https://he01.tci-thaijo.org/index.php/APPJ/issue/feed จิตเวชวิทยาสาร 2024-04-23T19:38:33+07:00 Chakkarin Pingkhalasay MD. pchakkarin@gmail.com Open Journal Systems <p>- Published articles in psychiatry and psychology.</p> <p>ISSN 2697-6242 (Online)</p> <p>- Established since 1984 </p> <p>- Published every 4 months ( 3 issues/year : Jan-Apr,May-Aug,Sep-Dec.) </p> <p>- No publication charge. </p> <p>- Any article with more than 15 percent plagiarism will be rejected by chief editor. </p> https://he01.tci-thaijo.org/index.php/APPJ/article/view/264364 การจัดการรายกรณีผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง : รายงานผู้ป่วย 1 ราย 2023-12-01T16:36:52+07:00 นริสา วงศ์พนารักษ์ narisa.w@msu.ac.th Phasit Sermsai Phasitsermsai@gmail.com <p>บทความนี้นำเสนอ การจัดการรายกรณีผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง 1 ราย ซึ่งผู้ป่วยรายนี้ ไม่มีผู้ดูแลหลัก ผู้ใหญ่บ้านดูแลประสานงานขอความช่วยเหลือ ชุมชนปฏิเสธผู้ป่วยเนื่องจากหวาดกลัว ประกอบกับบริบทโรงพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยรายนี้ไม่มีแพทย์เฉพาะทางด้านจิตเวช บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการจัดการรายกรณีผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง&nbsp; ซึ่งเป็นผู้ป่วยมีปัญหาซับซ้อน โรงพยาบาลชุมชนมีข้อจำกัดในการให้บริการแบบเบ็ดเสร็จและแบบองค์รวม การประสานผู้เชี่ยวชาญกว่าในการให้การดูแลและภาคีเครือข่ายหลายภาคส่วน อันจะนำไปสู่การพัฒนาการดูแลอย่างต่อเนื่องต่อไป ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในหน่วยงานอื่น ๆ ที่มีลักษณะเดียวกันได้&nbsp; ผลของการบูรณาการการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงรายนี้ ทำให้สามารถดูแลต่อเนื่องที่โรงพยาบาลชุมชนโดยมีภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องเข้ามาร่วมกันในการดูแล การวางแผน และการจัดการอย่างเป็นระบบ ผู้ป่วยไม่กลับมารักษาซ้ำตลอดระยะเวลาสองปีและไม่มีการก่อความรุนแรงซ้ำในชุมชน ผู้ป่วย ครอบครัว และทีมบุคลากรด้านสุขภาพพึงพอใจต่อการจัดการรายกรณีนี้</p> 2024-04-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 จิตเวชวิทยาสาร https://he01.tci-thaijo.org/index.php/APPJ/article/view/266726 การศึกษาความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา: การศึกษาภาคตัดขวาง 2024-02-05T20:45:00+07:00 ฐิติกาญจน์ บุญรักษา อินทาปัจ thitikan.i@nrru.ac.th ณปภัช บรรณาการ nappapach.bannakan@gmail.com สัณห์ รังสรรค์ samseem27@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกภาวะสุขภาพจิต ภาวะซึมเศร้าและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ด้วยการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional descriptive study) กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2565 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จำนวน 730 คน จากการสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป ดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทยฉบับสั้น และแบบประเมินภาวะซึมเศร้า ฉบับภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยด้วยสถิติวิเคราะห์เชิงพรรณนา สถิติไควสแควร์(Chi-Square) และวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก (Logistic regression analysis) โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> <p>ผลวิจัยพบว่า นักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมามีความชุกภาวะสุขภาพจิตต่ำ คิดเป็นร้อยละ 11.96 โดยนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มีสุขภาพจิตต่ำที่สุด และคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วิทยาการจัดการ และคณะครุศาสตร์ มีสุขภาพจิตต่ำกว่ากลุ่มคณะอื่น ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะสุขภาพจิต ได้แก่ ด้านส่วนบุคคล ด้านเศรษฐกิจ ด้านครอบครัว ด้านสัมพันธ์กับผู้อื่น ด้านการเรียน และด้านจิตวิทยา เมื่อวิเคราะห์ความเสี่ยงของปัจจัยที่ทำให้ภาวะสุขภาพจิตต่ำ พบว่า (1) นักศึกษาที่มีโรคประจำตัวมีความเสี่ยง 3.315 เท่า (2) นักศึกษาที่พักอยู่ในการกำกับมีความ 5.811 เท่า และ (3) นักศึกษาที่มีภาวะซึมเศร้ามีความเสี่ยง 1.929 เท่า โดยการมีบุคคลที่พักอาศัยด้วยและการมีความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนช่วยลดความเสี่ยง ร้อยละ 72.80&nbsp; และ 50.90 ตามลำดับ</p> 2024-04-23T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 จิตเวชวิทยาสาร https://he01.tci-thaijo.org/index.php/APPJ/article/view/268607 การทำนายภาวะอ้วนของผู้ที่เป็นโรคจิตเภทด้วยอำนาจของยารักษาอาการทางจิต อาการด้านลบ อาการด้านบวก และความเครียด 2024-04-01T20:46:59+07:00 นิศานาถ ทองใบ nisanart.tho@student.mahidol.ac.th วารีรัตน์ ถาน้อย wareerat.tha@mahidol.ac.th นพพร ว่องสิริมาศ nopporn.von@mahidol.ac.th ศิรดา เกษรศรี sirada.kas@mahidol.ac.th <p><strong>วัตถุประสงค์</strong>: เพื่อศึกษาอำนาจการทำนายของยารักษาอาการทางจิต อาการด้านลบ อาการด้านบวก และความเครียดที่มีต่อภาวะอ้วนในผู้ที่เป็นโรคจิตเภท <strong>วัสดุและวิธีการ</strong>:การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงทำนาย กลุ่มตัวอย่างคือผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคจิตเภท (F20) ตามเกณฑ์การวินิจฉัยโรค ICD 10 ได้รับยารักษาอาการโรคจิตต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 6 เดือนขึ้นไป มีอายุอยู่ในช่วง 18 – 60 ปี ไม่อยู่ในภาวะของโรคจิตเภทในระยะเฉียบพลัน (Acute phase)ณ แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 123 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินภาวะอ้วน แบบประเมินอาการทางจิตโรคจิตเภท และแบบสอบถามการรับรู้ความเครียด วิเคราะห์โดยใช้สถิติพรรณนาและการวิเคราะห์แบบถดถอยโลจิสติก <strong>ผล</strong>: กลุ่มตัวอย่างมีภาวะอ้วนร้อยละ 59.3 ผลการวิเคราะห์แบบถดถอยโลจิสติก พบว่า ปัจจัยที่สามารถทำนายการเกิดภาวะอ้วนในผู้ป่วยจิตเภท อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.05 ได้แก่ อาการด้านบวก (β = -.548, OR .578, 95%CI = .469 - .713, p<img title="<" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?<">.001) และอาการด้านลบ (β = .483, OR 1.620, 95%CI = 1.361–1.929, p<img title="<" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?<">.001) <strong>สรุป</strong>: ผู้ป่วยจิตเภทส่วนใหญ่มีภาวะอ้วน ดังนั้นการให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการจัดการอาการด้านลบ และอาการด้านบวกของผู้ป่วยจิตเภท อาจเป็นแนวทางในการลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะอ้วน ซึ่งนำไปสู่การเกิดกลุ่มอาการที่เรียกว่ากลุ่มอาการเมแทบอลิกต่อไป</p> 2024-04-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 จิตเวชวิทยาสาร https://he01.tci-thaijo.org/index.php/APPJ/article/view/266129 การพัฒนาแบบประเมินมุมมองต่อปัญหาและรูปแบบการแก้ปัญหา 2024-04-02T22:16:51+07:00 chaowanee longchoopol chaowaneel@nu.ac.th Cathareeya Rattanawimol cathball_r@yahoo.com <p><strong>Abstract </strong></p> <p>The purpose of this research was exploratory factor analysis of Problem Orientation and Problem-Solving Style Questionnaire. The sample research is nursing student, Naresuan University of 295. Methodology: the instruments are problem orientation and problem-solving style questionnaire check Content Validity by Index of item Object Congruence was between .60-1.00 and the alpha coefficient reliability was .906. Results: the data were analyzed using an Exploratory Factor Analysis (EFA) with the factor extraction consisting of common factor analysis (CFA) by principal axis factor (PAF) and orthogonal by varimax method. Conclusion: the results of the research were Problem Orientation questionnaire consisting of two factors and Problem-Solving Style questionnaire consisting of three factors. In particular, the obtain factors account for 35.62 percents of Problem Orientation and 38.82 percents of Problem-Solving Style.</p> 2024-04-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 จิตเวชวิทยาสาร