิธีการศึกษา </strong>งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักกรีฑาเยาวชนของโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี อายุระหว่าง 12-18 ปี จำนวน 32 คน ด้วยการสุ่มอย่างง่าย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม จำนวนกลุ่มละ 16 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ โปรแกรมร่างกายสร้างจังหวะเป็นโปรแกรมฝึกในกลุ่มทดลอง และเครื่อง Kinematic Measurement System (KMS) ใช้สำหรับเก็บข้อมูลความเร็วในการวิ่งระยะสั้นของกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มทดลองได้รับการฝึกวิ่งตามปกติและเสริมด้วยโปรแกรมร่างกายสร้างจังหวะสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 20 นาที เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการฝึกวิ่งตามปกติและไม่ได้เสริมด้วยโปรแกรมร่างกายสร้างจังหวะ วิเคราะห์ข้อมูลค่าเฉลี่ยอายุระหว่างกลุ่มด้วยสถิติ t-test independent ความเร็วในการวิ่งระยะสั้นภายในกลุ่มด้วยสถิติ t-test dependent และระหว่างกลุ่มด้วยสถิติ t-test independent</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong> 1. กลุ่มทดลองมีความเร็วในการวิ่งระยะสั้นหลังการทดลอง ดีกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับลุ่มควบคุมมีความเร็วในการวิ่งระยะสั้นก่อนการทดลองและหลังการทดลองไม่แตกต่างกัน 2. ความเร็วในการวิ่งระยะสั้นระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม หลังการทดลอง พบว่าไม่แตกต่างกัน</p> <p><strong>สรุป </strong>โปรแกรมร่างกายสร้างจังหวะมีผลทำให้ความเร็วในการวิ่งระยะสั้น (10 เมตร) ลดลง</p> ธน โควสุรัตน์ ธนิดา จุลวนิชย์พงษ์ ฉัตรกมล สิงห์น้อย วรากร ทรัพย์วิระปกรณ์ Copyright (c) 2024 Burapha University https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-28 2024-06-28 11 1 54 65 แนวโน้มของเชื้อจุลชีพดื้อยาหลายขนานที่แยกได้จากสิ่งส่งตรวจของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสงฆ์ ปี 2561-2565 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/BJmed/article/view/266885 <p><strong>บทนำ</strong> เชื้อจุลชีพดื้อยาหลายขนาน (Multidrug resistant organisms; MDROs) ที่พบมากในโรงพยาบาลสงฆ์ได้แก่ Carbapenem–resistant <em>Acinetobacter baumannii</em> (CRAB), Carbapenem–resistant <em>Pseudomonas aeruginosa </em>(CRPsA), Carbapenem–resistant Enterobacteriaceae (CRE) (<em>Klebsiella pneumoniae </em>และ<em> Escherichia coli</em>) และ Methicillin–resistant <em>Staphylococcus aureus</em> (MRSA) เป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบโดยตรงทั้งต่อผู้ป่วย บุคลากรทางการแพทย์และโรงพยาบาล</p> <p><strong>วัตถุประสงค์ </strong>เพื่อศึกษาแนวโน้มของเชื้อจุลชีพดื้อยาหลายขนานที่แยกได้จากสิ่งส่งตรวจของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสงฆ์</p> <p><strong>วิธีการศึกษา</strong> เก็บรวบรวมข้อมูลผลการตรวจเพาะเชื้อและทดสอบความไวของยาต้านจุลชีพจากห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาคลินิก กลุ่มงานพยาธิวิทยา โรงพยาบาลสงฆ์ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565 โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและนำเสนอข้อมูลในรูปแบบตารางและกราฟ</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong> จำนวนเชื้อแบคทีเรียที่แยกได้จากสิ่งส่งตรวจทั้งหมด 304 isolates พบเชื้อดื้อยาจำนวนมากที่สุด คือ <em>A. baumannii</em> (CRAB) จำนวน 114 isolates (ร้อยละ 37.5) โดยพบเชื้อมากที่สุดในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักและพบในสิ่งส่งตรวจชนิดเสมหะและหนองมากที่สุด <em>P. aeruginosa</em> (CRPsA)</p> <p><strong>สรุป</strong> แบคทีเรียดื้อยาหลายขนานที่พบมากในโรงพยาบาลสงฆ์ ได้แก่ <em>A. baumannii </em>(CRAB), <em>P. aeruginosa</em> (CRPsA), Enterobacteriaceae (CRE) <em>K. pneumonia</em>e, <em>S. aureus</em> (MRSA) และ Enterobacteriaceae (CRE) <em>E.coli</em> ตามลำดับ สิ่งส่งตรวจเพาะเชื้อที่พบเชื้อดื้อยามากตามลำดับ ได้แก่ สิ่งส่งตรวจจากหนอง สิ่งส่งตรวจจากเสมหะ สิ่งตรวจจากปัสสาวะ และสิ่งส่งตรวจจากเลือด</p> หัทยา แสงสวย Copyright (c) 2024 Burapha University https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-28 2024-06-28 11 1 66 81 ฝีในปอดในเด็ก: รายงานผู้ป่วย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/BJmed/article/view/266019 <p><strong>บริบท</strong> โรคฝีในปอดพบได้ไม่บ่อยในเด็กแต่เป็นภาวะความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจที่รุนแรง ข้อมูลเกี่ยวกับโรคฝีในปอดในผู้ป่วยเด็กยังมีจำกัด</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong> เพื่อศึกษาลักษณะอาการทางคลินิก ภาพรังสีทรวงอก เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ และการรักษาของโรคฝีในปอดในเด็ก</p> <p><strong>กรณีศึกษา</strong> รายงานผู้ป่วยเด็ก จำนวน 2 ราย ที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคฝีในปอด เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล มหาวิทยาลัยบูรพาช่วงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2564 และเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2565 อาการนำของผู้ป่วยที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ ไข้ น้ำมูก ถ่ายเหลว และอาเจียน การวินิจฉัยโรคโดยใช้ภาพรังสีทรวงอกและเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ พบตำแหน่งฝีในปอดบริเวณปอดขวาส่วนล่าง ในระยะเริ่มต้นได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะครอบคลุมเชื้อก่อโรคที่สงสัยทางหลอดเลือดดำ ผู้ป่วยรายแรกไม่ตอบสนองต่อการให้ยาต้านจุลชีพ ต้องได้รับการเจาะระบายหนองผ่านทางผิวหนัง ผลตรวจหนองด้วยปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอเรส (polymerase chain reaction) พบเชื้อ Aggregatibacter segnis เป็นต้นเหตุ การติดตามอาการภายหลังการรักษาผู้ป่วยทั้งสองรายหายเป็นปกติ</p> <p><strong>สรุป</strong> อาการทางคลินิกของเด็กในระยะเริ่มต้นอาจทำให้วินิจฉัยโรคฝีในปอดได้ยาก หากไม่ได้ตระหนักถึงโรคฝีในปอดอาจทำให้การวินิจฉัยและการรักษาล่าช้าออกไป แนะนำให้ยาปฏิชีวนะที่เหมาะสมทางหลอดเลือดดำในระยะเริ่มต้นของการรักษา การพยากรณ์โรคฝีในปอดในเด็กค่อนข้างดีหากได้รับการวินิจฉัยทันท่วงทีและได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม</p> วราวุฒิ เกรียงบูรพา จักรพันธุ์ ศิริบริรักษ์ Copyright (c) 2024 Burapha University https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-28 2024-06-28 11 1 82 91 ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องปฐมภูมิกลุ่มที่มีความบกพร่องของเม็ดเลือดขาวชนิดบีชนิดที่มีการสร้างแอนติบอดีผิดปกติในผู้ป่วยเด็ก 12 ปีที่มีอาการไซนัสอักเสบเรื้อรัง: รายงานผู้ป่วย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/BJmed/article/view/269678 <p><strong>บริบท</strong> ผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องปฐมภูมิ มักมีประวัติติดเชื้อทางเดินหายใจซ้ำโดยเฉพาะโรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง</p> <p><strong>วัตถุประสงค์ </strong>ศึกษาอาการทางคลินิกของผู้ป่วยเด็กอายุ 12 ปีที่มีภาวะไซนัสอักเสบเรื้อรังตั้งแต่อายุ 4 ปี ที่ได้รับการวินิจฉัยภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องปฐมภูมิกลุ่มที่มีความบกพร่องของเม็ดเลือดขาวชนิดบีชนิดที่มีการสร้างแอนติบอดีผิดปกติ</p> <p><strong>กรณีศึกษา</strong> ผู้ป่วยเด็กชายอายุ 12 ปี มีโรคประจำตัวเป็นโพรงจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ มีภาวะไซนัสอักเสบเรื้อรัง ตั้งแต่อายุ 4 ปี ไม่ตอบสนองต่อรักษาด้วยยาสเตียรอยด์ชนิดพ่นจมูกและยาปฏิชีวนะหลายกลุ่ม ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดและระดับอิมมูโนโกลบูลินอยู่ในเกณฑ์ปกติ IgG 705 มก./ดล., IgA 108 มก./ดล., IgM 54 มก./ดล.การทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง ให้ผลบวกต่อหญ้า Bermuda, วัชพืชผักโขม,เชื้อรา Cladosporium และไรฝุ่นชนิด Dermatophagoides pteronyssinus (Dp) วัดความสามารถในการตอบสนองต่อแอนติเจนที่เป็นpolysaccharide โดยการฉีดวัคซีน 23-valent unconjugated polysaccharide ต่อเชื้อ Streptococcal pneumoniae โดยตรวจซีรัมก่อนได้รับวัคซีน และหลังได้รับวัคซีน 4 สัปดาห์ พบว่าระดับแอนติบอดีน้อยกว่า 1.3 มคก./มล. สัดส่วนน้อยกว่าร้อยละ 50 ของ serotype ทั้งหมด ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องปฐมภูมิกลุ่มที่มีความบกพร่องของเม็ดเลือดขาวชนิดบีชนิดที่มีการสร้างแอนติบอดีผิดปกติ รักษาโดยให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำและรับ pneumococcal polysaccharide conjugated vaccine (13-valent) ไม่พบการกลับเป็นซ้ำของภาวะไซนัสอักเสบเรื้อรังอีก</p> <p><strong>สรุป</strong> ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องปฐมภูมิกลุ่มที่มีความบกพร่องของเม็ดเลือดขาวชนิดบีชนิดที่มีการสร้างแอนติบอดีผิดปกติพบได้ในผู้ป่วยมีภาวะไซนัสอักเสบเรื้อรัง หากได้ทราบการวินิจฉัยที่ชัดเจนในเวลารวดเร็วจะช่วยให้ผู้ป่วยมีโอกาสได้รับการรักษาที่เฉพาะที่ทำให้หายขาดจากโรคได้ </p> เบญจารัตน์ ทรรทรานนท์ สุภารัตน์ จีวรตานนท์ Copyright (c) 2024 Burapha University https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-28 2024-06-28 11 1 92 99